ศูนย์คติชนวิทยา

 
ตั้งแต่เริ่มจัดตั้ง ศูนย์คติชนวิทยา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้มีการจัดโครงการต่างๆ รวมทั้งกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อวงการคติชนอย่างหลากหลายดังนี้
๑.โครงการจัดทำ “ทำเนียบนักคติชนวิทยาในประเทศไทย”
เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนักคติชนวิทยาและผลงานของนักคติชนวิทยาในสถาบัน-อุดมศึกษาทั้งในมหาวิทยาลัยและสถาบันราชภัฏทั่วประเทศ ศูนย์คติชนวิทยาได้ทำเนียบนักคติชนทั่วประเทศจำนวน ๑๕๐ คน ได้จัดพิมพ์ทำเนียบนักคติชนขึ้นในปี ๒๕๔๓
๒. โครงการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “มองคติชนเห็นชาวบ้าน”
ในวันที่ ๗-๘ กันยายน ๒๕๔๓ ศูนย์คติชนฯ ได้จัดสัมมนาวิชาการระดับชาติเรื่อง “มองคติชนเห็นชาวบ้าน” ณ ห้องประชุมสารนิเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวิทยากรจำนวน ๑๐ ท่านเข้าร่วมเสนอบทความ มีผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ ๑๕๐ คน เป็นคณาจารย์และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชน สถาบันราชภัฏทั่วประเทศ มีหนังสือรวบรวมบทความจำนวน ๑ เล่ม ประกอบด้วยบทความวิชาการทางคติชนจำนวน ๑๐ บทความ
๓. โครงการจัดทำบรรณานุกรมคติชนวิทยาและวรรณกรรมท้องถิ่น
ศูนย์คติชนวิทยา ร่วมกับภาควิชาภาษาไทย ได้จัดทำบรรณานุกรมคติชนวิทยาและวรรณกรรมท้องถิ่น ซึ่งรวบรวมรายชื่อหนังสือ บทความ งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ทางด้านคติชนวิทยา โดยแยกเป็นบรรณานุกรมทางด้านนิทาน วรรณกรรม เพลง การละเล่น การแสดง ภาษิต ปริศนา ความเชื่อ พิธีกรรม ประเพณี ศิลปหัตถกรรมและศิลปวัตถุ รวมทั้งสิ้นประมาณ ๒,๕๐๐ รายการ
๔. โครงการจัดพิมพ์ตำรา - หนังสือทางคติชนวิทยา
ศูนย์คติชนวิทยา จัดพิมพ์หนังสือที่สามารถใช้เป็นตำราทางคติชนวิทยา ทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ดูรายละเอียดในตำราและผลงานวิจัย)
๕. การจัดทำจดหมายข่าว
ศูนย์คติชนวิทยา ได้ทดลองออก “จดหมายข่าวชาวคติชน” ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓ ไปยังนักคติชนที่มีชื่ออยู่ในทำเนียบนักคติชน ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของศูนย์คติชนวิทยาและเรื่องราวของนักคติชน รวมทั้งเกร็ดความรู้ทางคติชนวิทยา ซึ่งได้รับการตอบรับจากนักคติชนจำนวนมาก และนักคติชนในเครือข่ายได้เรียกร้องให้มีการออก “จดหมายข่าวชาวคติชน” อีก จึงมีจดหมายข่าวดังกล่าวออกมาเป็น ๓ ฉบับ
๖. การจัดฝึกอบรมทางคติชนวิทยา
ศูนย์คติชนวิทยา ร่วมกับ สมาคมวิจัยเชิงคุณภาพแห่งประเทศไทย ได้จัดฝึกอบรม เรื่อง “แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลทางคติชนวิทยา” เมื่อวันที่ ๑๗-๑๙ มกราคม ๒๕๔๔ ให้กับคณาจารย์มหาวิทยาลัยทั้งในส่วนกลาง มหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคและสถาบันราชภัฏ จำนวน ๔๐ คน
๗. โครงการจัดบรรยายทางวิชาการ
ศูนย์คติชนวิทยา ได้จัดบรรยายทางวิชาการเรื่อง “แนวทางการศึกษาคติชนวิทยาในสหรัฐอเมริกา” บรรยายโดย อ.ดร.ศิริพร ภักดีผาสุข เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๔
๘. โครงการจัดบรรยายทางวิชาการ
ศูนย์คติชนวิทยา ได้จัด “บรรยายประกอบการสาธิตการขับซอล้านนา” บรรยายโดยช่างซอจำปา แสนพรมและคณะ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
๙. โครงการเสวนาคติชนวิทยา
ศูนย์คติชนวิทยา ได้จัดโครงการเสวนาคติชนวิทยาเรื่อง “ตำนานปรัมปราช่วยให้เข้าใจมนุษย์และวัฒนธรรมอย่างไร” เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ มีผู้ร่วมเสวนา คือ นายปรมินท์ จารุวร นายปฐม หงษ์สุวรรณ และนางสาววาสนา ศรีรักษ์ ดำเนินการอภิปรายโดย รศ.ดร.ศิราพร ณ ถลาง
๑๐. โครงการเสวนาทางวิชาการ
ศูนย์คติชนวิทยา ร่วมกับมูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดเสวนาทางวิชาการในโครงการนิทรรศการเรื่อง “ข้าว : อาหารและการค้า” เมื่อวันที่ ๑๖-๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ณ Siam Discovery ปทุมวัน กรุงเทพฯ
๑๑. โครงการเสวนาทางคติชนวิทยา
ศูนย์คติชนวิทยา ได้จัดโครงการเสวนาคติชนวิทยาเรื่อง “ประสบการณ์และข้อคิดเห็นจากการประชุมเชิงวิชาการเรื่อง Islands and Narratives จัดโดย International Society for Folk Narrative Research ISFNR ณ เมืองวิสบี้ ประเทศสวีเดน” เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๖ วิทยากรบรรยายโดย รศ.ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์
๑๒. โครงการจัดประชุมทางวิชาการเพื่อเผยแพร่วิทยานิพนธ์ในเครือข่ายไทยศึกษา
