กิจกรรมของสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต

เสวนาภารตวิทยา ครั้งที่ 2,3,4 / 2559

นาฏยคีตา เฉลิม ๖๑ พระชันมา มหาจักรีสิรินธร

เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวาระทรงเจริญพระชนมายุ ๖๑ พรรษา สาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมอินเดียแห่งประเทศไทย และสมาคมอารยสมาช กรุงเทพฯ จัดการแสดงดนตรีและนาฏศิลป์อินเดีย "นาฏยคีตา เฉลิม ๖๑ พระชันมา มหาจักรีสิรินธร" โดยคณะศิลปิน Hindustan Art & Music Society, Kolkata, India ในวันพุธที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๙ ตั้งแต่เวลา ๑๗.๓๐-๑๙.๓๐ น. ณ ศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมล ชั้น ๖ อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ต้อนรับรองประธานาธิบดีอินเดีย

ฯพณฯ เอ็ม. ฮามิด อันสารี รองประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ให้เกียรติมาแสดงปาฐกถาพิเศษ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 ในโอกาสมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยนางสาวภัคจิรา ธรรมานุธรรม และนายชัชวาลย์ จันทร์อดิศรชัย นิสิตสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ คณะอักษรศาสตร์ เป็นผู้แทนมอบพวงมาลัยต้อนรับ

เสวนาภารตวิทยา ครั้งที่ 1/2559

สาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ได้รับเกียรติจาก อ.เศรษฐพงษ์ จงสงวน ผู้เชี่ยวชาญด้านจีนศึกษามาเป็นวิทยากรพิเศษในโครงการเสวนาภารตวิทยา ครั้งที่ 1/2559 บรรยายเรื่อง "พุทธกับเต๋า เราแยกอย่างไร" วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ห้อง 401/18 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผู้สนใจเข้าร่วมฟังบรรยายเป็นจำนวนมาก

โครงการภารตวิทยาพาเพลิน

สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดโครงการภารตวิทยาพาเพลิน : ภาษา วรรณคดี และความรู้ทางภารตวิทยาสำหรับอาจารย์ระดับมัธยมศึกษา เพื่อเผยแพร่และเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษา วรรณคดีอินเดีย และภารตวิทยาที่สมพันธ์กับภาษาและวรรณคดีไทยอาจารย์ภาษาไทยในระดับมัธยมศึกษา และเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 60 พรรษา 2 เมษายน 2558 เมื่อวันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน 2558 เวลา 8.30-16.00น. ณ ห้อง 401/18 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีครูอาจารย์จากโรงเรีนต่างๆทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดสนใจเข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้จำนวน 59 คน กิจกรรมเริ่มเมื่อเวลา 9.00น. โดย ผศ.ทัศนีย์ สินสกุล หัวหน้าสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ กล่าวต้อนรับและเปิดงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดี คณะอักษรศาสตร์ กล่าวปาฐกถานำ เรื่อง “บาลี-สันสกฤต:ทำไมต้องเรียน-สอนในระดับมัธยมศึกษา?” อาจารย์ ดร.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ บรรยายเรื่อง “ประวัติภาษาบาลี-สันสกฤต: เรื่องควรรู้ที่คนไทยไม่รู้” อาจารย์ ดร.ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ บรรยายเรื่อง “บาลี-สันสกฤตง่ายนิดเดียว : ปริทรรศน์ไวยากรณ์บาลี-สันสกฤต” ศาสตราจารย์ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ศาสตราจารย์ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ บรรยายเรื่อง “ไตรภูมิ: ความสัมพันธ์กับวรรณคดีและวัฒนธรรมไทย” อาจารย์ ดร.สมพรนุช ตันศรีสุข อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ บรรยายเรื่อง “พุทธธรรมจากงานนิพนธ์คัดสรรในวรรณคดีวิจักษ์” ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กุสุมา รักษมณี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร บรรยายเรื่อง “ความรู้เรื่องภารตวิทยาสำหรับครูวรรณคดีไทย” โดยมี อาจารย์กิตติพงศ์ บุญเกิด อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นพิธีกรดำเนินรายการ สิ้นสุดกิจกรรมในเวลา 16.00น.

เสวนาภารตวิทยา ครั้งที่ 4/2558

สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับ โครงการภารตนิเทศครั้งที่ 14 ศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมรามกฤษณะ เวทานตะ(ประเทศไทย) จัดการบรรยายพิเศษเรื่อง "ศาสนาฮินดูคืออะไรในทัศนะของสวามีวิเวกานันท์" โดยวิทยากรคือ "สวามีศานตาตมานันท์ ยี มหาราช" ประธานรามกฤษณะมิชชั่น เมืองเดลี ประเทศอินเดีย และที่ปรึกษาสมาคมรามกฤษณะ เวทานตะ(ประเทศไทย) เมื่อวันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม 2558 เวลา 14.00-16.00 ณ ห้อง 707 ชั้น 7 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยากรบรรยายเป็นภาษาฮินดีโดยมีอาจารย์กิตติพงศ์ บุญเกิดเป็นล่ามแปลภาษาไทย มีผู้สนใจเข้าร่วมฟังบรรยายเป็นจำนวนมากทั้งชาวไทยและชาวอินเดีย

เสวนาภารตวิทยา ครั้งที่ 3/2558

เมื่อวันอังคารที่ 31 มีนาคม 2558 สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมการเสวนาทางภารตวิทยาครั้งที่ 3/2558 ในหัวข้อ "ลิตเติ้ลอินเดียเมืองไทย ที่ไหน อย่างไร" โดย อาจารย์กิตติพงศ์ บุญเกิด ณ ห้อง 707 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยากรได้นำข้อมูลจากการลงพื้นที่สัมภาษณ์คนในชุมชนจากโครงการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นย่านพาหุรัดและย่านวัดวิษณุยานนาวามาแสดง การเสวนาครั้งนี้ได้รับความสนใจจากคณาจารย์สาขาวิชาต่างๆทั้งภายในและภายนอกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตลอดจนบุคคลทั่วไปเข้าร่วมการเสวนา

