ชื่อหลักสูตร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2544)

หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเยอรมัน
Master of Arts Program in German

ชื่อปริญญา
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต อ.ม.
Master of Arts M.A.

ชื่อที่ลงในใบ TRANSCRIPT
PROGRAM/DEPARTMENT GERMAN MAJOR/CONCENTRATION GERMAN

หลักการและเหตุผล

สาขาวิชาภาษาเยอรมันได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรระดับมหาบัณฑิตโดยได้รับความเห็นชอบ จากทบวงมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2517 โดยเปิดสอนเฉพาะแผน ก. ต่อจากนั้นสาขาวิชาฯ ได้ปรับปรุงหลักสูตรอย่างเป็นทางการอีกสองครั้ง คือในปี พ.ศ. 2524 เพิ่มการสอนแผน ข. และได้ปรับปรุงโครงสร้างและเนื้อหา ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในปี พ.ศ. 2533 ขณะนี้สาขาวิชาฯ เห็นสมควรปรับปรุงหลักสูตรนี้อีกครั้ง เพื่อให้หลักสูตรมีความทันสมัย ปรับลดจำนวนหน่วยกิตวิชาเรียน เพื่อให้นิสิตใช้เวลาในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมากขึ้น และให้ความสำคัญแก่รายวิชาที่เน้นกระบวนการและการศึกษา การวิเคราะห์และการพัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้เพื่อสร้าง มหาบัณฑิต ที่เป็นนักวิจัยและนักวิชาการที่มีศักยภาพ ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเอง

วัตถุประสงค์ของหลักสูตรปรับปรุง

  1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตอักษรศาสตร์ที่มีความรู้ทางด้านวิชาการอย่างลึกซึ้ง โดยเน้นกระบวนการค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง
  2. สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านภาษาเยอรมัน

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา แผน ก. และ แผน ข.

  1. สำเร็จปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเยอรมัน จากสถาบันการศึกษาที่ทบวงมหาวิทยาลัยรับรอง
  2. คุณสมบัติอื่นๆ เป็นไปตามประกาศซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบเป็นปีๆ ไป
    หรือคณะ กรรมการประจำคณะอักษรศาสตร์ พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิเข้าศึกษาได้

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

เป็นไปตามคู่มือการสมัครเข้าศึกษาในบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นปีๆ ไป

ระบบการศึกษา

ใช้ระบบการศึกษาแบบหน่วยกิต เป็นแบบทวิภาค ปีการศึกษาหนึ่งๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา คือ ภาคการศึกษาต้น และภาคการศึกษาปลาย และอาจมีภาคฤดูร้อนต่อจากภาคการศึกษาปลายอีกหนึ่งภาคก็ได้ ภาคการศึกษาหนึ่งๆ มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ส่วนภาคฤดูร้อนมีระยะการศึกษาประมาณ 6-8 สัปดาห์

ระยะเวลาการศึกษา

ไม่เกิน 4 ปีการศึกษา นับจากภาคการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษาในหลักสูตร

การลงทะเบียนเรียน

ไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต และไม่เกิน 15 หน่วยกิต ในแต่ละภาคการศึกษา ส่วนภาคฤดูร้อนไม่เกิน 6 หน่วยกิต

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

การประเมินผลรายวิชาให้ใช้สัญลักษณ์ A B+ B C+ C D+ D F และ S/U ในบางรายวิชาที่กำหนด

ส่วนวิทยานิพนธ์ใช้ ดีมาก ดี ผ่าน และ ตก

ห้องสมุด

ใช้หนังสือและสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับภาษาและวรรณคดีเยอรมันเพื่อการค้นคว้าได้จากห้องสมุดต่างๆ ดังนี้

ห้องสมุด จำนวนหนังสือ จำนวนวารสาร
1. ห้องสมุดคณะอักษรศาสตร์ 25,000 15
2. ห้องสมุดสถาบันเกอเธ 30,000 50
3. ห้องสมุดภาควิชาภาษาศาสตร์ 1,000 10
4. ห้องสมุดสถาบันวิทยบริการ 1,000
5. ห้องสมุดสถาบันภาษา 1,000 20

