ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา

         เมื่อมีการจัดตั้งคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. 2460 วิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาหนึ่งที่ได้จัดสอนในคณะนี้ ในฐานะเป็นวิชาพิเศษสำหรับนิสิตชั้นเตรียมแพทยศาสตร์ ในปลายปี พ.ศ. 2466 ต่อมาเมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย และทรงดำเนินการปรับปรุงคณะแพทยศาสตร์รวมทั้งคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์นั้น ได้ทรงจัดหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์ด้วยพระองค์เอง โดยทูลเชิญและเชิญผู้ที่มีความรู้เฉพาะทางมาปกฐกถา เช่น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงบรรยาย “ประวัติศาสตร์ไทย” พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าธานีวิวัติ ทรงบรรยาย “อิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียต่อวัฒนธรรมไทย” เป็นต้น ในการบรรยายแต่ละครั้ง นอกจากนิสิตแล้วยังมีอาจารย์และบุคคลภายนอกที่สนใจเข้าฟังด้วย

         ใน พ.ศ. 2471 กระทรวงธรรมการมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมการศึกษาวิชาอักษรศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์และวิชาครู จึงมอบหมายให้คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์เปิดสอนขั้นประกาศนียบัตรครูมัธยมสาขาอักษรศาสตร์และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้เวลาศึกษาตามหลักสูตรสามปี สองปีแรกเป็นการศึกษาวิชาสาขาอักษรศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ปีสุดท้ายเป็นการศึกษาวิชาครู วิชาประวัติศาสตร์เป็นหนึ่งในจำนวนวิชาที่เปิดสอนสำหรับสายอักษรศาสตร์ และในช่วงนี้เองที่เริ่มมีการแบ่งเป็นแผนกวิชาต่างๆ ขึ้น การแบ่งแผนกวิชาดังกล่าวนี้ได้รับการรองรับอย่างเป็นทางการโดย “พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบสำนักงานและกรมในกระทรวงธรรมการ” ซึ่งประกาศในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2476 ตามความในพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 9 แผนก คือ

แผนกสารบรรณและหอสมุดของคณะ

  • แผนกเคมี
  • แผนกฟิสิกส์
  • แผนกชีววิทยา
  • แผนกคณิตศาสตร์
  • แผนกภาษาไทยและภาษาโบราณตะวันตก
  • แผนกภาษาปัจจุบัน
  • แผนกฝึกหัดครู
  • แผนกภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์         

        ต่อมาใน พ.ศ. 2477 คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ได้เปิดสอนในระดับปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิตและวิทยาศาสตรบัณฑิต ตามความในพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2477 ในช่วงแรกที่เปิดสอนตามหลักสูตรใหม่นี้ ได้รับผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรครูมัธยมแล้วเข้าศึกษาเพิ่มเติมอีก 2 ปี การสอนประวัติศาสตร์จึงขยายเพิ่มจากการสอนในชั้นปีที่ 1 และปีที่ 2 มาเป็นปีที่ 3 และปีที่ 4 ด้วย โดยยังคงแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน คือ ประวัติศาสตร์ไทย และประวัติศาสตร์สากล 

        อย่างไรก็ตาม น่าสังเกตว่า แม้จะมีการตั้งแผนกวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการและได้ขยายการสอนจนถึงระดับปริญญาแล้วในช่วงเวลาดังกล่าว แต่การสอนวิชาประวัติศาสตร์ยังคงอาศัยกำลังอาจารย์จากบุคคลภายนอกโดยมิได้มีอาจารย์ประจำแต่ประการใด อาจารย์พิเศษซึ่งทำการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานี้ มีอาทิเช่น หม่อมเจ้าทองทีฆายุ ทองใหญ่ หลวงวิจิตรวาทการ พระราชธรรมนิเทศ และพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เป็นต้น 

