โครงการย่อยที่ 7

Sub-Project 7



ชื่อโครงการวิจัย

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมหนังสือแนะนำแนวทางการดำเนินชีวิตและวาทกรรมคำพยากรณ์ดวงชะตา

Research Title

The relationship between language and ideology in the discourse of guidance for life and fortune telling


หัวหน้าโครงการย่อยที่ 7

อาจารย์ ดร. ศิริพร ภักดีผาสุข

Head of Sub-Project 7

Siriporn Phakdeephasook, Ph.D.


หน่วยงาน

ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์

Affiliation

Department of Thai, Faculty of Arts


ผู้ช่วยวิจัย

  • ชนกพร พัวพัฒนกุล
    ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์

Research Assistant

  • Chanokporn Puapattanakun
    Department of Thai, Faculty of Arts

หลักการและเหตุผล

งานวิจัยนี้มุ่งวิเคราะห์วาทกรรมหนังสือแนะนำแนวทางการดำเนินชีวิตและวาทกรรมคำพยากรณ์ดวงชะตาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ วาทกรรมทั้งสองชนิดนี้สัมพันธ์กับเรื่อง ความกลัว ความขาดแคลน และความปรารถนา ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญเกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์ตามแนวคิดของแผนงานพัฒนาองค์การสหประชาชาติ ความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) เป็นแนวคิดใหม่ที่เสนอเป็นระเบียบวาระโลก ในรายงาน "การพัฒนามนุษย์ 1994" ของแผนงานพัฒนาองค์การสหประชาชาติ (United Nations Development Program--UNDP) รายงานนี้ได้เสนอแนวคิดสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาที่ถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People centered) โดยมีหลักการที่สำคัญ 2 ประการคือ มนุษย์จะต้องมีอิสระจากความหวาดกลัว (Freedom from Fear) และอิสระจากความขาดแคลน (Freedom from Want) ในการเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ ประเด็นเกี่ยวกับ "ความกลัว" และ "ความขาดแคลน" พึงได้รับการศึกษา

"ความกลัว" เป็นสัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์ เป็นอารมณ์ที่เกิดจากการคาดการณ์หรือการตระหนักถึงภัยบางอย่าง ความไม่แน่นอนในอนาคต ความไม่มั่นคงในชีวิต เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดความกลัว สำหรับ "ความขาดแคลน" นั้น นอกจากสภาพทางธรรมชาติของแต่ละสังคมแล้วคนในแต่ละสังคมและวัฒนธรรมก็ถูกหล่อหลอมให้มีความต้องการ โดยเฉพาะความต้องการทางจิตใจที่แตกต่างกันไป วาทกรรม (discourse) ต่างๆ ที่ผลิตขึ้นในสังคม นับว่ามีบทบาทสำคัญในการทำให้สมาชิกในสังคมนิยามตนเองว่าเป็นใคร ควรจะทำอะไร ต้องการอะไร ไม่ต้องการอะไร และควรจะมีอะไรเป็นเป้าหมายในชีวิต นอกจากนี้สิ่งที่ "พึงปรารถนา" ในสังคมหนึ่ง ยังอาจกลายเป็นสิ่งที่ "ไม่พึงปรารถนา" ในอีกสังคมหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับอุดมการณ์และคุณค่าที่คนในสังคมหรือคนบางกลุ่มที่มีอำนาจในสังคมได้กำหนดขึ้น การสร้างความมั่นคงของมนุษย์จึงไม่มีวิธีการที่เป็น "สูตรสำเร็จ" ที่ใช้ได้ในทุกสังคม การจะพัฒนาให้เกิดความมั่นคงของมนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ โดยจัดการกับ "ความกลัว" และ "ความขาดแคลน" ของคนในสังคมให้ได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจระบบความคิดเรื่อง "ความกลัว" และ "ความขาดแคลน" ของคนในบริบทสังคมและวัฒนธรรมนั้นๆ ให้ลึกซึ้งเสียก่อน

นับแต่สมัยโบราณ คนไทยมักแสวงหาทางหนทางหลุดพ้นจาก "ความกลัว" และเรียนรู้แนวทางการกำหนด "ความต้องการ" หรือเป้าหมายในชีวิตของตน โดยอาศัย "คำแนะนำ" ในรูปแบบต่างๆ อาทิ คำสอนของศาสนา คำพยากรณ์ คำทำนาย และยิ่งในปัจจุบัน ที่สภาวะทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองไทยก่อให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล ความไม่มั่นใจในการดำเนินชีวิต จนกลายเป็นความไม่มั่นคงทางจิตใจ คนไทยก็ยิ่งแสวงหา "ที่พึ่ง" โดยเฉพาะทางจิตใจกันมากขึ้น