นอกจากนี้นิสิตยังสามารถใช้หนังสือภาษาไทยและภาษาอังกฤษในสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ได้ในห้องสมุดหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ สถาบันวิทยบริการ และห้องสมุดของสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ

โครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเยอรมัน (หลักสูตรปรับปรุง 2544)

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร (ทั้งแผน ก. และแผน ข.) 36 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก. จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน 21 หน่วยกิต
– รายวิชาบังคับ 9 หน่วยกิต
– รายวิชาเลือก 12 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 15 หน่วยกิต
รวม 36 หน่วยกิต
แผน ข จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน 30 หน่วยกิต
– รายวิชาบังคับ 9 หน่วยกิต
– รายวิชาเลือก 21 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตโครงการพิเศษและการสอบรวบยอด 6 หน่วยกิต
รวม 36 หน่วยกิต
แผนการศึกษา
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 แผน ก.
(หน่วยกิต)
แผน ข.
(หน่วยกิต)
2232 607 ไวยากรณ์เยอรมันขั้นสูง 3 3
2232 608 ทฤษฎีและการวิจารณ์วรรณคดีเยอรมัน 3 3
2232 609 การเมือง สังคมและวัฒนธรรมในประเทศเยอรมนี 1 3 3
วิชาเลือก 3 3
รวม 12 12
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
2232 750 ระเบียบวิธีวิจัยทางภาษาและวรรณคดีเยอรมัน (S/U) (S/U)
วิชาเลือก 9 9
รวม 9 9
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
2232 812 วิทยานิพนธ์ 1 5
วิชาเลือก 9
รวม 15 9
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
2232 812 วิทยานิพนธ์ 0
2232 751 โครงการพิเศษ 6
2232 896 การสอบรวบยอด (S/U)
รวม 0 6

Master of Arts in German

Faculty of Arts, Chulalongkorn University

DEGREE REQUIREMENTS

Plan A

A minimum of 36 credits hours of course work and seminars, 9 of which are required courses, 12 of which are electives; plus 15 credits for research work, comprising a thesis, and written and oral examinations in the candidate’s field of special research.

Plan A
– Required Courses 9 credits
– Elective Courses 12 credits
– Thesis 15 credits
Total 36 credits

Plan B

A minimum of 36 credits hours of course work and seminars, 9 of which are required courses, 21 of which are electives; plus 6 credits for research in a special project.

Plan B student must take a comprehensive examination after the 36 credit course work requirement.

Plan B
– Required Courses 9 credits
– Elective Courses 21 credits
– Special project and comprehensive exam 6 credits
Total 36 credits

Curriculum

First semester Plan A
(Credits)
Plan B
(Credits)
2232 607 Adv Ger Grammar 3 3
2232 608 Ger Lit Theo Crit 3 3
2232 609 Ger Pol Soc Cul I 3 3
Elective Courses 3 3
Total 12 12
Second semester
2232 752 Research Method (S/U) (S/U)
Elective Courses 9 9
Total 9 9
Third semester
2232 812 Thesis 15
Elective Courses 9
Total 15 9
Fourth semester
2232 812 Thesis 0
2232 751 Special Project 6
2232 896 Comprehensive Exam S/U
Total 6 6

