การนำเสนองานของนิสิตรายวิชา 2223484 ภาษาญี่ปุ่นสำหรับการท่องเที่ยว   
   เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม 2556 อาจารย์ผู้สอนรายวิชา 2223484 ภาษาญี่ปุ่นสำหรับ การท่องเที่ยว สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก ให้นิสิตนำเสนอผลการเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ และวิถีชีวิตแบบไทย
โดยมีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เข้าร่วมรับฟังและพูดคุย
เกี่ยวกับ การท่องเที่ยวในประเทศไทย ณ ห้อง 411 อาคารบรมราชกุมารี
 
   
สัมมนาวิชาการร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ   
   เมื่อวันอังคารที่ 27 สิงหาคม 2556 หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก จัดสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติ
ร่วมกับมหาวิทยาลัยโอซาก้า เชิญอาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ที่ศึกษาด้านภาษาศาสตร์ ภาษาญี่ปุ่น วรรณคดีญี่ปุ่นจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า จำนวน 30 ท่าน
เข้าร่วมสัมมนาผลการวิจัย และรายงานความก้าวหน้าทางการศึกษา ณ ห้อง 301
อาคารมหาจักรีสิรินธร



โครงการเยี่ยมชมคณะอักษรศาสตร์    

   เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม 2556 โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ได้ขออนุเคราะห์คณะอักษรศาสตร์ในการนำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โครงการ “เส้นทางสร้างสรรค์ สานฝันสู่การเรียนรู้” จำนวน 13 คน และครู 2 ท่าน
เข้าเยี่ยมชมคณะอักษรศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับคณะ และสาขาวิชาที่สนใจ และสัมภาษณ์พี่นิสิตเกี่ยวกับชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
เพื่อเป็นข้อมูลในการเลือกศึกษาต่อ ณ ห้อง 601/23 อาคารมหาจักรีสิรินธร


 
สัมมนาหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม   

   เมื่อวันอังคารที่ 20 สิงหาคม 2556 หลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม (หลักสูตรนานาชาติ) จัดโครงการเสวนากลยุทธ ์การดำเนินงานต่างประเทศของหลักสูตรฯ ในการนี้ หลักสูตรได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดี
บรรยายและให้คำแนะนำในหัวข้อ “กลยุทธ์การดำเนินงานต่างประเทศของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร
บุญเลิศอุทัย ผู้ช่วยอธิการบดี บรรยายและให้คำแนะนำในหัวข้อ
“การประชาสัมพันธ์หลักสูตรในต่างประเทศและการเพิ่มจำนวนนิสิตต่างชาติ” ณ โรงแรม Le Meridien


 
โครงการสืบสานวิทยาพฤฒจารย์ ครั้งที่ 3   

   เมื่อวันอังคารที่ 20 สิงหาคม 2556 ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโครงการบรรยายพิเศษเกี่ยวกับความรู้ทางภาษาไทย วรรณคดีไทย และคติชนวิทยา โดยคณาจารย์ของภาควิชา ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์

 
   
การเรียนการสอนตัวอักษรและคำศัพท์ในภาษาญี่ปุ่น   

   หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาต่างประเทศ ภาควิชาภาษาตะวันออก เชิญ Prof. Akimuto Miharu ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น จากมหาวิทยาลัย Keisen University ประเทศญี่ปุ่น มาสอนในรายวิชา 2223647 การเรียนการสอนตัวอักษรและคำศัพท์ในภาษาญี่ปุ่น ให้นิสิตหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 13 -27 สิงหาคม 2556 รวมถึงเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ ให้คำชี้แนะทางวิชาการแก่คณาจารย์ และนิสิตสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ณ ห้อง 401/6 อาคารมหาจักรีสิรินธร
และเมื่อวันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม 2556 บรรยายเกี่ยวกับคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่น และการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น จำนวนคำศัพท์ และคำศัพท์ที่จำเป็น ลักษณะพิเศษของคำศัพท์ในภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น
ณ ห้อง 401/5 อาคารมหาจักรีสินรินธร