นอกเหนือจากหลักธรรมคำสอนทางศาสนาแล้ว คนในสังคมไทยปัจจุบันจำนวนหนึ่งเลือกที่จะพึ่งพาหนังสือหรือบทความแนะนำแนวทางการดำเนินชีวิตและคอลัมน์พยากรณ์ดวงชะตาในหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ ด้วยเหตุนี้ วาทกรรมทั้งสองชนิดนี้ได้รับความสนใจเพิ่มมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากจากจำนวนชื่อเรื่องหนังสือ ชื่อฉบับนิตยสาร และจำนวนคอลัมน์ที่นำเสนอข้อมูลเหล่านี้ รวมถึงจำนวนพิมพ์ที่เพิ่มมากขึ้น

หนังสือแนะนำแนวทางการดำเนินชีวิตและคำพยากรณ์ดวงชะตานั้นมีลักษณะร่วมอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือเป็นวาทกรรมที่มุ่งให้คำแนะนำแนวทางในการประพฤติ ปฏิบัติตน แก่คนในสังคม หนังสือแนะนำแนวทางการดำเนินชีวิตจัดเป็นข้อเขียนประเภทแนะนำวิธีการหรือ "How-to" ชนิดหนึ่ง ลักษณะการนำเสนอที่เป็นขั้นเป็นตอนหรือเป็นประเด็นที่ชัดเจน อ่านเข้าใจง่าย ทำให้หนังสือแนวนี้ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน นอกจากนี้ ผู้เขียนหนังสือเหล่านี้มักจะเป็นผู้ที่ผู้อ่านเชื่อว่ามีวุฒิภาวะสูง ประสบความสำเร็จในชีวิตหน้าที่การงาน หรือมีประสบการณ์ชีวิตที่สามารถนำมาถ่ายทอดเป็นข้อคิดเพื่อ "ชี้นำ" แนวทางแก่ผู้อื่นได้ ส่วนคำพยากรณ์ดวงชะตานั้นผู้พยากรณ์เป็นผู้ที่มีความรู้ "พิเศษ" ซึ่งเชื่อว่าส่งผลให้สามารถ "หยั่งรู้" อนาคตได้ คำแนะนำการดำเนินชีวิตที่มาพร้อมคำพยากรณ์จึงได้รับความเชื่อถือจากคนส่วนหนึ่งในสังคม ด้วยเหตุนี้วาทกรรมทั้งสองชนิดนี้จึงมีแนวโน้มที่จะมีอิทธิพลต่อความคิด ความเชื่อ ของคนในสังคมไทยไม่มากก็น้อย

จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ผู้วิจัยพบว่านอกเหนือจากข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินชีวิตและคำพยากรณ์ดวงชะตาแล้ว ข้อเขียนเหล่านี้ยังนำเสนอชุดความคิดหรืออุดมการณ์บางอย่างซึ่งอาจจะมีผลในการกำหนดความคิดและแบบแผนพฤติกรรมของผู้อ่านและอุดมการณ์บางอย่างอาจจะแฝงอคติหรือเป็นมายาคติอย่างหนึ่ง อาทิ ชุดความคิดว่าด้วย "ความสุข-ความทุกข์" "ความสำเร็จ-ความล้มเหลว" "โชคดี-โชคร้าย" "ลักษณะบุคคลที่พึงประสงค์-ลักษณะของบุคคลที่ไม่พึงประสงค์" และชุดความคิดเกี่ยวกับเพศสภาวะ ชนชั้น เป็นต้น อุดมการณ์เหล่านี้น่าจะมีอิทธิพลต่อความคิดว่าด้วย "ความกลัว" และ "ความขาดแคลน" รวมถึง "เป้าหมาย" ในชีวิตของคนในสังคมไทย การศึกษาวิเคราะห์วาทกรรมที่ได้รับความนิยมและมีแนวโน้มว่าจะมีอิทธิพลต่อสังคมเหล่านี้ว่ามีการสื่อชุดความคิดหรืออุดมการณ์อะไรบางอย่างมาด้วยหรือไม่ และศึกษาว่าภาษามีส่วนในการประกอบสร้างชุดความคิดดังกล่าวอย่างไรจะช่วยให้เห็นบทบาทของภาษาในการประกอบสร้างความคิดหรืออุดมการณ์ และน่าจะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจและรู้เท่าทันวาทกรรมกลุ่มที่มีบทบาทต่อการประกอบสร้างชุดความคิดเรื่อง "ความกลัว" และ "ความขาดแคลน" อันอาจมีผลต่อความมั่นคงทางจิตใจของคนในสังคมไทย

วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์เป็นแนวทางการศึกษาที่เหมาะที่จะนำมาศึกษาข้อมูลนี้ต่อไป วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์จะช่วยเผยให้เห็นความคิดเชิงอุดมการณ์ที่สื่อโดยกลวิธีทางภาษาในตัวบทเหล่านี้และจะนำไปสู้การตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาษาในการประกอบสร้างและสื่ออุดมการณ์หรือชุดความคิดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นว่าด้วย "ความกลัว" และ "ความขาดแคลน" โครงการวิจัยนี้มุ่งตอบคำถามวิจัยหลักสองข้อ คือ 1) อุดมการณ์หรือชุดความคิดสื่อผ่านกลวิธีทางภาษาในวาทกรรมหนังสือแนะนำแนวทางการดำเนินชีวิตและคำพยากรณ์ดวงชะตามีอะไรบ้าง และ 2) กลวิธีทางภาษาที่สื่ออุดมการณ์เหล่านั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง

Principles and Reasons

This study aims at analyzing the discourse of guidance for life in spiritual self-help books and the discourse of fortune telling via the approach of Critical Discourse Analysis (CDA). These two types of discourse are associated with the issues of "fear", "want" and "desire" which, according to the United Nations Development Program (UNDP), are fundamental to human security. Human security is a new concept proposed as part of the global agenda in the Human Development Report 1994 of the UNDP. This report proposes the important concept of people-centered development and broadly defines security as "freedom from fear" and "freedom from want". To develop human security in a society, the issues of 'fear' and 'want' in that society should thus be investigated.

