ผลงานชุดคติชนวิทยา ลำดับที่ ๒

ประคอง นิมมานเหมินท์. นิทานพื้นบ้านศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ ๓). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๑. (๒๒๐ หน้า)

        นิทานพื้นบ้านศึกษา ของ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ เป็นตำราทางคติชนวิทยาที่มีเนื้อหาครอบคลุมความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านในเรื่องความเป็นสากลของนิทาน ความหมาย ลักษณะ และการแบ่งประเภทนิทานพื้นบ้าน ประวัติและแนวทางการศึกษานิทานพื้นบ้าน คำศัพท์สำคัญและกฎเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน ความสัมพันธ์ระหว่างนิทานพื้นบ้านกับสังคมและข้อมูลทางวัฒนธรรมประเภทอื่น รวมถึงลักษณะและประเภทของนิทานพื้นบ้านในประเทศไทย โดยแบ่งเนื้อหาดังกล่าวออกเป็น ๖ บท

        บทที่ ๑ บทนำ กล่าวถึง ความเป็นสากลของนิทานที่ทุกสังคมมีนิทาน มีการเล่านิทาน และมีผู้สนใจฟังนิทาน วิธีการเล่านิทานทั้งการถ่ายทอดแบบมุขปาฐะ แบบลายลักษณ์อักษร และการนำเสนอด้วยสื่อสมัยใหม่ ตลอดจนความสำคัญของวิธีการถ่ายทอดนิทานแต่ละแบบในการศึกษาทางคติชนวิทยา

        บทที่ ๒ ความหมายและการแบ่งประเภทนิทานพื้นบ้าน กล่าวถึง ความหมายและลักษณะของนิทานพื้นบ้าน การแบ่งประเภทนิทานพื้นบ้านตามแนวของ สติธ ทอมป์สัน (Stith Thompson) นักคติชนวิทยาชาวอเมริกัน ที่จำแนกออกเป็น ๑๑ ประเภท ได้แก่ นิทานมหัศจรรย์ นิทานชีวิต นิทานวีรบุรุษ นิทานประจำถิ่น นิทานอธิบายเหตุ ตำนานปรัมปรา นิทานสัตว์ มุขตลก นิทานศาสนา นิทานเรื่องผี และนิทานเข้าแบบ

        บทที่ ๓ แบบเรื่อง สำนวน อนุภาค และกฎเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน กล่าวถึง คำศัพท์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับนิทานพื้นบ้าน ไม่ว่าจะเป็น แบบเรื่องนิทานพื้นบ้าน (tale type) ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่ใช้ในการแบ่งประเภทนิทานพื้นบ้านอย่างละเอียด สำนวน (version) ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่ใช้กับนิทานพื้นบ้านเรื่องเดียวกัน แต่เก็บจากที่ต่าง ๆ กัน หรือเก็บจากผู้เล่าคนเดียวกันแต่ต่างเวลากัน อนุภาค (motif) ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่ใช้เรียกองค์ประกอบย่อยในนิทานที่มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษทำให้เกิดการจดจำและการเล่าสืบทอดกันต่อไป อีกส่วนว่าด้วย กฎเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน (Epic Laws of Folk Narrative) ของ เอกเซล โอลริค (Axel Olrik) นักคติชนวิทยาชาวเดนมาร์ก ซึ่งนำเสนอลักษณะที่ร่วมกันของนิทานพื้นบ้านเรื่องต่าง ๆ

        บทที่ ๔ การศึกษานิทานพื้นบ้าน กล่าวถึง ประวัติการศึกษานิทานพื้นบ้าน นักคติชนวิทยาคนสำคัญที่ศึกษานิทานพื้นบ้าน แนวการศึกษานิทานพื้นบ้าน เช่น การศึกษาแหล่งกำเนิดของนิทาน การแพร่กระจายของนิทาน ความหมายของนิทาน การศึกษานิทานในเชิงเปรียบเทียบ พร้อมข้อเสนอแนะในการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์นิทานพื้นบ้าน

        บทที่ ๕ นิทานพื้นบ้านกับสังคม วรรณคดี ศิลปะ และคติชนประเภทอื่น กล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างนิทานพื้นบ้านกับสังคมในแง่อิทธิพลของสังคมต่อนิทานพื้นบ้านและบทบาทของนิทานพื้นบ้านในสังคม นิทานพื้นบ้านกับวรรณคดี ในแง่นิทานพื้นบ้านเป็นบ่อเกิดของวรรณคดีลายลักษณ์ ขณะเดียวกันวรรณคดีลายลักษณ์ก็ช่วยเก็บรักษาและเป็นสื่อถ่ายทอดนิทานพื้นบ้านด้วย นิทานพื้นบ้านกับศิลปะ ในแง่นิทานพื้นบ้านเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ และนิทานพื้นบ้านกับคติชนประเภทอื่น ในแง่ภาษิต ปริศนาคำทาย และเพลงพื้นบ้านมีที่มาจากนิทานพื้นบ้าน