รายวิชาเรียน

รายวิชาบังคับ 9 หน่วยกิต สำหรับแผน ก. และแผน ข.
2232 607 ไวยากรณ์เยอรมันขั้นสูง 3 (3 – 0 – 9)
2232 608 ทฤษฎีและการวิจารณ์วรรณคดีเยอรมัน 3 (3 – 0 – 9)
2232 609 การเมือง สังคมและวัฒนธรรมในประเทศเยอรมนี 1 3 (3 – 0 – 9)
2232 750 ระเบียบวิธีวิจัยทางภาษาและวรรณคดีเยอรมัน (S/U)
รายวิชาเลือก 12 หน่วยกิต สำหรับแผน ก.
21 หน่วยกิต สำหรับแผน ข.
2232 630 ภาษาศาสตร์ประยุกต์ภาษาเยอรมัน 3 (3 – 0 – 9)
2232 631 ภาษาศาสตร์ตัวบทเยอรมัน 3 (3 – 0 – 9)
2232 633 ภาษาศาสตร์จิตวิทยาเยอรมัน 3 (3 – 0 – 9)
2232 634 ภาษาศาสตร์เปรียบต่าง: เยอรมัน-ไทย 3 (3 – 0 – 9)
2232 635 สัมมนาหัวข้อเฉพาะทางภาษาเยอรมัน 3 (3 – 0 – 9)
2232 636 แนวคิดและทฤษฎีภาษาศาสตร์เยอรมัน 3 (3 – 0 – 9)
2232 640 วรรณคดีเอกเยอรมัน 3 (3 – 0 – 9)
2232 641 สัมมนาร้อยแก้วเยอรมัน 3 (3 – 0 – 9)
2232 642 สัมมนาร้อยกรองเยอรมัน 3 (3 – 0 – 9)
2232 643 สัมมนาบทละครเยอรมัน 3 (3 – 0 – 9)
2232 644 สัมมนาหัวข้อเฉพาะทางวรรณคดีเยอรมัน 3 (3 – 0 – 9)
2232 645 สัมมนานักประพันธ์จากประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมัน 3 (3 – 0 – 9)
2232 651 การเมือง สังคม และวัฒนธรรมในประเทศเยอรมนี 2 3 (3 – 0 – 9)
2232 652 สัมมนาหัวข้อเฉพาะทางวัฒนธรรมเยอรมัน 3 (3 – 0 – 9)
2232 653 ศิลปะ ดนตรี และวรรณคดีเยอรมัน 3 (3 – 0 – 9)
2232 655 เยอรมนีหลังรวมประเทศ 3 (3 – 0 – 9)
2232 656 ภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศ 1 3 (3 – 0 – 9)
2232 657 ภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศ 2 3 (3 – 0 – 9)
2232 658 การแปลวรรณกรรมเยอรมัน 3 (2 – 2 – 8)
2232 659 การแปลงานเขียนที่ไม่ใช่วรรณกรรมเยอรมัน 3 (2 – 2 – 8)

วิทยานิพนธ์/โครงการพิเศษ

สำหรับแผน ก.
2232 812 วิทยานิพนธ์ 15 หน่วยกิต
สำหรับแผน ข.
2232 751 โครงการพิเศษ 6 หน่วยกิต
2232 896 การสอบรวบยอด S / U

Courses

Required Courses 9 credits (Plan A + Plan B)
2232 607 Advanced German Grammar 3 (3 – 0 – 9)
2232 608 German Literary Theory and Literary Criticism 3 (3 – 0 – 9)
2232 609 Politics, Society and Culture in Germany I 3 (3 – 0 – 9)
2232 750 Research Method in German Language and Literature (S/U)
Elective Courses 12 credits (Plan A)
21 credits (Plan B)
2232 630 German Applied Linguistics 3 (3 – 0 – 9)
2232 631 German Text Linguistics 3 (3 – 0 – 9)
2232 633 German Psycholinguistics 3 (3 – 0 – 9)
2232 634 Contrastive Linguistics: German-Thai 3 (3 – 0 – 9)
2232 635 Seminar on Special Topics in German Language 3 (3 – 0 – 9)
2232 636 German Linguistic Concepts and Theories 3 (3 – 0 – 9)
2232 640 Masterpieces of German Literature 3 (3 – 0 – 9)
2232 641 Seminar on German Prose 3 (3 – 0 – 9)
2232 642 Seminar on German Poetry 3 (3 – 0 – 9)
2232 643 Seminar on German Drama 3 (3 – 0 – 9)
2232 644 Seminar on Special Topics in German Literature 3 (3 – 0 – 9)
2232 645 Seminar on Authors from German Speaking Countries 3 (3 – 0 – 9)
2232 651 Politics, Society and Culture in Germany II 3 (3 – 0 – 9)
2232 652 Seminar on Special Topics in German Culture 3 (3 – 0 – 9)
2232 653 German Art, Music and Literature 3 (3 – 0 – 9)
2232 655 Germany after Unification 3 (3 – 0 – 9)
2232 656 German as a Foreign Language I 3 (3 – 0 – 9)
2232 657 German as a Foreign Language II 3 (3 – 0 – 9)
2232 658 German Literary Translation 3 (2 – 2 – 8)
2232 659 German Non-Literary Translation 3 (2 – 2 – 8)

