คำถามที่ถามบ่อย(FAQs) เกี่ยวกับ “กลุ่มภารกิจ งานบุคคลและสวัสดิการ”
และ “กลุ่มภารกิจสารบรรณ พิธีการและอาคารสถานที่”
(คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดคำถามที่ถามบ่อยในรูปแบบไฟล์ pdf)
1. ขั้นตอนการบรรจุพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการเป็นอย่างไร
การบรรจุพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การบรรจุนักเรียนทุนและการบรรจุบุคคลทั่วไป
2. การรับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการมีขั้นตอนอย่างไร
กรณีบรรจุนักเรียนทุน (ไม่ต้องประกาศรับสมัคร)
- ภาควิชาทำบันทึกขออนุมัติอัตราบรรจุนักเรียนทุนระบุชื่อ-นามสกุล ชื่อทุน วุฒิที่จบ และแนบเอกสาร ใบสมัครงาน วุฒิการศึกษา สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน
- งานบุคคลจะเสนอคณะกรรมการบริหารคณะฯ พิจารณาอนุมัติ
- งานบุคคลแจ้งภาควิชาให้ทำบันทึกเสนอชื่อคณะกรรมการสอบคัดเลือกฯ (นักเรียนทุน) และแจ้งวัน เวลา สถานที่สอบข้อเขียนและสัมภาษณ์
คณบดี ประธาน
รองคณบดี (ด้านวิชาการ) กรรมการ
หัวหน้าภาควิชา กรรมการ
(อาจารย์ในภาค/สาขา) กรรมการและเลขานุการ
เจ้าหน้าที่บุคคล ผู้ช่วยเลขานุการ
**รองคณบดี (คณะศิลปกรรมศาสตร์/รองผู้อำนวยการสถาบันภาษา) เข้าร่วมสอบสัมภาษณ์ตามระเบียบการสรรหาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรณีบรรจุบุคคลทั่วไป (หากภาควิชา/ศูนย์ได้รับอนุมัติอัตราบรรจุพนักงานฯแล้ว)
- งานบุคคลจะส่งบันทึกและประกาศรับสมัครให้ตรวจสอบสาขาวิชาที่รับสมัคร และกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง และให้ภาควิชาส่งใบประกาศดังกล่าวกลับมาที่งานบุคคล พร้อมทั้งเสนอรายชื่ออาจารย์ในภาควิชา 2 ท่าน (หัวหน้าภาค + อาจารย์ในภาค/สาขา) เพื่อเป็นกรรมการสอบคัดเลือกฯ
- งานบุคคลประกาศรับสมัครผ่านระบบ ที่ www.hrm.chula.ac.th/รับสมัครงาน โดยรับสมัครไม่น้อยกว่า 15 วัน
- งานบุคคลแต่งตั้งคณะกรรมการฯ
- หากปิดรับสมัครแล้วงานบุคคลจะส่งรายชื่อ ใบสมัคร วุฒิการศึกษา และคุณสมบัติของผู้สมัครให้ภาควิชาตรวจสอบและแจ้งวัน/เวลา/สถานที่สอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์
- งานบุคคลทำบันทึกเชิญกรรมการสอบสัมภาษณ์ (เอกสารเชิญสอบสัมภาษณ์ของหัวหน้าภาควิชาจะแนบแบบฟอร์มกรอกผลคะแนนไปให้เพื่อให้คณะกรรมการลงนามในวันสอบสัมภาษณ์)
- เมื่อการสอบเสร็จสิ้นภาควิชาส่งผลคะแนนสอบที่งานบุคคล และงานบุคคลทำเรื่องขอบรรจุจ้างพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการเข้าคณะกรรมการบริหารคณะฯ เพื่อเสนอมหาวิทยาลัยตามขั้นตอนต่อไป
3. คณะกรรมการสรรหาพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ (อาจารย์) ประกอบด้วยใครบ้าง
คณบดี รองคณบดีที่ดูแลด้านวิชาการ รองคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์/ผู้อำนวยการสถาบันภาษา(จำนวน 1 ท่าน เป็นกรรมการโดยระเบียบการสรรหาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) หัวหน้าภาควิชา และพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการในภาควิชา
คณบดี ประธาน
รองคณบดี (ด้านวิชาการ) กรรมการ
หัวหน้าภาควิชา กรรมการ
(อาจารย์ในภาค/สาขา) กรรมการและเลขานุการ
เจ้าหน้าที่บุคคล ผู้ช่วยเลขานุการ
4. การขอจ้างพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ มีขั้นตอนอย่างไร
หลังจากกระบวนการสรรหาเสร็จสิ้นลงแล้ว ภาควิชาส่งใบสมัคร สำเนาบัตรประชาชน/สำเนารับรองวุฒิการศึกษา/ทะเบียนบ้าน/ใบผ่านการเกณฑ์ทหาร/หน้าสมุดบัญชี ข้อตกลงภาระงาน (assignment sheet) แบบแสดงหน้าที่และความรับผิดชอบ (job description) ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการที่ผ่านการสรรหามาที่งานบุคคล หลังจากผ่านการอนุมัติของที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะอักษรศาสตร์แล้ว งานบุคคลจะส่งสัญญาทดลองปฏิบัติงานให้ลงนาม ก่อนจะส่งให้มหาวิทยาลัยตรวจสอบและออกคำสั่งอนุมัติการจ้าง ระหว่างนี้งานบุคคลจะทำเรื่องตรวจสอบวุฒิและประวัติของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการด้วย
5. การตรวจสอบวุฒิการศึกษาของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการมีขั้นตอนอย่างไร
