วิจัยและตำราของอาจารย์ในสาขา

สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต มุ่งพัฒนาและส่งเสริมงานวิจัยด้านภาษาบาลี-สันสกฤต และ พุทธศาสน์ศึกษา ดังจะเห็นได้จากงานวิจัยที่คณาจารย์ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ และโครงการวิจัยตามความถนัดส่วนตัว นอกจากนี้คณาจารย์ยังมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทางภาษาและวรรณคดีบาลี สันสกฤต ปรากฤต และ พุทธศาสน์ศึกษา ครอบคลุมประเด็นสำคัญทางภาษาและวรรณคดี ตั้งแต่ ภาษาศาสตร์ ภาษาและวรรณคดีบาลี สันสกฤต และปรากฤต ภาษาและวรรณคดีไทย ภาษาและวรรณคดีทางพุทธศาสนา พุทธศาสน์ศึกษา พุทธศาสนาเปรียบเทียบ พุทธศาสนาเถรวาท มหายาน หลักธรรมในพุทธศาสนา ปรัชญาพุทธศาสนานิกายเถรวาท มหายาน วรรณคดีเรื่องเล่า การศึกษาตัวบทวรรณกรรมพุทธศาสนาเปรียบเทียบกับแปลสำนวนภาษาต่างๆ เช่น ภาษาจีน ภาษาทิเบต การศึกษาและการชำระคัมภีร์ต้นฉบับวรรณคดีพุทธศาสนาในอินเดียเหนือ คันธาระ เนปาลและเอเชียกลาง

ชื่อเรื่องแบบเรียนภาษาสันสกฤต

ผู้แต่งวิสุทธ์ บุษยกุล

บทคัดย่อ

แบบเรียนภาษาสันสกฤตของศาสตราจารย์วิสุทธ์ บุษยกุล ประกอบด้วยเนื้อหาทางไวยากรณ์สันสกฤตเริ่มแต่การฝึกเขียนตัวอักษรเทวนาครี แล้วปริวรรตเป็นตัวอักษรโรมันและอักษรไทย ไปจนถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ รวมถึงวากยสัมพันธ์ ขั้นตอนของบทเรียนแต่ละบทเป็นไปตามลำดับความยากง่าย ประกอบด้วยคำอธิบายอย่างละเอียด แบบฝึกหัดสำหรับทบทวนความรู้ และการฝึกอ่านวรรณคดีสันสกฤต แบบเรียนภาษาสันสกฤตเล่มนี้จะช่วยให้การศึกษาภาษาสันสกฤตในประเทศไทยเป็นไปโดยสะดวกยิ่งขึ้น ทั้งแก่ผู้ที่ศึกษาด้วยตนเองและผู้ที่ศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆ

ชื่อเรื่องไวยากรณ์ภาษาบาลีขั้นต้น

ผู้แต่งบรรจบ บรรณรุจิ

บทคัดย่อ

ไวยากรณ์ภาษาบาลีขั้นต้น ให้ความรู้เรื่องอักขรวิธี คำนาม 3 ชนิด คือ นามนาม (Noun) คุณนาม(Adjective) และสัพพนาม (Pronoun) รวมทั้งกิริยาอาขยาต (Finite Verb) และกิริยากิตก์ (Participles) มีคำศัพท์ที่ควรรู้พร้อมแบบฝึกหัดจำนวนมากเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะด้านการอ่าน แปลและแต่งภาษาบาลี สามารถใช้เรียนด้วยตนเองได้ เหมาะสำหรับผู้สนใจภาษาบาลีทั่วไปใช้เป็นตำราขั้นต้น

ชื่อเรื่องโพธิสัตวจรรยา : มรรคาเพื่อมหาชน

ผู้แต่งผศ.ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ

บทคัดย่อ

เรื่องโพธิสัตวจรรยา: มรรคาเพื่อมหาชน นี้ เป็นงานค้นคว้าวิจัยแนวคิดและมรรคาอันนำไปสู่ความเป็นพระโพธิสัตว์ มีผลสมบูรณ์คือการได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าสามารถสั่งสอนมหาชนให้พ้นทุกข์ในสังสารวัฏได้ แนวคิดและมรรคานี้แสดงถึงแนวคิดต่างๆ ในพุทธศาสนาทั้งหมด เริ่มแต่เรื่องผู้ตั้งศาสนา ความคิดเรื่องบุคคลผู้สมบูรณ์แบบ คุณธรรมและจริยธรรมพร้อมทั้งทางอันจะได้มาทั้งในส่วนตนและเพื่อผู้อื่น อนึ่งความคิดเรื่องพระโพธิสัตว์นี้มักใช้อ้างเพื่อแบ่งพุทธศาสนาออกเป็นนิกายใหญ่ๆ คือ เถรวาทกับมหายาน เมื่อพิจารณาแล้วความคิดเรื่องพระโพธิสัตว์นั้นมีอยู่ในคัมภีร์พุทธศาสนาทุกสาย มีการเน้นประเด็นต่างๆ เปลี่ยนแปลกกันออกไปบ้างแม้ในสายที่เรียกว่าเถรวาทหรือสถวีรวาทด้วยกัน แต่โดยรวมแล้วไม่มีความแปลกเปลี่ยนที่เห็นได้ชัดเจนจนถึงแก่จะเป็นมาตรฐานแยกนิกายได้ เพราะความคิดหลักและหลักการยังคงเหมือนกันโดยมาก

ชื่อเรื่องพุทธธรรมในพระไตรปิฎก

ผู้แต่งภาควิชาภาษาตะวันออก

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่องThe Ascendancy of Theravāda Buddhism in Southeast Asia

ผู้แต่งPrapod Assavavirulhakarn

บทคัดย่อ

This wide-ranging account of early Buddhism in Southeast Asia overthrows dominant theories among both Western and Asian scholars. Prapod Assavavirulhakarn argues that Pāli-based Buddhism was brought from India and Sri Lanka by merchants, monks, and pilgrims by the fourth century. Several schools flourished alongside Brahmanism, Mahāyānism, and local spirit beliefs—in coexistence rather than conflict. There was no ‘conversion’ to Theravāda in the eleventh century as the school was already well established. Prapod draws on a broad range of source material including inscriptions, texts, archaeology, iconography, architecture, and anthropology from India, Sri Lanka, China, and the region itself. He highlights the lived tradition of religious practice rather than scriptural sources. What others are saying “Prapod Assavavirulhakarn strips away methodologies and assumptions imported from the study of Western religions in order to provide a distinctively Southeast Asian account of how Buddhism became ascendant.”—Chris Baker, co-author of Thailand’s Crisis, Thailand’s Boom and Bust, and Thaksin, and co-translator of The Tale of Khun Chang Khun Phaen “The Ascendancy of Theravāda Buddhism is a welcome advance in the study of the neglected field of early Buddhism in Southeast Asia, especially in Thailand. The author presents new ideas about the ancient cultural geography of South and Southeast Asia, bringing fresh insights to the perennial problem of ‘Indianization’—the translation of ideas, ideals, and technologies from India to societies across the Bay of Bengal. His presentation of the early Buddhist period challenges established opinions and offers alternative views of the complexities and uncertainties that uniquely shaped Buddhism.”—Peter Skilling, École Française d’Extrême-Orient, Bangkok, and Honorary Associate, Department of Indian Sub-Continental Studies, University of Sydney About the author Prapod Assavavirulhakarn is dean of the Faculty of Arts at Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand, where he is also assistant professor and head of the Department of Eastern Languages. He is co-author of Past Lives of the Buddha: Wat Si Chum—Art, Architecture and Inscriptions. Highlights • Absorbing, provocative account of the introduction and rise of Buddhism in Southeast Asia • Skillfully traces the origins and sources of Buddhism in the region • Draws on an extensive range of source material from various Asian countries • Challenges established theories and understandings through a probing examination of how Buddhism is practiced by its followers

ชื่อเรื่องPast Lives of the buddhaWat Si Chum – Art, Architecture and Inscriptions

ผู้แต่งPeter Skilling, M. L. Pattaratorn Chirapravati, Pierre Pichard, Prapod Assavavirulhakarn, & Santi Pakdeekham

บทคัดย่อ

Wat Si Chum is unique among Sukhothai temples. Inside, lining the ceiling of a dark and narrow staircase leading to the open roof, are 86 inscribed stone reliefs depicting jatakas, the former lives of Gotama Buddha. Their unique character and arrangement have puzzled generations of scholars. In this original volume, a team of experts presents the latest evidence and new solutions.