Categories วิทยานิพนธ์ที่ได้รับการตีพิมพ์ ผัวเดียว เมีย…เดียว อาณานิคมครอบครัวในสยาม Post author By admin Post date 03/01/2022 "ผัวเดียว เมีย...เดียว อาณานิคมครอบครัวในสยาม" พัฒนามาจากวิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิตในหัวข้อ“…″ปี: …บทคัดย่อ: เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
Categories วิทยานิพนธ์ที่ได้รับการตีพิมพ์ จักรพรรดิราช คติอำนาจเบื้องหลังชนชั้นนำไทย Post author By admin Post date 03/01/2022 "จักรพรรดิราช คติอำนาจเบื้องหลังชนชั้นนำไทย" พัฒนามาจากวิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิตในหัวข้อ“แนวคิดเรื่องคติจักรพรรดิราชของชนชั้นนำไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2172-2394″ปี: 2550บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาถึงแนวคิดเรื่อง “คติจักรพรรดิราช” ในชนชั้นนำไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2172-2394 โดยเลือกกรณีศึกษาของชนชั้นนำไทยที่มีการนำคติจักรพรรดิราชมาปรับใช้กับรูปแบบการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งศึกษาถึงปัจจัยและผลการเปลี่ยนแปลงคติจักรพรรดิราชในชนชั้นนำไทยที่เกิดขึ้น จากการศึกษาพบว่าคติจักรพรรดิราชในชนชั้นนำไทยไม่ตรงตามอุดมคติตั้งแต่ต้น แต่ได้มีการเลือกลักษณะที่สำคัญของพระจักรพรรดิราชในอุดมคติ มาปรับใช้เพื่ออธิบายอุดมคติเป้าหมายและความปรารถนาของชนชั้นนำแต่ละบุคคลหรือตามความจำเป็นในแต่ละช่วงเวลา โดยเฉพาะในระบบความสัมพันธ์รัฐจารีตหรือความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าผู้ปกครองด้วยกัน ความคลี่คลายของคติจักรพรรดิราชในชนชั้นนำไทยเริ่มเกิดขึ้น เมื่อระบบความสัมพันธ์รัฐจารีตได้รับการกระทบกระเทือน จนระบบความสัมพันธ์ดังกล่าวถูกทำลายลงจากเจ้าอาณานิคมตะวันตก พร้อมกับพัฒนาการความคิดเรื่อง “รัฐชาติ” อันเป็นระบบความสัมพันธ์แบบใหม่ ฐานะ “ราชาธิราช” หรือ “พระจักรพรรดิ” จึงหมดความสำคัญไปโดยปริยาย เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
Categories วิทยานิพนธ์ที่ได้รับการตีพิมพ์ หยดเลือด จารึก และแท่นพิมพ์ Post author By admin Post date 03/01/2022 "หยดเลือด จารึก และแท่นพิมพ์" พัฒนามาจากวิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิตในหัวข้อ“การปรับตัวทางความรู้ ความจริง และอำนาจของชนชั้นนำสยาม พ.ศ. 2325-2411”ปี: 2540บทคัดย่อ: ชนชั้นนำสยามสมัยต้นรัตนโกสินทร์แบ่งความรู้ออกเป็น ความรู้ทางโลกย์กับความรู้ทางธรรม การแบ่งความรู้ดังกล่าวมีผลอย่างมากต่อการสร้างวาทกรรมการรับ และการเผชิญหน้ากับความรู้สมัยใหม่จากตะวันตก ในช่วงการเปลี่ยนแปลงของสยาม เพราะเมื่อมิชชันนารีชาวตะวันตกนำความรู้สมัยใหม่ และคริสต์ศาสนามาเผยแพร่ ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่นั้นถูกชนชั้นนำสยามรับเอามาใช้ อย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ แต่คริสต์ศาสนากลับถูกปฏิเสธและไม่ได้รับการยอมรับ แม้ว่ามิชชันนารีจะพยายามผูกปมให้คริสต์ศาสนากับความรู้ และเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ก็ถูกชนชั้นนำสยามจับแยกออกจากกัน โดยให้เหตุผลว่า ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นความรู้ทางโลกย์ ส่วนคริสต์ศาสนาเป็นความรู้ทางจิตวิญญาณ การรับความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นการรับความรู้ทางโลกย์ที่ธรรมดาสามัญ ส่วนความรู้ในคริสต์ศาสนาซึ่งถูกมองว่าเป็นความรู้ทางจิตวิญญาณนั้น ก็เชื่อว่ามีแต่ความรู้ในพุทธศาสนาเท่านั้นที่เป็นความรู้ที่เที่ยงแท้ และเป็นเหตุผลทำให้คริสต์ศาสนาถูกปฏิเสธ การรับความรู้ทางโลกย์และปฏิเสธความรู้ทางจิตวิญญาณของตะวันตก ทำให้สยามเปลี่ยนจาก “สยามเก่า” มาสู่ “สยามใหม่” โดยในด้านหนึ่งยังคงสืบเนื่องในความคิดกับจารีต แต่ในอีกด้านหนึ่งได้เกิดการเปลี่ยนแปลงหันมารับความรู้ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ของตะวันตกอย่างเข้มข้น เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
Categories วิทยานิพนธ์ที่ได้รับการตีพิมพ์ แกะปมจินตนภาพ นาย ก.ศ.ร. กุหลาบแห่งกรุงสยาม Post author By admin Post date 03/01/2022 "แกะปมจินตนภาพ นาย ก.ศ.ร. กุหลาบแห่งกรุงสยาม" พัฒนามาจากวิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิตในหัวข้อ“งานนิพนธ์ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ: ชนชั้นนำและการสร้างองค์ความรู้ในสยามต้นยุคใหม่”ปี: 2556 บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาชีวิตและงานนิพนธ์ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ นักคิดคนสำคัญของสังคมสยาม ตั้งแต่ พ.ศ. 2377 – พ.ศ. 2462 จากการศึกษาพบว่าองค์ความรู้ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ มีรากฐานจากการศึกษาแบบดั้งเดิมของสยาม และได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิปัญญาในยุคต้นสมัยใหม่ ก.ศ.ร. กุหลาบ หยิบยกความรู้ตามแบบแผนประเพณี พุทธศาสนา และเนื้อหาจากเอกสารประวัติศาสตร์อันเป็นองค์ความรู้ยุคเก่ามาอธิบายให้มีลักษณะเป็นเหตุเป็นผลแบบตะวันตก เพื่อแสดงทัศนะของตนต่อประเด็นความเจริญก้าวหน้าของสังคมไทย งานนิพนธ์ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ แสดงให้เห็นรอยต่อระหว่างองค์ความรู้แบบตะวันออกของสยามกับองค์ความรู้แบบตะวันตกที่เกิดขึ้นในสังคมสยามไปพร้อม ๆ กัน งานนิพนธ์ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ สอดคล้องกับแนวความคิดของชนชั้นนำสยามที่ต้องรักษาคุณค่าองค์ความรู้เดิมของสยาม ขณะเดียวกันก็ใช้องค์ความรู้แบบตะวันตกเพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้ารวมทั้งความมั่นคงให้กับสถาบันทางสังคม ทั้งยังสอดคล้องกับสำนึกในความยุติธรรมของชนชั้นไพร่ราษฎรที่แพร่หลายในขณะนั้นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้ดังกล่าวนำไปสู่การกระทบกระทั่งกับสถาบันทางสังคมที่ชนชั้นนำเห็นว่ายังจำเป็นจะต้องรักษาระบอบที่ใช้องค์ความรู้เดิมต่อไป แม้ว่าจะนิยมใช้องค์ความรู้ของชาวตะวันตกหลายอย่างแล้วก็ตาม เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
Categories วิทยานิพนธ์ที่ได้รับการตีพิมพ์ เปิดแผนยืดล้านนา Post author By admin Post date 03/01/2022 "เปิดแผนยืดล้านนา" พัฒนามาจากวิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตในหัวข้อ “รัฐสยามกับล้านนา พ.ศ. 2417-2476”ปี: 2553บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสยามและล้านนา พ.