In an Antique Land และ The Counting House

   
    ฝ่ายวิจัย คณะอักษรศาสตร์ จัดบรรยายพิเศษในโครงการอาศรมวิจัย เรื่อง In an Antique Land และ The Counting House นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ในมุมมองโพสต์โคโลเนียล คุณวริตตา ศรีรัตน นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยแอนดรูส์ และนักเรียนทุนอานันทมหิดล เป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย อ.ดร.ภาวรรณ เรืองศิลป์ วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ณ ห้อง ๗๐๗ อาคารบรมราชกุมารี

 
     ต้อนรับผู้แทนจาก Faculty of Languages and Arts : Semarang State University

    ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ รศ.ดร.พจี ยุวชิต รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ รศ.ฉลอง สุนทราวาณิชย์ หัวหน้าภาวิชาประวัติศาสตร์ และ ผศ.ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล ผู้แทนภาควิชาภาษาศาสตร์ ให้การต้อนรับผู้แทนจาก Faculty of Languages and Arts : Semarang State University ประเทศอินโดนีเซีย และคณะเพื่อศึกษาดูงานและหารือเกี่ยวกับการสร้างกิจกรรมความร่วมมือด้านอักษรศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ณ ห้อง ๗๐๖ อาคารบรมราชกุมารี
 
     ผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณคดีญี่ปุ่นพบคณบดี


    รศ.ดร.เสาวลักษณ์ สุริยะวงศ์ไพศาล ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น พา Prof.Dr.Yukie Tanaka ผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณคดีญี่ปุ่นจากมหาวิทยาลัย Nishogakusha ประเทศญี่ปุ่น เข้าเยี่ยมคารวะคณบดีคณะอักษรศาสตร์ ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ณ สำนักคณบดี อาคารมหาวชิราวุธ

     แข่งขันขับร้องเพลงโอลิมปิก

    สาขาวิชาภาษาจีน คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการแข่งขันร้องเพลงโอลิมปิก ให้แก่นิสิตสาขาวิชาภาษาจีน
คณะอักษรศาสตร์ วันจันทร์ที่ ๒๕ สิงหาคม
พ.ศ.๒๕๕๑ ณ ห้อง ๔๐๑ อาคารบรมราชกุมารี

 
    โครงการเชิญผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ

สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก เรียนเชิญผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ

   - Prof. Dr.Satoshi Uehara จากมหาวิทยาลัย Tohoku ประเทศญี่ปุ่น มาบรรยายพิเศษและสอนในรายวิชา ๒๒๒๓๗๔๖ Seminar in Japanese Language Education สัมมนาการศึกษาภาษา ญี่ปุ่น ให้นิสิตหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาต่างประเทศ รวมถึงเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ อาจารย์ที่ปรึกษาชี้แนะทางวิชาการแก่นิสิตและอาจารย์สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ถึง ๑๖ กันยายน ๒๕๕๑
   - Prof.Dr.Yukie Tanaka จากมหาวิทยาลัย Nishogakusha ประเทศญี่ปุ่น มาสอนในรายวิชา ๒๒๒๓๖๑๗ JAPANESE IN CLASSICAL LITERATURE ภาษาญี่ปุ่นในวรรณคดีคลาสสิก ระหว่างวันที่ ๒๔ สิงหาคม ถึง ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๑

 
     กลวิธีการประพันธ์บทกวีแบบ ๕ บรรทัด (Gogyoka)
   สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก เรียนเชิญ Mr.Enta Kusakabe มาบรรยายพิเศษเรื่อง “กลวิธีการประพันธ์บทกวีแบบ ๕ บรรทัด (Gogyoka)” ให้แก่อาจารย์ นิสิตและบุคคลที่สนใจเข้าฟัง วันศุกร์ที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ณ ห้อง ๔๐๓ อาคารบรมราชกุมารี
 
