เอกภาษาไทย

เกณฑ์การเข้าเอก

รอบที่ 1 แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
เกณฑ์รับสมัคร รอบที่ 1 :
– GPAX ไม่ต่ำกว่า 3.50
– GPA รายวิชาภาษาไทย (เฉพาะรายวิชาพื้นฐาน) ไม่ต่ำกว่า 3.50
– CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 55 คะแนน หรือได้คะแนน IELTS / TOEFL เทียบเท่า
– มีผลงานความสามารถพิเศษด้านภาษาไทยในระดับชาติ โดยจะต้องส่งผลงานมาให้มากที่สุด เนื่องจากจำนวนชิ้นงานในแฟ้มสะสมผลงานจะมีผลต่อการพิจารณาคัดเลือก
 
รอบที่ 2 โควตา (Quota)
เกณฑ์รับสมัคร รอบที่ 2 :
– GPAX ไม่ต่ำกว่า 3.00
– GPA รายวิชาภาษาไทย (เฉพาะรายวิชาพื้นฐาน) ไม่ต่ำกว่า 3.50
– CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 55 คะแนน หรือได้คะแนน IELTS / TOEFL เทียบเท่า

เลือกเข้าเอกตอนปี 2 : ในชั้นปีที่ 1 ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ย 2 รายวิชา คือ การใช้ภาษาไทย และ วรรณคดีไทย ไม่ต่ำกว่า 3.00

หลักสูตร

วิชาบังคับ 21 หน่วยกิต (7 ตัว)
ปี 2 เทอม 1:
– ลักษณะภาษาไทย
– วิวัฒนาการวรรณคดีไทย
ปี 2 เทอม 2:
– วิวัฒนาการวรรณกรรมไทย
ปี 3 เทอม 1:
– ภาษาบาลีและสันสกฤตที่สัมพันธ์กับภาษาไทย
ปี 3 เทอม 2:
– ภาษาเขมรที่สัมพันธ์กับภาษาไทย
ปี 4 เทอม 1:
– สัมมนาเรื่องวรรณคดีไทย*
ปี 4 เทอม 2:
– สัมมนาเรื่องภาษาไทย*
– ศิลปะการใช้ภาษาไทย
หมายเหตุ * เลือกเรียน 1 ตัว

บังคับเลือก 6 หน่วยกิต (2 ตัว)
มี 4 ตัว เลือกเรียน 2 ตัว
– วรรณกรรมวิจารณ์
– คติชนวิทยา
– การวิเคราะห์ภาษาไทย (ภาคต่อของลักษณะภาษาไทย)
– ภาษาไทยสมัยต่าง ๆ
***แต่ละวิชาจะเปิดปีเว้นปี***

วิชาเลือก 21 หน่วยกิต (7 ตัว)
วิชาเลือกสายวรรณคดี
ศึกษาประเภทของเนื้อหา :
– ลิลิต นิราศและเพลงยาว
– วรรณคดีนิทาน
– วรรณคดีคําสอน
– วรรณคดีพระราชหัตถเลขา
– วรรณคดีกับการแสดง
– นิทานพื้นบ้าน
– วรรณคดีท้องถิ่น
– วรรณคดีสันสกฤตที่สัมพันธ์กับวรรณคดีไทย
ศึกษางานตามผู้แต่ง :
– พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
– พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
– พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
– พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดลุยเดช
– งานสุนทรภู่
– งานเสฐียรโกเศศนาคะประทีป
– พระนิพนธ์พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ
– พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส
แนวทางการศึกษาวรรณคดี :
– การศึกษาวัฒนธรรม วรรณศิลป์ไทย
– แนวทางการศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรมไทย
วรรณกรรมสมัยใหม่ :
– วรรณกรรมกับสังคม
– นวนิยายและเรื่องสั้น
อื่น ๆ :
– วรรณคดีไทยกับสื่อร่วมสมัย
– วิวัฒนาการร้อยกรอง

วิชาเลือกสายภาษา
ภาษาประยุกต์ :
– ภาษาสื่อสารมวลชน
– ลีลาในภาษาไทย
– การศึกษาภาษาไทยในฐานะภาษาที่สอง
– ภาษาไทยกับการสื่อสารองค์กร
– ภาษาในบริบทสังคมและวัฒนธรรมไทย
– มุมมองทางสังคมวัฒนธรรมของการสื่อสารภาษาไทยในฐานะภาษาที่สอง
ภาษาถิ่น :
– อักษรไทยเหนือและไทยอีสาน
– ภาษาไทยถิ่น
ภาษาไทยในภาษาศาสตร์ :
– ภาษาไทยในมุมมองแบบลักษณ์ภาษา
– การศึกษางานวิจัยภาษาไทยเชิงภาษาศาสตร์
ขุดคุ้ยความเป็นมา :
– วิวัฒนาการอักษรและอักขรวิธีไทย
– การสร้างคําและการบัญญัติศัพท์
– ศัพทมูลวิทยาภาษาไทย
วิชาเลือกอื่น ๆ :
– แบบเรียนภาษาและวรรณคดีไทย
– การศึกษาอิสระ
– การเล่นทางภาษา
– ภาษาไทยอุดมศึกษา
– การอ่านและแต่งคําประพันธ์ 1
– การอ่านและแต่งคําประพันธ์ 2
– ศิลปะการเขียนร้อยแก้ว
– ศิลปะการเล่าเรื่อง

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Screen Shot 2565-03-16 at 13.20.32
ปล. นิสิตควรตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก่อนการลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษา เนื่องจากรายวิชาและหลักสูตรที่เปิดสอนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากนี้ในบางวิชานิสิตควรติดต่ออาจารย์ผู้สอนก่อนทำการลงทะเบียนเรียนด้วย

กิจกรรมภายในเอก

กิจกรรมทั่วไป
– งานถวายเทียนพรรษาที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (จัดก่อนวันเข้าพรรษา ประมาณเดือนกรกฎาคม)
– ค่ายสานสัมพันธ์พี่น้องเอกไทย (จัดก่อนเปิดเทอม ประมาณเดือนสิงหาคม)
– พิธีไหว้ครูเอกไทย (จัดช่วงหลังเปิดเทอม ประมาณเดือนสิงหาคม)
– พิธีถวายสักการะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (จัดวันที่ 20 กันยายน)
– พิธีถวายสักการะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (จัดวันที่ 25 พฤศจิกายน)
– งานวันกรมพระปรมานุชิตชิโนรส (จัดวันที่ 9 – 11 ธันวาคม)
– งาน open house หรือจุฬาวิชาการ (จัดช่วงเดือนมีนาคม)
– งาน byenior เอกไทย (จัดช่วงก่อนปิดเทอม)

กิจกรรมทางวิชาการ
– วิชญมาลา
– มณีปัญญา
– สืบสานวิทยาพฤฒาจารย์
– สรรพ์วิทยา
 
ตัวอย่างภาพบรรยากาศกิจกรรมในเอกไทย

ประสบการณ์ภายในเอก

(นิสิตเอกภาษาไทย #3)
นิสิตเอกภาษาไทยจะได้เรียนทั้งวิชาสายวรรณคดีและและวิชาสายหลักภาษา ถ้าหากสนใจสายไหนเป็นพิเศษก็สามารถเลือกลงเรียนวิชาในสายนั้น ๆ ได้เลย หรือถ้าสนใจทั้งสองก็สามารถเรียนแบบผสมกันก็ได้
 
วิชาในภาควิชาภาษาไทยจะไม่เหมือนกับวิชาภาษาไทยในชั้นมัธยม แต่จะเรียนภาษาไทยในแง่มุมใหม่ ๆ เช่น ภาษาศาสตร์ คติชนวิทยา หรือความสัมพันธ์ของภาษาไทยกับภาษาอื่น ๆ รวมไปถึง การวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม/วรรณคดีไทยในแนวทางใหม่ ๆ ด้วย
 
การเรียนการสอนในเอกไม่น่าเบื่อเลย มีการให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น การนำเสนอ การทำ Podcast การเขียนงานเขียนสร้างสรรค์ และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย
 
เอกภาษาไทยมีประชากรไม่เยอะมากเมื่อเทียบกับเอกอื่น ๆ และแม้ว่าจะมีทั้งนิสิตโครงการที่เข้าเอกตอนปี 1 และนิสิตที่เข้าเอกตอนปี 2 แต่บรรยากาศในเอกก็อบอุ่นและเป็นกันเองมาก ๆ เพราะมีกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียนให้ได้ทำร่วมกันตลอดเลย
 
การฝึกงาน: ภาควิชาภาษาไทยไม่มีการจัดหาที่ฝึกงานให้ นิสิตสามารถเลือกฝึกงานได้ตามความสนใจของตนเองเลย ทั้งนี้หลาย ๆ คนก็ได้ที่ึฝึกงานจากการแนะนำของอาจารย์ หรือรุ่นพี่ในเอกด้วย
ตัวอย่างประสบการณ์ฝึกงาน
– Content Creator & Event บริษัท Visualize Lab
– Ground Customer Service สายการบิน Thai Smile
– Content creator นิตยสาร National geographic Thailand

แนวทางการประกอบอาชีพ

บัณฑิตที่จบจากเอกภาษาไทยสามารถทำอาชีพได้หลากหลายมาก ๆ ขึ้นอยู่กับความชอบและความถนัดของแต่ละคน และไม่จำเป็นต้องทำงานที่เกี่ยวกับภาษาไทยโดยตรงเสมอไป

ตัวอย่างอาชีพของศิษย์เก่าภาควิชาภาษาไทย
– สายวิชาการ เช่น ติวเตอร์ อาจารย์
– อาชีพเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น นักเขียน บรรณาธิการ นักพิสูจน์อักษร Content creator
– ศึกษาต่อในคณะและสาขาต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
– อาชีพอื่น ๆ เช่น เลขานุการ ผู้จัดการ
 
ตัวอย่างคณะ/สาขาวิชาที่ศึกษาต่อ
– อักษรศาสตร์
– รัฐศาสตร์
– นิเทศศาสตร์
– Linguistics
– Southeast Asian Study

แนะนำอาจารย์

1. รองศาสตราจารย์ ดร.ปรมินท์ จารุวร (หัวหน้าภาควิชาภาษาไทย)
รายวิชาในความรับผิดชอบ (ชั้นปริญญาตรี) : คติชนวิทยา นิทานพื้นบ้าน
ความเชี่ยวชาญ : คติชนวิทยา วรรณคดีไทย
 
2. อาจารย์ ดร.ธีรนุช โชคสุวณิช
รายวิชาในความรับผิดชอบ (ชั้นปริญญาตรี) : วิวัฒนาการอักษรและอักขรวิธีไทย ศิลปะการใช้ภาษาไทย
ความเชี่ยวชาญ : อรรถศาสตร์ วัจนกรรม การประมวลผลภาษาไทย การใช้ภาษาไทย ภาษาไทยกับมัลติมีเดีย พจนานุกรม การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ
 
3. รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร พานโพธิ์ทอง
ความเชี่ยวชาญ : วัจนปฏิบัติศาสตร์ สนทนาวิเคราะห์ วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ ภาษาศาสตร์ภาษาไทย
 
4. อาจารย์ ดร.ใกล้รุ่ง อามระดิษ
รายวิชาในความรับผิดชอบ : ภาษาเขมรที่สัมพันธ์กับภาษาไทย พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ภาษาเขมร 1 ภาษาเขมร 2 การอ่านภาษาเขมร การแปลเขมร – ไทย ประวัติวรรณคดีเขมร นวนิยายเขมรสมัยใหม่
ความเชี่ยวชาญ : ภาษาและวรรณคดีเขมร พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6
 
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำผึ้ง ปัทมะลางคุล
รายวิชาในความรับผิดชอบ : ลิลิต นิราศและเพลงยาว การศึกษาวัฒนธรรมวรรณศิลป์ไทย แนวทางการศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรมไทย
ความเชี่ยวชาญ : ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ วรรณคดีไทย วรรณกรรมไทยปัจจุบัน
 
6. อาจารย์ ดร.ดาวเรือง วิทยารัฐ
รายวิชาในความรับผิดชอบ : ศัพทมูลวิทยาภาษาไทย ปริทัศน์วัฒนธรรมเขมร จารึกภาษาเขมร
ความเชี่ยวชาญ : ศัพทมูลวิทยา อารยธรรมเขมร จารึกภาษาเขมร
 
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิภาส โพธิแพทย์
รายวิชาในความรับผิดชอบ : การศึกษางานวิจัยภาษาไทยเชิงภาษาศาสตร์ ภาษาไทยในมุมมองแบบลักษณ์ภาษา การวิเคราะห์ภาษาไทย
ความเชี่ยวชาญ : ภาษาไทยเชิงภาษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ แบบลักษณ์ภาษา อรรถศาสตร์ วากยสัมพันธ์
 
8. รองศาสตรจารย์ ดร.ศิริพร ภักดีผาสุข
รายวิชาในความรับผิดชอบ : การเล่นทางภาษาไทยในภาษาไทย ภาษาในบริบทสังคมวัฒนธรรมไทย
ความเชี่ยวชาญ : คติชนวิทยา ภาษากับวัฒนธรรมไทย วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์
 
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประไพพรรณ พึ่งฉิม
รายวิชาในความรับผิดชอบ : ภาษาสื่อสารมวลชน ลีลาในภาษาไทย การศึกษาภาษาไทยในฐานะภาษาที่สอง ภาษาไทยกับการสื่อสารองค์กร
ความเชี่ยวชาญ : ภาษาสื่อสารมวลชน ปริเฉทวิเคราะห์ ภาษาไทยในฐานะภาษาที่สอง
 
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มิ่งมิตร ศรีประสิทธิ์
รายวิชาในความรับผิดชอบ : ลักษณะภาษาไทย ภาษาไทยสมัยต่าง ๆ
ความเชี่ยวชาญ : ภาษาไทยถิ่น ภาษาไทยสมัยเก่า ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ วากยสัมพันธ์
 
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล
รายวิชาในความรับผิดชอบ : วรรณคดีคำสอน งานสุนทรภู่ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5
ความเชี่ยวชาญ : วรรณคดีโบราณ วรรณคดีพุทธศาสนา วรรณคดีคำสอน กวีนิพนธ์
 
12. รองศาสตราจารย์ ดร.ธานีรัตน์ จัตุทะศรี
รายวิชาในความรับผิดชอบ : วิวัฒนการวรรณคดีไทย พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 วรรณคดีกับการแสดง พระนิพนธ์ น.ม.ส. สัมมนาเรื่องวรรณคดีไทย
ความเชี่ยวชาญ : เรื่องอิเหนาและเรื่องดาหลังในสังคมไทย ความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องอิเหนากับนิทานปันหยีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วรรณคดีการแสดง
 
13. อาจารย์ ดร.ชัยรัตน์ พลมุข
รายวิชาในความรับผิดชอบ : วิวัฒนาการร้อยกรอง ภาษาลาว 1 ภาษาลาว 2 ปริทรรศน์วรรณคดีลาว
ความเชี่ยวชาญ : ภาษาและวรรณกรรมลาว วรรณคดีกับพิธีกรรม วรรณกรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทฤษฎีสื่อ วัฒนธรรมทัศนาการ และผัสสารมณ์
 
14. อาจารย์ ดร.อัสนี พูลรักษ์
รายวิชาในความรับผิดชอบ : ภาษาบาลีและสันสกฤตที่สัมพันธ์กับภาษาไทย วรรณคดีไทยที่สัมพันธ์กับวรรณคดีบาลีและสันสกฤต
ความเชี่ยวชาญ : ภาษาบาลีและสันสกฤตที่สัมพันธ์กับภาษาไทย วรรณคดีไทยที่สัมสัมพันธ์กับวรรณคดีบาลีและสันสกฤต
 
15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หัตถกาญจน์ อารีศิลป
รายวิชาในความรับผิดชอบ : วิวัฒนาการวรรณกรรมไทย วรรณคดีไทยกับสื่อร่วมสมัย วรรณกรรมวิจารณ์ ศิลปะการเขียนร้อยแก้ว ศิลปะการเล่าเรื่อง นวนิยายและเรื่องสั้น
ความเชี่ยวชาญ : วรรณกรรมไทยปัจจุบัน วรรณกรรมวิจารณ์ การเขียนเชิงสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์เนื้อหาภาษาและวรรณคดีไทยในสื่อร่วมสมัย
 
16. อาจารย์รดารัตน์ ศรีพันธ์วรสกุล
รายวิชาในความรับผิดชอบ : การใช้ภาษาไทย การเขียนภาษาไทยเพื่อวิชาชีพ
ความเชี่ยวชาญ : วัจนปฏิบัติศาสตร์ภาษาระหว่างกลาง (Interlanguage Pragmatics) วัจนปฏิบัติศาสตร์ข้ามวัฒนธรรม (Cross-cultural Pragmatics) วัจนปฏิบัติศาสตร์ภาษาไทย การศึกษาภาษาไทยในฐานะภาษาที่สอง

ช่องทางการติดต่อ