ศ. 2417-2476 ผลการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสยามกับล้านนาจากรัฐประเทศราชมาเป็นส่วนหนึ่งในพระราชอาณาเขตเป็นกระบวนการหนึ่งของการสร้างรัฐชาติโดยมีปัจจัยสำคัญคือการล่าลัทธิอาณานิคมของชาติตะวันตก แต่จากการปรับตัวของชนชั้นนำสยามในการเรียนรู้วิธีการจัดการปกครองของเจ้าอาณานิคม ทำให้รัฐสยามใช้วิธีการที่คล้ายคลึงกันนี้ผนวกล้านนาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ วิธีการดังกล่าวได้แก่ การออกกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย การส่งข้าหลวงขึ้นไปกำกับราชการ การเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บภาษีอากรเพื่อนำมาใช้สร้างระบบราชการสยาม การทำแผนที่และสำมะโนครัว พัฒนาการสื่อสารและการคมนาคมแบบสมัยใหม่ การวางรากฐานการศึกษาและควบคุมสถาบันสงฆ์ ส่งเสริมการเผยแพร่ศาสนาของมิชชันนารี โดยสยามได้นำวิธีการแบบรัฐจารีต มาใช้ควบคู่กันไปได้แก่ การสร้างสายสัมพันธ์ทางเครือญาติกับเจ้าเมืองเชียงใหม่ ผลจากการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากกลุ่มอำนาจท้องถิ่นทั้งการจับอาวุธขึ้นสู้ในลักษณะของกบฏและการใช้ความเชื่อดั้งเดิมเป็นพลังทางสังคมเพื่อต่อต้านอำนาจของสยาม นอกจากนี้ความรู้สึกแบ่งแยกระหว่างไทยเหนือและไทยใต้ และความหลากหลายทางชาติพันธุ์ทำให้ล้านนายังคงขาดความจงรักภักดีต่อสยามพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปรับเปลี่ยนนโยบายการปกครองล้านนาใหม่ให้แตกต่างไปจากสมัยก่อนหน้าอย่างชัดเจนโดยใช้ลัทธิชาตินิยมของตะวันตกผ่านการจัดการศึกษาสิ่งพิมพ์ และกิจกรรมเสือป่า เพื่อปลูกฝังให้คนล้านนารู้สึกถึงความเป็นไทยร่วมกันกับส่วนกลาง รวมทั้งมีนโยบายดูแลทุกข์สุขและการทำมาหากินของราษฎร และเพิ่มความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกรุงเทพฯ และล้านนา อีกทั้งการเสด็จประพาสมณฑลพายัพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นการย้ำให้คนล้านนาเห็นว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองอยู่ที่กษัตริย์สยามมิใช่บรรดาเจ้านายอีกต่อไป และล้านนา อีกทั้งการเสด็จประพาสมณฑลพายัพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นการย้ำให้คนล้านนาเห็นว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองอยู่ที่กษัตริย์สยามมิใช่บรรดาเจ้านายอีกต่อไป เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
Categories วิทยานิพนธ์ที่ได้รับการตีพิมพ์ ภาษาเจ้า ภาษานาย การเมืองเบื้องหลังการศึกษาภาษาอังกฤษ สมัยรัชกาลที่ 5 Post author By admin Post date 03/01/2022 "ภาษาเจ้า ภาษานาย การเมืองเบื้องหลังการศึกษาภาษาอังกฤษ สมัยรัชกาลที่ 5" พัฒนามาจากวิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตในหัวข้อ “การจัดการศึกษาภาษาอังกฤษของรัฐสยามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว“ปี: 2557บทคัดย่อ: แม้ความรู้ภาษาอังกฤษมีความสำคัญกับภาคเศรษฐกิจและการค้าของสยามตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แต่รัฐสยามจัดการศึกษาภาษาอังกฤษต่อเมื่อต้องรวมศูนย์อำนาจเป็นรัฐสมัยใหม่ในรัชกาลที่ 5 ซึ่งต้องมีระบบราชการสมัยใหม่ และต้องใช้ข้าราชการส่วนหนึ่งที่รู้ภาษาอังกฤษ ทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอว่ารัฐสยามสมัยรัชกาลที่ 5 จัดการศึกษาภาษาอังกฤษอย่างจำกัดโดยแบ่งเป็น 2 ระดับตลอดมา คือ จัดการศึกษาที่มีภาษาอังกฤษให้ผู้ไปทำราชการเป็นหลัก และการศึกษาที่ไม่มีภาษาอังกฤษให้ราษฎรทั่วไป การให้การศึกษาแก่ผู้ไปทำราชการมุ่งที่ชนชั้นปกครองเดิมหรือมูลนายก่อน ทั้งเจ้านายและขุนนาง อย่างไรก็ดีการขยายตัวของระบบราชการ รวมถึงค่านิยมต่อการศึกษาภาษาอังกฤษที่แพร่หลายทั่วไป ทำให้รัฐจำต้องขยายกลุ่มผู้ได้รับการศึกษาโดยรวมสามัญชน บุตรจีน และสตรีชั้นสูง