สุ่ย (Sui)

ชื่อชนชาติ:    สุ่ย (Sui)

ชื่อที่ใช้เรียกตนเอง:    

ชื่อที่คนอื่นใช้เรียก:    

แหล่งที่อยู่อาศัย:    

แหล่งเก็บข้อมูล:     

เครื่องแต่งกาย:    ผู้หญิงสุ่ย Sui ที่วุ้ยโจว ผู้หญิงสุ่ยแต่งตัวเป็น 2 อย่าง คือ แบบที่อยู่ที่บ้านในชีวิตประจำวัน และแบบพิเศษ แบบที่อยู่ที่บ้านในชีวิตประจำวันมีลักษณะไม่แตกต่างกับผู้หญิงต้ง คือ ใส่เสื้อแบบจีนตัวเสื้อยาว นุ่งกางเกงและใส่ผ้ากันเปื้อนผืนยาว เสื้อที่เห็นมี 3 สี คือ  ดำ น้ำเงิน แปร๋น และขาว คนสุ่ยจำแนกความแตกต่างของเสื้อผู้หญิงของตนจากเสื้อผู้หญิงต้ง ว่ามีแผ่นผ้าลูกไม้ประดับกว้างกว่าเสื้อเรียกว่า ฉิ่น โต๊ก กางเกง เรียกว่า ฮง เสื้อเป็นสี หรือดำ เสื้อมีการต่อที่ปลายแขนเป็น 2 ท่อน ท่อนปลายต้องเป็นคนละสีกับสีตัวเสื้อ หญิงสุ่ยเกล้าผมแปลกไปจากหญิงต้ง มีลักษณะเป็นจุก ตั้งอยู่กลางศีรษะเสียบด้วยหวี และไม้เสียบผม เกล้าผมเรียกว่า ส่วนหวีเรียกว่า และไม้เสียบผมเรียกว่า ซึ่งเป็นเงิน ในขณะที่หวีเป็นไม้สีแดง หรือเป็นสีไม้ตามธรรมชาติ มีการเกล้าผมแบบง่ายซึ่งเด็กสาวๆใช้กัน  เสื้อพิเศษของหญิงสุ่ยมีลักษณะน่าสนใจคือ เขาจะใส่เสื้อซ้อนๆ กันตั้งแต่ 5-9 ตัว เสื้อตัวในจะมีแขนยาวที่สุด และมีผ้าปะปลายแขนดังกล่าว ส่วนเสื้อตัวถัดเข้าไปข้างในก็จะมีแขนสั้นขึ้นไปเรื่อยๆ เขาจะพับปลายแขนเพื่ออวดผ้าปะสีต่างๆ ทำให้แขนเสื้อดูเป็นบั้งๆ นุ่งกระโปรง ดำแบบแม้วสั้นๆ แต่มีกางเกงสั้นดำและมีผ้าพันขาสีดำ เรื่องกระโปรงนั้นสุ่ยที่ฉงเจียงใส่แม้ในชีวิตประจำวัน หญิงสุ่ยโพกผ้า ชุดประจำวันหญิงโพกด้วยสีดำใช้ผ้าซ้อน 2 ผืน เวลาโพกข้างหลังยาวลงไปเหมือนหมวกมหาดเล็ก ส่วนชุดใหญ่โพกผ้าเป็นตาๆ

เครื่องประดับ:    หญิงสุ่ยใส่เครื่องประดับมาก มีตุ้มหูเรียกว่า ดวงหรงข่า มีลักษณะเป็นดอกมีระย้าแบบเดียวกบของชาวต้ง ใส่ห่วงคอถ้ามีเรียกว่า หรองคอ และสร้อยมีสร้อยห้อยข้างกระโปรงเรียกว่า ยาวถึงเอวเรียกว่า หรองหยางเครื่องเงินเหล่านี้คนที่ตายจะไม่ใส่ไปลงหลุม แต่จะต้องใส่ชุดที่เย็บตัดใหม่ไม่ว่าจะเป็นชุดพิเศษ หรือชุดชีวิตประจำวัน ศพอาจตั้งไว้ที่บ้านได้นานถึง 2 อาทิตย์ โดยตั้งไว้ในห้องนั่งเล่น ถ้าหากเวลาจะไปฝังยังหาฤกษ์ไม่ได้ เขาใส่โลงซึ่งมีขี้เถ้าและถ่านกันเหม็น พวกญาติพี่น้องต้องไม่กินเนื้อสัตว์ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้ฝังจนฝังไปแล้ว 3 วัน มีหมวกของเด็กเล็กที่น่าสนใจ คือ เป็นหมวกที่ทำเป็นรูปเจดีย์อยู่บนยอดเรียกว่า ใช้คุ้มกันเด็กและข้างหลังมีรูปเทวดาเล็กๆ 9 ตัว ไว้คุ้มครอง มีกระพรวนผูกทำให้ได้ยินเสียงเด็กเคลื่อนไหว

ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

Privacy Policy
© Faculty of Arts – All Rights Reserved 2020