"Fear" is a basic human instinct and an emotion caused by the anticipation of or awareness of danger. Uncertainty about the future and insecurity in life are the major factors that cause fear. As for want, as well as being the natural condition of each society, different discourses in society may have certain influences upon the ways people in that society define themselves, their practices, their desires and their goals. What is considered "desirable" in one society may be viewed as "undesirable" in another depending on the ideologies and the values the people, especially the power dominants, have constructed. Therefore, there seems to be no absolute formula for the enhancement of human security that can be applied to all societies. Rather, it is necessary to thoroughly understand the conceptual systems regarding "fear" and "want" of the people in each socio-cultural context in order to develop human security in each society.

Since the old days, in order to cope with "fear" and "want" and to set appropriate goals in life, the Thai people resorted to several types of guidance such as religious teachings and prophesy. In the present day, the economic as well as socio-political conditions in Thai society cause stress, anxiety and insecurity. Consequently, many people in Thai society search for a "spiritual resort".

As well as religious teachings, some people in contemporary Thai society turn to spiritual self-help books and fortune telling columns for guidance. Consequently, these two types of discourse have become more popular as is indicated by the increasing number of spiritual self-help books and fortune telling columns in various magazines.

Spiritual self-help books and fortune telling discourses share one characteristic in common. That is, both aim at providing guidance for life. Spiritual self-help books, commonly called "how-to books", are procedural in nature. The step-by-step advice with clear explanations have made spiritual self-help books popular. Moreover, it is believed that the authors of these books are people with maturity, life experience and success. Thus, they are eligible to guide others. The guidance by these authors is considered to be trustworthy. As for fortune telling, fortune tellers are perceived as those with "special" knowledge or the capability to foresee the future. Altogether, these two types of discourse have tended to have a certain influence upon the thoughts and beliefs of some people in Thai society.

Based on a preliminary analysis, as well as advice for living and future prediction, these discourses represent some sets of ideas that may have an influence upon the readers' thoughts and behaviour. Some of these ideological concepts may be biased and lead to misconceptions or myths. According to the preliminary examination, these discourses convey some ideological concepts on "happiness and suffering", "success and failure", "fortune and misfortune", "desirable features and undesirable ones" as well as those on gender and social class. These ideological concepts may have some influence upon the issues of "fear" and "want" and the goals of life.

To conduct a further analysis, critical discourse analysis is considered to be an appropriate approach. A critical analysis of these discourses will systematically uncover the ideological concepts represented by linguistic strategies in these texts and lead to an awareness of the relationship between language and the construction of the ideological concepts related to the issues of "fear" and "want". The two research questions to be answered in this study include:

  1. What are the ideologies represented in the discourse of guidance for life in spiritual self-help books and that of fortune telling in Thai magazines?
  2. What are the linguistic strategies adopted for representing these ideologies?

ผลงานวิจัย/ผลผลิต

  1. บทความวิจัยภาษาอังกฤษ 1 เรื่อง
  2. บทความวิจัยภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ 1 เรื่อง
  3. วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต 1 เรื่อง

Research/Outputs

Two research papers and one dissertation


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. สร้างองค์ความรู้ด้านวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์
  2. เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ประเด็นทางสังคมโดยใช้ข้อมูลภาษา ด้วยกรอบการวิเคราะห์ตามแนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์
  3. ส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจและรู้เท่าทันอุดมการณ์หรือชุดความคิดสื่อผ่านกลวิธีทางภาษาในวาทกรรมหนังสือแนะนำแนวทางการดำเนินชีวิตและคำพยากรณ์ดวงชะตา
  4. เกิดองค์ความรู้ที่จะนำไปจัดการกับ "ความกลัว" และ "ความขาดแคลน" ในสังคมไทย อันเป็นหนทางในการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

Expected Benefits

It is anticipated that the findings of this study will lead to an understanding and awareness of the construction of some ideologies related to "fear" and "want" in the discourse of guidance for life in spiritual self-help books and those of fortune telling. This may, consequently, yield some insight into the issues of "fear" and "want" which may contribute to the enhancement of mental security which is fundamental for human security in Thai society.

Also, this study may serve as another sample analysis for those interested in applying a critical discourse analysis to uncover the relationship between social issues and language. Hence, it will potentially contribute to the burgeoning field of CDA in the Thai academic realm.