งานบุคคลจะส่งคำขอตรวจสอบวุฒิการศึกษาไปยังสถาบันที่พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการสำเร็จการศึกษามา และรอการแจ้งผลตอบกลับ
6. การตรวจสอบประวัติของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการใหม่มีขั้นตอนอย่างไร
งานบุคคลจะออกจดหมายให้พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการถือจดหมายดังกล่าวเพื่อไปตรวจสอบประวัติของตนที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะส่งผลการตรวจสอบประวัติแจ้งมาที่คณะ
7. กระบวนการขอบรรจุพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการใช้เวลาประมาณเท่าไหร่
โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน
8. สามารถขอบรรจุพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการที่มีเพียงวุฒิปริญญาตรีหรือวุฒิปริญญาโทได้หรือไม่
ตามข้อบังคับจุฬาฯ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ.2557 หมวด 3 พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการกลุ่มคณาจารย์ประจำ และกลุ่มนักวิจัย จะต้องจบการศึกษาระดับไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หากมีความจำเป็นต้องรับพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการด้วยวุฒิปริญญาตรีหรือวุฒิปริญญาโท จะต้องขอยกเว้นคุณสมบัติเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งหน่วยงานจะต้องชี้แจงและอธิบายถึงความจำเป็นอย่างยิ่งยวด พร้อมทั้งแสดงคุณสมบัติที่โดดเด่นของผู้สมัคร แผนและทุนการศึกษาที่ชัดเจนของผู้สมัครเพื่อจะศึกษาได้จนถึงระดับปริญญาเอก รวมทั้งเสนอแผนการพัฒนาของหน่วยงานที่ตรงกับนโยบายของคณะฯและมหาวิทยาลัย เมื่อพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการท่านนั้นได้วุฒิระดับปริญญาเอกแล้วจะต้องขอปรับวุฒิการศึกษาหลังจากพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการจบการศึกษาระดับปริญญาเอกแล้วด้วย (โดยเสนอเข้าคณะกรรมการบริหารคณะอักษรศาสตร์ และเสนอไปที่มหาวิทยาลัยตามขั้นตอนต่อไป)
9. การขอยกเว้นคุณสมบัติพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการบรรจุใหม่มีขั้นตอนอย่างไร
ก่อนการรับสมัคร ภาควิชาส่งบันทึกข้อความชี้แจงเหตุผล พร้อมแนบแบบฟอร์มขอยกเว้นคุณสมบัติและแผนการดำเนินงานของภาค ส่งให้งานบุคคล เพื่อรอการอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะอักษรศาสตร์และเสนอไปที่มหาวิทยาลัยตามขั้นตอนต่อไป
10. สามารถจ้างอาจารย์ที่เกษียณอายุราชการไปแล้วได้หรือไม่
ภาควิชาสามารถเชิญอาจารย์ที่เกษียณแล้วมาช่วยสอนในรายวิชาที่ยังหาผู้สอนไม่ได้ในฐานะอาจารย์พิเศษในบางรายวิชา แต่หากหน่วยงานมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องทำสัญญาจ้างอาจารย์ที่เกษียณแล้ว ขอให้ปรึกษากับคณะผู้บริหาร หากเห็นพ้องว่าเป็นเรื่องจำเป็นจึงให้ทำเรื่องขออนุมัติจากกรรมการบริหารคณะฯ
11. คณะจะจ้างอาจารย์ที่เกษียณอายุราชการไปแล้วไม่เกินกี่ปีนับจากวันที่เกษียณ
คณะไม่สนับสนุนให้มีการจ้างต่อเนื่อง ภาควิชาควรหารือกับคณะผู้บริหารเพื่อวางแผนแก้ปัญหาระยะยาว
12. อัตราเงินเดือนของอาจารย์ที่เกษียณอายุราชการแล้วจะเท่ากับอัตราเงินเดือนก่อนเกษียณหรือไม่
ไม่เท่ากัน จะได้อัตราเงินเดือนที่ต่ำกว่าอัตราเงินเดือนก่อนเกษียณ (อัตราเงินเดือนตามวุฒิบรรจุพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ)
13. การจ้างอาจารย์ที่เกษียณอายุราชการแล้วมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
ภาควิชาส่งบันทึกพร้อมแบบฟอร์มขอจ้างบุคคลอายุเกิน 60 ปี (ล่วงหน้า 4 เดือนก่อนเกษียณอายุกรณีมีตำแหน่งทางวิชาการต่ำกว่าศาสตราจารย์) ประวัติพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ข้อตกลงภาระงาน ให้งานบุคคล หลังจากผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารคณะอักษรศาสตร์แล้วพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการจะได้รับแจ้งให้ไปตรวจสุขภาพกายที่ศูนย์บริการสุขภาพและตรวจสุขภาพจิตที่คณะแพทยศาสตร์ เมื่อมหาวิทยาลัยอนุมัติแล้วงานบุคคลจะนัดพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการมาทำสัญญาปฏิบัติงานหรือส่งสัญญาปฏิบัติงานให้ที่ภาควิชา
14. การรับสมัครอาจารย์ชาวต่างชาติ (ลูกจ้างชาวต่างประเทศ และพนักงานวิสามัญ) มีขั้นตอนอย่างไร