ศรีสิทธิสาธัน วรชันมบูชา

เมื่อวันอังคารที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘ ศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน "ศรีสิทธิสาธัน วรชันมบูชา" เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ ณ ธรรมสถาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กิจกรรมในงานประกอบด้วย การเสวนาหัวข้อ "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ กับอินเดีย" โดย ผศ.ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดย อ.ดร.ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพิธีบูชาพระคเณศ พระลักษมี และพระวรุณ เพื่อถวายพระพรแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยบัณฑิตลลิต โมหัน วยาส ประธานบัณฑิตโบสถ์เทพมณเฑียร พิธีกรและล่ามโดย อ.กิตติพงศ์ บุญเกิด สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ร่วมงานวันสถาปนาอาศรมวัฒนธรรมไทย-ภารต

คณาจารย์และนิสิตสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมงานฉลองครบรอบ 113 ปีชาตกาล สวามีสัตยานันทปุรี ผู้ก่อตั้งอาศรมวัฒนธรรมไทยภารต 3 มีนาคม 2558 ในวันดังกล่าวถือเป็นวันสถาปนาอาศรมวัฒนธรรมไทย-ภารตด้วย ในงานมีการทำบุญถวายภัตตาหารเพลและเครื่องปัจจัยไทยธรรมแด่พระภิกษุจากวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์ ราชบัณฑิต ประธานอาศรมวัฒนธรรมไทย-ภารต, อาจารย์ราชมัตตา เลขานุการอาศรมฯ และ พราหมณ์พิบูลย์ นาควาณิชย์ สมาชิกอาวุโส ทั้งสามท่านได้กรุณากล่าวต้อนรับและให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของอาศรมฯตลอดจนบทบาทและคุณูปการของท่านสวามีสัตยานันทปุรี และบัณฑิตรฆุนาถ ศรมา ที่มีต่อการเผยแพร่ความรู้ทางภารตวิทยาในประเทศไทย อันยังประโยชน์ทั้งต่อวงวิชาการและช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับอินเดียให้กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

เสวนาทางภารตวิทยาครั้งที่ 2 /2558

สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมการเสวนาทางภารตวิทยาครั้งที่ 2 /2558 เรื่อง "ศึกษาศาสนาอย่างไรให้เข้าใจศาสนา" โดย อ.ดร.สมพรนุช ตันศรีสุข เป็นวิทยากรบรรยาย ณ ห้อง 707 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558

ร่วมกิจกรรม Hindi Goshthi กับ Thailand Hindi Parishad

อาจารย์กิตติพงศ์ บุญเกิด นำผู้เข้าอบรมในโครงการภาษาฮินดีพื้นฐาน 1 และ โครงการภาษาฮินดีพื้นฐาน 2 ของศูนย์บริการวิชาการฯ ร่วมกับสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมการชุมนุมภาษาฮินดี หรือ हिंदी गोष्ठी Hindi Goshthi ซึ่งจัดโดย थाईलैंड हिंदी परिषद Thailand Hindi Parisad หรือชมรมภาษาฮินดีแห่งประเทศไทย ณ อาคารเพรสทีจ ทาวเวอร์ ซ.สุขุมวิท 23 กรุงเทพ ชมรมดังกล่าวก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2006 ภายใต้สังกัด อาศรมวัฒนธรรมไทย-ภารต โดย Mr.Sushil Dhanuka นักธุรกิจชาวอินเดีย และ Mr.Amarendra Narayan นักเขียนชาวอินเดีย ทั้งสองท่านอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาหลายสิบปี ด้วยความเคารพรักในวัฒนธรรมแห่งภารตะมาตุภูมิ จึงได้ริเริ่มจัดกิจกรรมชุมนุมภาษาฮินดีขึ้นเป็นประจำเดือนละครั้ง โดยเชื้อเชิญทั้งชาวอินเดีย และชาวไทยเชื้อสายอินเดีย ตลอดจนบุคคลทั่วไปผู้มีใจรักในภาษา-วรรณกรรมและวัฒนธรรมอินเดียมาร่วมชุมนุม อ่านบทกวีภาษาฮินดี เสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขับร้องเพลงภาษาฮินดี เป็นต้น กิจกรรมดังกล่าวนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนิสิตนักศึกษาและบุคคลทั่วไปผู้รักเรียนรู้ภาษาฮินดีและวัฒนธรรมอินเดีย เพราะทำให้มีโอกาสได้นำตนเข้าไปอยู่ในท่ามกลางสิ่งแวดล้อมภาษาฮินดี ได้ฟังศัพท์จับสำเนียง ได้เรียนรู้วัฒนธรรม ทั้งยังได้ลิ้มลองรสอาหารอินเดียอีกด้วย

วันชาติแห่งสาธารณรัฐอินเดีย 26 มกราคม 2558

อาจารย์กิตติพงศ์ บุญเกิด เป็นตัวแทนคณาจารย์สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเฉลิมฉลองและแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสวันชาติแห่งสาธารณรัฐอินเดีย 26 มกราคม 2558 ณ โรงแรมแชงกรีล่า

เสวนาภารตวิทยาครั้งที่ 1 /2558

สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมการเสวนาทางภารตวิทยาครั้งที่ 1 /2558 ในหัวข้อ "นรลักษณ์ในพุทธคัมภีร์ ดัชนีชี้วัดอะไร" โดย อ. ดร. ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว เป็นวิทยากรบรรยาย ณ ห้อง 707 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558 การเสวนาในครั้งนี้ว่าด้วยเรื่อง วัฒนธรรมอินเดียเรื่องการดูลักษณะบุคคลที่ปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนา ได้แก่ เบญจกัลยาณี บุรุษโทษ 18 ประการ และมหาบุรุษลักษณะ เป็นต้น ในแง่มุมต่างๆ

บทอาศิรวาท เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวาคม 2557

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานน้ำสงกรานต์แก่อาจารย์อาวุโส ชมรมบาลี – สันสกฤต ประจำปี พ.ศ. 2557

วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2557 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยัง ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานน้ำสงกรานต์รวมทั้งของที่ระลึกแก่ ผศ. ฐานิสร์ ชาครัตพงศ์ และแม่ชีวิมุตติยา (รศ.ดร.สุภาพรรณ ณ บางช้าง) พระอาจารย์อาวุโสที่เคยถวายพระอักษรภาษาบาลีและสันสกฤต และได้พระราชทานพระราชวโรกาสให้อาจารย์อาวุโส ผู้บริหารฯ กรรมการชมรมฯ นิสิตเก่าถวายน้ำสงกรานต์ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงรับเป็นประธานกิตติมศักดิ์และพระราชทานอุปการะแก่ชมรม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาโทจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ในสาขาวิชาบาลี-สันสกฤต เมื่อปี 2523 ในขณะที่ทรงศึกษาอยู่นั้น มีพระราชดำริให้จัดพิธีรดน้ำสงกรานต์แก่พระอาจารย์อาวุโสที่ถวายพระอักษรในวิชาดังกล่าว เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตาแก่คณาจารย์ สืบสานประเพณีอันดีงามของไทยเนื่องในเทศกาลสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย ต่อมาได้มีการจัดตั้งชมรมบาลี-สันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออกคณะอักษรศาสตร์ และจัดพิธีรดน้ำสงกรานต์อาจารย์อาวุโสเป็นประจำทุกปี นับตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานน้ำสงกรานต์แก่อาจารย์อาวุโส ชมรมบาลี – สันสกฤต ประจำปี พ.ศ. 2556

วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานน้ำสงกรานต์แก่ ผศ. ฐานิสร์ ชาครัตพงศ์ และแม่ชีวิมุตติยา (รศ.ดร.สุภาพรรณ ณ บางช้าง) พระอาจารย์อาวุโสที่เคยถวายพระอักษรภาษาบาลีและสันสกฤต สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาโทจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ในสาขาวิชาบาลี-สันสกฤต เมื่อปี 2523 ในขณะที่ทรงศึกษาอยู่นั้น มีพระราชดำริให้จัดพิธีรดน้ำสงกรานต์แก่พระอาจารย์อาวุโสที่ถวายพระอักษรในวิชาดังกล่าว เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตาแก่คณาจารย์ สืบสานประเพณีอันดีงามของไทยเนื่องในเทศกาลสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย ต่อมาได้มีการจัดตั้งชมรมบาลี-สันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออกคณะอักษรศาสตร์ และจัดพิธีรดน้ำสงกรานต์อาจารย์อาวุโสเป็นประจำทุกปี นับตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานน้ำสงกรานต์แก่อาจารย์อาวุโส ชมรมบาลี – สันสกฤต ประจำปี พ.ศ. 2555

วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ พระราชทานน้ำสงกรานต์แก่ ผศ.ฐานิสร์ ชาครัตพงศ์ และแม่ชีวิมุตติยา (รศ.ดร.สุภาพรรณ ณ บางช้าง) พระอาจารย์อาวุโสที่เคยถวายพระอักษรภาษาบาลีและสันสกฤต สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาโทจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ในสาขาวิชาบาลี-สันสกฤต เมื่อปี 2523 ในขณะที่ทรงศึกษาอยู่นั้น มีพระราชดำริให้จัดพิธีรดน้ำสงกรานต์แก่พระอาจารย์อาวุโสที่ถวายพระอักษรในวิชาดังกล่าว เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตาแก่คณาจารย์ สืบสานประเพณีอันดีงามของไทยเนื่องในเทศกาลสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย ต่อมาได้มีการจัดตั้งชมรมบาลี-สันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออกคณะอักษรศาสตร์ และจัดพิธีรดน้ำสงกรานต์อาจารย์อาวุโสเป็นประจำทุกปี นับตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานน้ำสงกรานต์แก่อาจารย์อาวุโส ชมรมบาลี – สันสกฤต ประจำปี พ.ศ. 2554

วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2554 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ พระราชทานน้ำสงกรานต์แก่ ผศ.ฐานิสร์ ชาครัตพงศ์ และแม่ชีวิมุตติยา (รศ.ดร.สุภาพรรณ ณ บางช้าง) พระอาจารย์อาวุโสที่เคยถวายพระอักษรภาษาบาลีและสันสกฤต สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาโทจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ในสาขาวิชาบาลี-สันสกฤต เมื่อปี 2523 ในขณะที่ทรงศึกษาอยู่นั้น มีพระราชดำริให้จัดพิธีรดน้ำสงกรานต์แก่พระอาจารย์อาวุโสที่ถวายพระอักษรในวิชาดังกล่าว เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตาแก่คณาจารย์ สืบสานประเพณีอันดีงามของไทยเนื่องในเทศกาลสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย ต่อมาได้มีการจัดตั้งชมรมบาลี-สันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออกคณะอักษรศาสตร์ และจัดพิธีรดน้ำสงกรานต์อาจารย์อาวุโสเป็นประจำทุกปี นับตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานน้ำสงกรานต์แก่อาจารย์อาวุโส ชมรมบาลี – สันสกฤต ประจำปี พ.ศ. 2553

วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2553 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ พระราชทานน้ำสงกรานต์แก่ ศ.วิสุทธ์ บุษยกุล ผศ.ฐานิสร์ ชาครัตพงศ์ และแม่ชีวิมุตติยา (รศ.ดร.สุภาพรรณ ณ บางช้าง) พระอาจารย์อาวุโสที่เคยถวายพระอักษรภาษาบาลีและสันสกฤต สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาโทจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ในสาขาวิชาบาลี-สันสกฤต เมื่อปี 2523 ในขณะที่ทรงศึกษาอยู่นั้น มีพระราชดำริให้จัดพิธีรดน้ำสงกรานต์แก่พระอาจารย์อาวุโสที่ถวายพระอักษรในวิชาดังกล่าว เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตาแก่คณาจารย์ สืบสานประเพณีอันดีงามของไทยเนื่องในเทศกาลสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย ต่อมาได้มีการจัดตั้งชมรมบาลี-สันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออกคณะอักษรศาสตร์ และจัดพิธีรดน้ำสงกรานต์อาจารย์อาวุโสเป็นประจำทุกปี นับตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานน้ำสงกรานต์แก่อาจารย์อาวุโส ชมรมบาลี – สันสกฤต ประจำปี พ.ศ. 2552

วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ พระราชทานน้ำสงกรานต์แก่ ศ.วิสุทธ์ บุษยกุล ผศ.ฐานิสร์ ชาครัตพงศ์ และแม่ชีวิมุตติยา (รศ.ดร.สุภาพรรณ ณ บางช้าง) พระอาจารย์อาวุโสที่เคยถวายพระอักษรภาษาบาลีและสันสกฤต สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาโทจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ในสาขาวิชาบาลี-สันสกฤต เมื่อปี 2523 ในขณะที่ทรงศึกษาอยู่นั้น มีพระราชดำริให้จัดพิธีรดน้ำสงกรานต์แก่พระอาจารย์อาวุโสที่ถวายพระอักษรในวิชาดังกล่าว เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตาแก่คณาจารย์ สืบสานประเพณีอันดีงามของไทยเนื่องในเทศกาลสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย ต่อมาได้มีการจัดตั้งชมรมบาลี-สันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออกคณะอักษรศาสตร์ และจัดพิธีรดน้ำสงกรานต์อาจารย์อาวุโสเป็นประจำทุกปี นับตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