Thesis / Special Project

Plan A
2232 812 Thesis 15 credits
Plan B
2232 751 Special Project 6 credits
2232 896 Comprehensive Exam S / U

คำอธิบายรายวิชา

2232607 ไวยากรณ์เยอรมันขั้นสูง 3(3-0-9)
การวิเคราะห์ลักษณะสำคัญทางไวยากรณ์เยอรมัน ประเภททางไวยากรณ์ การวิเคราะห์ วลีและประโยคในภาษาเยอรมัน
2232608 ทฤษฎีและการวิจารณ์วรรณคดีเยอรมัน 3(3-0-9)
หลักสำคัญของวรรณคดีวิจารณ์ ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์เยอรมันที่สำคัญ การตีความและประเมินคุณค่าวรรณกรรมเยอรมัน
2232609 การเมือง สังคมและวัฒนธรรมในประเทศเยอรมนี 1 3(3-0-9)
การเมือง สังคม และวัฒนธรรมในประเทศเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงปี ค.ศ. 1945 การวิเคราะห์ระบบสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ และผลกระทบที่มีต่อสังคมและ วัฒนธรรมเยอรมัน
2232630 ภาษาศาสตร์ประยุกต์ภาษาเยอรมัน 3(3-0-9)
แนวคิดและทฤษฎีภาษาศาสตร์ประยุกต์แขนงต่างๆ การประยุกต์ใช้กับภาษาเยอรมันในด้านวัจนปฏิบัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์จิตวิทยา และภาษาศาสตร์สังคม
2232631 ภาษาศาสตร์ตัวบทเยอรมัน 3(3-0-9)
การวิเคราะห์โครงสร้าง ไวยากรณ์ ประเภท และหน้าที่ของตัวบทภาษาเยอรมัน
2232633 ภาษาศาสตร์จิตวิทยาเยอรมัน 3(3-0-9)
ทฤษฎีสำคัญทางภาษาศาสตร์จิตวิทยา ปัจจัยทางภาษาและปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษาที่มีผลกระทบต่อการใช้ภาษา การเรียนรู้ภาษาประเภทต่างๆ และการแสดงออกทางภาษา
2232634 ภาษาศาสตร์เปรียบต่าง: เยอรมัน-ไทย 3(3-0-9)
ประเภทภาษา พัฒนาการของภาษาศาสตร์เปรียบต่าง หลักและวิธีวิเคราะห์เปรียบต่างภาษาเยอรมันและภาษาไทย
2232635 สัมมนาหัวข้อเฉพาะทางภาษาเยอรมัน 3(3-0-9)
การอภิปรายหัวข้อที่น่าสนใจทางภาษาเยอรมัน
2232636 แนวคิดและทฤษฎีภาษาศาสตร์เยอรมัน 3(3-0-9)
แนวคิดและทฤษฎีภาษาศาสตร์เยอรมันที่สำคัญ ความแตกต่างระหว่างแนวทางการศึกษาภาษาในเชิงภาษาศาสตร์กับการเรียนภาษาเพื่อการสื่อสาร
2232640 วรรณคดีเอกเยอรมัน 3(3-0-9)
การวิเคราะห์และตีความวรรณคดีเอกของเยอรมันในบริบททางวรรณศิลป์และ วัฒนธรรมของประเทศเยอรมนี
2232641 สัมมนาร้อยแก้วเยอรมัน 3(3-0-9)
การอภิปรายร้อยแก้วเยอรมันที่คัดสรร โดยเน้นคุณค่าทางวรรณกรรม สังคม การเมือง ปรัชญา และศิลปะ
2232642 สัมมนาร้อยกรองเยอรมัน 3(3-0-9)
การอภิปรายร้อยกรองเยอรมันที่คัดสรร โดยเน้นคุณค่าทางวรรณกรรม สังคม การเมือง ปรัชญา และศิลปะ
2232643 สัมมนาบทละครเยอรมัน 3(3-0-9)
การอภิปรายบทละครเยอรมันที่คัดสรร โดยเน้นคุณค่าทางวรรณกรรม สังคม การเมือง ปรัชญา และศิลปะ