     ตัวตนที่แปลกแยกจากความหลากหลายทางภาษาของตัวละครล่ามอาชีพในเรื่องสั้นชื่อ
     “สิมุลทาน” ของอิงเงอบอร์ก บัคมันน์”
   ภาควิชาภาษาตะวันตก จัดบรรยายพิเศษเรื่อง ตัวตนที่แปลกแยกจากความหลากหลายทางภาษาของ ตัวละครล่ามอาชีพในเรื่องสั้นชื่อ “สิมุลทาน” ของอิงเงอบอร์ก บัคมันน์” ศ.ถนอมนวล โอเจริญ เป็นวิทยากรเพื่อร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่ ศ.ถนอมนวล โอเจริญ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ และเพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านภาษ และวรรณคดีเยอรมันของอาจารย์อีกด้วย วันศุกร์ที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ณ ห้อง ๗๐๗ อาคารบรมราชกุมารี
 
   คะรุตะคืออะไร
   Mr.Mutsumi Yoshida Stone ประธานชมรมคะรุตะกรุงเทพฯ พร้อมด้วยคณะ บรรยายและสาธิตวิธีการเล่นคะรุตะ (การ์ดเกมส์ชนิดหนึ่งของญี่ปุ่น) ให้แก่อาจารย์ นิสิตและบุคคลที่สนใจเข้าฟัง วันศุกร์ที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ณ ห้อง ๔๐๓ อาคารบรมราชกุมารี
     Multiculturalism and international competence are a must for the interpreting

   
    ศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เชิญ Prof. Dr. Barbara Moser-merceor ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิชาการล่ามการประชุม แห่ง École de traduction et d’ interpretation (ETL) และ Director of the Conference Interpreting Program มหาวิทยาลัยเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มาบรรยายพิเศษ เรื่อง Multiculturalism and international competence are a must for the interpreting วันศุกร์ที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ระหว่างเวลา ณ ห้อง ๗๐๗ อาคารบรมราชกุมารี และจัด workshop ในหัวข้อ Teaching Consecutive and an introduction to Expertise Development วันเสาร์ที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ณ ห้องปฏิบัติการล่ามภาษา
อาคารบรมราชกุมารี

 
   ปฐมนิเทศนิสิต ประจำปี ๒๕๕๑


    หลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม(หลักสูตรนานาชาติ) จัดปฐมนิเทศนิสิตของหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม(หลักสูตรนานาชาติ) ศ.ดร.ธีระพันธ์เหลืองทองคำ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ กล่าวต้อนรับนิสิตของหลักสูตรฯ ประธานคณะกรรมการบริหาร หลักสูตรฯ และผู้แทนสาขาวิชาภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน แนะนำหลักสูตร
ผศ.ปทมา อัตนโถ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต แนะนำกิจกรรมและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย วันศุกร์ที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ณ ห้อง ๑๐๕ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์

 
   แผนที่โบราณไทย – เทศ: โลกภูมิสัณฐานแบบไตรภูมิ จักรวรรดินิยมตะวันตก และ “อธิปไตย” ของไทย

    ฝ่ายวิจัยคณะอักษรศาสตร์ จัดบรรยายพิเศษ เรื่อง แผนที่โบราณไทย – เทศ: โลกภูมิสัณฐานแบบไตรภูมิ จักรวรรดินิยมตะวันตก และ “อธิปไตย” ของไทย รศ.ฉลอง สุนทราวาณิชย์ เป็นวิทยากร ในโอกาสที่สภาวิจัยแห่งชาติประกาศเกียรติคุณ รศ.ฉลอง สุนทราวาณิชย์ เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี ๒๕๕๐ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้อันเป็นประโยชน์แก่วงวิชาการ และถือเป็นโอกาสแสดงความยินดีที่ รศ.ฉลอง สุนทราวาณิชย์ ได้รับการประกาศเกียรติคุณอันเป็นเกียรติยิ่ง วันพุธที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ณ ห้อง ๑๐๕ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์
 
   การประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อเฉลิมฉลอง ๔๐ ปี แห่งการสถาปนาองค์การอาเซียน

      ฝ่ายวิรัชกิจ คณะอักษรศาสตร์ จัดประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อเฉลิมฉลอง ๔๐ ปี แห่งการสถาปนาองค์การอาเซียน เรื่อง Language, Literature and Culture in ASEAN : Unity in Diversity
ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวเปิดงาน ฯพณฯ สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ปาฐกถานำ วันที่ ๔ ถึง ๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ณ ห้อง ๑๐๕ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์