        บทที่ ๖ นิทานพื้นบ้านในประเทศไทย กล่าวถึง นิทานพื้นบ้านของไทยซึ่งมีที่มาจากหลายแหล่ง ทั้งเกิดขึ้นในประเทศ มาจากต่างประเทศ และมาจากวรรณกรรมลายลักษณ์ นิทานพื้นบ้านกับภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมไทย และการแบ่งประเภทนิทานพื้นบ้านของไทย ออกเป็น ๑๑ ประเภท ได้แก่ ตำนานปรัมปรา นิทานศาสนา นิทานคติ นิทานมหัศจรรย์ นิทานชีวิต นิทานประจำถิ่น นิทานอธิบายเหตุ นิทานสัตว์ เรื่องผี มุขตลกและเรื่องโม้ และนิทานเข้าแบบ

        นอกจากนี้ ท้ายเล่มยังมีตัวอย่างนิทานพื้นบ้าน ดัชนีแบบเรื่องนิทานพื้นบ้าน และดัชนีอนุภาคนิทานพื้นบ้าน รวมอยู่ในภาคผนวก เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นความหลากหลายของนิทานชาติต่าง ๆ เนื้อเรื่องของนิทานบางประเภท ตลอดไปจนถึงตัวอย่างการแบ่งหัวข้อในดัชนีแบบเรื่องนิทานพื้นบ้านและดัชนีอนุภาคนิทานพื้นบ้าน

        ก่อนที่จะมาเป็นนิทานพื้นบ้านศึกษา หนังสือเล่มนี้อยู่ในรูปแบบเอกสารอัดสำเนาที่ใช้ในการเรียนการสอนวิชาคติชนวิทยา ของภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ ซึ่งเปิดสอนให้แก่นิสิตในภาควิชาและเป็นวิชาในหมวดการศึกษาทั่วไปของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาเมื่อจัดพิมพ์เนื้อหาดังกล่าวเป็นหนังสือเล่ม ผู้เขียนได้ปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น หลังจากนั้นผู้เขียนเพิ่มคำอธิบายเนื้อหาและเพิ่มตัวอย่างให้เข้าใจได้อย่างชัดเจน ด้วยตั้งใจจะให้นิทานพื้นบ้านศึกษา เป็นตำราที่กะทัดรัดและอ่านเข้าใจง่าย มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นสำคัญที่จำเป็นต่อการศึกษานิทานพื้นบ้านทั่วไปและนิทานพื้นบ้านในประเทศไทยให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

        การปรับปรุงและเพิ่มเติมข้างต้นทำให้หนังสือนิทานพื้นบ้านศึกษามีเนื้อหาครบถ้วนยิ่งขึ้น จนได้รับการยอมรับว่าเป็นตำราทางคติชนวิทยาที่สมบูรณ์ที่สุดเล่มหนึ่ง พบว่านักวิชาการทางคติชนวิทยา วรรณคดี และสาขาที่เกี่ยวข้องอ้างอิงหนังสือนี้อยู่เสมอ โดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงลักษณะและประเภทของนิทานพื้นบ้านในประเทศไทย เนื่องจากหนังสือเล่มนี้ได้นำวิธีการแบ่งประเภทของนิทานแบบตะวันตกมาใช้ร่วมกับวิธีการจัดกลุ่มนิทานแบบไทย โดยคำนึงถึงทั้ง “ลักษณะร่วม” และ “ลักษณะเฉพาะ” ของนิทานพื้นบ้านในต่างประเทศและนิทานพื้นบ้านไทย หนังสือเล่มนี้จึงมีประโยชน์ต่อนักคติชนวิทยา นักวิชาการ และผู้สนใจที่จะได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการ “ศึกษา” หรือการ “อ่าน” นิทานพื้นบ้านให้ได้มุมมองที่กว้างขวางและลึกซึ้ง

ผู้ปริทัศน์ : พลกฤษณ์ วสีวิวัฒน์
นิสิตอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขาคติชนวิทยา
ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

#ปริทัศน์หนังสือผลงานของศูนย์คติชนวิทยา

บทที่ ๑ บทนำ กล่าวถึง ความเป็นสากลของนิทานที่ทุกสังคมมีนิทาน มีการเล่านิทาน และมีผู้สนใจฟังนิทาน วิธีการเล่านิทานทั้งการถ่ายทอดแบบมุขปาฐะ แบบลายลักษณ์อักษร และการนำเสนอด้วยสื่อสมัยใหม่ ตลอดจนความสำคัญของวิธีการถ่ายทอดนิทานแต่ละแบบในการศึกษาทางคติชนวิทยา

บทที่ ๒ ความหมายและการแบ่งประเภทนิทานพื้นบ้าน กล่าวถึง ความหมายและลักษณะของนิทานพื้นบ้าน การแบ่งประเภทนิทานพื้นบ้านตามแนวของ สติธ ทอมป์สัน (Stith Thompson) นักคติชนวิทยาชาวอเมริกัน ที่จำแนกออกเป็น ๑๑ ประเภท ได้แก่ นิทานมหัศจรรย์ นิทานชีวิต นิทานวีรบุรุษ นิทานประจำถิ่น นิทานอธิบายเหตุ ตำนานปรัมปรา นิทานสัตว์ มุขตลก นิทานศาสนา นิทานเรื่องผี และนิทานเข้าแบบ

บทที่ ๓ แบบเรื่อง สำนวน อนุภาค และกฎเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน กล่าวถึง คำศัพท์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับนิทานพื้นบ้าน ไม่ว่าจะเป็น แบบเรื่องนิทานพื้นบ้าน (tale type) ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่ใช้ในการแบ่งประเภทนิทานพื้นบ้านอย่างละเอียด สำนวน (version) ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่ใช้กับนิทานพื้นบ้านเรื่องเดียวกัน แต่เก็บจากที่ต่าง ๆ กัน หรือเก็บจากผู้เล่าคนเดียวกันแต่ต่างเวลากัน อนุภาค (motif) ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่ใช้เรียกองค์ประกอบย่อยในนิทานที่มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษทำให้เกิดการจดจำและการเล่าสืบทอดกันต่อไป อีกส่วนว่าด้วย กฎเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน (Epic Laws of Folk Narrative) ของ เอกเซล โอลริค (Axel Olrik) นักคติชนวิทยาชาวเดนมาร์ก ซึ่งนำเสนอลักษณะที่ร่วมกันของนิทานพื้นบ้านเรื่องต่าง

บทที่ ๔ การศึกษานิทานพื้นบ้าน กล่าวถึง ประวัติการศึกษานิทานพื้นบ้าน นักคติชนวิทยาคนสำคัญที่ศึกษานิทานพื้นบ้าน แนวการศึกษานิทานพื้นบ้าน เช่น การศึกษาแหล่งกำเนิดของนิทาน การแพร่กระจายของนิทาน ความหมายของนิทาน การศึกษานิทานในเชิงเปรียบเทียบ พร้อมข้อเสนอแนะในการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์นิทานพื้นบ้าน

บทที่ ๕ นิทานพื้นบ้านกับสังคม วรรณคดี ศิลปะ และคติชนประเภทอื่น กล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างนิทานพื้นบ้านกับสังคมในแง่อิทธิพลของสังคมต่อนิทานพื้นบ้านและบทบาทของนิทานพื้นบ้านในสังคม นิทานพื้นบ้านกับวรรณคดี ในแง่นิทานพื้นบ้านเป็นบ่อเกิดของวรรณคดีลายลักษณ์ ขณะเดียวกันวรรณคดีลายลักษณ์ก็ช่วยเก็บรักษาและเป็นสื่อถ่ายทอดนิทานพื้นบ้านด้วย นิทานพื้นบ้านกับศิลปะ ในแง่นิทานพื้นบ้านเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ และนิทานพื้นบ้านกับคติชนประเภทอื่น ในแง่ภาษิต ปริศนาคำทาย และเพลงพื้นบ้านมีที่มาจากนิทานพื้นบ้าน

บทที่ ๖ นิทานพื้นบ้านในประเทศไทย กล่าวถึง นิทานพื้นบ้านของไทยซึ่งมีที่มาจากหลายแหล่ง ทั้งเกิดขึ้นในประเทศ มาจากต่างประเทศ และมาจากวรรณกรรมลายลักษณ์ นิทานพื้นบ้านกับภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมไทย และการแบ่งประเภทนิทานพื้นบ้านของไทย ออกเป็น ๑๑ ประเภท ได้แก่ ตำนานปรัมปรา นิทานศาสนา นิทานคติ นิทานมหัศจรรย์ นิทานชีวิต นิทานประจำถิ่น นิทานอธิบายเหตุ นิทานสัตว์ เรื่องผี มุขตลกและเรื่องโม้ และนิทานเข้าแบบ