สำหรับอาจารย์ชาวต่างชาติ ให้ภาควิชาเป็นผู้ดำเนินการสรรหา งานบุคคลจะดำเนินการในขั้นตอนการขอจ้างเท่านั้น
15. การขอจ้างอาจารย์ชาวต่างชาติ (ลูกจ้างชาวต่างประเทศ และพนักงานวิสามัญ) มีขั้นตอนอย่างไร
กรณีเป็นอาจารย์ชาวต่างประเทศ หลังจากภาควิชาสรรหาและได้คนแล้ว ภาควิชาส่งบันทึกขอจ้างมาที่งานบุคคลพร้อมแนบเอกสารการสมัครงาน (วุฒิการศึกษา สำเนาหนังสือเดินทาง (passport) ที่มีวีซ่าแบบ non-immigrant B และสำเนาใบอนุญาตทำงาน (work permit) สำเนาใบผ่านงาน (ถ้ามี)
กรณีเป็นพนักงานวิสามัญ ภาควิชาทำบันทึกขออนุมัติอัตราจ้างพนักงานวิสามัญ (ซึ่งจะต้องระบุโครงการเพื่อขออัตราจ้างตามแบบฟอร์ม) และขอจ้างพนักงานวิสามัญ โดยระบุชื่อ และตำแหน่งที่จะขอจ้าง และงานบุคคลจะเสนอเรื่องเข้าคณะกรรมการบริหารคณะอักษรศาสตร์เพื่อส่งขออนุมัติมหาวิทยาลัยตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้หากมหาวิทยาลัยอนุมัติอัตราจ้างพนักงานวิสามัญแล้วจึงจะทำเรื่องขอจ้างพนักงานวิสามัญได้ แต่หากมหาวิทยาลัยไม่อนุมัติอัตราดังกล่าวก็ไม่สามารถจ้างพนักงานวิสามัญได้
16. การรับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการ ต่างจากการรับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการอย่างไร
พนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการจะต้องเปิดรับสมัครไม่ต่ำกว่า 15 วัน และรับสมัครผ่าน www.hrm.chula.ac.th/รับสมัครงาน ทั้งนี้ผู้สมัครต้องสอบข้อสอบประเมินความถนัดของมหาวิทยาลัยโดยผลสอบต้องไม่ต่ำกว่าระดับปานกลาง
17. ข้อสอบกลาง (ประเมินความถนัด) มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
ข้อสอบเป็นคณิตศาสตร์ และภาษาไทย
18. สัญญาทดลองปฏิบัติงานมีระยะเวลาเท่าไหร่
12 เดือน
19. การประเมินผลในสัญญาทดลองปฏิบัติงานมีทั้งหมดกี่ครั้ง
2 ครั้ง ครั้งที่หนึ่งประเมินของ 4 เดือนแรก ครั้งที่สองประเมินของ 8 เดือนหลัง
20. การประเมินผลการทดลองปฏิบัติงานครั้งใดที่จะมีการขึ้นเปอร์เซ็นต์เงินเดือน
ครั้งที่สอง จะขึ้นเมื่อครบทดลองปฏิบัติงานครบ 12 เดือนแล้ว
21. จะได้รับการขึ้นเงินเดือน(จากการประเมินผลการทดลองปฏิบัติงาน) ได้มากที่สุดกี่เปอร์เซนต์
ไม่เกิน 4 เปอร์เซ็นต์ ของเงินเดือน
22. การต่อสัญญาจ้างหลังจากการประเมินผลสัญญาทดลองปฏิบัติงานมีขั้นตอนอย่างไร
งานบุคคลส่งบันทึกแจ้งหัวหน้าภาควิชา/ผู้อำนวยการศูนย์ พร้อมแนบแบบประเมินต่อสัญญาปฏิบัติงาน ให้ประเมินต่อสัญญาพนักงานฯ และให้ส่งกลับคืนมาที่งานบุคคล เพื่อรวบรวมข้อมูลก่อนจะนัดประชุมกรรมการประเมินของคณะอักษรศาสตร์ และส่งผลเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะอักษรศาสตร์ หลังจากนั้นจึงส่งสัญญาฉบับใหม่ให้พนักงานมหาวิทยาลัยลงนาม และส่งสัญญาคืนที่งานบุคคล
23. การต่อสัญญาจ้างมีขั้นตอนแตกต่างจากการต่อสัญญาจ้างหลังจากการประเมินผลสัญญาทดลองปฏิบัติงานอย่างไร
มีขั้นตอนเหมือนกัน การต่อสัญญาจ้างจะอ้างอิงผลการประเมินประจำปีที่ผ่านมาทั้งหมด
24. เงื่อนไขการขอตำแหน่งทางวิชาการตามสัญญาจ้างมีใจความอย่างไร
พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการจะต้องขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์ให้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
25. การขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ตามสัญญาจ้างมีระยะเวลาเท่าไหร่
จะต้องขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ภายในสัญญาจ้าง 3 ฉบับ ดังนี้
ฉบับที่หนึ่ง (3 ปี) → ฉบับที่สอง (2 ปี) → ฉบับที่สาม (2 ปี)
26. การขอตำแหน่งรองศาสตราจารย์ตามสัญญาจ้างมีระยะเวลาเท่าไหร่
จะต้องขอตำแหน่งรองศาสตราจารย์ภายในสัญญาจ้าง 3 ฉบับ ดังนี้
ฉบับที่หนึ่ง (5 ปี) → ฉบับที่สอง (3 ปี) → ฉบับที่สาม (3 ปี)
27. กระบวนการสิ้นสุดสัญญาเนื่องจากไม่ได้ยื่นเรื่องขอตำแหน่งทางวิชาการเป็นอย่างไร
งานบุคคลจะส่งบันทึกแจ้งเตือนให้พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการลงนามรับทราบล่วงหน้า 5-6 เดือนก่อนหมดสัญญา หลังจากนั้นจึงส่งเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะอักษรศาสตร์และแจ้งกับมหาวิทยาลัยต่อไป
28. หากไม่ได้ยื่นเรื่องขอตำแหน่งภายในระยะเวลาที่สัญญาจ้างกำหนดทำให้ถูกยกเลิกสัญญา จะยังได้รับเงินชดเชยหรือไม่
ได้รับเงินชดเชยตามปกติ ตามข้อบังคับจุฬาฯ
29. หากสัญญาจ้างฉบับสุดท้ายกำลังจะสิ้นสุดลงและได้ยื่นเรื่องขอตำแหน่งไปแล้วแต่ยังไม่ทราบผล ต้องทำอย่างไร
สามารถต่อสัญญารอผลการขอตำแหน่งทางวิชาการอีกได้ 12 เดือน โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะอักษรศาสตร์ก่อน หลังจากมหาวิทยาลัยประกาศผลการขอตำแหน่งแล้วจึงจะทำเรื่องเปลี่ยนสัญญาใหม่ต่อไป
30. การขอปรับวุฒิการศึกษาเมื่อได้วุฒิปริญญาเอกแล้วมีขั้นตอนอย่างไร
หลังจากได้วุฒิปริญญาเอกแล้ว พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการส่งบันทึกขอปรับวุฒิการศึกษาผ่านภาควิชาเพื่อรอการอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะอักษรศาสตร์ และงานบุคคลจะจัดทำสัญญาใหม่ให้พนักงานมหาวิทยาลัยลงนามและส่งเรื่องขอปรับวุฒิไปที่มหาวิทยาลัยตามขั้นตอนต่อไป
31. จะขอลาออกต้องทำอย่างไร
พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการทำบันทึกขอลาออกล่วงหน้า 1 เดือน พร้อมแนบแบบฟอร์ม พม.15 (และสำเนาหน้าบัญชีหากเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) ส่งผ่านภาควิชามาที่งานบุคคล เพื่อส่งมหาวิทยาลัยตามขั้นตอนต่อไป
สำหรับในกรณีเปลี่ยนตำแหน่งหรือสอบได้ที่คณะอื่น ให้แนบแบบฟอร์ม พม.27
32. ขอรับสิทธิ์ประกันสังคมต้องทำอย่างไร
กรอกแบบฟอร์มส่งให้กับงานบุคคล
33. สามารถใช้สิทธิ์ได้ที่โรงพยาบาลใดบ้าง
ในขั้นตอนการสมัครจะได้รับรายชื่อโรงพยาบาลมาให้เลือก
34. สามารถขอเปลี่ยนโรงพยาบาลที่ใช้สิทธิ์ได้หรือไม่
สามารถขอเปลี่ยนได้ปีละ 1 ครั้ง (ช่วงเดือนมกราคม)
35. หากจะขอเปลี่ยนโรงพยาบาลที่สังกัดในการรับสิทธิ์ประกันสังคมต้องทำอย่างไร
กรอกแบบฟอร์มที่ใช้ขอรับสิทธิ์พร้อมแนบบัตรใบเก่าส่งให้งานบุคคล
36. สมัครเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องทำอย่างไร
กรอกใบสมัครส่งให้งานบุคคล
37. สามารถสมัครเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ในช่วงใดบ้าง
สมัครได้ตลอดทั้งปี
38. จะได้รับการแจ้งยอดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อไหร่
ทุกๆ 6 เดือน
39. สามารถขอเปลี่ยนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ในช่วงใด
พร้อมกันกับตอนที่ได้รับแจ้งยอดกองทุน
40. หากต้องการเปลี่ยนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องทำอย่างไร
กรอกรายละเอียดในใบขอเปลี่ยนกองทุนส่งให้งานบุคคล
41. ขอรับสิทธิ์ประกันสุขภาพกลุ่มต้องทำอย่างไร
ส่งใบสมัครให้งานบุคคล
42. สามารถขอซื้อสิทธิ์ประกันสุขภาพกลุ่มเพิ่มให้กับผู้อื่นได้หรือไม่
สามารถขอซื้อสิทธิ์ให้กับบิดา มารดา บุตร และคู่สมรสที่มีอายุไม่เกิน 65 ปีได้ และต้องแถลงสุขภาพ (เงื่อนไขคือต้องไม่เป็นโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูง)
43. ประกันสุขภาพกลุ่มคุ้มครองอะไรบ้าง
สามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://www.hrm.chula.ac.th/newhrm/ประกันสุขภาพแบบกลุ่ม/
44. ขอเบิกค่ารักษาพยาบาลโดยใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพกลุ่มต้องทำอย่างไร
ส่งใบเสร็จและใบรับรองแพทย์ให้งานบุคคลตรวจสอบก่อนส่งให้มหาวิทยาลัยดำเนินการ เมื่อเสร็จสิ้นแล้วงานการเงินของมหาวิทยาลัยจะโอนเงินเข้ายังบัญชีที่ได้แจ้งไว้
45. ขอรับเงินทุนอุดหนุนการศึกษาบุตรประจำปีต้องทำอย่างไร
รอรับแบบฟอร์มจากงานบุคคลเพื่อกรอกข้อมูลส่งคืนงานบุคคลภายในเดือนสิงหาคมของทุกปี
46. จะได้เงินทุนอุดหนุนการศึกษาบุตรประจำปีเท่าไหร่
ช่วงชั้น ป.1 – ป.6 ได้ 2,000 บาทต่อปี
ช่วงชั้น ม.1 – ปวช. ได้ 3,200 บาทต่อปี
(ยกเว้นบุตรที่ศึกษาที่สาธิตจุฬาฯ จะไม่สามารถเบิกได้)
47. ต้องทำงานนานเท่าไหร่จึงจะมีสิทธิ์ได้รับเงินทุนอุดหนุนการศึกษาบุตรประจำปี
อย่างน้อย 1 ปี
48. ผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินทุนอุดหนุนการศึกษาบุตรประจำปีคือใคร
ข้าราชการ ลูกจ้างประจำฯ พนักงานมหาวิทยาลัย ที่บุตรไม่ได้เข้าสาธิตจุฬาฯ
49. ใครจะได้สิทธิ์สมัครเข้าสาธิตจุฬาฯ
พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ และพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการระดับ P6 ขึ้นไป (ต้องทำงานในระดับ P6 เป็นระยะเวลา 3 ปีขึ้นไป)
50. ผู้ได้สิทธิ์สมัครเข้าสาธิตจุฬาฯ (ฝ่ายประถม) จะสมัครเข้าในชั้นปีอะไรและบุตรต้องมีอายุเท่าไหร่
สมัครเข้าในชั้น ป.1 บุตรอายุ 6 ปี
