เหมาหมาน (Monam)

ชื่อชนชาติ:    เหมาหมาน (Monam)

ชื่อที่ใช้เรียกตนเอง:    

ชื่อที่คนอื่นใช้เรียก:    

แหล่งที่อยู่อาศัย:    

แหล่งเก็บข้อมูล:     

เครื่องแต่งกาย:    เก็บจากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุชาวเหมาหมานทั้งผู้หญิง และผู้ชาย 4-5 คน ผ่านล่ามผู้ซึ่งพูดภาษาจีน และล่ามภาษาอังกฤษอีกทอดหนึ่ง  เสื้อ : ผู้หญิงเหมาหมานสวมเสื้อ ทำด้วยผ้า แขนยาว ต่อแขนตามความกว้างของผ้า ปลายแขนมีขอบ 3 ชั้น อาจปักเป็นลายดอกไม้ คอตั้งเป็นขอบเหมือนคอจีน แต่แต่งเป็นขอบ 3 ชั้น อาจปักเป็นลายดอกไม้ก็ได้ เสื้อป้ายหน้าแบบเสื้อจีน ตัวเสื้อด้านข้างผ่า ทั้ง 2 ข้าง มีผ้ากุ๊นทำเป็นรูปดังนี้ มีกระดุมที่คอ 1 เม็ด ที่อกเบื้องซ้าย 1 เม็ด และด้านข้าง (ด้านซ้าย) อีก 7 เม็ด รวม 9 เม็ด กระดุมรูปกลมมักทำด้วยทองแดง ปัจจุบันกระดุมทำด้วยผ้า  สีเสื้อส่วนใหญ่ใช้สีดำหรือเทา ที่ปก บ่า และรอบคอจะแต่งด้วยผ้าแถบกว้างๆ  ต่อจากแถบกว้างจะเป็นแถบเล็กๆ ไล่ลงจากคอถึงหน้าอกและเอว โดยปกติถ้าตัวเสื้อใช้ผ้าสีดำก็จะแต่งแถบด้วยสีเทา ถ้าใช้ผ้าสีเทา จะแต่งแถบด้วยสีดำ หรืออาจจะแต่งด้วยสีเหลืองก็ได้ แต่มีน้อย  นอกจากนี้อาจจะใช้ผ้าสีอื่นๆ ได้อีก เช่น เขียว  แดง เสื้อตัวในเป็นสีขาว กางเกง : กางเกง จะแต่งปลายขาเป็นขอบ 3 ชั้น เหมือนปลายแขนเสื้อ กางเกงยาวถึงตาตุ่ม นิยมใช้สีเดียวกับเสื้อสีดำหรือเทา โดยปกติหญิงมีอายุ แต่งงานแล้ว หรือหญิงสาว/ยังไม่ได้แต่งงาน ก็จะแต่งตัวเหมือนกัน แต่หญิงสาวจะสวมเสื้อที่พอดีตัวมากกว่า หญิงที่แต่งงานแล้วจะสวมเสื้อหลวมกว่า และยาวกว่า ผู้ให้ข้อมูลพูดถึงผ้าคาดลูก  แต่ไม่ได้ให้รายละเอียด บอกว่าเหมือนปัจจุบัน  ผู้ให้ข้อมูลชาวเหมาหมาน ไม่ได้พูดถึงผ้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกับผ้ากันเปื้อนผูกที่เอว แต่ที่พิพิธภัณฑ์มีผ้าชนิดนี้ ตรงกลางมีรอยต่อ ไม่มีลวดลายที่ผืนผ้า แต่ลายที่ผ้าสำหรับผูก ซึ่งอาจจะเป็นผ้าทั้งผืนที่ไม่มีรอยต่อตรงกลาง  แต่มีการปักลวดลายตรงกลางผืนผ้า ขอบด้านซ้าย และชายผ้าไม่มีลายที่ผ้าสำหรับผูก นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผ้าคาดลูก ที่มีลายปักต่างๆ อย่างสวยงาม แต่เสื้อผ้านั้นที่พิพิธภัณฑ์ให้ข้อมูลแตกต่างไปมาก มีการดัดแปลงเสื้อให้งดงาม ใช้สีสดใสเพื่อประโยชน์ในการถ่ายรูป และการแสดง และเปลี่ยนจากกางเกงเป็นกระโปรงคลุมเข่า จับเกล็ดตรงชายแบบกระโปรงทวิสต์  ผม : ผู้หญิงเหมาหมานจะไว้ผมยาวทุกคน แต่ม้วนผมขึ้นไป โดยผูกผมที่ท้ายทอยแล้วใช้เข็มทำด้วยเงินสอดไว้ เข็มดังกล่าวอาจแกะเป็นลวดลายงดงาม ต่อจากนั้นจะใช้ผ้าสีดำพันกับผมม้วนขึ้นไปวนรอบศีรษะ อาจใช้ดอกไม้ทำด้วยเงินประดับที่ข้างหูทั้ง 2 ข้าง (แต่จะไม่ใช้ดอกไม้จริง)  หมวก : ข้อมูลเพิ่มเติมที่ได้จากพิพิธภัณฑ์คือ หมวกของเหมาหมาน รูปทรงคล้ายหมวกเวียดนาม มีพู่ห้อยรอบหมวก ชาวเหมาหมานมีชื่อเสียงในการสานไม้ไผ่ หมวกที่สานนั้นด้านในจะมีลายที่งดงามมาก ด้านในมีรังสำหรับสวม ขนาดค่อนข้างเล็ก แต่ต่อผ้า 2 ชายใช้สำหรับผูกใต้คาง รองเท้า : รองเท้า ทำด้วยผ้าสีดำเท่านั้น หัวมน ปักลายดอกไม้ การใช้ผ้าสีดำ ทำให้ลายปักเด่นขึ้น ไม่มีสายคาดรองเท้า แต่รองเท้าที่พิพิธภัณฑ์มีสายคาด

เครื่องประดับ:    ผู้หญิงเหมาหมานมีเครื่องประดับทั้งต่างหู สร้อยคอ สร้อยข้อมือ และแหวน (ใช้คำยืมของจีน) ต่างหูเป็นเส้นเล็กๆ สร้อยคอ สร้อยข้อมือและแหวนนั้นจะใส่มากน้อยเท่าใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับความร่ำรวยของแต่ละคน เครื่องประดับทุกชนิดทำด้วยเงินหมายเหตุ  ในปัจจุบันไม่มีหญิงเหมาหมานคนใดในหมู่บ้านแต่งกายตามแบบเดิม

ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

Privacy Policy
© Faculty of Arts – All Rights Reserved 2020