 
Engaging Library Users in the Age of Age of Texting: Exploring Text Reference Service   
    เมื่อวันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2556 ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโครงการบรรยายทางวิชาการเรื่อง “Engaging Library Users in the Age of Age of Texting: Exploring Text Reference Service” โดย Associate Professor Dr.Lili Luo จาก School of Library and Information Science, San Jose State University, CA, ประเทศสหรัฐอเมริกา ณ ห้อง 504 อาคารบรมราชกุมาร

พิธีมอบทุนการศึกษา Mitsubishi UFJ Lease   




   เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2556 สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก จัดพิธีมอบทุนการศึกษา ทุน Mitsubishi UFJ Lease ให้แก่นิสิตวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 จำนวน 6 ทุน
ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์กิตติคุณ สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ โดยมีรายชื่อนิสิตที่ได้รับทุนดังนี้
นิสิตชั้นปีที่ 4
   - น.ส.ชนิกานต์ สมบูรณ์ภัทรกิจ
   - น.ส.รสิภา ต่อเจริญสุทธิผล
   - นายณัฐพล จิรารัตน์วัฒนา
นิสิตชั้นปีที่ 3
   - นายสายัณห์ ทิพรส
   - น.ส.พรพิศุทธิ์ คุณเพชรนาค
   - น.ส.ปฐมพร แย้มสุขเสรี


 

การประชุมทางวิชาการชุด มณีปัญญา “ว่าด้วยวาทกรรมวิเคราะห์”   
   เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2556 ภาควิชาภาษาไทย
คณะอักษรศาสตร์ จัดบรรยายพิเศษโครงการสู่ความเป็นเลิศด้านภาษาและวรรณคดีไทย การประชุมทางวิชาการชุด มณีปัญญา: การนำเสนอผลงานวิจัยของอาจารย์ภาควิชาภาษาไทย ในหัวข้อเรื่อง 10 ข้อสงสัยเกี่ยวกับวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร พานโพธิ์ทอง และอีกหัวข้อเรื่อง ภาพตัวแทนของไทยในวรรณกรรมกัมพูชา
โดย อาจารย์ ดร.ใกล้รุ่ง อามระดิษ ณ ห้อง 304 อาคารมหาจักรีสิรินธร
 
   
โครงการเยี่ยมชมคณะอักษรศาสตร์   
   เมื่อวันพุธที่ 14 สิงหาคม 2556 โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา ได้ขออนุเคราะห์คณะอักษรศาสตร์ในการนำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 - 6 จำนวน 50 คน และอาจารย์ 5 ท่าน เข้าเยี่ยมชมคณะอักษรศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับคณะ และสาขาวิชาที่สนใจ เพื่อเป็นข้อมูลในการเลือกศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ณ ห้อง 304 อาคารมหาจักรีสิรินธร



โครงการพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีแก่นิสิต   

   เมื่อวันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2556 ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ จัดโครงการพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีแก่นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสารนิเทศศึกษา ในหัวข้อการใช้โปรแกรม Adobe Light Room ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ชั้น 7 อาคารมหาจักรีสิรินธร


 
กิจกรรม LIS Journal Club   

   เมื่อวันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2556 ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ จัดกิจกรรม LIS Journal Club บรรยายในหัวข้อ Future Challenges and Opprtunities: Core Competencies for Librarians โดยวิทยากรชาวต่างประเทศ Rebecca Vargha, Head of Information and Library Science Library, University of North Carolina at Chapel Hill ณ ห้อง 501 อาคารบรมราชกุมารี

 
วอลแตร์รำลึก...ในมิติการแปล   

   เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม 2556 สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาควิชาภาษาตะวันตก
จัดบรรยายพิเศษหัวข้อ “วอลแตร์รำลึก...ในมิติการแปล” ณ ห้อง 707 อาคารบรมราชกุมารี



 
   ต้อนรับเอกอัครราชทูตเปรู   
   เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม 2556 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์
อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ได้ให้การต้อนรับ Mr. Felix
Denegri เอกอัครราชทูตเปรูประจำประเทศไทย ที่มาเยือน
คณะอักษรศาสตร์ ณ ห้องสำนักคณบดี โดยมีรองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ อาจารย์ ดร.ภาสุรี ลือสกุล
ผู้อำนวยการศูนย์ลาตินอเมริกาศึกษา และอาจารย์ ดร.เพ็ญพิสาข์
ศรีวรนารถ อาจารย์สาขาวิชาภาษาสเปน ร่วมให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น