2232644 สัมมนาหัวข้อเฉพาะทางวรรณคดีเยอรมัน 3(3-0-9)
การอภิปรายหัวข้อที่น่าสนใจทางวรรณคดีเยอรมัน
2232645 สัมมนานักประพันธ์จากประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมัน 3(3-0-9)
การอภิปรายผลงานสำคัญของนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงจากประเทศต่างๆ ที่ใช้ภาษาเยอรมัน
2232651 การเมือง สังคมและวัฒนธรรมในประเทศเยอรมนี 2 3(3-0-9)
การเมือง สังคม และวัฒนธรรมในประเทศเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน การวิเคราะห์ระบบสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และผลกระทบที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรมเยอรมัน
2232652 สัมมนาหัวข้อเฉพาะทางวัฒนธรรมเยอรมัน 3(3-0-9)
การอภิปรายหัวข้อที่น่าสนใจทางวัฒนธรรมเยอรมัน
2232653 ศิลปะ ดนตรีและวรรณคดีเยอรมัน 3(3-0-9)
ศิลปะเยอรมันที่สำคัญด้านทัศนศิลป์ สถาปัตยกรรม และดนตรีในบริบทของวัฒนธรรม ยุโรป ความสัมพันธ์และผลกระทบของศิลปะและดนตรีที่มีต่อวรรณคดีเยอรมันในสมัยต่างๆ
2232655 เยอรมนีหลังรวมประเทศ 3(3-0-9)
การวิเคราะห์ปัญหาทางสังคมและวัฒนธรรมหลังการรวมประเทศ ลัทธินีโอนาซีกับ ปัญหาอัตลักษณ์ของคนเยอรมัน แนวโน้มทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในเยอรมนีหลังการรวมประเทศ นโยบายต่างประเทศของเยอรมนีเกี่ยวกับการรวมยุโรป
2232656 ภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศ 1 3(3-0-9)
หลักการสอนภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศ บทบาทของไวยากรณ์ วิธีการฝึกทักษะทางภาษาทั้งสี่ด้าน คือ อ่าน พูด ฟัง เขียน ประเภทของแบบฝึกหัด
2232657 ภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศ 2 3(3-0-9)
หลักการสอนภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศ การสอนศัพท์ การสอนวรรณคดี การสอนเรื่องเกี่ยวกับประเทศเยอรมนี การผลิตสื่อการสอน การวิเคราะห์และวิจารณ์ตำราเรียนภาษาเยอรมัน การทดสอบและประเมินผล
2232658 การแปลวรรณกรรมเยอรมัน 3(3-0-9)
ทฤษฎีการแปลวรรณกรรม การฝึกแปลวรรณกรรมเยอรมันเป็นภาษาไทย
2232659 การแปลงานเขียนที่ไม่ใช่วรรณกรรมเยอรมัน 3(3-0-9)
ทฤษฎีการแปล การฝึกแปลตัวบทภาษาเยอรมันที่ไม่ใช่วรรณกรรม
2232750 ระเบียบวิธีวิจัยทางภาษาและวรรณคดีเยอรมัน 3(3-0-9)
ความหมายของการวิจัย เทคนิคและวิธีดำเนินการวิจัยทางภาษาและวรรณคดีเยอรมัน
2232751 โครงการพิเศษ 3(3-0-9)
การทำรายงานและภาคนิพนธ์ในหัวข้อเกี่ยวกับภาษาหรือวรรณคดีตามความสนใจของนิสิตโดยมีอาจารย์เป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ
2232812 วิทยานิพนธ์ 15 หน่วยกิต

