Faculty of Arts อาจารย์-บุคลากร
นิสิตปัจจุบัน
ผู้ที่ต้องการเข้าศึกษา
ศิษย์เก่า
 
Home | Download |
about us

 

 

 

 

 

หน้าแรก ผู้ที่ต้องการเข้าศึกษา  มุมมองอักษรผ่านศิษย์เก่าคนดัง

มุมมองอักษรผ่านศิษย์เก่าคนดัง

บทสัมภาษณ์ศิษย์เก่า คนดัง จาก รำแพนฉบับครบขวบ (ปี 2553) จัดทำโดย ฝ่ายสาราณียกร คณะกรรมการนิสิตอักษรศาสตร์

พัณณิดา ภูมิวัฒน์

นักเขียนมือรางวัลรุ่นใหม่ นิสิตอักษรศาสตร์รหัส 42 เจ้าของนิยายแนวแฟนตาซี และไซ-ไฟ อาทิ ไมรอน มาโอ เซรีญา ซึ่งรู้จักกันดีในโลกอินเตอร์เน็ต ว่า ลวิตร์(เคียว)

“พี่ไม่มีความตั้งใจจะเข้าอักษร การที่พี่สอบเข้าอักษรศาสตร์เพราะอยากเป็นนักเขียนตั้งแต่เด็กๆ แต่พี่ไม่รู้ว่าทำอย่างไรถึงจะเป็นนักเขียนได้ ไม่มีใครบอก พี่ก็เลยคิดมาตลอดว่ารู้สึกต้องเข้าอักษร จริงๆ แล้วมันเป็นความคิดแบบเด็กๆ ว่าเออนี่แหละวิธีการ ความมุ่งมั่นอยากเป็นนักเขียนของพี่ ดูได้จากเรียงความตั้งแต่ ป.1-6 ที่พี่กลับไปเปิดดู มีอยู่ 2 ปีเท่านั้นเอกที่บอกว่าไม่อยากเป็นนักเขียน พี่เป็นคนอ่านหนังสือเยอะบางทีตอนเขียนหนังสือ พี่ก็ไม่รู้ว่าพี่เขียนหนังสือหรือเล่าเรื่องนะ เพราะตอนเด็กๆ แม่พี่ชอบเล่านิทาน แม่พี่ก็อ่านหนังสือเยอะแล้วแม่ก็จะเล่านิทานตลอดเวลา บาทีแม่พี่คิดนิทานไม่ออกเรื่องอะไรอ่านมาก็เล่าให้ฟังหมดทุกเรื่อง พี่อยากเล่าเรื่อง อยากแต่งเรื่องของตัวเอง ก็บางทีอ่านหนังสือหลายเรื่องก็ยังไม่เจอเรื่องที่พี่อยากอ่านจริงๆ สักที เลยเขียนเองก็ได้”

“เรื่องที่เขียนตอนรอผล Ent’ ชื่อ ฯพณฯ แห่งกาลเวลา อยู่ที่นายอินทร์ ลงถนนนักเขียน สมัยนั้นยังไม่มีเด็กดี และเป็นบอร์ดแห่งแรกที่คนจะลงเรื่องได้ พี่ก็ปลอมตัวเป็นผู้ชายเพราะพี่เขียนนิยายวิทยาศาสตร์ พี่กลัวว่าถ้ารู้ว่าพี่เป็นผู้หญิงแล้วคนจะไม่อ่าน มันเป็นความคิดของเด็กๆ ก็แบบว่าเออถ้าฉันเป็นผู้หญิงฉันจะเขียนเรื่องรักหรือเปล่า เค้าจะคิดว่าฉันแปลกหรือเปล่า เรื่องที่พี่เขียนส่วนใหญ่เป็น Soft sci-fi คือพี่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีมาก แต่คือ Science-Fiction มันเป็นเรื่องที่ตั้งคำถามบางอย่าง แล้วมันพยายามตามไปเรื่อยเพื่อจะตอบได้ไหม อย่างเช่น ถ้าคนเราไม่แก่ ไม่ตาย เพราะ Science-Fiction มันเขียนแล้วจะเห็นชัดกว่า”

“หลังจากหนังสือออก พี่ก็ค้นพบว่าพี่ไม่ใช่นักเขียนตลาด พี่ไม่ได้หวังเลยนะ อย่างตอนเด็กๆ พี่ไม่ได้หวังว่าพี่จะดัง พี่เขียนอย่างเดียว แล้วทีนี้เมื่อสิ่งที่เขียนไปถึงคนอ่านแล้วเนี่ย คนที่ชอบก็ชอบ คนที่ไม่อ่านก็ไม่อ่าน คือ คนอ่านก็จะมีอยู่กลุ่มหนึ่ง อะไรอย่างนี้แล้วพี่ก็จะแบบว่า มันก็มีบางช่วงเหมือนกัน รู้สึกว่าไม่ยักกะดังแบบว่าทะลุฟ้าเหมือนชาวบ้านเค้าเลย เศร้าจัง อะไรอย่างเนี้ย คือ มีหนังสือเรื่องหนึ่งชื่อ ค่ำคืนหนึ่งในฤดูหนาวนักเดินทางคนหนึ่ง (เรื่องที่ใช้บุรุษที่ 2 เขียน) สนุกๆเพราะว่ามันกัดทุกอย่างในวงการหนังสือ เค้าก็เล่าว่า มีนักเขียน 2 คน คนหนึ่งเป็นนักเขียนตลาด คนอ่านเยอะแยะ รวย อีกคนหนึ่งเป็นนักเขียนแนวความคิดซึ่งมีคนยกย่องเยอะ แต่ไม่รวย แล้วทั้งสองคนก็อิจฉากันเอง แล้ววันหนึ่งทั้งสองคนพยายามเขียนอีกแบบที่ไม่ใช่ตัวเอง แล้วนักอ่านก็แบบว่าอะไรของพวกแก อะไรอย่างนี้  เออ...”

“กิจกรรมพี่อยู่ชมรมวรรณศิลป์ก็จริงนะ แต่ส่วนใหญ่ไปยุ่งชมรมภาษาจีนมากกว่า รุ่นพี่มีจุฬาวิชาการ 2 ปี พี่ก็ทำ มีจัดค่างพวกเอกจีนไปกันเอง แล้วก็มีค่ายปี 1 พี่ควรไปขึ้นดอยซักหนหนึ่ง แต่เพื่อนพี่มันไม่ยอมไป บอกว่าไปกับแกแล้วเดียวแกตายอยู่บนดอยแล้วลากลงมาไม่ได้ (ฮา) ชมรมวรรณศิลป์ไม่ค่อยเข้า อย่างไงดี บางทีพี่ออกแนวหมาป่าโดดเดี่ยวหน่อยๆ เพราะไม่รู้จะคุยอะไรกับใครพี่คุยเรื่องหนังสือเยอะ แต่บางทีมันอ่านหนังสือไม่เหมือนกัน ไม่รู้จะคุยอะไร พี่อ่านหนังสือวรรณกรรมเยาวชนเยอะมาก ถ้าเขาอ่านเรื่องแบบว่า เรื่องสูงๆ พี่ก็จะรู้สึกว่า ฉันอ่านอะไรผิดหรือเปล่า แต่ตอนนี้คิดว่าอ่านอะไรก็เหมือนกันแล้ว”

“ตั้งแต่เข้ามหาลัยช่วงแรกๆเลย พี่รู้สึกว่าโตมาอีกขั้นหนึ่ง เหมือนกับว่าความคิดอยู่ๆ มันก็เปิดกว้างขึ้น เพราะเราเห็นคนมากขึ้น เห็นคนหลากหลายได้เรียนหลายๆอย่าง วิธีคิด วิธีค้น วิธีเข้าใจ วิธีเขียนหนังสือ วิธีคุยกับผู้ใหญ่ พี่ไม่ได้มองตัววิชาการแต่พี่มองว่ามันมีบางอย่างมากกว่าวิชาการที่พี่ได้ เดี๋ยวนี้เพื่อนๆก็ยังคบเป็นเพื่อนกันอยู่และมันก็เป็นเพื่อนที่ดี อย่างอาจารย์เค้าอาจรู้สึกว่าเค้าสอนพี่สำเร็จรึเปล่า ได้ยัดวิชาเข้าไปในกบาลของพี่แต่พี่นับถือเขานะ นับถือในความพยายามของเค้าคือพี่ respect มนุษย์ในฐานะ มนุษย์มากกว่าก็เหมือนพี่เป็นนักเขียน บางคนเค้าอาจจะไม่อ่านหนังสือพี่ แต่ถ้าพี่ดูเป็นคน OK ในสายตาเค้าพี่ก็ OK ได้บอกอะไรเค้าบ้าง แต่อยู่อักษรก็ดีนะ การที่อยู่อักษรมันไม่บังคับ มันไม่ต้องทำให้เรารู้สึกว่าจบออกมาชั้นต้องเป็นหมอ ถ้าชั้นไม่เป็นหมอจะต้องเกิดโลกโลกาวินาศ มันให้บรรยากาศแบบที่จะเกิดอะไรขึ้นก็ได้ในอนาคตเยอะดีเหมือนกัน”

 
 
See Also
นิสิตปัจจุบัน
เกี่ยวกับคณะอักษรศาสตร์