     วัตถุประสงค์ของการมาเยือนครั้งนี้ คือ เพื่อเข้าเยี่ยมคารวะคณบดี
เนื่องจาก Mr. Felix Denegri ได้รับตำแหน่งเอกอัครราชทูตเปรู
ประจำประเทศไทยพร้อมทั้งหารือความร่วมมือด้านกิจกรรมทางวัฒนธรรม
ระหว่างคณะอักษรศาสตร์และสถานทูตเปรู



เรื่องคัดเฉพาะทางวรรณคดีญี่ปุ่น   

     หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น (วรรณคดี) ภาควิชาภาษาตะวันออก เชิญ Prof.Hidaka Yoshiki ผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณคดีญี่ปุ่นสมัยใหม่ จากมหาวิทยาลัย Nara University of Education ประเทศญี่ปุ่น มาสอนรายวิชา 2223715 เรื่องคัดเฉพาะทางวรรณคดี ระหว่างวันที่ 7 สิงหาคม ถึง วันที่ 26 กันยายน 2556 รวมถึงเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
ให้คำชี้แนะทางวิชาการแก่คณาจารย์ และนิสิตสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น


 
ต้อนรับคณะผู้บริหารจาก Faculty of Literature and Linguistics   

   เมื่อวันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม 2556 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์
อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ได้ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจาก Faculty of Literature and Linguistics, University of Social Sciences and Humanities, National University of Ho Chi Minh City ประเทศเวียดนาม จำนวน 22 คน ณ ห้องประชุม ศ.กิตติคุณสุทธิลักษณ์ อาคารมหาจักรีสิรินธร โดยมีรองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนิจ สุตัณฑวิบูลย์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐมา พงศ์ไพโรจน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.มนธิรา ราโท หัวหน้าสาขาวิชาภาษาเวียดนาม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์ ภิงคารวัฒน์ อาจารย์ภาควิชาภาษาอังกฤษ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา ประกาศวุฒิสาร หัวหน้าภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ อาจารย์ ดร.พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ อาจารย์ภาควิชาภาษาศาสตร์
รองศาสตราจารย์พรรัตน์ ดํารุง และอาจารย์ดังกมล ณ ป้อมเพชร คณาจารย์ภาควิชาศิลปการละคร เข้าร่วมต้อนรับด้วย

งานสัมมนาการแปลวรรณกรรมภาษาสเปน และภาษาโปรตุเกส   




   เมื่อวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2556 ศูนย์ลาตินอเมริกาศึกษา จัดงานสัมมนานักแปล “Thai translations of Spanish and Portuguese Literature” ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์
เป็นการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการแปลงานเขียนภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส เป็นภาษาไทย พร้อมกับแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน โดยวิทยากรจากสายอาชีพต่างๆ ดังนี้
รองศาสตราจารย์ ดร.สถาพร ทิพยศักดิ์ อาจารย์สาขาวิชาภาษาสเปน ภาควิชาภาษาตะวันตก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สว่างวัน ไตรเจริญวิวัฒน์ อาจารย์สาขาภาษาสเปน ภาควิชาภาษาตะวันตก มหาวิทยาลัยรามคำแหง คุณประโลม บุญรัศมี อดีตเลขานุการเอกอัครราชทูตโปรตุเกสประจำประเทศไทย คุณมกุฏ อรฤดี จากสำนักพิมพ์ผีเสื้อ
และคุณอาจารีย์ สุทธิโรจน์ จากสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์

Primo Lavi and the idea of human dignity: A tentative interpretation of his message from a Buddhist Perspective
   เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม 2556 สาขาวิชาภาษาอิตาเลี่ยน ภาควิชาภาษาตะวันตก ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย จัดกิจกรรมบรรยายพิเศษในหัวข้อ Primo Lavi and the idea of human dignity:
A tentative interpretation of his message from a Buddhist Perspective
โดย Dr.Claudio Cicuzza และได้รับเกียรติจาก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประพจน์ อัศววิรุฬการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์
เป็นผู้มอบของที่ระลึกให้แก่ ฯพณฯ Michelangelo Pipan เอกอัครราชทูตอิตาลี
ประจำประเทศไทย ในโอกาสครบวาระประจำการที่ประเทศไทยในปีนี้
ณ ห้อง 707 อาคารบรมราชกุมารี
การประชุมวิชญมาลาภาษาและวรรณคดีไทย   




   เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม 2556 ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จัดการประชุมวิชญมาลาภาษาและวรรณคดีไทย เป็นการประชุมวิชาการระดับชาติ โดยแบ่งออก 5 ด้านใหญ่ๆ ดังนี้

  • สังคมไทย-เทศในวรรณกรรมปัจจุบัน
    • นางสาววันตกานต์ บุญแย้ม มหาวิทยาลัยมหิดล
      เรื่อง ความรุนแรง: ภาพสะท้อนทางสังคมในเรื่องสั้นรางวัลตะวันสิ่งอะวอร์ด
    • นายศรัณย์ภัทร์ บุญฮก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
      เรื่อง “จะฝันถึงเธอ ทุกคืนที่มีแสงดาว” พินิจภาพลักษณ์ พิจักษ์กลวิธี พิเคราะห์วรรณศิริ การสร้างความรับรู้และเข้าใจ “อินโดนีเซีย” ผ่านนวนิยายของประภัสสร เสวิกุล
    • นางสาวนภาพร ดวงพร มหาวิทยาลัยมหิดล
      เรื่อง ถอดรหัสการคอร์รัปชั่นในสังคมไทยจากวรรณกรรมรวมเรื่องสั้นรหัสลับคอร์รัปชั่น
  • พลวัตภาษาไทยในสื่อร่วมสมัย
    • นางสาวเพ็ญศิริ รัศมี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
      เรื่อง การเปลี่ยนแปลงความหมายของคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษในหนังสือพิมพ์บันเทิง dara daily
    • นางสาวพรทิพย์ นิพพานนท์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
      เรื่อง กลวิธีการใช้ภาษาและเนื่อหาในเพลงลูกทุ่งของศิลปินค่ายอาร์สยาม
    • นางสาวสิรรินทร์ เรืองรุจีไกรศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
      เรื่อง กลวิธีการสร้างอารมณ์ขันในรายการเจาะข่าวตื้น
  • ย้อนพินิจภาษาหลากสมัย
    • นางสาวนุชนภา อยู่ชมสุข มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
      เรื่อง การใช้ภาษาสมัยอยุธยาในคำให้การขุนหลวงหาวัด
    • นางสาวสิรีมาศ มาศพงศ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
      เรื่อง ย้อนพินิจชีวิตคำบริภาษ: “พี่อ้าย” สู่ “ไอ้พี่บ้า”
    • นายวิรวัฒน์ แข็งขัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
      เรื่อง คำเลียนเสียงธรรมชาติในนิราศสุนทรภู่
  • มองวรรณคดีเห็นวิถีไทย: สังคม วัฒนธรรม ศาสนา และการเมือง
    • นางสาวณัฐกานต์ พลพิทักษ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
      เรื่อง แนวคิดเรื่องไตรวัฏในพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
    • นายชวิน พงษ์ผจญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
      เรื่อง ขัตติยวงศ์ผจงโอษฐ์ไว้ สืบหล้าอย่าศูนย์: จากบทอัตวิพากษ์สู่พื้นฐานการสร้างงานพระนินธ์ของสมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    • นางสาววิชาญา มณีศรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
      เรื่อง การวิพากษ์วิจารณ์สังคม เศรษฐกิจ การเมื่อง ในวรรณกรรมนิราศ พ.ศ.2471 - พ.ศ.2505
 
  • วิพากษ์เพศสภาวะผ่านภาษาต่างสมัย
    • นางสาวอัชฌ์พร จันทร์เนตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
      เรื่อง ผู้หญิงในบทละครเรื่องอิเหนา: มุมมองที่สะท้อนจากคำเรียก
    • นายปณธาน ทองบุญอยู่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
      เรื่อง กลวิธีการนำเสนอภาพ “ชายแท้” จากคอลัมน์ STRAIGHT GUY WE LOVE ในนิตยสารเกย์ ATTITUDE THAILAND
    • นางสาวอารียา บุญลำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
      เรื่อง อคติเกี่ยวกับวัยและเพศที่ปรากฏในสุภาษิต สำนวน และคำพังเพยไทย

    ณ ห้อง 301 อาคารมหาจักรีสิรินธร


Back    Go to Top     Next