        จนถึง พ.ศ. 2478 แผนกวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์จึงมีอาจารย์ประจำเป็นท่านแรกคือ ศาสตราจารย์รอง ศยามานนท์ (ตำแหน่งทางวิชาการหลังสุด) ศาสตราจารย์รองได้พยายามปรับปรุงหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์ให้ครอบคลุมประวัติศาสตร์ในภูมิภาคต่างๆ มากขึ้น เช่น จีน-ญี่ปุ่น อเมริกา เป็นต้น โดยเพิ่มเติมเข้าในเนื้อหาของประวัติศาสตร์สากล และเนื่องจากเพิ่งมีอาจารย์ประจำเพียงท่านเดียว การเรียนการสอนในช่วงนี้จึงยังต้องอาศัยอาจารย์พิเศษด้วย เช่น นายอภัย จันทวิมล สอนวิชาประวัติศาสตร์ยุโรป และนายโชจิ อิโต ชาวญี่ปุ่นซึ่งสอนประวัติศาสตร์เอเชีย เป็นต้น 

        ใน พ.ศ. 2487 แผนกวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์มีอาจารย์ประจำเพิ่มขึ้น คือ หม่อมราชวงศ์สุมนชาติ สวัสดิกุล และในปีต่อมาหม่อมราชวงศ์แสงโสม เกษมศรี ก็เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคนที่สาม การเพิ่มจำนวนอาจารย์ประจำมากขึ้นทำให้การดำเนินงานของแผนกวิชาเป็นไปอย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่าเป็นช่วงที่การบริหารการเรียนการสอนเข้าสู่ลักษณะการเป็นแผนกวิชาอย่างสมบูรณ์ ใน พ.ศ. 2487 นี้ ศาสตราจารย์รอง ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ นับเป็นหัวหน้าแผนกวิชาฯ ท่านแรก แผนกวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ได้เริ่มเปิดสอนตาม หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ในช่วงแรกนี้โครงสร้างหลักสูตรเน้นการทำวิทยานิพนธ์ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษา โดยไม่มีการเรียนรายวิชา นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาคนแรกคือ หม่อมราชวงศ์แสงโสม เกษมศรี ซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรนี้แล้วได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำของแผนกวิชาดังกล่าวมาแล้ว นับจากปีแรกเริ่ม การเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาประวัติศาสตร์ก็พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จนถึง พ.ศ. 2505 ก็ได้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของบัณฑิตวิทยาลัยซึ่งได้จัดตั้งขึ้นในปีนั้น ในช่วงเวลานี้เองที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักสูตรให้มีทั้งการเรียนรายวิชาและการทำวิทยานิพนธ์ โดยใช้ระบบหน่วยกิต 

        ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2515 ได้มีการแบ่งแยกแผนกวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ออกเป็น 2 แผนกวิชาต่างหากจากกัน คือ แผนกวิชาประวัติศาสตร์ และ แผนกวิชาภูมิศาสตร์ ต่อมาเปลี่ยนจากการเรียก “แผนกวิชา” เป็น “ภาควิชา” ตามความในพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2522 ซึ่งกำหนดให้คณะต่าง ๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประกอบด้วยหน่วยงานระดับภาควิชา ดังนั้นจึงเริ่มใช้คำว่า “ภาควิชาประวัติศาสตร์” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 

        ต่อมาใน พ.ศ. 2477 คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ได้เปิดสอนในระดับปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิตและวิทยาศาสตรบัณฑิต ตามความในพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2477 ในช่วงแรกที่เปิดสอนตามหลักสูตรใหม่นี้ ได้รับผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรครูมัธยมแล้วเข้าศึกษาเพิ่มเติมอีก 2 ปี การสอนประวัติศาสตร์จึงขยายเพิ่มจากการสอนในชั้นปีที่ 1 และปีที่ 2 มาเป็นปีที่ 3 และปีที่ 4 ด้วย โดยยังคงแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน คือ ประวัติศาสตร์ไทย และประวัติศาสตร์สากล 

        อย่างไรก็ตาม น่าสังเกตว่า แม้จะมีการตั้งแผนกวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการและได้ขยายการสอนจนถึงระดับปริญญาแล้วในช่วงเวลาดังกล่าว แต่การสอนวิชาประวัติศาสตร์ยังคงอาศัยกำลังอาจารย์จากบุคคลภายนอกโดยมิได้มีอาจารย์ประจำแต่ประการใด อาจารย์พิเศษซึ่งทำการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานี้ มีอาทิเช่น หม่อมเจ้าทองทีฆายุ ทองใหญ่ หลวงวิจิตรวาทการ พระราชธรรมนิเทศ และพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เป็นต้น 

        จนถึง พ.ศ. 2478 แผนกวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์จึงมีอาจารย์ประจำเป็นท่านแรกคือ ศาสตราจารย์รอง ศยามานนท์ (ตำแหน่งทางวิชาการหลังสุด) ศาสตราจารย์รองได้พยายามปรับปรุงหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์ให้ครอบคลุมประวัติศาสตร์ในภูมิภาคต่างๆ มากขึ้น เช่น จีน-ญี่ปุ่น อเมริกา เป็นต้น โดยเพิ่มเติมเข้าในเนื้อหาของประวัติศาสตร์สากล และเนื่องจากเพิ่งมีอาจารย์ประจำเพียงท่านเดียว การเรียนการสอนในช่วงนี้จึงยังต้องอาศัยอาจารย์พิเศษด้วย เช่น นายอภัย จันทวิมล สอนวิชาประวัติศาสตร์ยุโรป และนายโชจิ อิโต ชาวญี่ปุ่นซึ่งสอนประวัติศาสตร์เอเชีย เป็นต้น 

        ใน พ.ศ. 2487 แผนกวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์มีอาจารย์ประจำเพิ่มขึ้น คือ หม่อมราชวงศ์สุมนชาติ สวัสดิกุล และในปีต่อมาหม่อมราชวงศ์แสงโสม เกษมศรี ก็เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคนที่สาม การเพิ่มจำนวนอาจารย์ประจำมากขึ้นทำให้การดำเนินงานของแผนกวิชาเป็นไปอย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่าเป็นช่วงที่การบริหารการเรียนการสอนเข้าสู่ลักษณะการเป็นแผนกวิชาอย่างสมบูรณ์ ใน พ.ศ. 2487 นี้ ศาสตราจารย์รอง ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ นับเป็นหัวหน้าแผนกวิชาฯ ท่านแรก แผนกวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ได้เริ่มเปิดสอนตาม หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ในช่วงแรกนี้โครงสร้างหลักสูตรเน้นการทำวิทยานิพนธ์ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษา โดยไม่มีการเรียนรายวิชา นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาคนแรกคือ หม่อมราชวงศ์แสงโสม เกษมศรี ซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรนี้แล้วได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำของแผนกวิชาดังกล่าวมาแล้ว นับจากปีแรกเริ่ม การเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาประวัติศาสตร์ก็พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จนถึง พ.ศ. 2505 ก็ได้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของบัณฑิตวิทยาลัยซึ่งได้จัดตั้งขึ้นในปีนั้น ในช่วงเวลานี้เองที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักสูตรให้มีทั้งการเรียนรายวิชาและการทำวิทยานิพนธ์ โดยใช้ระบบหน่วยกิต 

        ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2515 ได้มีการแบ่งแยกแผนกวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ออกเป็น 2 แผนกวิชาต่างหากจากกัน คือ แผนกวิชาประวัติศาสตร์ และ แผนกวิชาภูมิศาสตร์ ต่อมาเปลี่ยนจากการเรียก “แผนกวิชา” เป็น “ภาควิชา” ตามความในพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2522 ซึ่งกำหนดให้คณะต่าง ๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประกอบด้วยหน่วยงานระดับภาควิชา ดังนั้นจึงเริ่มใช้คำว่า “ภาควิชาประวัติศาสตร์” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา