พระราชนิพนธ์ แปล(ง) : รัชกาลที่ ๖ กับกระแสจักรวรรดินิยม

   
    โครงการอาศรมวิจัยจัดบรรยายพิเศษเรื่อง “พระราชนิพนธ์ แปล(ง) : รัชกาลที่ ๖ กับกระแสจักรวรรดินิยม” อาจารย์ ดร.ทอแสง เชาว์ชุติ ภาควิชากรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ เป็นวิทยากร อาจารย์ ดร.ปรีณา แข่งขัน ดำเนินรายการ วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ณ ห้อง ๗๐๘ อาคารบรมราชกุมารี

     พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงวงษาธิราชสนิท : จินดามณีศรีรัตนโกสินทร์

   ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จัดประชุมวิชาการเรื่อง “พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวง- วงษาธิราชสนิท : จินดามณีศรีรัตนโกสินทร์” วิทยาการประกอบด้วย

  • รศ.ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต “พระเกียรติคุณด้านวรรณกรรม”
  • รศ.ดร.สุนันท์ อัญชลีนุกุล “พระเกียรติคุณด้านตำรา : ตำราเรียน ตำรายา ตำรับราชการ”
  • อ.ดร.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล “พระเกียรติคุณด้านพงศาวดาร”

วันอังคารที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ณ ห้อง ๑๐๕ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์

 
     นาโนเทคโนโลยี : รอยต่อศาสนากับวิทยาศาสตร์

   โครงการนำร่องการพัฒนานักอักษรศาสตร์รุ่นใหม่ จัดกิจกรรมการบรรยายพิเศษให้แก่นักเรียนในโครงการนำร่องการพัฒนานักอักษรศาสตร์รุ่นใหม่ ทั้งรุ่นที่ ๑ และรุ่นที่ ๒ เรื่อง “นาโนเทคโนโลยี : รอยต่อศาสนากับวิทยาศาสตร์” วันศุกร์ที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ณ ห้อง ๔๐๔ อาคารบรมราชกุมารี

     สายสัมพันธ์ไทย-เกาหลี เพื่อฉลองวาระครบรอบ ๕๐ ปี


   คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเชิญจากกระทรวงต่างประเทศให้มีส่วนร่วมในการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ ๕๐ ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง ๒ ประเทศด้วย ในฐานะที่เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาที่เปิดสอนวิชาด้านภาษาเกกหลี คณะอักษรศาสตร์จึงจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสนี้ด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ วามเข้าใจด้านภาษาวัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของชาวเกาหลี ประกอบด้วยกิจกรรมด้านวิชาการ การปาฐกถาโดยผู้เชี่ยวชาญทางภาษาและวัฒนธรรมเกาหลี กิจกรรมด้านศิลปะและวัฒนธรรม การแสดงนาฏศิลป์เกาหลี การแสดงดนตรีพื้นบ้านเกาหลี การละเล่นพื้นบ้าน การประกวดร้องเพลงเกาหลี การฉายภาพยนตร์เกาหลี และการสาธิตวิธีปรุงอาหารเกาหลี วันที่ ๒๓-๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ณ ห้อง ๑๐๕ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์




 


     วรรณคดีเยอรมันในศตวรรษที่ 20

  สาขาวิชาภาษาเยอรมัน ภาควิชาภาษาตะวันตก จัดบรรยายพิเศษเรื่องวรรณคดีเยอรมันในศตวรรษที่ 20 Professor Dr. Hermann Korte ผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณคดีเยอรมันจากมหาวิทยาลัยซีเก้น (Siegen) เป็นผู้บรรยาย หัวข้อการบรรยายพิเศษมีดังนี้

1. Der Literaturkanon: Geschichte - Theorie - Didaktik
2. Experimentelle Literatur im 20. Jahrhundert
3. Deutsche Kurzprosa im 20. Jahrhundert

ระหว่างวันที่ 2 - 14 กรกฎาคม 2551 ณ ห้อง ๗๐๖ อาคารบรมราชกุมารี

     รอยพิมพ์ DNA : จากสารพันธุกรรมสู้เทคโนโลยีพิสูจน์บุคคล

   โครงการนำร่องการพัฒนานักอักษรศาสตร์รุ่นใหม่ จัดกิจกรรมการบรรยายพิเศษให้แก่นักเรียนในโครงการนำร่องการพัฒนานักอักษรศาสตร์รุ่นใหม่ ทั้งรุ่นที่ ๑ และรุ่นที่ ๒ เรื่อง “รอยพิมพ์ DNA : จากสารพันธุกรรมสู้เทคโนโลยีพิสูจน์บุคคล” ศ.วิชัย บุญแสง ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย เป็นวิทยากรวันศุกร์ที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ณ ห้อง ๔๐๔ อาคารบรมราชกุมารี

 
     ต้อนรับคณะทัศนศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย
   วันพุธที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ห้องประชุมศูนย์สารนิเทศ
หอประชุมจุฬาลงกรณ์ คณะอาจารย์และนักศึกษาที่เรียนวิชาภาษาไทย
เพื่อการสื่อสารของมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย (The National University of Malaysia) มาทัศนศึกษาและพบปะกับนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่เรียนวิชาภาษามาเลย์ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ เป็นการแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมไทยและมาเลย์ สร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจ
อันดีระหว่างนักศึกษาไทย และมาเลย์ เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาทั้ง ๒ สถาบันสนใจศึกษาภาษาและวัฒนธรรมของกันและกันมากขึ้น