ผลงานชุดคติชนวิทยา ลำดับที่ ๑

ศิราพร ณ ถลาง และสุกัญญา ภัทราชัย, (บรรณาธิการ). คติชนกับคนไทย-ไท: รวมบทความทางด้านคติชนวิทยาในบริบททางสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๒. (๒๖๖ หน้า)

        คติชนกับคนไทย-ไทเป็นหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นในโอกาสฉลองอายุ ๖๐ ปี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมบทความจากนักวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาที่ “เล่น” ทางคติชนวิทยาและวรรณคดีท้องถิ่นทั่วทุกภาคในประเทศไทย แบ่งเนื้อหาเป็น ๓ ภาค ได้แก่
        ภาคที่ ๑ ในแวดวงวิชาคติชนวิทยา
        ภาคที่ ๒ คติชนในปริบททางวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย
        และภาคที่ ๓ คติชนในปริบททางวัฒนธรรมชนชาติไท

  • ภาคที่ ๑ ในแวดวงวิชาคติชนวิทยา ประกอบด้วย ๗ บทความ เนื้อหาว่าด้วยความหมายของคติชนวิทยา สถานภาพการเรียน การสอน และการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิทยาทางคติชนวิทยา
            – บทความเรื่อง “วงการคติชนวิทยา: ผู้บุกเบิกและผลงาน” เขียนโดย รศ.กัญญรัตน์ เวชชศาสตร์
            – “ความหมายและขอบเขตของคติชาวบ้าน-คติชน-คติชนวิทยา” เขียนโดย รศ.เสาวลักษณ์ อนันตศานต์
            – “สถานภาพและพัฒนาการวิทยานิพนธ์ทางคติชนวิทยา” เขียนโดย ศ.สุกัญญา สุจฉายา
            – และ “ความสัมพันธ์ระหว่างมุขปาฐะกับลายลักษณ์” เขียนโดย รศ.ดร.เสาวณิต วิงวอน
            ทั้ง ๔ บทความนี้แสดงให้เห็นถึงสายธาร ของการศึกษาคติชนวิทยาตั้งแต่เริ่มศึกษาในประเทศฝั่งตะวันตกจนกระทั่งถึง พ.ศ. ๒๕๔๑

            จุดเริ่มต้นของวิชาคติชนวิทยาในประเทศไทยเกิดขึ้นหลังจากศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกทางคติชนวิทยาจากมหาวิทยาลัยอินเดียนา และได้นำศาสตร์ทางคติชนวิทยามาถ่ายทอดและเผยแพร่ให้เกิดการศึกษาข้อมูลทางคติชนอย่างเป็นระบบสากล ต่อมาทำให้เกิดวิทยานิพนธ์ทางคติชนวิทยาและวิทยานิพนธ์ที่นำวิธีวิทยาทางคติชนมาใช้เป็นแนวศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในวงกว้าง การศึกษาทางคติชนวิทยาในช่วงแรกเน้นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยเฉพาะวรรณกรรมมุขปาฐะเป็นสำคัญ ต่อมาข้อมูลที่ได้รวบรวมเหล่านี้ส่วนหนึ่งได้นำไปศึกษาในแง่มุมต่าง ๆ เช่น การศึกษาเชิงวิเคราะห์ การศึกษาเปรียบเทียบ การศึกษาในเชิงวรรณคดีและการแสดง

            – บทความเรื่อง “ฒ ผู้เฒ่าต้องมอง” เขียนโดย รศ.สุนีย์ เลี่ยวเพ็ญวงษ์
            – “ฟุเฮยเซ้ยหมุ่ย: ตำนานกำเนิดมนุษย์ของชาวเย้า” เขียนโดย ผศ.สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์
            – และ “การวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านลาวพวนจากจังหวัดสุพรรณบุรี ตามทฤษฎีของทอมป์สันและพรอพพ์” เขียนโดย รศ. ดร.สุธาวดี หนุนภักดี
            ทั้ง ๓ บทความนี้เป็นตัวอย่างของการศึกษาข้อมูลคติชนประเภทวรรณกรรมมุขปาฐะโดยใช้ระเบียบวิธีทางคติชนวิทยา เช่น ทฤษฎีบทบาทหน้าที่นิยม วิธีวิทยาแบบเรื่องและอนุภาค ทฤษฎีโครงสร้างนิยม การศึกษาทั้ง ๓ บทความนี้ได้ “พา” ให้นักคติชน “ก้าวข้าม” การศึกษาจากตัวบท (text) เพียงอย่างเดียวไปสู่การสนใจบริบทแวดล้อม (context) ควบคู่ไปด้วย ทั้งยังชี้ให้เห็นว่าข้อมูลคติชนมีบทบาทหน้าที่ทางสังคม

