ไทล้า (Tai-La)

ชื่อชนชาติ:    ไทล้า (Tai-La)

ชื่อที่ใช้เรียกตนเอง:    ไทหม่อน (เพราะใส่เสื้อสีคราม)

ชื่อที่คนอื่นใช้เรียก:    ไทล้า, ไทกล้า, ไทกะล้า

แหล่งที่อยู่อาศัย:    ไทล้าน่าจะเป็นพวกที่เข้ามาอยู่หลังจากเผ่าอื่นๆ เช่น ไทหยา ไทจุง ไทจั๊ง เป็นต้น พวกไทล้าอยู่ปะปนกับไทหยา บางบ้านเช่น บ้านใหม่ ก็เพิ่งอพยพมาจากภูเขาที่จู่ซ่ง เพราะทางการจะเอาพื้นที่ทำอ่างเก็บน้ำราวปี 1989 บ้านบางบ้านในเขตไทล้ามี 2 ชื่อ เช่น บ้านนาหิน เป็นชื่อที่ไทหยาเรียก แต่ไทล้าเรียก มีหลายบ้านที่มีไทหยาอยู่มาก เช่น บ้านอื่นๆ ที่มีไทล้าอยู่ อาจอยู่ปนกับไทหยาก็ได้ หมู่บ้านเหล่านี้เช่น บ้านจาง บ้านกลางนา บ้านกวางชาง บ้านเอี่ยน (ปลาไหล) บ้านต่ำ บ้านตก (อยู่ไกลบ้านอื่นๆ)

เครื่องแต่งกาย:    ไทล้าแต่งกายค่อนข้างง่ายที่สุดในกลุ่มไทที่ไปเก็บข้อมูล และเป็นกลุ่มเดียวที่นุ่งกางเกง เป็นไทกลุ่มเดียวที่ไม่ปักเสื้อแบบปักไขว้ และเน้นการทอผ้าเป็นลวดลายต่างๆ แต่ไม่เล่นสีสัน เป็นลายผ้าสีเดียวอยู่ในตัว นอกจากตรงชายผ้าก็มีการทอเป็นลวดลายต่างๆ สีที่ใช้มีสีเหลือง เขียว หรือชมพูสด นอกนั้นก็ไม่เห็นสีอื่น ผ้าที่ทอหน้าแคบๆ และผ้ามีลักษณะแข็งและเป็นมัน

ข้อสังเกตอื่นๆ:    คนในหมู่บ้านที่เก็บข้อมูล ค่อนข้างจะยากจน บ้านช่องดูไม่สะอาดนัก แต่มีอาหารการกินดีและท่าทางขยัน และตื่นตัวอยู่ตลอด อาจเป็นเพราะเพิ่งมาอยู่ ยังไม่ทันได้ตั้งหลัก สภาพจึงยังไม่ดี บ้านนี้ที่ว่าขยัน ก็เพราะขยันทำของเก็บไว้กิน ขณะนั่งอยู่ได้มีการอวดขนมต่างๆ มากกว่า 50 ชนิด เป็นขนมที่กินทุกวันเช่น คล้ายข้าวต้มมัด ใช้ใบพุทธรักษาห่อ ขนมเป็นข้าเหนียวมีไส้ ขนมที่เก็บค้างปีได้ เช่น ข้าวพอง ข้าวตำ

ความเชื่อ:    คนไทล้านับถือบรรพบุรุษ แต่ไม่มีที่คุกเข่าบูชาแบบบ้านไทดำ นอกจากนี้แต่ละหมู่บ้านอาจแต่งตั้งผู้ชาย 2 คนให้เป็นเจ้าบ้านเจ้าเมืองคนหนึ่ง แต่งตัวเป็นหญิง นอกจากนี้ยังมีผีประจำหมู่บ้านหรือทั้งมีพิธีต่างๆ ที่เกี่ยวกับการขอบรรพบุรุษให้ดูแลรักษาสัตว์เลี้ยงและให้มีผลผลิตที่ดี การฉลองนี้ เรียกว่า ซึ่งเขาจะฆ่าไก่ เซ่นไหว้

ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

Privacy Policy
© Faculty of Arts – All Rights Reserved 2020