การแสดง Maharashtra Folk Dance โดยคณะศิลปินจากรัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย

ภาพบรรยากาศการแสดง Maharashtra Folk Dance โดยคณะศิลปินจากรัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย นำโดยคุณ Jyoti Sawant แห่ง Saunskruti Foundation เมื่อวันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2557 การแสดงครั้งนี้จัดโดย สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสมาคมอารยสมาชกรุงเทพ และสมาคมอินเดียแห่งประเทศไทย โดยได้รับความเอื้อเฟื้อสถานที่และสนับสนุนการจัดกิจกรรมจากภาควิชาศิลปะการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กิจกรรมในครั้งนี้เริ่มจาก ผู้ดำเนินรายการทั้งสองท่านคืออาจารย์ ดร.ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว และอาจารย์กิตติพงศ์ บุญเกิด กล่าวแนะนำการเรียนการสอน หลักสูตรและกิจกรรมต่างๆ สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต จากนั้น ผศ.ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดี คณะอักษรศาสตร์ กล่าวต้อนรับและบรรยายความรู้เบื้องต้นของวิชานาฏยศาสตร์ จากนั้น คุณสุธรรม สัจจาภิมุข ประธานสมาคมอินเดียแห่งประเทศไทย (IAT) และคุณShivendra P. Singh ประธานสมาคมอารยสมาชกรุงเทพ กล่าวทักทายผู้เข้าชมการแสดง ต่อจากนั้น อาจารย์ ดร.ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว บรรยายเรื่องความเป็นมาและความสำคัญของวิชานาฏยศาสตร์ คณะนักแสดงเริ่มการแสดงชุดแรกคือ "นานที" และต่อด้วย "คณปติวันทนา" ซึ่งถือเป็นการไหว้ครูบูชาเทพเจ้าด้วยการร่ายรำตามขนบนาฏยศิลป์อินเดีย จากนั้นเป็นการแสดงระบำพื้นเมืองจากรัฐต่างๆ เช่น มหาราษฏระ คุชราต อุตตรประเทศและการเต้นรำแบบบอลลีวูดสมัยใหม่ สลับกับการร้องเพลงรักอมตะจากภาพยนตร์บอลลีวูดยุค 70 เมื่อสิ้นสุดการแสดงแล้ว คุณ Shivendra P.Singh ประธานสมาคมอารยสมาชกรุงเทพได้มอบประกาศนียบัตรและของที่ระลึกให้แก่คณะนักแสดง และมอบคัมภีร์พระเวทฉบับสมบูรณ์ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษให้แด่สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา คุณสุธรรม สัจจาภิมุข ประธานสมาคมอินเดียแห่งประเทศไทย(IAT) เป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยงน้ำชาและอาหารว่างแบบอินเดียแก่ผู้เข้าชมการแสดง

ทัศนศึกษาวัดซิกข์และชุมชนพาหุรัด

วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2557 อาจารย์ ดร.ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว และ อาจารย์กิตติพงศ์ บุญเกิด นำผู้เข้าอบรมในโครงการ "ภาษาสันสกฤตเรียนง่าย1" และ "ภาษาฮินดีพื้นฐาน1" ซึ่งจัดโดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับ สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาทัศนศึกษา ณ คุรุทวารา หรือวัดซิกข์และชุมชนพาหุรัด (ลิตเติลอินเดียเมืองไทย) กิจกรรมในวันนี้ถือเป็นการฉลองปิดโครงการอบรมฯของรุ่นที่ 1 ก่อนจะพบกันใหม่ใน โครงการอบรมภาษาสันสกฤตเรียนง่าย 2 และ ภาษาฮินดีพื้นฐาน 2 ที่จะเริ่มใหม่ในเดือนมกราคม 2558

คณาจารย์และนิสิตของสาขาฯ ร่วมกิจกรรมบูชาเนื่องในเทศกาลนวราตรี ณ คีตาอาศรมแห่งประเทศไทย วันที่ 30 กันยายน 2557

นิสิตสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักศึกษาวิชาโทภาษาฮินดี คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร ร่วมใจกันป็นอาสาสมัครช่วยงาน International Arya Mahasammelan 2014

เมื่อวันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 อ.กิตติพงศ์ บุญเกิด นำนิสิตที่กำลังศึกษาวิชาภาษาฮินดี สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักศึกษาวิชาโทภาษาฮินดี คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร ร่วมใจกันมาเป็นอาสาสมัครช่วยงาน International Arya Mahasammelan 2014 หรืองานชุมนุมใหญ่ชาวอารยสมาชนานาชาติ ณ สมาคมอาารยสมาชกรุงเทพ ถ.เจริญราษฎร์ เขตสาทร

นิสิตปริญญาโท ตรี เอกภาษาบาลีและสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาจากคีตาอาศรมแห่งประเทศไทย

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 นิสิตปริญญาโท ตรี เอกภาษาบาลีและสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาจากคีตาอาศรมแห่งประเทศไทย ที่ได้ให้ทุนสนับสนุนนิสิต นักศึกษาภาษาสันสกฤตต่อเนื่องมาเป็นครั้งที่ 26 ทางสาขาวิชาฯ รู้สึกขอบคุณคีตาอาศรมเป็นอย่างยิ่งที่ส่งเสริมการศึกษาภาษาสันสกฤตในประเทศไทย

งานทีปาวลี... ปีใหม่ภารตะ

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นวันแรก (ธนเตรัส) แห่งเทศกาลทีปาวลี ชมรมภาษาและวัฒนธรรมอินเดีย สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ได้จัดงาน "ทีปาวลี ... ปีใหม่ภารตะ" ขึ้น โดยงานมี 2 ช่วง ระหว่าง 16.30-18.15 น. เป็นการเสวนา ให้ความรู้เรื่อง ทีปวาลี โดยอ.กิตติพงศ์ บุญเกิด จากนั้น อ. ดร. ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว พูดเรื่องพระรามคืนอโยธยาฉบับวาลมีกิ และ สุดท้าย อ. ดร. อาทิตย์ ชีรวณิชกุล จากภาควิชาภาษาไทย พูดเรื่อง พระรามคืนเมืองในรามเกียรติ์ฉบับ ร. 1 งานช่วงที่ 2 เป็นช่วงวัฒนธรรม ทุกคนร่วมใจกันทำรังโคลีดอกไม้ เสร็จภายใน 15 นาที ด้วยความสามัคคี จากนั้นเป็นการจุดประทีปและร้องเพลง "ชัย ลักษมีมาตา" .... เสร็จงาน ทุกคนรับประทานขนมหวาน ที่ชมรม รวมทั้งผู้ร่วมงานนำมา และเล่นไฟเย็น ขอให้ชีวิตทุกคนมีแต่ความหอมหวาน และ ราบรื่น