  • ภาคที่ ๒ คติชนในปริบททางวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย ประกอบด้วย ๔ บทความ เนื้อหาว่าด้วยการศึกษาทางคติชนวิทยาในท้องถิ่นต่าง ๆ ของไทย
            – บทความเรื่อง “ปัตตานี: ศูนย์กลางวัฒนธรรมภาคใต้ตอนล่าง” เขียนโดย ศ.สุทธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์
            – “ภูมิปัญญาท้องถิ่นนครศรีธรรมราชจากถ้อยคำสำนวนและภาษิต” เขียนโดย รศ.วิมล ดำศรี
            – “จากมะโย่งถึงโนรา” เขียนโดย รศ.ประพนธ์ เรืองณรงค์
            – และ “ความสัมพันธ์ของ “คน” ในสังคมล้านนาที่สะท้อนจากนิทานมุขตลก” เขียนโดย รศ.หทัยวรรณ ไชยะกุล
    แม้บทความในภาคนี้จะเน้นไปที่ข้อมูลคติชนทางภาคใต้ แต่บทความเหล่านี้ก็ทำให้ผู้อ่านตระหนักได้ว่าข้อมูลทางคติชนที่อยู่ในท้องถิ่นต่าง ๆ ไม่ได้ดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยวหากแต่มีปฏิสัมพันธ์กับข้อมูลทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนอื่น ๆ อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นในการศึกษาทางคติชน ภูมิหลังของกลุ่มชน (folk) ที่เราศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะละเลยไม่ได้

            การศึกษาทั้ง ๔ บทความเป็นการศึกษาเพื่อแสดงให้เห็นว่าคติชนประเภทต่าง ๆ นั้นนำมาใช้ในฐานะเป็นสิ่งแสดงอัตลักษณ์เฉพาะกลุ่ม ต่อมายังมีบทบาทในการนำเสนอภูมิปัญญาของกลุ่มชนด้วย ที่สำคัญคือคติชนเหล่านี้ทำให้เห็นถึง “โลกทัศน์” ของกลุ่มชน คือการจัดวางตนเองกับสิ่งต่าง ๆ ในโลก อันจะนำไปสู่การมีวิถีปฏิบัติในลักษณะต่าง ๆ ทั้งภายในกลุ่มชนของตนเองและระหว่างกลุ่มชน ท้ายที่สุดทั้ง ๔ บทความนี้ทำให้ผู้อ่านตระหนักถึงพลวัตและบทบาทหน้าที่ของคติชนว่ามีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้นในการศึกษาข้อมูลทางคติชนมีความจำเป็นต้อง “ศึกษา” และ “เข้าใจ” ข้อมูลต่าง ๆ อย่างมีพลวัต

  • ภาคที่ ๓ คติชนในปริบททางวัฒนธรรมชนชาติไท ประกอบด้วย ๕ บทความ เนื้อหาว่าด้วยการศึกษาทางคติชนวิทยาในกลุ่มชนชาติไททั้งในและนอกประเทศ
            – บทความเรื่อง “ตำนานในกลุ่มชาติพันธุ์ “ไท-ลาว”: ความสัมพันธ์ระหว่างตำนานกับบริบททางสังคม” เขียนโดย รศ.ดร.จารุวรรณ ธรรมวัตร
            – “ตำนานสร้างโลกของชนชาติไท: ตัวอย่างการศึกษาวัฒนธรรมจากตำนาน” เขียนโดย ศ.กิตติคุณ ดร.ศิราพร ณ ถลาง
            – “พญาเจือง: วีรบุรุษในตำนานของชนชาติไท” เขียนโดย ศ.พิเศษ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์
            – และ “วรรณกรรมคำสอนของชนชาติไทเรื่อง ปู่สอนหลาน: การศึกษาล้านนา” เขียนโดย ผศ.ลมูล จันทน์หอม

            ในภาคที่ ๓ นี้ ๔ บทความแรกเป็นการศึกษาข้อมูลคติชนประเภทตำนานและเรื่องเล่าซึ่งบทความเหล่านี้แสดงให้ผู้อ่านเห็นถึงบทบาทหน้าที่ของตำนานที่เป็น “กลไก” ทางสังคมประเภทหนึ่งที่สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในกลุ่มชนชาติไทผ่านการมีวีรบุรุษทางวัฒนธรรมร่วมกัน การรับรู้ตำนานชุดเดียวกัน การมีความเชื่อร่วมกัน อันก่อให้เกิดการมีสำนึกร่วมและการเป็นพี่น้องกัน จึงทำให้ชนชาติไทอยู่ร่วมกันอย่างประนีประนอมมากกว่าขัดแย้ง

            ส่วนบทความเรื่อง “ผ้าไทลื้อ: การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม” เขียนโดย รศ.ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล และอาจารย์แพทรีเซีย ชีสแมน แน่นหนา บทความนี้ศึกษาข้อมูลคติชนประเภทวัตถุ (material folklore) คือผ้าของชาวลื้อ โดยแสดงให้เห็นถึงพลวัตของข้อมูลทางวัฒนธรรมในบริบทสังคมร่วมสมัยและยังชี้ให้เห็นถึงการนำข้อมูลทางคติชนไปต่อยอดในฐานะ “ทุนทางวัฒนธรรม” ในบริบทเศรษฐกิจสร้างสรรค์

        คติชนกับคนไทย-ไท เป็นหนังสือที่แสดงให้เห็นสายธารของวิชาคติชนวิทยาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (ในช่วงนั้น คือ พ.ศ.๒๕๔๑) และยังแสดงให้เห็นถึงการศึกษาข้อมูลคติชนและวัฒนธรรมประเภทต่าง ๆ โดยใช้วิธีวิทยาทางคติชนทั้งการวิเคราะห์ สังเคราะห์ผ่านกรอบแนวคิดทฤษฎี และการเก็บข้อมูลภาคสนามอันจะทำให้เห็นถึงบริบทแวดล้อมของข้อมูลคติชนด้วย คติชนกับคนไทย-ไท จึงเป็นหนังสือที่ผู้ศึกษาหรือสนใจทางคติชนและวัฒนธรรมควรอ่านเป็นอย่างยิ่ง