51. จะขอใช้สิทธิ์สมัครเข้าสาธิตจุฬาฯ ทำอย่างไร
รอรับแบบฟอร์มจากงานบุคคลเพื่อกรอกข้อมูลส่งคืน (ต้องสมัครล่วงหน้า 5 ปี)
52. การตรวจสุขภาพประจำปีมีขั้นตอนอย่างไร
งานบุคคลจะส่งคำชี้แจงวัน เวลา และสถานที่ให้ไปตรวจสุขภาพพร้อมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการตรวจ หลังจากตรวจแล้วประมาณ 2 เดือนจะได้รับผลการตรวจจากจุฬาฯ ผ่านงานบุคคล
53. ขอหนังสือรับรองการทำงานต้องทำอย่างไร
กรอกแบบฟอร์มส่งให้งานบุคคลล่วงหน้า 3 วัน
54. หากต้องการให้ออกหนังสือรับรองเงินเดือนด้วยต้องทำอย่างไร
แจ้งรายละเอียดในแบบฟอร์มขอหนังสือรับรองการทำงาน
55. การขอหนังสือรับรองการทำงานต้องใช้เวลานานเท่าใด
ประมาณ 3 วัน
56. การขอหนังสือรับรองการทำงานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้เวลาเท่ากันหรือไม่
เท่ากัน
57. ขอจองรถตู้ของคณะต้องทำอย่างไร
ให้จองรถผ่านระบบ Arts One Stop Service (http://www.arts.chula.ac.th/~v2017/)
58. เวลาการใช้รถตู้คณะฯตามปกติคือช่วงเวลาใด
วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 7.30 น. – 16.30 น. (สามารถขอจองรถนอกเวลาราชการได้หากคนขับรถตู้สะดวกทำงานในช่วงเวลาดังกล่าว)
59. หากต้องการจองใช้รถนอกเวลาราชการต้องทำอย่างไร
ให้จองรถผ่านระบบ Arts One Stop Service (http://www.arts.chula.ac.th/~v2017/)
โดยให้พิมพ์ใบจองในระบบออกมา และให้หัวหน้าภาควิชาหรือหัวหน้าหน่วยงานลงนามล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วัน
60. การจองรถตู้นอกเวลาราชการมีค่าใช้จ่ายหรือไม่
ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ คนขับรถสามารถนำแบบฟอร์มการจองรถมาทำเรื่องเบิกเงินนอกเวลาราชการได้ โดยวันจันทร์ถึงวันศุกร์เบิกได้ 4 ชั่วโมง วันเสาร์และอาทิตย์เบิกได้ 7 ชั่วโมง
61. สามารถจองใช้รถนอกเวลาได้ในช่วงเวลาใดบ้าง
ไม่มีกำหนดเวลา แต่คนขับรถตู้ต้องสะดวกทำงานในช่วงเวลาดังกล่าว
62. รถตู้ของคณะมีทั้งหมดกี่คัน
2 คัน
63. สามารถจองรถไปต่างจังหวัดสามารถได้หรือไม่
กรณีขอใช้รถไปต่างจังหวัด จะใช้ได้ในเขตปริมณฑล จังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม (ระยะห่างจากคณะฯไม่เกิน 80 กิโลเมตร) และเป็นการใช้ในรายวิชา ไม่สามารถใช้ในการทำกิจกรรมของนิสิตได้ การใช้รถไปต่างจังหวัดต้องแจ้งและจองล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วันทำการ
64. การขอลา ป.พ. มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
ส่งบันทึกขอลา ป.พ. พร้อมแนบแบบฟอร์ม ประวัติส่วนตัว และโครงร่างงานวิจัย แผนการดำเนินงานลาป.พ. ผ่านภาควิชามาที่งานบุคคล เพื่อรอการอนุมัติจากคณะกรรมการ ก.พ.ส.(คณะกรรมการกลั่นกรองการอนุมัติลาไปเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการประจำส่วนงาน) จากนั้นจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะอักษรศาสตร์ (อาจมีความเห็นจากคณะกรรมการ ก.พ.ส.ให้พิจารณาแก้ไขโครงร่าง)
65. หากจะลา ป.พ. ต้องเริ่มดำเนินการตั้งแต่เมื่อไหร่
สามารถยื่นเรื่องลาได้ 2 ช่วง ใน 1 ปี คือ เดือนพฤษภาคม (เพื่อลาเดือนมกราคมของปีถัดไป) และเดือนธันวาคม (เพื่อลาเดือนสิงหาคมของปีถัดไป)
66. การลาป.พ. ต้องศึกษาข้อบังคับและประกาศ ที่ใด
การยื่นการลาป.พ.ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ให้ใช้ข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วย การให้บุคลากรสายวิชาการลาไปเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ พ.ศ. 2562 รายละเอียดที่
นอกจากนี้ ให้ใช้ควบคู่กับประกาศ คณะอักษรศาสตร์ว่าด้วย แผนแม่บท หลักเกณฑ์การกำหนดประเภทผลงานและผลผลิต สำหรับการประกอบการเสนอขออนุมัติ การลาไปเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ ที่ได้ประกาศให้ทราบโดยทั่วไป ประกอบด้วย
67. ในการลา ป.พ. แต่ละครั้งต้องทิ้งระยะห่างนานแค่ไหน
ต้องปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี (ไม่นับระยะเวลาลาศึกษา/ฝึกอบรม/ดูงาน/วิจัย)
– การลาครั้งต่อไป หลังจากกลับจากการลาป.พ. ก่อนหน้า ไม่น้อยกว่า 5 ปี
68. ช่วงที่ลา ป.พ. จะได้รับเงินเดือนและการพิจารณาขึ้นเงินเดือนตามปกติหรือไม่
ได้รับเงินเดือนและการขึ้นเงินเดือนตามปกติ
69. ช่วงที่ลา ป.พ. จะเดินทางไปต่างประเทศได้หรือไม่
ไปได้ แต่ต้องเขียนระบุไว้ในแผนดำเนินงานของการลาป.พ. หากไม่ได้ระบุในแผนดังกล่าวจำเป็นต้องทำเรื่องขออนุมัติปรับแผน และงานบุคคลจะเสนอคณะกรรมการบริหารคณะฯเพื่อส่งให้มหาวิทยาลัยต่อไป
นอกจากนี้ นอกเหนือจากการทำแผนดำเนินงานดังกล่าวแล้ว จะต้องทำเรื่องลาไปต่างประเทศล่วงหน้าอย่างน้อย 10 วันทำการก่อนเดินทางไปต่างประเทศ โดยให้อ้างอิงแผนการดำเนินงานของการลา ป.พ. ที่แก้ไข และจะต้องได้รับการอนุมัติก่อนเดินทาง
70. จะต้องรายงานความก้าวหน้าการลาป.พ.ทุกๆ กี่เดือน
ทุก 3 เดือน (เดือนที่ 3, 6, 9, 12)
71. การรายงานความก้าวหน้าการลาป.พ.มีขั้นตอนอย่างไร
ข้าราชการ/พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการกรอกแบบฟอร์มและแนบผลงานของตนส่งให้ภาควิชา ภาควิชาจะส่งให้งานบุคคลเสนอคณะกรรมการ ก.พ.ส.ก่อนเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะอักษรศาสตร์และส่งให้มหาวิทยาลัยต่อไป
72. จะต้องส่งรายงานฉบับสมบูรณ์การลาป.พ.เมื่อไหร่
หลังจากครบกำหนดการลา 1 เดือน (เช่น กรณีลา 12 เดือนต้องส่งรายงานภายในเดือนที่ 13)
73. การส่งรายงานฉบับสมบูรณ์การลาป.พ.มีขั้นตอนอย่างไร
พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการกรอกแบบฟอร์มและแนบรายงานฉบับสมบูรณ์ส่งให้งานบุคคลผ่านภาควิชา งานบุคคลจะส่งให้คณะกรรมการ ก.พ.ส. (คณะกรรมการกลั่นกรองการอนุมัติลาไปเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการประจำส่วนงาน)พิจารณา และส่งให้อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน
(อาจมีความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิให้พิจารณาแก้ไข) จากนั้นงานบุคคลจะเสนอต่อคณะกรรมการ ก.พ.ส. ก่อนเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะอักษรศาสตร์ต่อไป
74. ใครเป็นผู้กำหนดผู้ทรงคุณวุฒิที่อ่านรายงานฉบับสมบูรณ์การลา ป.พ.
คณะกรรมการ ก.พ.ส. (คณะกรรมการกลั่นกรองการอนุมัติลาไปเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการประจำส่วนงาน)
75. ผู้ทรงคุณวุฒิที่อ่านรายงานฉบับสมบูรณ์การลา ป.พ. มีจำนวนกี่ท่าน
1 ท่าน ต่อ 1 สาขาวิชา ทั้งนี้แล้วแต่ คณะกรรมการ ก.พ.ส. (คณะกรรมการกลั่นกรองการอนุมัติลาไปเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการประจำส่วนงาน)
76. หากไม่ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์การลา ป.พ. จะต้องรับโทษอย่างไร
จะไม่สามารถลา ป.พ. ได้อีก และจะไม่ได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนในปีนั้น นอกจากนี้อาจจะมีบทลงโทษอื่นตามประกาศของคณะอักษรศาสตร์ และตามมติของคณะกรรมการ ก.พ.ส. (คณะกรรมการกลั่นกรองการอนุมัติลาไปเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการประจำส่วนงาน)
77. การขอลาปฏิบัติงานต่างประเทศมีขั้นตอนอย่างไร
พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการทำบันทึกแจ้งงานบุคคลและรอการอนุมัติจากคณบดี หากลาเกิน 15วัน จะต้องรอมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะอักษรศาสตร์
78. สามารถลาปฏิบัติงานต่างประเทศได้นานเท่าไร
แล้วแต่กรณี ตามประเภทของการลา (สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่งานบุคคล)
79. สามารถขอลาปฏิบัติงานต่างประเทศเป็นระยะเวลามากกว่า 3 เดือนได้หรือไม่
หากลาเกิน 3 เดือนจะต้องขอลาฝึกอบรมวิจัย ซึ่งมีขั้นตอนเหมือนกับการลาศึกษาต่อ
80. กระบวนการลาศึกษาต่อ/ลาฝึกอบรมวิจัยเป็นอย่างไร
พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการที่จะลาจะต้องส่งบันทึกแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน หลังจากได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารคณะอักษรศาสตร์แล้ว งานบุคคลจะนัดพนักงานมหาวิทยาลัยมาทำสัญญา หลังจากนั้นคณะจึงส่งเรื่องต่อให้มหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณา พร้อมทั้งส่งบันทึกแจ้งวันเดินทางเพื่อให้มหาวิทยาลัยออกคำสั่งลาศึกษาต่อ
81. ต้องทำงานมาอย่างน้อยเท่าใด จึงจะลาศึกษาต่อได้
ต้องทำงานครบ 1 ปี
82. ขณะที่ลาศึกษาต่อหรือลาอบรม จะได้รับเงินเดือนหรือไม่
ได้รับเงินเดือนตามปกติ แต่จะไม่ได้รับการปรับขึ้นเงินเดือน
83. การลาประเภทใดบ้างที่ต้องมีผู้ค้ำประกัน
ลาฝึกอบรมวิจัยและลาศึกษาต่อ
84. การทำสัญญาเพื่อลาศึกษาต่อ ใครจะเป็นผู้ค้ำประกันได้
บิดาและมารดา หรือ คู่สมรสและพี่น้องสายเลือดเดียวกัน
85. การขอขยายเวลาศึกษาต่อทำอย่างไร
ภาควิชาส่งบันทึกและจดหมายแจ้งรายละเอียดของ อ.ที่ปรึกษา ส่งมาที่งานบุคคลก่อนหมดสัญญา 1 ปี
86. หากไม่สามารถกลับมาปฏิบัติงานได้ ต้องชดใช้เป็นจำนวนเงินเท่าใด
ขึ้นอยู่กับสัญญาทุนการศึกษาที่ทำกับมหาวิทยาลัย
87. หลังจากลาอบรม ลาศึกษาต่อแล้วต้องกลับมาปฏิบัติงานเป็นเวลานานเท่าใด
เป็นระยะเวลา 2 เท่าของช่วงเวลาที่ลา
88. การลาศึกษาครึ่งเวลาคืออะไร ต่างกับลาศึกษาเต็มเวลาอย่างไร
พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการจะต้องปฏิบัติงานสอนด้วยและลาศึกษาในวันที่ไม่มีสอน การลาศึกษาครึ่งเวลาไม่ต้องทำสัญญาเหมือนการลาศึกษาเต็มเวลา
89. สามารถขอลาได้ในรูปแบบใดบ้างและมีระยะเวลามากสุดเท่าไหร่
- ลาป่วยไม่เกิน 30 วัน ต่อปีงบประมาณ
- ลากิจไม่เกิน 10 วัน ต่อปีงบประมาณ
- ลาพักผ่อนไม่เกิน 10 วัน ต่อปีงบประมาณ
- ลาคลอดไม่เกิน 90 วัน (หญิง)
- ลาดูแลบุตรไม่เกิน 10 วัน (ชาย)
90. การขอลาแบบต่างๆ ข้างต้นมีขั้นตอนอย่างไร
พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการส่งใบลาพนักงานมหาวิทยาลัยให้กับงานบุคคล โดยมีหัวหน้าภาควิชาลงนามรับรอง
91 มีการลาประเภทใดที่สามารถนำวันลาที่เหลือไปสะสมรวมกับวันลาของปีงบประมาณถัดไปได้บ้างหรือไม่
วันลาพักผ่อนสามารถสะสมรวมกับปีงบประมาณถัดไปไม่เกิน 20 วัน (30 วัน สำหรับตำแหน่งศาสตราจารย์)
92. เงินชดเชยวันลา (กรณีเกษียณอายุหรือสิ้นสุดสัญญา) คิดในอัตราเท่าไหร่
(เงินเดือนก่อนเกษียณ × จำนวนวันลาพักผ่อนสะสมที่เหลือ(ไม่เกิน20วันทำการ))/ (30(จำนวนวันในเดือนสุดท้ายก่อนสิ้นสุดปีงบประมาณ))
93. แต่ละปีงบประมาณเริ่มนับตั้งแต่วันที่เท่าไหร่
1 ต.ค. – 30ก.ย. ของปีถัดไป
94. จำนวนวันลาในหนึ่งปีงบประมาณของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการแตกต่างกับของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการหรือไม่
ไม่แตกต่างกัน
95. ขั้นตอนการลาออนไลน์ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการเป็นอย่างไร
ก่อนหน้าวันลา 3 วัน log in เข้าเว็บไซต์ ess.it.chula.ac.th ด้วยรหัสผ่านที่ได้รับ เลือกหัวข้องานบริหารจัดการด้านการลา และกรอกรายละเอียดใบลา
96. จำเป็นต้องแนบไฟล์เป็นหลักฐานด้วยหรือไม่
ขึ้นอยู่กับข้อตกลงร่วมกันภายในหน่วยงาน ปัจจุบันฝ่ายบริหารคณะอักษรศาสตร์มีมติให้แนบใบลงนามแทนด้วย
97. การแนบไฟล์ใบลงนามแทนทำอย่างไร
สแกนเอกสารดังกล่าวเป็นไฟล์รูปภาพแล้วอัพโหลดเข้าสู่ระบบ
98. เข็มทองคำเกียรติคุณคืออะไร ต้องทำงานมาครบกี่ปีจึงจะได้เข็มดังกล่าว
เข็มเชิดชูเกียรติของจุฬาฯ ที่มีให้กับบุคลากรผู้ทำงานกับจุฬาฯ เป็นเวลา 25 ปีเต็ม (สามารถนับตั้งแต่บรรจุที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างชั่วคราวหรือพนักงานมหาวิทยาลัยหรือพนักงานวิสามัญ)
99. เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยมีอะไรบ้าง
พนักงานหมวดเงินอุดหนุนมีสิทธิ์ขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พนักงานหมวดเงินรายได้ไม่สามารถขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้
รายละเอียดของเครื่องราชอิสริยาภรณ์และคุณสมบัติผู้ขอ มีดังต่อไปนี้
พนักงานมหาวิทยาลัย
หมวดเงินอุดหนุน |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ที่พึงขอพระราชทาน |
คุณสมบัติ |
1. ประจำแผนกหรือ
ตำแหน่งเทียบเท่า |
บ.ม.
บ.ช จ.ช. |
– ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 5 ปีบริบูรณ์ ขอ บ.ม.
– ได้ บ.ม. มาแล้ว 5 ปี – ได้ บ.ช. มาแล้ว 5 ปี – ได้ จ.ม. มาแล้ว 5 ปี |
2. หัวหน้าแผนก หรือ
ตำแหน่งเทียบเท่า |
จ.ม.
จ.ช. ต.ม. |
– ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ม.
– ได้ จ.ม. มาแล้ว 5 ปี – ได้ จ.ช. มาแล้ว 5 ปี |
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือ
อาจารย์ |
จ.ช.
ต.ม. ต.ช. ท.ม. |
– ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ช.
– ได้ จ.ช. มาแล้ว 5 ปี – ได้ ต.ม. มาแล้ว 5 ปี – ได้ ต.ช. มาแล้ว 5 ปี |
4. ผู้ช่วยอธิการบดี รอง
คณบดี รองผู้อำนวยการศูนย์ รองผู้อำนวยการสถาบัน หัวหน้าภาควิชา หรือตำแหน่งเทียบเท่า |
ต.ม.
ต.ช. ท.ม. |
– ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ต.ม.
– ได้ ต.ม. มาแล้ว 5 ปี – ได้ ต.ช. มาแล้ว 5 ปี |
5. รองศาสตราจารย์ | ต.ม.
ต.ช. ท.ม. ท.ช. ป.ม. |
– ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ต.ม.
– ได้ ต.ม. มาแล้ว 5 ปี – ได้ ต.ช. มาแล้ว 5 ปี – ได้ ท.ม. มาแล้ว 5 ปี – ได้ ท.ช. มาแล้ว 3 ปี |
6. รองอธิการบดี คณบดี
ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการการศูนย์ หรือ ตำแหน่งเทียบเท่า |
ท.ม.
ท.ช. |
– ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ท.ม.
– ได้ ท.ม. มาแล้ว 5 ปี |
7. ศาสตราจารย์ | ท.ม.
ท.ช. ป.ม. ป.ช. |
– ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ท.ม.
– ได้ ท.ม. มาแล้ว 5 ปี – ได้ ท.ช. มาแล้ว 3 ปี – ได้ ป.ม. มาแล้ว 3 ปี |
8. อธิการบดี หรือ
ตำแหน่งเทียบเท่า |
ท.ม.
ท.ช. ป.ม. |
– ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ท.ม.
– ได้ ท.ม. มาแล้ว 5 ปี – ได้ ท.ช. มาแล้ว 3 ปี |
100. ขั้นตอนการขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นอย่างไร
งานการเจ้าหน้าที่จะดำเนินการให้ทั้งหมด ส่วนชั้นสายสะพายขึ้นไป เมื่อมีการโปรดเกล้าฯและกำหนดวันเข้ารับพระราชทานวันใด งานการเจ้าหน้าที่ ป.ม. ขึ้นไป จะแจ้งวันเวลาให้ไปเข้าร่วมพิธีประราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ด้วยตนเอง
101. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งหมดจะได้รับถาวรหรือไม่
ไม่ได้รับถาวร และต้องส่งคืนทั้งหมดเมื่อถึงแก่กรรม แต่จะมีใบประกาศแจกให้ทุกระดับชั้นเครี่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ ยกเว้นเหรียญจักรพรรดิมาลาที่ไม่ต้องคืน
102. การขอเลื่อนชั้นเครื่องราชอิสริยาภรณ์แต่ละครั้งต้องเว้นระยะเวลากี่ปี
5 ปี ยกเว้น
- การเลื่อนชั้น ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) สำหรับรองศาสตราจารย์และอธิการบดี เว้นระยะเวลา 3 ปี
- การเลื่อนชั้น ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) สำหรับศาสตราจารย์ เว้นระยะเวลา 3 ปี
103. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในระดับชั้นใดที่มีสายสะพาย
ตั้งแต่ชั้น ประถมาภรณ์ช้างเผือกขึ้นไป
104. สามารถขอพระราชทานเพลิงศพให้กับตนเองได้ตั้งแต่ระดับชั้นใด
เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
105. สามารถขอพระราชทานเพลิงศพให้กับบิดา-มารดาได้ตั้งแต่ระดับชั้นใด
ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
106. การยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการมีขั้นตอนอย่างไร
พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการส่งผลงาน แบบฟอร์มขอตำแหน่งทางวิชาการ พร้อมแนบเอกสารประกอบการสอน ประมวลรายวิชา และแบบประเมินรายวิชา ของ 1 รายวิชา (2 ภาคการศึกษา) ที่พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการเป็นผู้สอน มาที่งานบุคคล หลังจากงานบุคคลนัดประชุมกรรมการพิจารณาการขอตำแหน่งแล้วจะแจ้งให้พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการส่งบันทึกขอตำแหน่งทางวิชาการและรอผลการพิจารณา
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.arts.chula.ac.th/fpcs/
107. สามารถใช้เอกสาร/แบบประเมินของวิชาที่สอนร่วมกับพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการท่านอื่นได้หรือไม่
สามารถทำได้ โดยใช้เอกสารในส่วนของตนเองซึ่งจะต้องมีชั่วโมงการสอนรวมกันไม่น้อยกว่ารายวิชา 2 หน่วยกิต (32 ชั่วโมงการสอน)
108. ต้องรอผลการพิจารณาขอตำแหน่งนานแค่ไหน
โดยส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใช้อ่านผลงาน (หากมติของคณะกรรมการไม่เป็นเอกฉันท์จะต้องนัดประชุมเพิ่มด้วย) เมื่อรวมกับระยะเวลาที่ต้องส่งเรื่องติดต่อระหว่างคณะและมหาวิทยาลัยด้วยแล้วโดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 3-12 เดือน
109. หลังจากการขอตำแหน่งฯ เสร็จสิ้นแล้วจะต้องทำอย่างไร
งานบุคคลจะแจ้งนัดวันให้พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการไปลงนามสัญญาฉบับใหม่
ตัวอย่างเอกสาร
- ใบประกาศรับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการใหม่
- ใบสมัครสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ
- แบบฟอร์มขอยกเว้นคุณสมบัติ
- แบบฟอร์มขอจ้างบุคคลอายุเกิน 60 ปี
- แบบฟอร์มขอลาออก
- ใบขอรับรองสิทธิประกันสังคม
- ใบสมัครกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- แบบฟอร์มขอเปลี่ยนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- แบบฟอร์มขอรับสิทธิ์ประกันสุขภาพกลุ่ม
- แบบฟอร์มขอรับเงินทุนอุดหนุนการศึกษาบุตรประจำปี
- แบบฟอร์มขอใช้สิทธิ์สมัครเข้าสาธิตจุฬาฯ
- แบบฟอร์มขอหนังสือรับรองการทำงาน
- แบบฟอร์มขออนุมัติลา ป.พ.
- แบบฟอร์มรายงานความก้าวหน้า
- แบบฟอร์มขอส่งรายงานฉบับสมบูรณ์
- แบบคำขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
- แบบสรุปเอกสารประเมินการสอน
- แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ
- ใบลา
- ใบลงนามแทน