Course Description

2232607 Advanced German Grammar 3(3-0-9)
ADV GER GRAMMAR
Analysis of German grammatical features; grammatical categories; analysis of phrases and sentences in German.
2232608 German Literary Theory and Literary Criticism 3(3-0-9)
GER LIT THEO CRIT
Major principles of literary criticism, major theories of German literary criticism; interpretation and evaluation of German literary works.
2232609 Politics, Society and Culture in Germany I 3(3-0-9)
GER POL SOC CUL I
Politics, society and culture in Germany after World War I to 1945; analysis of social, political, and economic systems and their impacts on German society and culture.
2232630 German Applied Linguistics 3(3-0-9)
GER APP LING
Concepts and theories of applied linguistics; application to the German language from pragmatic, psycholinguistic and sociolinguistic perspectives.
2232631 German Text Linguistics 3(3-0-9)
GER TEXT LING
Analysis of German text structure, text grammar, text types and text functions.
2232633 German Psycholinguistics 3(3-0-9)
GER PSYCHOLING
Major psycholinguistic theories; language and non-language factors and their impacts on language use; different types of language acquisition and language production.
2232634 Contrastive Linguistic : German-Thai 3(3-0-9)
CON LING G-T
Language typology; development of contrastive linguistic; principles and methods in contrastive analysis of German and Thai.
2232635 Seminar on Special Topics in the German Language 3(3-0-9)
SEM TOP GER LANG
Discussion on interesting topics in the German Language.
2232636 German Linguistic Concepts and Theories 3(3-0-9)
GER LING CON THEO
Major German linguistic concepts and theories; distinctions between linguistic approach to the study of language and learning language for communicative purposes
2232640 Masterpieces of German Literature 3(3-0-9)
MASTER GER LIT
Analysis and interpretation of masterpieces of German literature in literary and cultural contexts in Germany.
2232641 Seminar on German Prose 3(3-0-9)
SEM GER PROSE
Discussion on selected German prose with emphasis on literary, social, political, philosophical and artistic values.
2232642 Seminar on German Poetry 3(3-0-9)
SEM GER POETRY
Discussion on selected German poetry with emphasis on literary, social, political, philosophical and artistic values.
2232643 Seminar on German Drama 3(3-0-9)
SEM GER DRAMA
Discussion on selected German drama with emphasis on literary, social, political, philosophical and artistic values.
2232644 Seminar on Special Topics in German Literature 3(3-0-9)
SEM TOP GER LIT
Discussion on interesting topics in German literature.
2232645 Seminar on Authors from German Speaking Countries 3(3-0-9)
SEM AUTHOR GER SPK
Discussion on major works of famous authors from German speaking countries.
2232651 Politics, Society and Culture in Germany II 3(3-0-9)
POL SOC CUL GER II
Politics, society and culture in Germany after World War II to the present; analysis of the social, political, and economic systems and their impacts on German society and culture.
2232652 Seminar on Special Topics in German Culture 3(3-0-9)
SEM TOP GER CUL
Discussion on interesting topics in German culture.
2232653 German Art, Music and Literature 3(3-0-9)
GER ART MUS LIT
Major German visual arts, architecture and music in the European context; their relationship and impacts on German literature in different periods.
2232655 German after Unification 3(3-0-9)
GER AFT UNIFIC
Analysis of social and cultural problems after unification; “Neonazism” and an identity problems of the Germans; trends of youth culture in Germany after unification; German foreign policies of European unification.
2232656 German as a Foreign Language I 3(3-0-9)
GER FGN LANG I
Principles of teaching German as a foreign language : roles of grammar; methods of teaching the four skills : reading, speaking, listening and writing; types of exercises.
2232656 German as a Foreign Language II 3(3-0-9)
GER FGN LANG II
Principles of teaching German as a foreign language : vocabulary, literature, facts about Germany; developing teaching materials, analysis and evaluation of German textbooks; testing and evaluation.
2232658 German Literary Translation 3(3-0-9)
GER LIT TRANS
Theories of literary translation; practice of translation from German literary works into Thai.
2232659 German Non-Literary Translation 3(3-0-9)
GER NON LIT TRANS
Translation theories; principles and practice of translating German non-literary texts.
2232752 Research Method in German Language and Literature (S/U)
RESEARCH METHOD
Meaning of research; research techniques and procedures in the German language and literature.
2232751 Special Project 6(0-0-24)
SPECIAL PROJECT
Writing reports and term papers on language or literature according to the students’ interest under the supervision of an instructor.
2232812 Thesis 15 credits
THESIS