ไทจุง (Tai-Tsung)

ชื่อที่ใช้เรียกตนเอง:    ไทจุง (Tai-Tsung)

แหล่งที่อยู่อาศัย:    เขตเหยียนเจียง, มณฑลยูนนาน, จีน

เครื่องแต่งกาย:    เสื้อ, หญิง,วัยรุ่น หญิงสาวชนเผ่าไทจุงในประเทศจีน จะสวมเสื้อ 2 ชั้นคือเสื้อตัวนอกและเสื้อตัวใน โดยเสื้อตัวเป็นเสื้อไม่มีแขนมีสีแดงและประดับด้วยสีอื่นๆมีสีสันสวยงามส่วนเสื้อตัวนอกเป็นเสื้อแขนยาว ตรงแขนเสื้อมีสีดำขอบแขนเสื้อและตัวเสื้อมีสีแดงประดับลวดลายด้วยสีแดงซึ่งลายนี้จะมีรอบตัวเสื้อไปถึงด้านหลัง 

ชื่อชนชาติ:    ไทจุง (Tai Tsung) หรือ ออกเสียงว่า ไท่จุง

แหล่งที่อยู่อาศัย:    ไทจุงเป็นไทอีกกลุ่มหนึ่งในท้องถิ่นหยวนเจียง ไทจุงมีอยู่ในหมู่บ้านต่างๆ ประมาณ 15 หมู่บ้าน 

แหล่งเก็บข้อมูล:    บ้านต่ง หรือออกเสียงว่า หว่าน ต๋ง

เครื่องแต่งกาย:    คนหนุ่มสาวแต่งแบบสากล คือ นุ่งกางเกงใส่เสื้อแบบเสื้อเชิ้ต คนสูงอายุแต่งตัวที่บอกลักษณะเผ่า ลักษณะการแต่งกายของหญิงมีความใกล้เคียงกับไทหยา คือ นุ่งผ้าซิ่นที่รั้งชายซิ่นทางซ้ายขึ้น แต่ลักษณะที่ต่างจากไทหยา คือ ลักษณะการโพกผ้า ไทจุงโพกผ้าเป็นทรงกลมป้านออกเหมือนกัน หม้อดินเผา ส่วนไทหยานั้นเป็นรูปทรงกระบอก ผ้าที่ใช้โพกหัวมีอยู่หลายชิ้น ชิ้นที่อยู่ตรงกลางกระหม่อมเป็นคล้ายตาข่ายที่ผู้หญิงใช้คลุมผมเวลาอบผมสมัย ก่อน ตาข่ายนี้คลุมผมที่เกล้าขึ้นมาเป็นรูปกลม มีเข็มเสียบอยู่ เข็มนี้เรียกว่า เกล้าเข็ม หรือออกเสียงว่า เก่าสิม มีขนาดใหญ่และเล็ก ถ้าเล็ก เรียกว่า เก่าสิมเต๋ ผ้าตาข่ายนี้เรียกว่า ผ้าลู้บแข้ง ผ้าดำที่ใช้คาดหัวเพื่อคาดผ้าห้อยหัวมี 2 ผืน เรียกว่าหมี่ขนหัว หรือออกเสียงว่า หมี่หนโห่ ส่วนผ้าผืนนอกที่คาดหัวมีปลายข้างหนึ่งปักไขว้เป็นลวดลายชั้นๆ 3-4 ชั้น และมีชายเป็นพู่ เรียกว่า จ๊ามจิ๊กกิ่นโห เมื่อคาดหัวแล้วเหน็บชายให้เห็นที่ปัดและพู่ ผ้านี้เรียกว่า ฉีก (ผ้าชิ้นเล็กๆ) เคี่ยนหัว หรือออกเสียงว่า จิ๊กกิ่นโห ผ้าที่ห้อยหู 2 ข้างนั้นตัดขาดจากกันผิดกับของไทหยาที่เป็นเส้นเดียวแต่ปักชาย 2 ข้าง ผ้าห้อยหูนี้เรียกว่า ผ้าแมบ หรือออกเสียงว่า เพ้อแหมบ สำหรับหญิงสาวบางคนโพกผ้าจิ๊กกิ่นโห 2 ผืน เพื่อความงามและยังห้อยเครื่องประดับเงินเป็นสาย ซึ่งเรียกว่า หมากเล่ง ด้วย สำหรับเสื้อก็คล้ายไทหยา คือ มีเสื้อตัวใน หรือ เรียกว่าเส่อเนี้ยว เสื้อตัวนี้ปักประดับด้วยเม็ดเงิน (ปัจจุบันเป็นเม็ดอะลูมิเนียม) เป็นเสื้อแขนกุด เสื้อตัวนี้จะถูกทับด้วยเสื้อตัวนอกแขนยาวเป็นผ้าแพร ที่ชายแขนปะผ้าสีเป็นชิ้นๆ หญิงไทจุใส่เสื้อตัวนอก 2 ตัวซ้อน ตัวในยาวกว่าตัวนอกเล็กน้อย เพราะเสื้อสีต่างกันจึงทำให้ดูสวยงาม เพราะมีผ้าสีต่างกันแลบเป็นขอบเพราะต้องใส่ 2 ตัวซ้อน เสื้อตัวนอกนี้จึงใช้ผ้าแพรแบบลื่นและบางในการตัดเย็บ เสื้อตัวนอก เรียกว่า เสื้อหลวง หรือออกเสียงว่า เส่อโหลง มีเครื่องประดับที่แขวนไว้กับกระดุมเสื้อเนี้ยว เครื่องประดับนี้มีลักษณะคล้ายอุบะและตรงปลายอุบะนี้เป็นเครื่องมือแคะหู แคะฟัน และมีกล่องเล็กๆ สำหรับใส่ปูนขาวและหมาก เรียกว่า เฉี่ยวกุ๊กฝอน กล่องเล็กนี้เป็นรูปทรงกระบอกเล็กๆ คล้ายถ้ำยา สอบถามได้ความว่าใช้ใส่ปูน และหมากสำหรับไว้กิน

เครื่องแต่งกาย- เสื้อ, หญิง,คนชรา หญิงมีอายุชนเผ่าไทจุงในประเทศจีน จะสวมเสื้อ 2 ชั้น เช่นเดียวกับหญิงสาว แตกต่างตรงที่เสื้อตัวนอกของหญิงมีอายุจะไม่มีลวดลายเท่ากับหญิงสาว กล่าวคือเป็นตัวเสื้อมีสีดำ ชายแขนเสื้อประดับผ้าสีอื่น ส่วนเสื้อตัวในจะมีลักษณะเหมือนเสื้อตัวในของหญิงสาว เครื่องแต่งกาย–ซิ่น, หญิง, วัยรุ่น หญิงสาวชนเผ่าไทจุงในประเทศจีน นุ่งซิ่น 2 ชิ้น คือซิ่นตัวในจะเป็นซิ่นสีดำปักลวดลายสีแดงตรงชายซิ่นขึ้นมาถึงกลางตัวซิ่น อีกชิ้นหนึ่งคือผ้านุ่งทับซึ่งเป็นผ้าพื้นสีดำ เครื่องแต่งกาย–ผ้าพันแข้ง, หญิง, คนชรา เครื่องแต่งกาย–ผ้าพันแข้ง, หญิง,คนชรา หญิงมีอายุชนเผ่าไทจุงในประเทศจีน จะสวมผ้าพันแข้งซึ่งมีสีดำไม่มีลวดลายพันไว้ที่ขา เครื่องสะพาย–ย่าม, หญิง เป็นย่ามสีแดงปักลวดลายเหมือนเสื้อของผู้หญิงมีพู่สีชมพู่ห้อยอยู่ทั้งสองข้าง

ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

Privacy Policy
© Faculty of Arts – All Rights Reserved 2020