Faculty of Arts อาจารย์-บุคลากร
นิสิตปัจจุบัน
ผู้ที่ต้องการเข้าศึกษา
ศิษย์เก่า
 
Home | Download |
about us

 

 

 

 

 

หน้าแรก เกี่ยวกับคณะอักษรศาสตร์  ท่องแดนเทวาลัย

ท่องแดนเทวาลัย

อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ เป็นอาคารหลังแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกแบบโดย ดร. คาร์ล โดริง ( Dr. Karl Dohring) นายช่างชาวเยอรมันซึ่งรับราชการในกระทรวงมหาดไทยและนายเอ็ดเวิร์ด ฮีลี (Mr. Edward Healey) นายช่างชาวอังกฤษซึ่งรับราชการในกระทรวงธรรมการโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างเมื่อ พ. ศ. ๒๔๕๖ เพื่อเป็นตึกบัญชาการของโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ของอาคารเมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๒๔๕๘ สภากรรมการจัดการโรงเรียนได้ปรึกษาตกลงกันว่าจะให้สร้างอาคารเป็นแบบไทย จึงให้นายช่างทั้งสองไปตรวจแบบไทยโบราณที่สุโขทัยและสวรรคโลกมาคิดปรุงขึ้นเป็นแบบตึกของโรงเรียน ต่อมาเมื่อโรงเรียนได้รับการประดิษฐานขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๔๕๙ จึงกลายมาเป็นอาคารเรียนของคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์

 

 
อาคารมหาวชิราวุธ เป็นที่ตั้งของสำนักคณบดี สำนักงานเลขานุการคณะอักษรศาสตร์ สมาคมนิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ ศูนย์เรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อให้นิสิตสามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
จากสื่อโสตทัศน์ประเภทต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของห้องพิพิธพัสดุ์ไท-กะได
และห้องโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการคณะอักษรศาสตร์

 

 

 

 

 

อาคารบรมราชกุมารี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๗ บริเวณโถงชั้นล่างของอาคารเป็นที่นั่งทำงานของนิสิต ชั้น ๒ เป็นที่ตั้งของศูนย์คอมพิวเตอร์ ชั้นสามถึงชั้นหก เป็นห้องเรียนขนาด ๓๐๐ ที่นั่ง ๑ ห้อง ขนาด ๑๕๐ ที่นั่ง ๔ ห้อง ขนาด ๗๐ ที่นั่ง ๘ ห้อง ขนาด ๓๐ ที่นั่ง ๓๒ ห้อง ชั้นเจ็ดเป็นห้องประชุม ๕ ห้อง ชั้นแปดถึงชั้นสิบสองเป็นห้องทำงานของอาจารย์ ชั้นสิบสามเป็นสำนักงานของศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา สำนักงานของหลักสูตรนานาชาติ สำนักงานของวารสารวิชาการระดับนานาชาติ สำนักงานของศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์วรรณคดีศึกษา และหน่วยวิชาอารยธรรมไทย

 

 

 

 

 

 

อาคารมหาจักรีสิรินธร ชื่ออาคารนี้ เป็นชื่ออาคารที่ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับการออกแบบและงบประมาณการก่อสร้างในปี ๒๕๕๐ อันเป็นปีมงคลวาร ๙๐ ปี คณะอักษรศาสตร์พอดี เป็นอาคารของคณะอักษรศาสตร์ ขนาดสูง ๙ ชั้น ประกอบไปด้วย ห้องอ่านหนังสือ ห้องประชุม ๙ ห้อง ห้องปฏิบัติการภาษา คอมพิวเตอร์และภูมิศาสตร์ ๗ ห้อง และห้องเรียน ๙๐ ห้อง ซึ่งจำแนกเป็น ห้องเรียน ๙ ที่นั่ง ๒๔ ห้อง ห้องเรียน ๑๕ ที่นั่ง ๒๔ ห้อง ห้องเรียน ๑๘ ที่นั่ง ๑๒ ห้อง ห้องเรียน ๒๐ ที่นั่ง ๖ ห้อง ห้องเรียน ๓๒ ที่นั่ง ๑๒ ห้อง และห้องเรียน ๖๐ ที่นั่ง ๑๒ ห้อง