แนะนำหนังสือใหม่ “มิติเชิงสังคมของความรู้ : ญาณวิทยาเชิงสังคม” โดย ผศ.ดร.ศิรประภา ชวะนะญาณ

แนะนำหนังสือ “มิติเชิงสังคมของความรู้: ญาณวิทยาเชิงสังคม” ที่จะชวนผู้อ่านขบคิดเกี่ยวกับธรรมชาติของความรู้และมิติทางสังคม  สั่งซื้อได้ที่ ศูนย์หนังสือจุฬา หรือที่เว็บไซต์ https://bit.ly/2NH7RW2

รายการวิทยุ “อักษรพาที” ประจำเดือนมีนาคม 2564

รายการวิทยุ “อักษรพาที” ประจำเดือนมีนาคม 2564ออกอากาศที่สถานีวิทยุ FM 101.5 ทุกวันเสาร์ เวลา 08.05 – 08.30 น. 6 มีนาคม 2564 เรื่อง “เรื่องราวของหยางกุ้ยเฟย” โดย อ.ดร.พิชญา วิภาวีนุกูล13 มีนาคม 2564 เรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกสาวชาวเติร์กในวรรณกรรมเยาวชน เรื่อง ฉันเป็นคนเยอรมันเชื้อสายเติร์ก” โดย ผศ.ดร.ศิริพร ศรีวรกานต์20 มีนาคม 2564 เรื่อง “นิยายวิทยาศาสตร์สมัยใหม่” โดย อ.ดร.ณัชพล บุญประเสริฐกิจ27 มีนาคม 2564 เรื่อง “ใครฆ่าราวณะ ? ความสัมพันธ์ระหว่างราวณะกับพระรามและพระลักษมณ์ในรามายณะฉบับของศาสนาเชน” โดย อ.ดร.บุณฑริกา บุญโญ ฟังรายการย้อนหลังได้ที่ https://curadio.chula.ac.th/Radio-Demand.ph

เปิดรับสมัคร ENGLISH COURSES ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564

เปิดรับสมัคร ENGLISH COURSES ได้แก่– คอร์ส Writing Enrichment คลิกเพื่อดูรายละเอียด– คอร์ส English Business Writing คลิกเพื่อดูรายละเอียด – คอร์ส English through Movies คลิกเพื่อดูรายละเอียด เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564

บรรณาธิการบริหารนิตยสาร National Geographic (ภาษาไทย) ได้มาบรรยายให้นิสิตรายวิชา “แปลสเปน 2”

วันอังคารที่ 30 มีนาคม 2564 คุณโกวิทย์ ผดุงเรืองกิจ บรรณาธิการบริหารนิตยสาร National Geographic (ภาษาไทย) ได้มาบรรยายให้นิสิตรายวิชา “แปลสเปน 2” ฟังในหัวข้อ “การแปลสารคดี: ข้อสังเกต ปัญหา และทางออก” คุณโกวิทย์ได้เล่าถึงงานในฐานะที่เป็นบรรณาธิการและผู้ตรวจแก้งานแปลของนิตยสาร และได้ยกตัวอย่างปัญหาที่พบในงานแปลหลากหลายแง่มุม เช่น การแปลตรงตัว การปรับภาษาและการคำนึงถึงบริบททางวัฒนธรรมในการแปล การเล่นคำ ปัญหาระหว่างการแปลถูกกับความสละสลวย และการรักษาสำนวนและรูปแบบภาษาต้นฉบับในภาษาปลายทาง El martes 30 de marzo, en nuestra clase de Traduccion II, recibimos a Kowit Phadungruangkij, editor ejecutivo de la revista NATIONAL GEOGRAPHIC de la versión tailandesa, con su exposición […]

ขอเชิญชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ขอเชิญชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “รัตนแห่งจุฬาฯ” เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 66 พรรษา ณ บริเวณชั้น G ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม ถึงวันที่ 5 เมษายน ศกนี้

คณบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บำเพ็ญกุศลในโอกาส 104 ปี คณะอักษรศาสตร์

วันที่ 29 มีนาคม 2564 รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บำเพ็ญกุศลในโอกาส 104 ปี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ พระวิหารวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม การนี้ เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เลขานุการสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานสงฆ์

ผู้แทนคณะอักษรศาสตร์ร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายสักการะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสครบรอบ 104 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาฯ

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2564 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรดา จิตรกร รองคณบดี พร้อมด้วยคณาจารย์และบุคลากร ผู้แทนคณะอักษรศาสตร์ อาจารย์รศนาภรณ์ วีรวรรณ และรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐมา พงศ์ไพโรจน์ ผู้แทนสมาคมนิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ ในพระราชูปถัมภ์ฯ ร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายสักการะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสครบรอบ 104 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า

ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงานเสวนา “สู่ ‘ประวัติศาสตร์วิถี’ ในทฤษฎีภาพยนตร์: ประวัติศาสตร์นิพนธ์ภาพยนตร์ในบริบทโลก ‘Global South’”

ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงานเสวนา “สู่ ‘ประวัติศาสตร์วิถี’ ในทฤษฎีภาพยนตร์: ประวัติศาสตร์นิพนธ์ภาพยนตร์ในบริบทโลก ‘Global South’” (The “Historical Turn” in Film Theory: Film Historiography of the Global South) ในวันศุกร์ที่ 2 เมษายน 2564 เวลา 19:00-20:30 น. วิทยากร คือ ผศ.ดร.ปาลิตา จุนแสงจันทร์ ซึ่งเป็นศิษย์เก่าของภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ เป็นนักเรียนทุนมูลนิธิอานันทมหิดล และตอนนี้เป็นอาจารย์ประจำสาขา Asian and Middle Eastern Studies ที่ University of Minnesota หลังจากอาจารย์บรรยายเสร็จ จะมี discussion panel มาร่วมถกงานของอาจารย์ ซึ่งแต่ละคนเป็นแนวหน้าในแวดวงภาพยนตร์ศึกษาและภาพยนตร์วิจารณ์ของไทย ผู้ที่สนใจด้านภาพยนตร์วิจารณ์ ทฤษฎีภาพยนตร์ ภาพยนตร์ไทยยุคแรกเริ่ม รอรับชมทาง Facebook Live เพจ […]

COVID-19 and the Plagued Humanities Crisis

On April 2, 2021, at 10 a.m. (Thailand), via Zoom, the Faculty of Arts will welcome Gregory Rutledge, University of Nebraska – Lincoln, Associate Professor at the Department of English and an expert in ethnic studies. He will share with us his reflection on his efforts to use the Human as subject for literary studies […]

แนะนำหนังสือใหม่ “แปดประเด็นภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น” โดย ผศ.ดร.อัษฎายุทธ ชูศรี

แนะนำหนังสือ “แปดประเด็นภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น” สำหรับผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นกลาง ชั้นสูง ที่ต้องการรู้ลึกเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่น หนังสือประกอบด้วยบทหลัก 8 บทดังสารบัญ ครอบคลุมเรื่องเสียง รูปเขียน และการสร้างประโยค สั่งซื้อได้ที่ ศูนย์หนังสือจุฬา หรือที่เว็บไซต์ https://bit.ly/31yYATl ราคา 351 บาท (ราคาปก 390 บาท)

คณบดีประชุมหารือเกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือในโครงการประชาสัมพันธ์ประเทศในแถบตะวันออกกลางและภูมิภาคอื่น ๆ

วันอังคารที่ 23 มีนาคม 2564 รองศาสตราจารย์ ดร. สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ต้อนรับนายดามพ์ บุญธรรม อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา นายต่อ ศรลัมพ์ ผู้อำนวยการกองตะวันออกกลาง และนางสาวน้ำริน อนุกูล นักการทูตชำนาญการ กองตะวันออกกลาง ที่เข้าพบเพื่อประชุมหารือเกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือในโครงการประชาสัมพันธ์ประเทศในแถบตะวันออกกลางและภูมิภาคอื่น ๆ เช่น เอเชียใต้ แก่คนไทย โดยมุ่งเน้นภาษาและวัฒนธรรม ปัจจุบันมีคนไทยจำนวนไม่น้อยอาศัยอยู่ในประเทศตะวันออกกลาง เช่น อียิปต์ อิหร่าน โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมน การประชาสัมพันธ์ภูมิภาคแถบนี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้คนไทยรู้จักภาษาและวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้มากยิ่งขึ้น และเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างคนไทยและผู้คนในภูมิภาคดังกล่าว ในการประชุมนี้ นอกจากคณบดีคณะอักษรศาสตร์แล้ว ยังมีผู้บริหารคณะและคณาจารย์จากสาขาวิชาเอเชียใต้เข้าร่วมประชุม คือ รองศาสตราจารย์ ดร.วิลิตา ศรีอุฬารพงศ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรดา จิตรกร รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ อาจารย์ ดร.ณัชพล ศิริสวัสดิ์ และอาจารย์กิตติพงศ์ บุญเกิด Meeting […]

ละครเวที ในวันที่ตัวฉัน…หายไป “Wounded Mind” จัดแสดง 19-25 เมษายนนี้ ณ ศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมล

ในวันที่ตัวฉัน…หายไป “Wounded Mind”
ละครเวทีเรื่องนี้เป็นการทำงานข้ามศาสตร์ของคณาจารย์จากภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และคณาจารย์ นิสิตปัจจุบันและนิสิตเก่าจากภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อสร้างความรับรู้และความเข้าใจสภาวะซึมเศร้า …

เชิญรับชมวิดีโองานเสวนา “เรียนวรรณคดีก็มีที่ไปจ้า”

เชิญรับชมวิดีโองานเสวนา “เรียนวรรณคดีก็มีที่ไปจ้า” โครงการแนะแนวอาชีพของภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย …

อัครราชทูตที่ปรึกษาของสถานทูตกัวเตมาลาประจำประเทศไทย มาบรรยายให้นิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาสเปน

เมื่อวันศุกร์ที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมา สาขาวิชาภาษาสเปนได้รับเกียรติจากอัครราชทูตที่ปรึกษาของสถานทูตกัวเตมาลาประจำประเทศไทย มาบรรยายให้นิสิตชั้นปีที่ 3 ฟังเกี่ยวกับอารยธรรมมายา ปฏิทินมายา และความสำคัญของโบราณสถาน Takalik Abaj ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญ ๆ ของชาวมายาจวบจนทุกวันนี้ …

ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าฟังการบรรยายพิเศษเรื่อง “ข้อแนะนำในการวิจัยด้านวาทกรรมศึกษา: จากไอเดียสู่ผลงานตีพิมพ์”

ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าฟังการบรรยายพิเศษเรื่อง “ข้อแนะนำในการวิจัยด้านวาทกรรมศึกษา: จากไอเดียสู่ผลงานตีพิมพ์” วิทยากร: ผศ. ดร.สาวิตรี คทวณิช (คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์) วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564 เวลา 11.00-12.00 น. (เวลาประเทศไทย) ถ่ายทอดออนไลน์ผ่าน Zoom ลงทะเบียนได้ที่ https://bit.ly/3bxyeWy