หลักสูตรปริญญาโท 2566

หลักสูตรอักษรศาสตร์มหาบัณฑิตหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 เพิ่มแผนการศึกษา แผน ข (สารนิพนธ์)

รายวิชา

2210620   สัมมนาอาชญนิยาย

ความสัมพันธ์ระหว่างอาชญนิยายกับสังคม บทบาทของอาชญนิยายในบริบททางวัฒนธรรมต่าง ๆ  ทฤษฎีอาชญากรรมและร่างกายของอาชญากร การวิเคราะห์และตีความตัวบทคัดสรร

2210622 เทวตำนานและวรรณคดี 
เทวตำนานอินเดียและกรีกในฐานะความคิดหลักในวรรณคดีการใช้เทวตำนานในลักษณะต่างๆในวรรณคดีอังกฤษ อิตาลี ฝรั่งเศส และเยอรมัน มรดกทางเทวตำนานในวรรณคดีไทย

2210624 สัมมนาวรรณคดีกับสิทธิมนุษยชน 
ความสำคัญของวรรณคดีในฐานะสื่อที่นำเสนอประเด็นสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก บทบาทของนักเขียนในการสร้างจิตสำนึกและรณรงค์เรียกร้องสิทธิมนุษยชนผ่านวรรณกรรม การวิเคราะห์วิจารณ์งานวรรณกรรมคัดสรร

2210626 สัมมนาวรรณกรรมชายขอบ
การนำเสนอความเป็นชายขอบและคนชายขอบในตัวบทวรรณกรรม บทบาทของวรรณกรรมชายขอบในบริบททางสังคม วัฒนธรรม และการเมือง การวิเคราะห์ตัวบทคัดสรรตามแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับคนชายขอบกลุ่มต่าง ๆ

2210633 วรรณกรรมเด็ก
ประวัติวรรณกรรมเด็กในประเทศตะวันตก และตะวันออก รวมทั้งไทยลักษณะสำคัญของวรรณกรรมเด็ก วิเคราะห์วรรณกรรมเด็กที่น่าสนใจทั้งของต่างประเทศและของไทย

2210635 สัมมนาบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์
ประวัติและพัฒนาการของบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ ผลกระทบของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์และสังคมในบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ ประโยชน์และขีดจำกัดของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในบันเทิงแนววิทยาศาสตร์

2210701 ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ 1
ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ตั้งแต่สมัยกรีกคลาสสิกจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 การวิเคราะห์ตัวบททฤษฎีที่สำคัญ  การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณกรรมคัดสรร

2210702 ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ 2 
ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน การวิเคราะห์ตัวบททฤษฎี    ที่สำคัญ การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณกรรมคัดสรร

2210710 วรรณคดีแนวหลังอาณานิคม
ความสัมพันธ์ระหว่างจักวรรดินิยมกับวรรณคดีแนวหลังอาณานิคม บทบาทของวรรณกรรมในการสร้างอัตลักษณ์ชาติและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ทฤษฎีแนวหลังอาณานิคม และการวิจารณ์วรรณคดี

2210717 สัมมนาวรรณกรรมสตรี 
ขบวนการเรียกร้องสิทธิสตรีและอิทธิพลที่มีต่อวรรณกรรมสตรีในวัฒนธรรมตะวันตก แนวคิดสตรีนิยมและอิทธิพลที่มีต่อวรรณกรรมสตรีในวัฒนธรรมตะวันออก วรรณกรรมสตรีคัดสรรและผู้เขียน

2210720 สัมมนาทฤษฎีวรรณคดี
ทฤษฎีวรรณคดีที่สำคัญ วิเคราะห์ทฤษฎีวรรณคดีที่น่าสนใจและ
นำมาประยุกต์ใช้ในการวิจารณ์วรรณกรรม

2210724 สัมมนานวนิยาย 
พัฒนาการเกี่ยวกับแนวคิดและกลวิธีของนวนิยายทั้งตะวันออกและตะวันตก

2210725 สัมมนาบทละคร 
แนวโน้มสำคัญของบทละครสมัยใหม่ในยุโรปและอเมริกา บทละครเอก
คัดสรร อิทธิพลของบทละครตะวันตกที่มีต่อบทละครไทย

2210726 สัมมนาเรื่องสั้น
แนวคิดและรูปแบบของเรื่องสั้นตะวันออกและตะวันตกตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันโดยเน้นการวิเคราะห์วิจารณ์เรื่องสั้นคัดสรร

2210761 สัมมนาระเบียบวิธีวรรณคดีเปรียบเทียบ
ประวัติความเป็นมาของวรรณคดีเปรียบเทียบในฐานะที่เป็นศาสตร์แนวทางต่างๆในการศึกษาวรรณคดีเปรียบเทียบ

2210763 สัมมนานักเขียนที่น่าสนใจและผลงาน
การวิเคราะห์และการวิจารณ์นักเขียนเลือกสรรและผลงาน

2210781 วิจัยรายบุคคล 
การวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรมในหัวข้อที่นิสิตสนใจ

2210788 สัมมนาเรื่องคัดเฉพาะด้านวรรณคดีศึกษา
เรื่องคัดเฉพาะทางวรรณคดีศึกษา การวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตัวบทคัดสรร

2210711 สารนิพนธ์
2210811 วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
2210816 วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
2210896 การสอบประมวลความรู้

ระบบการจัดการศึกษา

ระบบทวิภาค ภาคการศึกษาละไม่น้อยกว่า15 สัปดาห์ /ไม่มีภาคฤดูร้อน

การลงทะเบียนเรียน

ระดับบัณฑิตศึกษา ภาคการศึกษาปรกติไม่เกิน 15 หน่วยกิต ภาคฤดูร้อน ไม่เกิน 6 หน่วยกิต

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

ระดับบัณฑิตศึกษา การประเมินผลรายวิชาใช้สัญลักษณ์ A B+ B C+ C D+ D และ F หรือใช้สัญลักษณ์ S หรือ U ส่วนวิทยานิพนธ์ใช้ ดีมาก ดี ผ่าน และตก

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

36 หน่วยกิต

แผนการศึกษา

แผน ก แบบ ก 1

จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์                         36 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร36 หน่วยกิต

แผน ก แบบ ก 2

จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน24 หน่วยกิต
-รายวิชาบังคับ12 หน่วยกิต
-รายวิชาเลือก12 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์                         12 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร36 หน่วยกิต

แผน ข

จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน33 หน่วยกิต
-รายวิชาบังคับ12 หน่วยกิต
-รายวิชาเลือก21 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตสารนิพนธ์                         3 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร36 หน่วยกิต

ทุนการศึกษา

นิสิตศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมกับบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย