งานคิดถึงครู 100 ปี ศาสตราจารย์กิตติคุณ ฉลวย วุธาทิตย์

ประวัติครอบครัว

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ฉลวย วุธาทิตย์ สกุลเดิม กาญจนาคม เป็นธิดาคนที่ ๒ ของพระบริหารเทพธานี (เฉลิม กาญจนาคม)
และนางบริหารเทพธานี (เพี้ยน กาญจนาคม)
เกิดเมื่อวันอังคารที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ อำเภอบางพุทรา จังหวัดสิงห์บุรี มีพี่น้อง ๑๐ คน

นางสาวฉลวย กาญจนาคม คนที่ ๑ จากซ้ายมือ แถวแรก


ประวัติการศึกษา

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ฉลวย วุธาทิตย์ เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม และโรงเรียนราชินี

ศึกษาระดับอุดมศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอักษรศาสตรบัณฑิตรุ่นแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗

นางสาวฉลวย กาญจนาคม แถวแรก คนที่ ๓ จากซ้ายมือ


การเข้ารับราชการ

พ.ศ. ๒๔๗๕ เข้ารับราชการครั้งแรก
ตำแหน่งครูน้อย กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๔๗๗ เป็นอาจารย์สอนภาษาไทย
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศึกษาต่อระดับปริญญาโท

ระหว่างที่รับราชการได้เดินทางไป
ศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ได้รับปริญญามหาบัณฑิตจาก
มหาวิทยาลัยเยล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒

เป็นหัวหน้าแผนกวิชาภาษาตะวันออกคนแรก
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฉลวย วุธาทิตย์
หัวหน้าแผนกวิชาภาษาโบราณตะวันออก
รองศาสตราจารย์ฉลวย วุธาทิตย์
หัวหน้าแผนกวิชาภาษาตะวันออก

พ.ศ. ๒๕๑๒
เป็นศาสตราจารย์ แผนกวิชาภาษาตะวันออก

เกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๗
รวมอายุการรับราชการเป็นอาจารย์ของคณะอักษรศาสตร์ ๔๐ ปี

โครงการแรกของภาควิชาภาษาตะวันออก
โครงการอบรมภาษามาเลย์ให้แก่ข้าราชการ กระทรวงมหาดไทย

ศาสตราจารย์ฉลวย วุธาทิตย์ ถ่ายภาพ ร่วมกับ ศาสตราจารย์รอง ศยามานนท์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์, อาจารย์ผู้สอน วิชาภาษามาเลย์ และข้าราชการกระทรวง มหาดไทยที่เข้ารับการอบรมภาษามาเลย์

เปิดหลักสูตรภาษาญี่ปุ่น พ.ศ. ๒๕๐๙

ถ่ายภาพกับ Mr. Ando Hiroshi ผู้อำนวยการสำนักข่าวสารญี่ปุ่น และนิสิตที่เรียนภาษาญี่ปุ่น

ถ่ายภาพกับ ศาสตราจารย์รอง ศยามานนท์, Mr. Ando Hiroshi, Prof. Osamu Matsuyama,
อ.มล. นีลนารา ทองใหญ่, Prof. Tomita Takejiro

แถวบน: อาจารย์สอนวิชาภาษามาเลย์,
อาจารย์ฐานิสร์ ชาครัตพงศ์,
อาจารย์ Baba Yasuhiko,
Prof.Yasuaki Sakamoto

แถวล่าง: ขุนศิลปกิจพิสัณห์,
อาจารย์วิมล มูนจินดา,
ศาสตราจารย์ฉลวย วุธาทิตย์,
Prof.Takejiro Tomita


ถ่ายภาพกับ ศาสตราจารย์เบ็ญจวรรณ สุนทรากูล อาจารย์ภาควิชาภาษาไทย


หลังการเกษียณอายุราชการ

เป็นอาจารย์พิเศษสอนนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤต สาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ถวายพระอักษร วิชา “บาลีและสันสกฤต ในภาษาไทย” และ “บทความภารตวิทยา ที่เป็นภาษาอังกฤษ” แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งทรงศึกษาระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาบาลี-สันสกฤต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



พ.ศ. ๒๕๓๖
ได้รับพระราชทาน ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

ภาพถ่ายร่วมกับคณาจารย์คณะอักษรศาสตร์
ในโอกาสรับพระราชทานปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๓ มิถุนายน ๒๕๓๖


ทะเบียนสมาชิกสมาคมนิสิตเก่า
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญที่ระลึก

พ.ศ. ๒๔๘๓ จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
พ.ศ. ๒๔๘๔ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
พ.ศ. ๒๔๙๑ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
พ.ศ. ๒๔๙๓ เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๙
พ.ศ. ๒๕๑๑ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)

ตำแหน่งและหน้าที่พิเศษ

พ.ศ. ๒๔๙๑ นายทะเบียน สมาคมสตรีอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย


ที่ปรึกษาด้านการสร้างเครื่องมือและประเมิน
บุคคลของกองข้อสอบ สำนักงานคณะกรรมการ
ข้าราชการพลเรือนจนถึง พ.ศ. ๒๕๔๔



ศาสตราจารย์กิตติคุณ ฉลวย วุธาทิตย์
ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓



งานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ฉลวย วุธาทิตย์
วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