แต่รัฐก็ยังจำกัดฐานผู้ได้รับการศึกษาต่อไป ด้วยการให้ผู้เรียนร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการศึกษา เช่น ค่าเล่าเรียน เป็นต้น ค่าใช้จ่ายในการศึกษาจึงทำหน้าที่เป็นอุปสรรคหรือเครื่องกั้นให้เฉพาะคนส่วนน้อยซึ่งมีอัตภาพพอจ่ายได้ ได้ศึกษาภาษาอังกฤษ ดังนั้นแม้โรงเรียนราษฎร์ที่สอนภาษาอังกฤษโดยเฉพาะโรงเรียนคริสต์ ซึ่งดำรงอยู่มั่นคงแล้วในรัชสมัยนี้ ทั้งได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ จะเหมือนเป็นทางเลือกทางการศึกษา แต่การศึกษาเอกชนโดยทั่วไป ก็อิงกับระบบตลาดหรือทุนนิยม ทำให้ต้องเรียกเก็บค่าใช้จ่ายหรือค่าเล่าเรียนเพื่อให้โรงเรียนดำรงอยู่ได้ การศึกษาภาษาอังกฤษสมัยรัชกาลที่ 5 จึงมีเพดานทางชนชั้นบางๆ และคงโครงสร้างเช่นนี้ในบางลักษณะสืบต่อมา เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
Categories วิทยานิพนธ์ที่ได้รับการตีพิมพ์ ประวัติศาสตร์ “สุโขทัย” ที่เพิ่งสร้าง Post author By admin Post date 03/01/2022 "ประวัติศาสตร์ “สุโขทัย” ที่เพิ่งสร้าง" พัฒนามาจากวิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิตในหัวข้อ“รุ่งอรุณแห่งความสุข”: การสร้างประวัติศาสตร์ “สุโขทัย” พ.ศ. 2450 – 2534”ปี: 2555 บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาการสร้างประวัติศาสตร์ “สุโขทัย” โดยชนชั้นนำและนักประวัติศาสตร์ที่มีบทบาทสำคัญในช่วงพ.ศ. 2450 ถึง 2534 ผลการศึกษาพบว่า ก่อนพ.ศ. 2450 เรื่องราวของประวัติศาสตร์สุโขทัยยังมีลักษณะเป็นตำนาน เมื่อถึงพ.ศ. 2450 – 2495 การสร้างประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างรัฐชาติและเป็นจุดเริ่มต้นของการเขียนประวัติศาสตร์ไทย ที่มีสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกและเป็นจุดกำเนิดของการสร้างความเป็นไทย “แท้” “ดั้งเดิม” และ “เป็นอุดมคติ” ประวัติศาสตร์นิพนธ์นี้กลายเป็นประวัติศาสตร์ชาติกระแสหลัก ระหว่างพ.ศ. 2496 – 2534 เรื่องเล่าหลักของประวัติศาสตร์สุโขทัยยังคงได้รับการสืบทอดและส่งเสริมจากนักประวัติศาสตร์อนุรักษ์นิยม ทั้งยังเกิดการสร้างสถานที่ทางวัฒนธรรมและประเพณีประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้อง ในขณะเดียวกันก็เกิดประวัติศาสตร์กระแสรอง เช่น ประวัติศาสตร์แนวสังคมนิยมและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ขึ้นมาท้าทายหรือคัดค้านด้วย อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์สุโขทัยกระแสหลักและอุดมคติความเป็นไทยผ่านการปลูกฝังของรัฐได้กลายเป็นความคิดและความรับรู้ที่ยังคงอยู่และทรงพลังอย่างยิ่งในสังคมไทยจนประวัติศาสตร์กระแสรองไม่สามารถล้มล้างความคิดเหล่านั้นได้ เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
Categories วิทยานิพนธ์ที่ได้รับการตีพิมพ์ กรุงเทพฯ ยามราตรี Post author By admin Post date 03/01/2022 "กรุงเทพฯ ยามราตรี" พัฒนามาจากวิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตในหัวข้อ “″ปี: บทคัดย่อ: เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