หมายเหตุ: ตำแหน่งทางวิชาการของผู้เขียนบทความ เป็นตำแหน่งทางวิชาการในปัจจุบัน

ภาคที่ ๑ ในแวดวงวิชาคติชนวิทยา ประกอบด้วย ๗ บทความ เนื้อหาว่าด้วยความหมายของคติชนวิทยา สถานภาพการเรียน การสอน และการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิทยาทางคติชนวิทยา
-​ บทความเรื่อง “วงการคติชนวิทยา: ผู้บุกเบิกและผลงาน” เขียนโดย รศ.กัญญรัตน์ เวชชศาสตร์
– “ความหมายและขอบเขตของคติชาวบ้าน-คติชน-คติชนวิทยา” เขียนโดย รศ.เสาวลักษณ์ อนันตศานต์
-​ “สถานภาพและพัฒนาการวิทยานิพนธ์ทางคติชนวิทยา” เขียนโดย ศ.สุกัญญา สุจฉายา
และ
-​ “ความสัมพันธ์ระหว่างมุขปาฐะกับลายลักษณ์” เขียนโดย รศ.ดร.เสาวณิต วิงวอน
ทั้ง ๔ บทความนี้แสดงให้เห็นถึงสายธาร ของการศึกษาคติชนวิทยาตั้งแต่เริ่มศึกษาในประเทศฝั่งตะวันตกจนกระทั่งถึง พ.ศ. ๒๕๔๑
.
จุดเริ่มต้นของวิชาคติชนวิทยาในประเทศไทยเกิดขึ้นหลังจากศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกทางคติชนวิทยาจากมหาวิทยาลัยอินเดียนา และได้นำศาสตร์ทางคติชนวิทยามาถ่ายทอดและเผยแพร่ให้เกิดการศึกษาข้อมูลทางคติชนอย่างเป็นระบบสากล ต่อมาทำให้เกิดวิทยานิพนธ์ทางคติชนวิทยาและวิทยานิพนธ์ที่นำวิธีวิทยาทางคติชนมาใช้เป็นแนวศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในวงกว้าง การศึกษาทางคติชนวิทยาในช่วงแรกเน้นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยเฉพาะวรรณกรรมมุขปาฐะเป็นสำคัญ ต่อมาข้อมูลที่ได้รวบรวมเหล่านี้ส่วนหนึ่งได้นำไปศึกษาในแง่มุมต่าง ๆ เช่น การศึกษาเชิงวิเคราะห์ การศึกษาเปรียบเทียบ การศึกษาในเชิงวรรณคดีและการแสดง
.
-​ บทความเรื่อง “ฒ ผู้เฒ่าต้องมอง” เขียนโดย รศ.สุนีย์ เลี่ยวเพ็ญวงษ์
-​ “ฟุเฮยเซ้ยหมุ่ย: ตำนานกำเนิดมนุษย์ของชาวเย้า” เขียนโดย ผศ.สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์
และ
-​ “การวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านลาวพวนจากจังหวัดสุพรรณบุรี ตามทฤษฎีของทอมป์สันและพรอพพ์” เขียนโดย รศ. ดร.สุธาวดี หนุนภักดี
ทั้ง ๓ บทความนี้เป็นตัวอย่างของการศึกษาข้อมูลคติชนประเภทวรรณกรรมมุขปาฐะโดยใช้ระเบียบวิธีทางคติชนวิทยา เช่น ทฤษฎีบทบาทหน้าที่นิยม วิธีวิทยาแบบเรื่องและอนุภาค ทฤษฎีโครงสร้างนิยม การศึกษาทั้ง ๓ บทความนี้ได้ “พา” ให้นักคติชน “ก้าวข้าม” การศึกษาจากตัวบท (text) เพียงอย่างเดียวไปสู่การสนใจบริบทแวดล้อม (context) ควบคู่ไปด้วย ทั้งยังชี้ให้เห็นว่าข้อมูลคติชนมีบทบาทหน้าที่ทางสังค

ภาคที่ ๒ คติชนในปริบททางวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย ประกอบด้วย ๔ บทความ เนื้อหาว่าด้วยการศึกษาทางคติชนวิทยาในท้องถิ่นต่าง ๆ ของไทย
-​ บทความเรื่อง “ปัตตานี: ศูนย์กลางวัฒนธรรมภาคใต้ตอนล่าง” เขียนโดย ศ.สุทธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์
-​ “ภูมิปัญญาท้องถิ่นนครศรีธรรมราชจากถ้อยคำสำนวนและภาษิต” เขียนโดย รศ.วิมล ดำศรี
-​ “จากมะโย่งถึงโนรา” เขียนโดย รศ.ประพนธ์ เรืองณรงค์
และ
-​ “ความสัมพันธ์ของ “คน” ในสังคมล้านนาที่สะท้อนจากนิทานมุขตลก” เขียนโดย รศ.หทัยวรรณ ไชยะกุล
แม้บทความในภาคนี้จะเน้นไปที่ข้อมูลคติชนทางภาคใต้ แต่บทความเหล่านี้ก็ทำให้ผู้อ่านตระหนักได้ว่าข้อมูลทางคติชนที่อยู่ในท้องถิ่นต่าง ๆ ไม่ได้ดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยวหากแต่มีปฏิสัมพันธ์กับข้อมูลทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนอื่น ๆ อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นในการศึกษาทางคติชน ภูมิหลังของกลุ่มชน (folk) ที่เราศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะละเลยไม่ได้
.
การศึกษาทั้ง ๔ บทความเป็นการศึกษาเพื่อแสดงให้เห็นว่าคติชนประเภทต่าง ๆ นั้นนำมาใช้ในฐานะเป็นสิ่งแสดงอัตลักษณ์เฉพาะกลุ่ม ต่อมายังมีบทบาทในการนำเสนอภูมิปัญญาของกลุ่มชนด้วย ที่สำคัญคือคติชนเหล่านี้ทำให้เห็นถึง “โลกทัศน์” ของกลุ่มชน คือการจัดวางตนเองกับสิ่งต่าง ๆ ในโลก อันจะนำไปสู่การมีวิถีปฏิบัติในลักษณะต่าง ๆ ทั้งภายในกลุ่มชนของตนเองและระหว่างกลุ่มชน ท้ายที่สุดทั้ง ๔ บทความนี้ทำให้ผู้อ่านตระหนักถึงพลวัตและบทบาทหน้าที่ของคติชนว่ามีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้นในการศึกษาข้อมูลทางคติชนมีความจำเป็นต้อง “ศึกษา” และ “เข้าใจ” ข้อมูลต่าง ๆ อย่างมีพลวัต

ภาคที่ ๓ คติชนในปริบททางวัฒนธรรมชนชาติไท ประกอบด้วย ๕ บทความ เนื้อหาว่าด้วยการศึกษาทางคติชนวิทยาในกลุ่มชนชาติไททั้งในและนอกประเทศ
-​ บทความเรื่อง “ตำนานในกลุ่มชาติพันธุ์ “ไท-ลาว”: ความสัมพันธ์ระหว่างตำนานกับบริบททางสังคม” เขียนโดย รศ.ดร.จารุวรรณ ธรรมวัตร
-​ “ตำนานสร้างโลกของชนชาติไท: ตัวอย่างการศึกษาวัฒนธรรมจากตำนาน” เขียนโดย ศ.กิตติคุณ ดร.ศิราพร ณ ถลาง
-​ “พญาเจือง: วีรบุรุษในตำนานของชนชาติไท” เขียนโดย ศ.พิเศษ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์
และ
-​ “วรรณกรรมคำสอนของชนชาติไทเรื่อง ปู่สอนหลาน: การศึกษาล้านนา” เขียนโดย ผศ.ลมูล จันทน์หอม
ในภาคที่ ๓ นี้ ๔ บทความแรกเป็นการศึกษาข้อมูลคติชนประเภทตำนานและเรื่องเล่าซึ่งบทความเหล่านี้แสดงให้ผู้อ่านเห็นถึงบทบาทหน้าที่ของตำนานที่เป็น “กลไก” ทางสังคมประเภทหนึ่งที่สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในกลุ่มชนชาติไทผ่านการมีวีรบุรุษทางวัฒนธรรมร่วมกัน การรับรู้ตำนานชุดเดียวกัน การมีความเชื่อร่วมกัน อันก่อให้เกิดการมีสำนึกร่วมและการเป็นพี่น้องกัน จึงทำให้ชนชาติไทอยู่ร่วมกันอย่างประนีประนอมมากกว่าขัดแย้ง
.
-​ ส่วนบทความเรื่อง “ผ้าไทลื้อ: การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม” เขียนโดย รศ.ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล และอาจารย์แพทรีเซีย ชีสแมน แน่นหนา บทความนี้ศึกษาข้อมูลคติชนประเภทวัตถุ (material folklore) คือผ้าของชาวลื้อ โดยแสดงให้เห็นถึงพลวัตของข้อมูลทางวัฒนธรรมในบริบทสังคมร่วมสมัยและยังชี้ให้เห็นถึงการนำข้อมูลทางคติชนไปต่อยอดในฐานะ “ทุนทางวัฒนธรรม” ในบริบทเศรษฐกิจสร้างสรรค์

 

ผู้ปริทัศน์: กรกฎา บุญวิชัย
นิสิตอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต 
สาขาคติชนวิทยา
ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

#ปริทัศน์หนังสือผลงานของศูนย์คติชนวิทยา