ลักษณะวรรณกรรมภาคเหนือ

ลักษณะวรรณกรรมภาคเหนือ

ประคอง นิมมานเหมินท์

วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
ภาควิชาภาษาไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปีการศึกษา ๒๕๐๙

บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาค้นคว้ารวบรวมงานของนักเขียนในสมัยต่าง ๆ ในภาคเหนือแล้วนำมาวิพากษ์วิจารณ์ในด้านความไพเราะ เนื้อเรื่อง คติธรรม ลักษณะคำประพันธ์ที่ใช้และอิทธิพลที่ได้รับจากภาคกลางในด้านภาษาและวรรณกรรม วิทยานิพนธ์เรื่องนี้แบ่งออกเป็น ๕ บท บทแรกเป็นบทนำ กล่าวถึงประวัติศาสตร์และความเป็นมาของภาคเหนือในด้านที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมและวรรณกรรม บทที่ ๒ กล่าวถึงงานและนักเขียน ตอนแรกได้กล่าวถึงวรรณกรรมที่เกิดขึ้นหลังการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๘ เมื่อ พ.ศ.๒๐๒๐ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่มีอายุมากที่สุดเท่าที่ค้นพบ ส่วนมากเป็นวรรณกรรมทางศาสนาและประวัติศาสตร์และแต่งเป็นภาษาบาลี วรรณกรรมที่กล่าวถึงต่อจากนี้ส่วนมากเป็นเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ และแต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ วรรณกรรมในยุคหลังที่สุดเนื้อเรื่องมีทั้งแบบชาดกและเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ มักเป็นซอและค่าวซอ บทที่ ๓ กล่าวถึงลักษณะคำประพันธ์ที่ใช้ในวรรณกรรมภาคเหนือและเปรียบเทียบลักษณะคำประพันธ์บางชนิดของภาคกลางและภาคเหนือ บทที่ ๔ กล่าวถึงอิทธิพลของภาษาและวรรณกรรมภาคกลางที่มีต่อวรรณกรรมภาคเหนือ บทที่ ๕ บทสรุป 

อ่านวิทยานิพนธ์ฉบับออนไลน์ได้ที่
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23147

ปัจจุบันเป็นราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม
ประเภทวิชาวรรณศิลป์
สาขาวิชาวรรณกรรมพื้นเมือง

ภาพเปิดเรื่อง : ภาพตัวอักษรในกฎหมายพระญามังราย