เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสเยือนคณะอักษรศาสตร์


   ฯพณฯ Gildas Le Lidec เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย พร้อมคณะผู้ติดตามได้มาเยือนคณะอักษรศาสตร์ เพื่อพบปะพูดคุยกับผู้บริหารของคณะ คณาจารย์ และนิสิตสาขา วิชาภาษาฝรั่งเศส ในโอกาสนี้ รศ.สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ ผศ.สุนิจ สุตัณฑวิบูลย์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ผศ.ดร.หนึ่งฤดี โลหผล หัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันตก อ.ดร.อติพร เสถียรสุต หัวหน้าสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส และตัวแทนคณาจารย์สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสพร้อมนิสิตสาขาวิชาฯ ได้ร่วมต้อนรับ อ.ดร.อติพร เสถียรสุต หัวหน้าสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสรายงานสรุปการดำเนินงาน การจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมต่างๆ ของสาขาวิชาฯ
   จากนั้นได้เรียนเชิญ ฯพณฯ Gildas Le Lidec ชมอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ และศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสได้ให้ความสนใจแก่วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก และได้กล่าวชมนิสิตเจ้าของผลงานที่สามารถทำงานวิจัยระดับลึกด้านภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศส ก่อนเดินทางกลับ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสได้กล่าวขอบคุณสำหรับการต้อนรับและให้คำอวยพรแก่นิสิต ในวันจันทร์ที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓

     เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นเยือนคณะอักษรศาสตร์
   ฯพณฯ Kyoji Komachi เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย และภริยาให้เกียรติมาเยือน คณะ
อักษรศาสตร์ เพื่อพบปะพูดคุยกับผู้บริหาร คณาจารย์ และนิสิตคณะอักษรศาสตร์ และบรรยายพิเศษ พร้อม
ตอบข้อซักถามในหัวข้อ “Thai – Japanese Relations” จากนั้น ผศ.ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดี
ได้มอบพระเกี้ยวแก้วจำลองของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบัตรอวยพรภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันศุกร์ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓ ณ ห้อง 105 อาคาร
มหาจุฬาลงกรณ์
     ประวัติศาสตร์ชาติไทยและบุญคุณของพระมหากษัตริย์
   ภาควิชาภาษาไทย ร่วมกับฝ่ายกิจการนิสิต จัดการบรรยายพิเศษเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับนิสิต ในหัวข้อ”ประวัติศาสตร์ชาติไทยและบุญคุณของพระมหากษัตริย์”
บรรยายในรายวิชา ๒๒๐๑๓๒๗ การเขียนภาษาไทยเพื่อวิชาชีพ โดยนายหมวดโทธารณา คชเสนี อาจารย์กิตติมศักดิ์ของกองทัพอากาศ อดีตผู้พิพากษาสมทบคดีเด็กและเยาวชน

   คุณธารณา คชเสนี ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยมีเอกราชมาจนทุกวันนี้ ได้แก่ ๑.ศาสนา ๒.พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงประกอบด้วยทศพิธราชธรรม เสียสละ พระสิตปัญญา พระกตัญญุตา และความรัก และ ๓.เลือดเนื้อของคนไทย วันพุธที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓ ณ ห้อง ๕๐๓ อาคารบรมราชกุมารี
 
     การนำเสนอผลงานของนิสิตรายวิชา ๒๒๒๓๔๙๙ การศึกษาอิสระ
   นิสิตวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นชั้นปีที่ 4 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ๒๒๒๓๔๙๙ การศึกษาอิสระนำเสนอผลงานเป็นภาษาญี่ปุ่นให้แก่อาจารย์ นิสิต และบุคคลที่สนใจเข้าร่วมฟัง ในวันอังคารที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓ ณ ห้อง๗๐๗ อาคารบรมราชกุมารี
 
     ปัจฉิมนิเทศคณะอักษรศาสตร์
   ฝ่ายกิจการนิสิต คณะอักษรศาสตร์ จัดงานปัจฉิมนิเทศคณะอักษรศาสตร์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๒ มีการบรรยายพิเศษ เรื่อง“รู้จักตัวตนก่อนผจญโลกภายนอก” โดย พลอากาศตรี นายแพทย์บุญเลิศ จุลเกียรติ และ “เตรียมความพร้อมก่อนสมัครงาน” โดยคุณศิวพร ชนาเทพาพร พี่เก่าอักษรฯ ในงานยังมีนิทรรศการเกี่ยวกับการสมัครงาน ในวันศุกร์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓ ณ ห้อง ๒๑๐ และโถงชั้นล่าง อาคารมหาจุฬาลงกรณ์
 
     มอบหนังสือสำคัญแก่ผู้เข้าอบรมโครงการอบรมภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ

   โครงการอบรมภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ (Intensive Program) มอบหนังสือสำคัญให้แก่ผู้เข้าอบรมชาวต่างชาติที่จบในระดับสูง ขั้น ๓ (Advanced 3) ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายของโปรแกรม ผศ.สรรควัฒน์ ประดิษฐพงษ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต เป็นตัวแทน คณบดีคณะอักษรศาสตร์ และ อ.ดร.ศศรักษ์ เพชรเชิดชู ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ เป็นประธานมอบหนังสือสำคัญ ให้แก่ผู้ผ่านการอบรม จำนวน ๑๐ คน ดังนี้

๑. Ms.Carole Fuchs
๒. Mr.Isao Miyazaki
๓. Mr.Jin Youm Kim
๔. Mr.Michael Jame Joyce
๕. Mr.Phillip Thpmpson
๖. Ms.Yuki Mizutani
๗. Ms.Mari Ochai
๘. Mr.Framcis Joseph Conry
๙. Ms.Joo Yeon Park
๑๐. Ms.Mika Matsushita

ในวันพฤหัสบดีที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓ ณ ห้อง๑๐๕ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์

   

    ปัจฉิมนิเทศนิสิตเอกวิชาภาษาอังกฤษ

   ภาควิชาภาษาอังกฤษ จัดงานปัจฉิมนิเทศนิสิตเอกวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อให้นิสิตที่กำลังจะจบการศึกษาได้รับทราบข้อมูลและคำแนะนำเกี่ยวกับการศึกษาต่อ และการทำงาน โดยตัวแทนคณาจารย์ของภาควิชาฯ และศิษย์เก่ามาร่วมแสดงความยินดีและให้คำแนะนำในครั้งนี้ด้วย
ในวันพฤหัสบดีที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓ ณ ห้อง ๒๑๐ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์

     การบริหารจัดการงานแปลและการทำงานแปลเป็นคณะ
   ศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการเสนอผลงานสารนิพนธ์ของศิษย์เก่าสาชาวิชาการแปลและการล่าม (สายการแปล) รุ่นที่ ๕-๘ จำนวน
๔ คน พร้อมจัดการบรรยายพิเศษเรื่อง “การบริหารจัดการงานแปลและการแปลเป็นคณะ” โดย
อ.บัญชา สุวรรณานนท์ ในวันพุธที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓ ณ ห้อง ๑๐๕ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์

     เสนอผลงานวิจัยของนิสิตมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาอังกฤษ

ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬา ฯ จัดโครงการนำเสนอผลงานวิจัยของนิสิตมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาอังกฤษ (Graduates’ Special Research Presentation ’09) ให้คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจเข้าฟัง ในวันพุธที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ ณ ห้อง ๗๐๗ าคารบรมราชกุมารี หัวข้อผลงานวิจัยมีดังนี้

1. Assessing English Lexical Syllabus for High School Student regarding    Academic Vocabulary โดย กสิน จันทร์จรุงภักดิ์
2. Discourse Analysis of Royal News: A Comparative Study of Royal News in    Thailand and Britain โดย ชลลดา บางหลวงสันติ
3. Contemporary Australian Literature and the Questioning of Australian
   National(Un)Identity: Voices of the Marginalised in Three Recent Novels
    โดย ธนิศ บุญสม
4. “I, Too, Have a Voice": A Comparative Study of the Poetry of Edna
   St. Vincent Millay and Anne Sexton on Women’s Struggle in the Patriarchal    Society โดย ศริฐณี นิติการ
5. Literary Body Language from the Victorian Period to Modernism and
   Post-World War II Society โดย ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์
6. Sexual Panic and the Struggle for Sexual Power in Victorian Vampire    Literature โดย ศุภิกา กมลนาวิน
7. Ethical Concerns in Huxley's Brave New World and Ishiguro’s Never Let Me    Go โดย สันติชัย ปรีชาบุญฤทธิ์

 
     โครงการเสนอความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์

ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ จัดโครงการเสนอความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์ขึ้น เพื่อให้นิสิตที่กำลังทำวิทยานิพนธ์เสนอความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์ และแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับนิสิตบัณฑิตศึกษา และรับฟังข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะจากคณาจารย์ โดยมีนิสิตร่วมเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ ดังนี้

1. การจัดการหนังสือหายากในห้องสมุดมหาวิทยาลัย
   โดย นางสาวกรรณภิรมย์ จารุสวัสดิ์
2. การรับสารนิเทศด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนของผู้สูงอายุ    โดย นางสาวจันทร์งาม ชูตระกูล
3. การใช้คลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทยของอาจารย์และนิสิต
   บัณฑิตศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
   โดย นางสาวเปรมฤดี แทนมาลา
4. การจัดบริการล่วงเวลาในห้องสมุดมหาวิทยาลัย
   โดย นายสุบิน ไชยยะ
ในวันจันทร์ที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ ณ ห้อง ๗๐๗ ชั้น ๗ อาคารบรมราชกุมารี