พระราชนิพนธ์วรรรกรรมสำหรับเด็ก

01 แก้วจอมแก่น
แก้วจอมแก่น

กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, 2540.

ทรง ใช้พระนามแฝง ‘แว่นแก้ว’ ทรงเล่าว่า “เรื่องแก้วจอมแก่น เขียนตอนเรียนปริญญาโทที่จุฬาฯ กำลังทำวิทยานิพนธ์ พอเบื่อ ๆ ก็เขียนสักเรื่องแก้ฟุ้งซ่าน เป็นคนฟุ้งซ่าน ชอบคิดโน่นคิดนี่ ก็เลย…เออ…แทนที่จะคิดเฉย ๆ เขียนเป็นเรื่องดีกว่า จะได้ทำอะไรที่สร้างสรรค์และก็ได้หัวเราะ” – ปกหลัง
      “มีเด็กและผู้ใหญ่อ่านกันมากพอสมควร มีผู้เขียนจดหมายมาติชมด้วย… บริษัทกันตนาวีดีโอนำไปทำเป็นละครโทรทัศน์ แต่เนื่องจากเรื่องของ แก้วจอมแก่น ตอนนั้นมีอยู่ไม่กี่ตอน ไม่พอกับการทำบทโทรทัศน์ ข้าพเจ้าจึงแต่งเพิ่มเติมอีก และได้รวมเล่มเป็นหนังสือให้ชื่อว่า แก้วจอมซน…” – พระราชนิพนธ์คำนำ

02 แก้วจอมซน
แก้วจอมซน

กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, 2547.

เป็น วรรณกรรมเยาวชนที่ได้พระราชนิพนธ์เป็นภาคต่อจากแก้วจอมแก่น ได้รับการยกย่อง และเผยแพร่อย่างกว้างขวางมาร่วม สองทศวรรษ อรรถรสของเรื่องราวอยู่ที่ความสนุกสนานและแฝงไปด้วยสาระครบถ้วน หากแต่ว่าคราวนี้แก้วโตขึ้น เรื่องราว เกร็ดความรู้และข้อคิดต่างๆ ก็เริ่มโตขึ้นด้วย
      ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรมของสถานทูตจีนในไทยแปลเรื่อง แก้วจอมแก่น และ แก้วจอมซนเป็นภาษาจีน และพิมพ์เผยแพร่ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ขณะที่แปล ทรงช่วยอธิบายรายละเอียดที่ผู้แปลยังไม่เข้าใจ เช่น มะม่วงชนิดต่าง ๆ อาหารไทย แม่นาคพระโขนง การละเล่นของเด็กไทย ทั้งทรงสอนให้เล่นด้วยทั้งท่านที่ปรึกษาฯ และเจ้าหน้าที่สถานทูต

03 ขบวนการนกกางเขน
ขบวนการนกกางเขน

กรุงเทพฯ : วิคตอรี่ เพาเวอร์ พอยท์, 2529.

กล่าว ถึงการผจญภัยเล็ก ๆ ของเด็ก ๆ ที่ชวนตื่นเต้น สนุกสนาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงแปลมาจากหนังสือฝรั่งเศสเรื่อง Rossignols en cage ด้วยความรู้สึกประทับใจในความผูกพัน ความรักระหว่างเพื่อน และมิตรภาพ อันเปรียบเสมือนประสบการณ์ร่วมที่ไม่ว่าเด็กคนใด ชาติใด ก็ล้วนปรารถนาจะได้รับรสแห่งการผจญภัยเช่นนี้สักครั้ง

ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

Privacy Policy
© Faculty of Arts – All Rights Reserved 2020