งานชุมนุมภาษาฮินดี (Hindi Goshthi)

เมื่อวันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557 อาจารย์ ดร.ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว และอาจารย์กิตติพงศ์ บุญเกิดพร้อมด้วยนิสิตและผู้เข้าอบรมในโครงการบริการวิชาการภาษาฮินดี ของสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ได้ร่วมงานชุมนุมภาษาฮินดีหรือ Hindi Goshthi ซึ่งจัดโดยชมรม Thailand Hindi Parishad ณ ห้องประชุม อาคารเพรสทีจ ทาวเวอร์ สุขุมวิท 23 ในตอนเริ่มงานมีพิธีจุดประทีปเนื่องในเทศกาลทีปาวลี จากนั้นเป็นการแลกเปลี่ยนนำเสนอบทกวีและวาทะทางวรรณกรรมภาษาฮินดีของชาวชมรมไทยแลนด์ฮินดีปริษัท ผู้ที่มีความรักในภาษาฮินดี หรือเรียกว่า Hindi Premi (ฮินดีเปรมี) ในภาษาฮินดี อาจารย์ชานป์วิชช์ได้เตรียมความเรียงเรื่อง "อนามิกา-ศกุนตลา" เป็นภาษาฮินดี โดยได้แรงบันดาลใจมาจากบทบาทของ ศกุนตลา ในวรรณคดีสันสกฤต อาจารย์กิตติพงศ์ ได้เกลาความเรียงนั้นโดยนำมาร้อยเป็นบทกวีภาษาฮินดียุคใหม่ที่ไม่มีข้อบังคับทางฉันทลักษณ์หรือเรียกว่า มุกตฉันท์ บทกวีนี้ได้รับความชื่นชมจากชาวอินเดียที่มาร่วมงานในวันนั้นอย่างมาก (ดังจะได้แสดงไว้ในตอนท้ายของสเตตัสนี้) นอกจากนี้ นิสิตของสาขาวิชาฯยังได้อัญเชิญบางตอนจากบทกวีพระราชนิพนธ์ในล้นเกล้าฯ ร.๖ "อันชาติใดไร้ช่างชำนาญศิลป์" มาแสดงโดยร้องเป็นทำนองเสนาะ และอาจารย์กิตติพงศ์ แปลสรุปความเป็นภาษาฮินดี

เสวนาภารตวิทยาครั้งที่ 5 /2557

สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมการเสวนาทางภารตวิทยาครั้งที่ 5 /2557 ในหัวข้อ "มองภารตะด้วยใจไทย - มองไทยด้วยใจภารตะ" ความสัมพันธ์ไทย-อินเดีย: เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การเมือง และทัศนคติที่มีต่อกัน" โดยได้รับเกียรติจาก คุณสาธิต เซกัล (Mr. Satish Sehgal) ประธานสมาคมธุรกิจไทย-อินเดีย (India Thai Business Association) เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อดังกล่าว ณ ห้อง 707 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

งานศึกษารมภ์ (พิธีบูชาพระสรัสวตี)

สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ร่วมกับชมรมบาลี-สันสกฤต สมาคมฮินดูสมาช ไทยแลนด์ ฮินดีปริษัท กลุ่มปินากินได้จัดงาน “ศึกษารมภ์” ขึ้น เมื่อวันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557 ณ บริเวณโถงชั้น 1 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมอินเดียผ่านกิจกรรมสรัสวดีบูชาซึ่งเป็นพิธีไหว้ครูพระสรัสวดี เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่นิสิตก่อนเริ่มการศึกษาวิชาการทางอักษรศาสตร์ และเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านภารตวิทยาผ่านกิจกรรมเสวนาทางวิชาการเรื่องพระสรัสวดีในประเด็นที่หลากหลายให้แก่ผู้สนใจทั่วไป ในงานนี้ ทางสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤตได้รับเกียรติจาก ศ. นพ. ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี เป็นประธานในพิธี กล่าวเปิดงานและกล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ นอกจากนี้ยังมีแขกรับเชิญกิตติมศักดิ์ทั้งชาวไทยและชาวอินเดียที่ได้ให้เกียรติมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก อาทิ คุณอาชิช ปาดี (Mr. Asish Padhi) อัครราชทูตที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย ประธานอาศรมวัฒนธรรมไทย-ภารต คุณสถิต กุมาร (ที่ปรึกษาสมาคมฮินดูสมาช) ประธานคีตาศรมแห่งประเทศไทย Mr.Sushil Dhanuka Ms.Indu Dhanuka (President of Thailand Hindi Parishad) Mr.Sutham Sachaphimukh Ms.Somsong Sachaphimukh (President of Indian Association of Thailand) Mr. Shivendra P. Singh (President of Arya Samaj Bangkok) Dr.Karuna Sharma (Pridi Banomyong International College) ผศ. ดร. จิรพัฒน์ ประพันธวิทยา ผศ. ดร. สมบัติ มั่งมีสุขสิริ รศ. ดร. บำรุง คำเอก ภายในงานมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย ได้แก่ การประกอบพิธีบูชาพระสรัสวดี โดยพราหมณ์บัณฑิต ลลิต โมหัน วยาส (ประธานบัณฑิต โบสถ์เทพมณเฑียร กรุงเทพฯ) โดยมี ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี และคุณอาชิช ปาดี อัครราชทูตที่ปรึกษา เป็นยัชญมานหรือเจ้าภาพ และการบรรยายประกอบพิธีโดยคุณสถิต กุมาร (ที่ปรึกษาสมาคมฮินดูสมาช) และ อ.กิตติพงศ์ บุญเกิด (ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและวรรณกรรมฮินดี) เป็นล่ามแปลภาษาฮินดี การแสดงนาฏศิลป์อินเดีย โดยอาจารย์ฤตพชรพร ทองถนอม อาจารย์พิเศษคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การเสวนาทางวิชาการเรื่อง พระสรัสวดีในวรรณคดีสันสกฤต โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ พระสรัสวดีในพุทธศาสนา โดย อาจารย์ ดร. ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ประติมานวิทยาพระสรัสวดีในอินเดียและเอเชียอาคเนย์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และปิดท้ายด้วยการรับประทานอาหารอินเดียแสนอร่อยซึ่งได้รับการสนับสนุนจากไทยแลนด์ ฮินดีปริษัท

บาลีสันสกฤตพิจารณ์ ครั้งที่ 2

สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤตและชมรมบาลี-สันสกฤตได้จัดงาน “บาลีสันสกฤตพิจารณ์ ครั้งที่ 2” ขึ้น เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557เพื่อเปิดโอกาสในคณาจารย์ นักวิชาการ และนิสิตได้นำเสนอผลงานวิชาการและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการภาษาและวรรณคดีบาลีสันสฤต ภารตวิทยา และพุทธศาสน์ศึกษา ระหว่างบุคลากรจากสถาบันภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมถึงบุคคลภายนอกผู้สนใจ โดยได้รับเกียรติจาก ผศ. ดร. ประพจน์ อัศววิรุฬการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ กล่าวเปิดงาน โดยจัดให้มีการบรรยายพิเศษในประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้ การจัดทำพระไตรปิฎกฉบับรัชกาลที่ 5 อาจารย์แม่ชีวิมุตติยา ประธานหอพระไตรปิฎก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สี่เทพมหิทธิฤทธาผู้อารักขาลังกาทวีป: ร่องรอยเทพคติพระพุทธศาสนาแบบลังกาในสยามประเทศ อาจารย์ ดร. อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ความเป็นมุขปาฐะในพระสูตรทีฆนิกายและมัชฌิมนิกาย อาจารย์สมพรนุช ตันศรีสุข อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต

เสวนาภารตวิทยาครั้งที่ 4 /2557

สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมการเสวนาทางภารตวิทยาครั้งที่ 4 /2557 ในหัวข้อ "เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลำบาก?: ผู้หญิงอินเดียในหลากมิติ" โดยได้รับเกียรติจาก อ. กิตติพงศ์ บุญเกิด (ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและวรรณกรรมฮินดี) อ. ดร. ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว และคุณสิรินทร์ญาดา พรตระกูลเสรี เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อดังกล่าว ณ ห้อง 707 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เสวนาภารตวิทยาครั้งที่ 3 /2557

สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมการเสวนาทางภารตวิทยาครั้งที่ 3 /2557 ในหัวข้อ "วรรณกรรมฮินดี=TRANSFORMER ของวรรณคดีสันสกฤต?" โดยได้รับเกียรติจาก อ. กิตติพงศ์ บุญเกิด (ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและวรรณกรรมฮินดี) เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อดังกล่าว ณ ห้อง 708 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตบรรยายเรื่อง “มองภาษาบาลี-สันสกฤตอย่างภาษาศาสตร์ มองภาษาศาสตร์ในภาษาบาลี-สันสกฤต”

อ.ดร.ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเชิญจากภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโวฒ บรรยายเรื่อง “มองภาษาบาลี-สันสกฤตอย่างภาษาศาสตร์ มองภาษาศาสตร์ในภาษาบาลี-สันสกฤต” ณ ห้องประชุม 222 คณะมนุษยศาสตร์ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

อาจารย์และนิสิตสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤตเข้าร่วมการประชุมวิชาการทางพุทธศาสน์ศึกษาระดับนานาชาติ

อ.ดร.ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ได้เสนอบทความเรื่อง “Narratives of Maitreya’s Past Lives: An Analytical Study of Theirs Contexts and Motives” และนายณัชพล ศิริสวัสดิ์ นิสิตปริญญามหาบัณฑิต ได้เสนอบทความเรื่อง “The Relationship between Buddhism and Indigenous Beliefs and People as Reflected in the Names of Lokapālas Early Buddhist Literature” ในการประชุมวิชาการทางพุทธศาสน์ศึกษาระดับนานาชาติ (17th Congress of the International Association of Buddhist Studies (IABS)) จัดโดย International Association of Buddhist Studies (IABS) ณ มหาวิทยาลัยเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย ระหว่างวันที่ 18-23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คณาจารย์และนิสิตของสาขาฯ ร่วมกิจกรรม Happy Independence Day of India จัดโดย หอการค้าไทย-อินเดีย ณ โรงแรมแชงกรีลา วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

อ่านหนังสือเสียงในโครงการ One by One: หนังสือเสียงเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ชมรมบาลี-สันสกฤตและสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤตได้นำอาสาสมัครมาร่วมแบ่งปันความสุข ด้วยการอ่านหนังสือเสียงเพื่อน้องๆ ผู้พิการทางสายตา ในโครงการ One by One: หนังสือเสียงเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดโดยมูลนิธิแอมเวย์ร่วมกับมูลนิธิราชสุดา เรื่องที่อ่านวันนี้ คือ "ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท" พระราชวิทยานิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต พ.ศ. 2524

เข้าเยี่ยมคารวะเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย

ผศ. ดร. ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ อ.ดร.ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว อาจารย์ประจำสาขาบาลีและสันสกฤต และนายณัชพล ศิริสวัสดิ์ ผู้จัดการสาขาวิชาฯ เข้าเยี่ยมคารวะเอกอัครราชทูต ฮาร์ช วาร์ดัน ชริงลา (Ambassador Harsh Vardhan Shringla) เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ที่สถานเอกอัครราชทูตอินเดีย โดยได้เข้าปรึกษาหารือถึงความร่วมมือระหว่างสถานเอกอัครราชทูตอินเดียและสาขาวิชาฯ พร้อมทั้งชี้แจงให้ท่านทูตทราบถึงแผนงานและกิจกรรมของสาขาวิชา ฯ ที่กำลังจะเกิดขึ้น นาย อาชิช ปาดี (Mr. Asish Padhi) อัครราชทูตที่ปรึกษา และนายอนุช คุปตะ (Mr. Anuj Gupta) เลขานุการ ได้เข้าร่วมในระหว่างการเข้าเยี่ยมคารวะด้วย

เสวนาภารตวิทยาครั้งที่ 2 /2557

สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมการเสวนาทางภารตวิทยาครั้งที่ 2 /2557 ในหัวข้อ "ภาษาบาลี สันสกฤต ตายแล้ว ?" โดยได้รับเกียรติจาก ผศ. ดร. ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อดังกล่าว ณ ห้อง 401/18 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เสวนาภารตวิทยาครั้งที่ 1 /2557

สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมการเสวนาทางภารตวิทยาครั้งที่ 1 /2557 ในหัวข้อ "พุทธประวัติแห(ว)ก ขนบ" โดยได้รับเกียรติจาก อ.ดร.ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว อาจารย์ประจำสาขาบาลีและสันสกฤต เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อดังกล่าว ณ ห้อง 708 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

นิสิตปริญญามหาบัณฑิตเสนอความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

เสวนาภารตวิทยาครั้งที่ 7 /2556

สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต และสาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมการเสวนาทางภารตวิทยาครั้งที่ 7 /2556 ในหัวข้อ "Healing Rituals in Chinese Buddhism" โดยได้รับเกียรติจาก Prof. Stephen F. Teiser (Professor in Buddhist Studies จาก Princeton University ประเทศสหรัฐอเมริกา) เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อดังกล่าว ณ ห้อง 707 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

มูลนิธิ Khyentse มอบรางวัลทุนการศึกษาแก่นิสิตปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ เป็นประธานในพิธีมอบทุนการศึกษามูลนิธิ Khyentse ณ ห้องสมุด คณะอักษรศาสตร์ Dr. Peter Skilling ผู้ได้รับมอบหมายเป็นตัวแทนมูลนิธิ Khyentse ประเทศไทย เป็นผู้มอบรางวัลทุนการศึกษาให้แก่นายณัชพล ศิริสวัสดิ์ นิสิตระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ผู้ผ่านการคัดเลือก คณะกรรมการคัดเลือก ได้แก่ รองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ อาจารย์ ดร.สิริวรรณ จุฬากรณ์ และอาจารย์ ดร.ชาญวิทย์ ทัดแก้ว มูลนิธิ Khyentse ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.2001 โดยท่าน Dzongsar Khyentse Rinpoche เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่พุทธศาสนาและการเรียนพุทธศาสตร์ศึกษา โดยมีกิจกรรม อาทิ สนับสนุนการจัดการข้อมูลพระไตรปิฎกภาษาทิเบตในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ สนับสนุนการศึกษาพุทธศาสตร์ศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับนานาชาติ มูลนิธิได้มอบเงินทุนสนับสนุนให้แก่คณะอักษรศาสตร์เป็นเงิน 3,000 เหรียญสหรัฐฯ โดยให้คณะอักษรศาสตร์ตั้งหลักเกณฑ์ ดำเนินการคัดเลือกและจัดพิธีมอบทุนการศึกษาแก่นิสิตผู้ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการ มูลนิธิ Khyentse จะให้ทุนนี้แก่นิสิตคณะอักษรศาสตร์ เป็นระยะเวลา 3 ปี ปีละ 1 ทุน ทุนละ 1,000 เหรียญสหรัฐฯ (เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 จนถึงปีการศึกษา 2556) ภายหลังจาก 3 ปี มูลนิธิและฝ่ายวิรัชกิจจะหารือเพื่อตกลงความร่วมมือในระยะยาวต่อไป อนึ่ง มูลนิธิ Khyentse มอบทุนการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น University of California, Berkeley, University of Pennsylvania, University of Sydney, University of Hamburg และ Peking University

เสวนาภารตวิทยาครั้งที่ 6/2556

สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมการเสวนาทางภารตวิทยาครั้งที่ 6 /2556 ในหัวข้อ "พระวินัย อันเป็นพุทธบัญญัติ สามารถเพิกถอนได้หรือไม่" โดยได้รับเกียรติจาก ผศ. รท. ดร. บรรจบ บรรณรุจิ อาจารย์ประจำสาขาบาลีและสันสกฤต เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อดังกล่าว และบรรดาคณาจารย์และนิสิตได้ร่วมแสดงมุทิตาจิตแด่ ผศ. รท. ดร. บรรจบ บรรณรุจิ เนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ ณ ห้อง 707 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตเข้าร่วมการประชุมวิชาการทางพระพุทธศาสนา

อ.ดร.ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอบทความเรื่อง “รัตนเกตุปริวรรตสำนวนดั้งเดิม: ปัญหาสำคัญในการชำระคัมภีร์ต้นฉบับ” ในการประชุมวิชาการทางพระพุทธศาสนา หัวข้อ “วิธีตรวจชำระคัมภีร์ใบลานให้ได้มาตรฐานสากล” โครงการจัดประชุมร่วมระหว่างหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาพุทธศาสนศึกษา (นานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและวิทยาลัยพุทธศาสน์นานาชาติ ณ โรงแรม เอส.ดี.อเวนิว เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2556

เสวนาภารตวิทยาครั้งที่ 5/2556

สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมการเสวนาทางภารตวิทยาครั้งที่ 5 ในหัวข้อ "ประติมากรรมพระคเณศในศิลปะอินเดีย" โดยได้รับเกียรติจาก ผศ. ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร บรรยายในหัวข้อดังกล่าว เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เสวนาภารตวิทยาครั้งที่ 4/2556

สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมการเสวนาทางภารตวิทยาครั้งที่ 4 ในหัวข้อ "ภักติ คือ หนทางที่ง่ายที่สุด ที่จะเข้าถึง พระเป็นเจ้าจริงหรือ ... กรณีศึกษาในภควัทคีตาและทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤต" โดยได้รับเกียรติจาก น.ส. สิรินทร์ญาดา พรตระกูลเสรี (นิสิตเก่าของสาขาภาษาบาลีและสันสกฤต สำเร็จการศึกษาด้านภารตวิทยา จาก University of Pennsylvania ประเทศสหรัฐอเมริกา) เป็นผู้เปิดการเสวนาและบรรยายในหัวข้อดังกล่าว เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Farewell and Welcome Reception Indian Cultural Centre

อ.ดร. ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว ได้นำนิสิตสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤตร่วมงาน Farewell and Welcome Reception ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมอินเดีย โดยมี Mr. Anil Wadhwa เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทยเป็นประธานในการเลี้ยงอำลา Mrs. Renuka Narayanan ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมอินเดีย ในโอกาสหมดวาระหน้าที่ และเลี้ยงต้อนรับ Ms. Malathi Rao Vadapalli ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมอินเดียคนใหม่ ณ ศูนย์วัฒนธรรมอินเดีย (Indian Cultural Centre) ชั้น 27 อาคารจัสมิน ทาวเวอร์ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บาลีสันสกฤตพิจารณ์ ครั้งที่ 1