Categories วิทยานิพนธ์ที่ได้รับการตีพิมพ์ คาราวานและพ่อค้าทางไกล Post author By admin Post date 03/01/2022 "คาราวานและพ่อค้าทางไกล" พัฒนามาจากวิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตในหัวข้อ “การค้าชายแดน และการปรับเปลี่ยนรูปแบบของรัฐบริเวณตอนในของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20″ปี: 2556 บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์นี้ต้องการศึกษาการปรับเปลี่ยนรูปแบบทางการค้าบริเวณตอนในของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพื่ออธิบายลักษณะการก่อตัวขึ้นของรัฐสมัยใหม่ และการปรับตัวของผู้กระทำการสำคัญทางการค้า รวมถึงคนกลุ่มต่างๆ ท่ามกลางบริบทการเข้ามาของระบอบอาณานิคม การศึกษานี้อาศัยวิธีการทางประวัติศาสตร์ในการสำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การปรับเปลี่ยนรูปแบบทางการค้าที่สำคัญและสัมพันธ์กับการก่อตัวของรัฐสมัยใหม่คือ ความเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลา ค.ศ.1911-1939 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐสยามขยายเส้นทางรถไฟไปยังล้านนา การค้าของล้านนาจากเดิมที่สัมพันธ์กับศูนย์กลางการค้าที่หลากหลาย เปลี่ยนมาเป็นการค้าที่สัมพันธ์กับรัฐสยามผ่านตลาดกลางที่กรุงเทพฯ รถไฟสายเหนือมีนัยสำคัญของการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างรัฐศูนย์กลางกับพื้นที่ชายแดน ผ่านการควบคุมเส้นทางการค้าและตลาด ทั้งนี้พบว่ายังมีปัจจัยเร่งให้เกิดกระบวนการแทรกแซงทางอำนาจของรัฐส่วนกลางไปยังพื้นที่ชายแดน อาทิ ปัญหาคนในบังคับ อิทธิพลทางการค้าของอังกฤษในล้านนา การต่อต้านของท้องถิ่นผ่านเหตุการณ์กบฏต่างๆ การปรับเปลี่ยนรูปแบบทางการค้านำมาซึ่งกติกาใหม่หลายประการ ทั้งเรื่องมาตราการด้านภาษี, ระเบียบที่ร่างขึ้นเพื่อควบคุมการค้าข้ามพรมแดน, เงินตรา ฯลฯ ซึ่งฉายภาพให้เห็นการปรับเปลี่ยนไปสู่การเป็นรัฐสมัยใหม่ของสยามในท้ายที่สุด เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
Categories วิทยานิพนธ์ที่ได้รับการตีพิมพ์ การเมืองในการทหารไทย สมัยรัชกาลที่ 6 Post author By admin Post date 03/01/2022 "การเมืองในการทหารไทย สมัยรัชกาลที่ 6" พัฒนามาจากวิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิตในหัวข้อ“พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการสร้างภาพลักษณ์ทางการทหาร”ปี: 2556 บทคัดย่อ: การสร้างภาพลักษณ์ทางการทหารในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผลสืบเนื่องจากการที่พระองค์ไม่ทรงเป็นที่ยอมรับจากบรรดาทหารในกองทัพ รวมทั้งพระราชประสงค์ในการคานพระราชอำนาจทางการทหารระหว่างพระองค์และบรรดาพระเชษฐาพระอนุชา ซึ่งมีพระอำนาจ และเป็นที่เคารพของทหารใต้บังคับบัญชาเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้หลังจากที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ พระบรมราโชบายทางการทหารที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ทางการทหารในพระองค์จึงปรากฏผ่านพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ทั้งการก่อตั้งกองทหารส่วนพระองค์ การมีส่วนร่วมในการพัฒนากองทัพ การนำสยามเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 การพระราชนิพนธ์บทความต่าง ๆ เพื่อแสดงความรู้ทางการทหารของพระองค์ รวมไปถึงการปลูกฝังจิตสำนึกทหารให้มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ แม้การสร้างภาพลักษณ์ทางการทหารในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นมรดกตกทอดจากการสร้างภาพลักษณ์ทางการทหารในพระองค์ คือจิตสำนึกแห่งความจงรักภักดีของทหารต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งยังคงเป็นหลักการสำคัญของทหารที่ได้รับการเชิดชูมาจนถึงทุกวันนี้ เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง