ผู้หนง (Pu-Nong)

ชื่อชนชาติ:    ผู้หนง  (Pu-Nong)

ชื่อที่ใช้เรียกตนเอง:    

ชื่อที่คนอื่นใช้เรียก:    ผู้หนง (เมื่อเทียบกับภาษาไทยกลาง คือ ผู้น้อง)

แหล่งที่อยู่อาศัย:    

แหล่งเก็บข้อมูล:     บ้านชู่เก๊อ (Shugoe) บ้านโซ้ชู่เกอ อำเภอหม่ากังเชียง แขวงเหวินซาน

ลักษณะหมู่บ้าน:    เป็นหมู่บ้านติดถนนห่างจากตัวเมือง เหวินซานประมาณ 1 ชั่วโมง (ขับประมาณ 40 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง) เพราะฉะนั้นคงห่างประมาณ 40 กิโลเมตร เป็นบ้านใหญ่ มีต้นพลับออกดอกเหลืองอยู่ทั่วไป (ลูกพลับนี้พวกไตเสอเข้อเรียกว่า หมากโหลิ้ง) บ้านที่ไปเก็บข้อมูลทำด้วยดิน ยกพื้นสูง เป็นบ้าน 2 ชั้น แต่ชั้นบนใช้เก็บข้าว ข้าวโพด ชั้นล่างแบ่งเป็นโถงกลางปีก 2 ข้างเป็นห้องที่พัก หน้าบ้านเป็นชานเล็กๆ หน้าบ้านเป็นลาน คงเป็นบ้านมีอันจะกิน เพราะลานเทซีเมนต์ บ้านอื่นๆ ทำด้วยดินแต่ไม่ใหญ่เท่า ทุกๆ บ้านเก็บถั่วดินถอนขึ้นมาทั้งราก เก็บแห้งไว้ นอกจากนี้มีพริกขี้หนูถอนทั้งต้นตากแห้งไว้ เมื่อเราไปถึงมี เด็กๆกำลังเผาพริกกันอยู่ (ถ่ายรูปไว้) บางบ้านคงคั่วด้วยได้กลิ่นพริกทั่วไป คนหนง เรียกว่า หมากอิด (คงหมายถึงหมากเล็กๆ)

เครื่องแต่งกาย:    ผู้หญิงผู้หนงมีเสื้อผ้าสวมใส่อยู่ 5 แบบ คือ 
         – แบบที่ 1 แบบที่หญิงสาวใส่ เป็นเสื้อสีออกม่วงๆ แขนยาว ห่างจากปลายแขน 5 นิ้ว ปะผ้าปักดอกไม้ กว้างประมาณ 2 นิ้วครึ่ง เสื้อต่อแขนที่ต้นแขนเสื้อตัวนี้มีคอตั้งแบบจีน คอตั้งนี้ติดแถบสีเป็นคู่ขนาน จึงมองเป็น 3 แถบ เพราะแถบกลางเป็นผ้าพื้นของเสื้อ เสื้อนี้ผ่าอกตลอด ติดกระดุมเงิน 8 เม็ด บางคนอาจใช้ 9 เม็ดถ้าตัวสูง กระดุมทำด้วยหินหรืออลูมิเนียม กระดุมนี้เรียกว่า ส่วนลูกดุมเรียกว่า เสื้อมีลักษณะปลายบานออกดังปีกนก รอบๆปลายเสื้อปะแถบผ้าปัก และมีปักเม็ดเงินเป็นรูปสามเหลี่ยม 4-3-2-1 ตามลำดับชั้น ปักเม็ดเงิน รูปสามเหลี่ยมนี้เรียกว่า  เสื้อนี้สวมทับกระโปรงพลีทสีเดียวกัน ตัวกระโปรงเป็นแผ่นเดียว มีเอวและต่อที่สะโพก เพื่อให้ตัวกระโปรงยาว  เครื่องประดับที่ใส่กับชุดนี้ คือ ห่วงคอ เรียกว่า หรือสายคอ ใส่ได้ตั้งแต่ 1 ถึง 3 อัน ไม่มากกว่านั้น ลักษณะห่วงคอมีขอใหญ่สับอยู่ข้างหน้า เรียกว่า นอกจากนี้อาจใส่กำไล เรียกว่า ซึ่งเป็นกำไลแบนกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร มีลวดลายฉลุ และมีหินเล็กเป็นสายห้อย หญิงหนงบางคนอาจใส่ หรือปลอกมือ คือ แหวน แต่ได้ความว่ามีคนใส่แหวนน้อยมาก เช่นเดียวกับตุ้มหู หรือ ของประดับพวกนี้ ใส่เฉพาะหญิงสาว โดยเฉพาะวันแต่งงาน เมื่ออายุ 60 ขึ้นไปแล้วอาจกลับมาใส่
         – แบบที่ 2 เป็นเสื้อผ้าสีออกม่วงเหมือนกันมีซิ่นสีเดียวกัน แต่เสื้อเป็นแบบป้ายติดแถบ เสื้อชุดนี้หญิงที่มีลูกแล้วใส่เวลาออกงาน เสื้อชุดนี้ได้ทราบว่า ตัวเสื้อต้องเย็บกระดาษไว้ข้างใน เสื้อจึงจะคงรูป ดังนั้นจะไม่มีการซัก นอกจากตอนตายเขาจึงซักและใส่ให้คนตาย
         – แบบที่ 3 ชุดอยู่กับบ้าน ใช้ทั้งคนแก่ กลางคน หรือสาว โดยมากคนใส่สีดำเสมอทั้งเสื้อและกางเกง หญิงกลางคนและสาวใส่สีคราม กางเกงเรียกว่า เข้าใจว่ามาจากการเปลี่ยนแปลงของเสียง และ น่าจะ contaminate จาก ในซึ่งเป็น prefix ซึ่งภาษาไทยหลายกลุ่มใช้ ชุดนี้เป็นชุดที่เห็นที่หมู่บ้าน 
         – แบบที่ 4 ชุดไปตลาด ใส่เสื้อสีพื้นแบบจีน นุ่งกางเกงสีเหมือนเสื้อ มีเอี๊ยมผูกตรงกลาง เอี๊ยมปักตรงหัวเรียกว่า แผ่นเย้า แผ่นเอี๊ยมมีรอยต่อตรงกลาง ปลายมน และมีแถบผ้าเล็กๆ ขลิบตรงหัวเอี๊ยมติดแผ่นเงิน รูปมังกรและหงส์ (หมายถึงผู้ชายและผู้หญิง) แผ่นนี้เรียกว่า นอกจากนี้ผ้าดามแผ่นนี้ข้างบนก็มีชื่อเรียกว่า แผ่นเอี๊ยมมีตามผ้า ถ้าอยู่ตามผ้า (ทางดิ่ง) เรียกว่า ถ้าอยู่ตรงปลายเอี๊ยมก็เรียกว่า แผ่นเงิน ทาบตามผ้าเอี๊ยมเรียกว่า สายสร้อยเอี๊ยมเรียกว่า ตัวหัวสร้อยมักทำรูปดอกไม้ หรือผีเสื้อ
         – แบบที่ 5 ชุดออกงานหรือไปตลาด เปลี่ยนเสื้อเป็นกำมะหยี่สีดำ แต่กางเกงอาจใช้สีกรมท่า หรือสีดำ และจะเป็นฝ้ายเสมอ การโพกหัว ไม่ว่าจะใส่ชุดอะไร เขาจะใช้ผ้าโพกหัวมีสีต่างๆ กันโพกหัวเสมอ มีสีผ้าโพกคือ สีน้ำตาลแบบสีโอวัลติน และสีดำ ด้านหน้ามีปักกึ่งกลางเรียกว่า (คือที่ปัก) ผ้าโพกหัวมี 2 ชั้น ชั้นในเรียกว่า (ใบขัน) ผ้าชั้นนอกยาวกว่าเรียกว่า มักมี 2 สีคือ ดำและสีโอวัลติน ผ้าโพกหัวมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม รองเท้าแบบจีนเป็นรองเท้าผ้ามีปัก เรียกว่า (รองเท้า) มีหุ้มข้อสูง

ข้อสังเกต:    เสื้อผ้าสีม่วงใกล้กับต้งมาก แต่คนที่นี่ใช้สีที่ขายที่ตลาด เมื่อย้อมแล้วใช้หินขัดถูจนมัน นอกจากนี้เสื้อมักเย็บติดกับกระดาษ เพื่อให้แข็งตัวได้ และจะไม่ซักเลย จนตายจึงซักมาใส่เวลาตายแล้วสรุป เสื้อ เสื้อชุดใหญ่ คือ เสื้อแขนยาว ผ่ากลาง ติดกระดุมเม็ดเงินตรงเอวทำเป็นปีกขึ้นไปเหมือนกับทุกเผ่า (ยกเว้นผู้หน้วง ซึ่งอยู่ที่หมู่บ้านโก๊เพิ่นในหม่ากว๊าน ซึ่งใส่เสื้อแบบจีนและเราไม่เห็นชุดใหญ่ แต่เขาก็บอกว่า แต่ก่อนอาจใส่ซิ่น)  ซิ่น ผ้าซิ่นยาวทำเป็นแผ่นพันตัวและจีนทำเป็นพลีทหรือไม่ก็ได้ อาจทำด้วยผ้าที่ย้อมสีแล้วเอาหินขัดจนมัน หรือทำเป็นฝ้ายย้อมสีดำเฉยๆ ก็ได้ การนุ่งซิ่นมีทั้งแบบปล่อยยาวเฉยๆ (เหลินซาน) หรือนุ่งแบบเอาปลายข้างหนึ่งยกไปเหน็บหลังทำให้ดูเหมือนมีหางสั้นๆ ถือว่าสวย (หนงหญั่ง, หนงตู้)  การโพกผ้า การโพกผ้า มีต่างๆ ออกไป บางพวกมีประดับมาก เหวินซาน ประดับข้างหน้ากว้าง หม่ากว๊าน ไม่มีอะไรเลยโพกผ้า (ใช้ผืนเดียว) เฉยๆ มาลีโปมีการใช้ผ้า 2 ผืนเช่นเดียวกับเหวินซาน แต่วิธีโพกผ้าจะต่างๆ กันออกไป การโพกผ้าของมาลีโป (หนงตู้) ทำเป็นเขา มาลีโป (หนงหญั่ง) มีประดับข้างหน้าและข้างหลัง (แผกขัน)แต่เหวินซาน มาลีโปจะใช้เบ๋อขันทั้งหมด

ข้อสังเกตอื่นๆ:    ผู้น้อง / ผู้หน้วง / ผู้หน้ง ด้วยระบบวรรณยุกต์ 6 เสียง และลักษณะของเสื้อชุดใหญ่รวมทั้งการเรียกชื่อผ้าโพกหัวน่าจะเป็นชนเผ่าเดียวกัน คนหนง เรียกตนเองว่า หรือเมื่อเทียบเป็นภาษาไทยกลางคือ ผู้น้อง ภาษาหนงที่บ้านนี้มี 6 เสียงวรรณยุกต์ คือ  คนหนงในหมู่บ้านนี้มาอยู่ที่นี่ได้ 200 กว่าปีแล้ว

ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

Privacy Policy
© Faculty of Arts – All Rights Reserved 2020