ศูนย์คติชนวิทยา ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้จัดการประชุมทางวิชาการเรื่อง “บททำขวัญและพิธีทำขวัญในบริบทสังคมไทย” เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๖ โดยมีผู้เสนอผลงาน คือ น.ส. พัชรินทร์ คงคาสุริยฉาย นายสมพงษ์ จิตอารีย์ น.ส.อุมารินทร์ ตุลารักษ์ และนายสุวิทย์ เจียรสุวรรณ สังเคราะห์โดย รศ.ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ และร่วมอภิปรายแง่คิดและข้อเสนอเพิ่มเติมโดย รศ.ดร.ศิราพร ณ ถลาง รศ.สุกัญญา สุจฉายา และรศ.ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล
๑๓. โครงการบรรยายทางวิชาการเกี่ยวกับคติชนวิทยา
ศูนย์คติชนวิทยาและภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโครงการบรรยายทางวิชาการเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์ในนิทานเอสกิโม” บรรยายโดย รศ.ดร.วรรณี (วิบูลย์สวัสดิ์) แอนเดอร์สัน อาจารย์ประจำภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยบราวน์ (Brown University) ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๔๗
๑๔. โครงการจัดกิจกรรมและนิทรรศการ
ศูนย์คติชนวิทยาร่วมจัดนิทรรศการและเสนอผลงานวิจัยในงานประชุมวิชาการเรื่อง “เรื่องกินเรื่องใหญ่ในไทยและเทศ” จัดโดยฝ่ายวิจัย คณะอักษรศาสตร์ มีการร่วมจัดสำรับอาหารแขก และการเสนอบทความวิจัยเรื่อง “บุญประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของชาวมุสลิมกลุ่มแขกจาม ชวาและเปอร์เซียในสังคมไทย” โดย รศ.สุกัญญา สุจฉายา เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๗
๑๕. โครงการจัดประชุมทางวิชาการ เรื่อง “คติชนสมัยใหม่ – สังคมสมัยใหม่”
ศูนย์คติชนวิทยาและภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ ได้จัดการประชุมทางวิชาการ เรื่อง “คติชนสมัยใหม่ – สังคมสมัยใหม่” เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๕๐ พรรษา เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๘ ซึ่งในการประชุมวิชาการดังกล่าวมีการบรรยายเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับคติชนวิทยาสมัยใหม่ โดยมี รศ.ดร.ศิราพร ณ ถลาง รศ.สุกัญญา สุจฉายา อ.ดร.ศิริพร ภักดีผาสุข และนักคติชน นักวิชาการหลายท่านร่วมบรรยาย
๑๖. โครงการเสนอผลงานทางวิชาการ
ศูนย์คติชนวิทยา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเชิญจากโครงการ HCMR (Human-Chicken Multi-Relationship Research Project) ซึ่งเป็นโครงการวิจัยสหสาขาระหว่างนักวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (ญี่ปุ่น-ไทย) ของเจ้าชายอะกิฌิโนะ ในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้ รศ.สุกัญญา สุจฉายา ผู้อำนวยการศูนย์คติชนวิทยา เข้าร่วมประชุม The First Tokyo International Congress on HCMR และได้เสนอผลงานทางวิชาการร่วมกับ ผศ.ดร.ชมนาด ศีติสาร เรื่อง “Significance and Role of Chicken in Akha's Worldview” ระหว่างวันที่ ๒๗-๓๐ มีนาคม ๒๕๔๘ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
๑๗. โครงการกิจกรรมเปิดตัวหนังสือ
โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ศูนย์วิจัยภาษาและวรรณคดีไทยและศูนย์คติชนวิทยา คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน “เปิดตัวหนังสือชุดภาษาและวรรณคดีไทยและคติชนวิทยา” ผลงานทางวิชาการของคณะอักษรศาสตร์ ๔ เล่ม ซึ่งเป็นผลงานของศูนย์คติชนวิทยา ๒ เล่ม คือ “ทฤษฎีคติชนวิทยา : วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน – นิทานพื้นบ้าน” ของ รศ.ดร.ศิราพร ณ ถลาง และ “พิธีกรรม ตำนาน นิทาน เพลง” ของ รศ.สุกัญญา สุจฉายา เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๘
๑๘. โครงการบรรยายทางวิชาการ
ศูนย์คติชนวิทยาและภาควิชาภาษาไทย ได้จัดโครงการบรรยาย สาธิตการแหล่ และการขับซอยอยศพระลอในหัวข้อ “ลำนำพื้นบ้านไทย” ในโครงการสืบสานลำนำไทย โดยครูชินกร ไกรลาศ ศิลปินแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๔๙
๑๙. รองศาสตราจารย์ ดร.ศิราพร ณ ถลาง ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษเรื่อง “ความสนใจใหม่ๆ ในแวดวงคติชนวิทยา “New International in Folklore Studies” ในการประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง An International Conference on “Folklore: The Root of Humanity and Management” จัดโดยมหาวิทยาลัยทักษิณ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ระหว่างวันที่ 8-10 สิงหาคม 2550 ที่โรงแรมราชมังคลา พาวีเลี่ยน บีช รีสอร์ท สงขลา และในการประชุมวิชาการนานาชาตินี้ รองศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายาได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในการวิจารณ์บทความทางคติชนวิทยาที่นำเสนอในการประชุมครั้งนี้ด้วย