พระราชนิพนธ์วิทยานิพนธ์ วิชาการ บทความ

วิทยานิพนธ์ งานวิจัย
ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท

วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524

วิทยานิพนธ์นี้ มุ่งศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางความหมายของศัพท์ “บารมี” ด้วยวิธีการ 2 อย่าง คือ การศึกษาวิธีการประกอบคำศัพท์ และศึกษาคำศัพท์ที่อยู่ในคำแวดล้อม (Context) ทีปรากฎในคัมภีร์

จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง

วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร

มุ่งศึกษาจารึกและศิลปะของปราสาท เพื่อจะได้ข้อมูลที่จะช่วยคลี่คลายปัญา และได้เรื่องราวที่น่าสนใจด้านอื่นๆ เช่น ประวัติ อายุการสร้างปราสาท ศาสาของผู้สร้างศาสนสถาน เรื่องราวของชุมชนที่อยู่บริเวณโดยรอบ ความสัมพันธ์ของชุมชนในอดีตต่อปราสาทและต่อชุมชนในปัจจุบัน ในการวิจัย เจาะลึกเพียงด้านจารึก ส่วนประวัติศาสตร์ศิลปะศึกษาเพียงสังเขป เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจถึงเรื่องราวและมองเห็นความสำคัญของปราสาท

การพัฒนานวัตกรรมเสริมทักษะการเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

วิทยานิพนธ์นี้ มุ่งเสนอนวัตกรรมเสริมทักษะการเรียนการสอนภาษาไทย สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนให้เกิดผลดี ช่วยให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและประสบการณ์ของตนแก่ผู้อื่น และสามารถเข้าใจความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้อื่นได้ ซึ่งจะสร้างความต้องการค้นคว้า ความใฝ่รู้อันเป็นประโยชน์ในการสร้างความคิดที่จะใช้พัฒนาชาติ บ้านเมืองต่อไปได้

การศึกษาความถูกต้องของแผนที่การใช้ที่ดินจากภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียด สูง โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และคณะ เสนอ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ตุลาคม 2532

งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาความถูกต้องของแผนที่การใช้ที่ดินจากภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียด สูง (Landsat Thematic Mapper) ซึ่งจำแนกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ บริเวณจังหวัดนราธิวาส ศึกษาพื้นที่ 4 บริเวณ คือ บริเวณพรุโต๊ะแดง เกาะสะท้อน พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์และปริมณฑล และบริเวณระแงะ ช่วงเวลาที่ศึกษา คือ ระหว่าง 1 เมษายน – 7 สิงหาคม 2531 โดยบริเวณพรุโต๊ะแดงและเกาะสะท้อน สำรวจ 2 ครั้ง และบริเวณพระตำหนักและระแงะ สำรวจ 1 ครั้ง

จากการศึกษาครั้งนี้ พบอุปสรรคอันเนื่องจากสภาพภูมิอากาศของจังหวัดนราธิวาสมาก ทั้งนี้เพราะมีฝนตกชุก และเมฆมากเกือบตลอดปี ทำให้ไม่สามารถเลือกภาพถ่ายมาใช้ตามวันที่ต้องการได้ พื้นที่ที่ใช้ศึกษามีขนาดใหญ่มาก การปลูกไม้ผลต่าง ๆ คละเคล้าเป็นแบบหมุนเวียนเพื่อให้มีรายได้ทั้งปี ทำให้ไม่สามารถแยกประเภทของไม้ผลได้

คณะนักวิจัย จึงได้เสนอแนะให้มีการวิเคราะห์ภาพถ่ายด้วยสายตาประกอบการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์

การใช้ระบบสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการพัฒนาพื้นที่เกษตร

การวิจัยครั้งนี้ ได้ใช้ระบบสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System, GIS) ซึ่งเป็นการนำข้อมูลหรือสนเทศหลายชนิดที่เกี่ยวกับเนื้อที่ของบริเวณเดียว กันมาซ้อนทับและวิเคราะห์ โดยมีวัตถุประสงค์คือ

  1. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการเกษตรในพื้นที่ศึกษา
  2. จัดระบบข้อมูลเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์
  3. ใช้โปรแกรมตามวิธีการระบบ GIS เพื่อช่วยบ่งชี้ปัญหาเฉพาะแบบ หรือ ผสมหลายแบบ เพื่อเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจเพื่อการพัฒนาพื้นที่เกษตรต่อไป
  4. เสนอแนะระบบการพัฒนาการเกษตรให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม

พื้นที่ศึกษาครั้งนี้อยู่ในเขตอำเภอพัฒนานิคม ชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

หนังสือวิชาการ
สมเด็จแม่กับการศึกษา

พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเล่าถึง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์กับการศึกษา แม้จะทรงมีพระราชกรณียกิจต่างๆมากมาย แต่ก็ทรงแบ่งเวลาเพื่ออบรมเลี้ยงดูพระโอรสและพระธิดาอยู่เสมอ เช่น ทรงสอนให้รู้จักคุณค่าของสิ่งของ คุณค่าของการทำงาน คุณประโยชน์ของการอ่าน การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทรงเน้นให้รู้จักอดทนและรับผิดชอบในหน้าที่ ซึ่งป็นสิ่งที่สำคัญ

รัตนพินิจ นิทิศการศึกษา

รวมปาฐกถาด้านการศึกษา ใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จำนวน 4 เรื่อง ที่ทรงบรรยายในหลายโอกาสระหว่างปี พ.ศ 2530-2542 ทรงให้ข้อคิดและแนวปฎิบัติเกี่ยวกับการจัดดำเนินงานด้านการศึกษาซึ่งเป็น เครื่องมือสำคัญในการพัฒนาทรัพยการมนุษย์ และเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า

บทความ
ปาฐกถาชุด “สิรินธร” ครั้งที่ 1 เรื่อง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

เป็นปาฐกถาประเดิม ซึ่งพระราชทานด้วยพระองค์เอง แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ดำริให้มีการจัดปาฐกถานุกรมทางวิชาการขึ้นเป็นประจำปีละประมาณ 1 ครั้ง โดยมีหัวข้อที่หลากหลาย และได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตอัญเชิญพระนามาภิไธย “สิรินธร” เป็นนามของปาฐกถานุกรมชุดนี้ ที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวงวิชาการและเป็นอนุสรณ์ในมหามงคลสมัยที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเฉลิมพระอิสริย ศักดิ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ฯ ขึ้นเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ปาฐกถา เรื่อง “วัดพระศรีรัตนศาสดาราม” ทรงพระราชทานเป็นประเดิม ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2525 อันเป็นมงคลสมัยฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ สองร้อยปี และที่ทรงเลือกเรื่องนี้มาบรรยายพระราชทานก็เพราะทางได้รับแต่งตั้งให้เป็น องค์ประธานการซ่อมแซมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงเล่าประวัติการสร้างและการซ่อมนับตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งมีการทำมาโดยตลอดมากบ้างน้อยบ้าง มาจนถึงคราวเตรียมฉลองกรุง จึงทรงโปรดฯ ให้มีการตั้งกรรมการคณะต่าง ๆ ตั้งแต่จัดหาทุน ไปจนกรรมการย่อยชุดต่าง ๆ เช่น ดูแลทางด้านศิลปะ ดูแลเครื่องเงิน เครื่องทอง ตลอดจนการวางแผนงานการวางรูปแบบการเข้าชม โดยมุ่งให้ความรู้แก่ประชาชน จึงมีการจัดพิพิธภัณฑ์ขึ้นและนำเสนอบริเวณวัดในรูปแบบเหมือนเป็นพิพิธภัณฑ์ เพื่อประชาชนจะได้ศึกษาวิวัฒนาการการก่อสร้างและงานด้านศิลปะของไทยว่ามีการ เปลี่ยนอย่างไร ทั้งในด้านศิลปะ เทคโนโลยี การตกแต่งบริเวณ โปรดฯ ให้มีการจดบันทึกไว้อย่างละเอียด จัดทำเป็นรูปจดหมายเหตุ ทรงบรรยายอย่างละเอียดพร้อมภาพประกอบมากมาย มหาวิทยาลัยได้จัดพิมพ์เป็นรูปเล่มด้วยการถอดเทปพร้อมแทรกภาพประกอบ

เรื่องเบ็ดเตล็ดจากอิเหนาบางตอน

ใน งามพรรณบุปผาสุมามาลย์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, 2528.

ทรงรวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ เป็นเกร็ดจากการอ่านอิเหนา ในหัวข้อเกี่ยวกับ การผูกเรื่อง ธรรมเนียมการใช้สัตว์เป็นเครื่องเชื่อมโยงเรื่องเข้าด้วยกัน เพลงหน้าพาทย์และเพลงที่ใช้เป็นเนื้อร้องของเพลงไทยต่าง ๆ การแต่งตัว การชมดง บทชมพาหนะ : ช้าง ม้า รถ ธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ และความเป็นอยู่ในสมัยนั้น รวมทั้งถ้อยคำสำนวน

ข้างเขาดิน

ใน จิราจันทร์. พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ อาจารย์จิรา จงกล พ.ศ.2532

ทรงเล่าเรื่องการเสด็จไปชมพิพิธภัณฑ์ในประเทศญี่ปุ่น รวม 10 แห่ง เช่น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติฮอกไกโด พิพิธภัณฑ์ระเบิดปรมาณู พิพิธภัณฑ์ที่เมืองนางาซากิ โอซาก้า และเกียวโต รวมทั้งพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยา (National Museum of Ethnology) ที่มีขนาดใหญ่มาก เป็นพิพิธภัณฑ์ของรัฐ แต่มีฐานะเหมือนเป็นมหาวิทยาลัย มีศูนย์วิจัย มีอาจารย์และนักวิจัย อยู่ส่วนต่าง ๆ ของโลก มีโครงการวิจัยร่วมกับไทย เช่น โครงการใบลานที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีห้อง Data Processing กำลังทำโครงการ KWIC INDEX คือ ดรรชนีค้นคำในหนังสือกฎหมายตราสามดวงของไทย

นครนายกกับสงครามโลกครั้งที่ 2

การ สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ภาษากับประวัติศาสตร์ และความเคลื่อนไหวในวิชาประวัติศาสตร์ไทยใน เอกสารประกอบในการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ภาษากับประวัติศาสตร์ และความเคลื่อนไหวในวิชาประวัติศาสตร์ไทย. จัดโดย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ร่วมกับ สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 16-18 กุมภาพันธ์ 2533, เล่ม 2 หน้า 1-32

กล่าวถึงนครนายกในแง่ภูมิรัฐศาสตร์ ประเทศไทยกับการขยายอำนาจของญี่ปุ่น นครนายกภายใต้สถานการณ์ของสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่าทีและทัศนคติของประชาชนต่อกองทหารญี่ปุ่น และนครนายกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ศิลปะจีน : ปาฐกถา

สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตจัดพิมพ์ปาฐกถาที่ทรงบรรยายเรื่อง ศิลปะจีน ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก  เนื่องในงานวิชาการ “วันสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ครั้งที่ 19 เพื่อให้ผู้ที่มิได้มีโอกาสฟังปาฐกถาในวันนั้นได้มีโอกาสเรียนรู้ และชื่นชมศิลปะจีนที่ทรงคุณค่า  เนื้อหาที่ทรงบรรยาย ครอบคลุมศิลปะจีนทุกแขนง ทั้งด้านทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง และวรรณศิลป์ พร้อมภาพประกอบ

บันทึกเรื่องการปกครองของไทย สมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์

ทรงเรียบเรียงจากคำสอนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เมื่อ พ.ศ.2516 ดังตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์คำนำว่า
“…เมื่อ มีอะไรไม่เข้าใจ เช่น วิชาปรัชญา ก็บ่นไปตามภาษาเด็กว่ายาก  สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงมีพระราชเสาวนีย์ให้เชิญศาสตราจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มาสอนวันเสาร์  ตอนเช้าสอนปรัชญาไปได้ระยะหนึ่ง  อาจารย์เห็นว่าข้าพเจ้าน่าจะเข้าใจได้แล้ว  จึงว่าอยากสอนให้ข้าพเจ้าเข้าใจถึงธรรมเนียมประเพณีในบ้านเมืองตั้งแต่ครั้ง โบราณ ได้แก่ เรื่องการเมือง การปกครอง กฎหมาย เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม…
…เรียนไปได้ประมาณ 3 เดือน ก็เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ช่วงนั้นไม่ได้เรียนอะไร เพราะว่าเหตุการณ์ค่อนข้างรุนแรง แต่ก็ใช้เวลาไปในการลอกส่วนที่จดไว้และอ่านหนังสือเพิ่มเติม  หลังเหตุการณ์นั้นอาจารย์ปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานสภา ไม่มีเวลาที่จะสอน จึงได้เลิกไป…”

ภูมิศาสตร์กับวิถีชีวิตไทย

เป็นเอกสารประกอบ การสอน วิชาไทยศึกษา (HI 2001) ซึ่งทรงสอนที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ให้ความรู้และข้อคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศไทยและวิถี ชีวิตที่เกี่ยวเนื่องกับสภาพภูมิศาสตร์นั้น ๆ  เพื่อให้ผู้เรียนมีความรอบรู้เกี่ยวกับความเป็นไทย วิถีชีวิต และวัฒนธรรมไทย ทั้งในด้านความเป็นมา การเปลี่ยนแปลง การปรับตัว และการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

Privacy Policy
© Faculty of Arts – All Rights Reserved 2020