งานบาลีสันสกฤตพิจารณ์เป็นเวทีที่เปิดโอกาสในคณาจารย์ นักวิชาการ และนิสิตได้นำเสนอผลงานวิชาการทางด้านภารตวิทยาทั้งภาษาและวรรณคดี จัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556 โดยได้รับเกียรติจาก ผศ. ดร. ประพจน์ อัศววิรุฬการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ กล่าวเปิดงาน โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจ ดังนี้ สังกรณีตรีชวากับปัญจมหานที อาจารย์ ดร. อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย อัญมณีวิทยาในวรรณคดีสันสกฤตและวรรณคดีไทย อรุณวรรณ คงมีผล นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ความคิดเรื่องทิศและเทวดาผู้รักษาทิศในวรรณคดีสันสกฤตและ วรรณคดีพุทธศาสนา ณัชพล ศิริสวัสดิ์ นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต แรงจูงใจที่ทำคนอธิษฐานเป็นพญามารในพระสูตร ชาดก อวทาน อาจารย์ ดร. ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤ

เสวนาภารตวิทยาครั้งที่ 3/2556

สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมการเสวนาทางภารตวิทยาครั้งที่ 2 ในหัวข้อ "พระพุทธเจ้าตรัสภาษาบาลีจริงหรือไม่" โดยได้รับเกียรติจาก อ.ดร.ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว อาจารย์ประจำสาขาบาลีและสันสกฤต เป็นผู้บรรยายในหัวข้อดังกล่าว เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เสวนาภารตวิทยาครั้งที่ 2/2556

สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมการเสวนาทางภารตวิทยาครั้งที่ 2 ในหัวข้อ "Stupa Networks of Central India Reflections on the Early Spread of Buddhism" โดยได้รับเกียรติจาก Dr. Peter Skilling นักวิชาการจาก École française d'Extrême-Orient (EFEO) เป็นผู้บรรยายในหัวข้อดังกล่าว เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

จิตวิญญาณแห่งสยาม-ภารตะ

จิตวิญญาณแห่งสยาม-ภารตะเป็นงานเสวนาความรู้เรื่องเทวตำนานที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างวัฒนธรรมอินเดียและไทย โดยนำเสนอในรูปแบบนิทรรศการกราฟิก -อินโฟ (Graphic-Info presentation) รูปแบบนิทรรศการดังกล่าวได้รับความชื่นชมจากผู้ชมงานจุฬาฯ วิชาการ 2555 ทางชมรมภาษาบาลี-สันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับ Indian Council for Cultural Center สถานทูตอินเดีย จึงได้นำนิทรรศการดังกล่าวมาจัดแสดงเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไป ณ Indian Cultural Centre วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เสวนาภารตวิทยาครั้งที่ 1/2556

สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมการเสวนาทางภารตวิทยาครั้งที่ 1 ในหัวข้อ "ดินแดนสุวรรณภูมิอยู่ที่ใดบนแผนที่โลก" โดยได้รับเกียรติจาก ผศ. ดร. ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ เป็นผู้เปิดการเสวนาและบรรยายในหัวข้อดังกล่าว เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

นิสิตปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤตได้รับทุนการศึกษาของมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ

พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ ประธานกรรมการมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เป็นประธานในพิธีมอบทุนการศึกษาของมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ประจำปี 2555 ให้แก่นางสาวอรุณวรรณ คงมีผล นิสิตระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ผู้ผ่านการคัดเลือก เพื่อใช้ในการค้นคว้าวิจัยเรื่องอัญมณีวิทยาในวรรณคดีสันสกฤตและวรรณคดีไทย ณ บริเวณห้องโถง ชั้นล่าง อาคาร รัฐสภา 1 เมื่อวันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรนิทรรศการของชมรมภาษาบาลีและสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ ในงานจุฬาฯ วิชาการ 2555

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรนิทรรศการของชมรมภาษาบาลีและสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ ในงานจุฬาฯ วิชาการ 2555 เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

นิสิตปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤตได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่น กรุงเทพมหานคร (ประกายเพชร) ประจำปี 2555

นายณัชพล ศิริสวัสดิ์ นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ ได้รับโล่และประกาศเกียรติคุณ เพื่อแสดงว่าเป็น “เยาวชนดีเด่นกรุงเทพมหานคร (ประกายเพชร) ประจำปี 2555” ด้านส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จากนางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้แทน ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จัดโดย สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

การเสวนาวิชาการทางภารตวิทยา

สาขาวิขาภาษาบาลีและสันสกฤตได้รับเกียรติจาก Prof. Dr. Michael von Brück อาจารย์ประจำสาขาวิชา Religious Studies จาก Ludwig-Maximilians-Universitätb (Munich) บรรยายพิเศษในหัวข้อ “Historical Development and Philosophical Tenets in Mahayana Buddhism” เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมวิชาอารยธรรมอินเดีย

อ.ดร. ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว อาจารย์ประจำสาขาบาลีและสันสกฤต ได้นำนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนวิชาอารยธรรมอินเดียและผู้สนใจไปร่วมกิจกรรมและฟังบรรยายหัวข้อทางภารตวิทยา โดยมี Mrs. Renuka Narayanan ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมอินเดียให้การต้อนรับและให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยาย ณ ศูนย์วัฒนธรรมอินเดีย (Indian Cultural Centre) ชั้น 27 อาคารจัสมิน ทาวเวอร์ เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

มูลนิธิ Khyentse มอบรางวัลทุนการศึกษาแก่นิสิตปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ เป็นประธานในพิธีมอบทุนการศึกษามูลนิธิ Khyentse ณ สรรพศาสตร์สโมสร อาคารมหาจักรีสิรินธร Dr. Peter Skilling ผู้ได้รับมอบหมายเป็นตัวแทนมูลนิธิ Khyentse ประเทศไทย เป็นผู้มอบรางวัลทุนการศึกษาให้แก่นางสาวสรารัตน์ นะวะโต นิสิตระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ผู้ผ่านการคัดเลือก

นิสิตสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤตได้รับทุนการศึกษาจากมูลนิธิคีตาอาศรม

มูลนิธิคีตาอาศรม แห่งประเทศไทย มอบทุนการศึกษาให้แก่นิสิตที่เรียนภาษาสันสกฤต ณ มูลนิธิ คีตาอาศรม แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553