ไทยา (Tai-Ya)

ชื่อที่คนอื่นใช้เรียก:    ไทยา

แหล่งที่อยู่อาศัย:    ไทยาเป็นกลุ่มไทกลุ่มหนึ่งในท้องถิ่นหยวนเจียง  เป็นชนไทเผ่าที่กระจายมากพอสมควร ในหยวนเจียงกลุ่มไทยามีความกระจัดกระจาย  และเข้ารวมอยู่กับกลุ่มไทอื่นๆ มากกว่ากลุ่มอื่น  สังเกตได้จากการเก็บข้อมูลว่า พบไทยาอยู่ในหมู่บ้านไทดำ และไทจุง  หมู่บ้านที่ไทยาอยู่หนาแน่นมี 4 หมู่บ้าน คือ บ้านหัวผา หรือออกเสียงว่า  ว่านโหผา บ้านเชิงเขา หรือออกเสียงว่า บ้านใหม่ หรือออกเสียงว่า บ้านเหมอ  และบ้านหางร่องหรือออกเสียงว่า

แหล่งเก็บข้อมูล:    หมู่บ้าน Gaukang ในท้องถิ่นปกครองตนเองหยวนเจียง – ฮาหนี – หยี – ไท ( Yuanjiang Hani- Yi- Dai Autonomous County) ในเขตอู้ซี (Yuxi  Prefecture) มณฑลยูนนาน (Yunnan Province) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

ลักษณะบ้าน:    (เรือนที่อยู่) ที่ไปนั่งเก็บข้อมูลเป็นบ้านผู้ใหญ่บ้าน ก่ออิฐทำด้วยดิน  ข้างล่างเป็นโถงเข้าไป มีห้องนอนข้างๆ เป็นแถวขนาบหัวโถงอยู่  ไม่มีที่บูชาอะไรให้เห็นแบบไทดำ  แต่สอบถามได้ความว่านักบถือบรรพบุรุษเช่นกัน  คนไทยาที่บ้านนี้บอกว่าอพยพมาจากเมืองหยา ในซินผิง มากกว่า 100 ปีแล้ว

เครื่องแต่งกาย:    การแต่งกายของหนุ่มสาวเป็นแบบสากล คนสูงอายุผู้หญิงแต่งกาย ประจำเผ่า  ส่วนผู้ชายใส่แบบสากล  สำหรับชุดแต่งกายแบบไทยาโดยเฉพาะของหญิงสาวนั้นตกแต่งด้วยเครื่องประดับที่  ทำด้วยตะกั่วหรืออะลูมิเนียมอย่างมาก แต่หญิงสาวบางคนประดับตนด้วยเงินแท้  มีกำไลมือเป็นสำคัญ ของเงินแท้เหล่านี้ตกทอดกันมา  และน่าสังเกตว่าไทยาเป็นกลุ่มที่เก็บเครื่องประดับไว้ได้มากที่สุด  (ไม่ถูกยึดไปโดยคอมมิวนิสต์)  ชุดแต่งกายของหญิงไทยามีความแตกต่างกันเล็กน้อยระหว่างหญิงสาวกับหญิงสูง อายุ ความต่างอยู่ที่เครื่องประดับ  ซึ่งหญิงสาวจะประดับประดามากทั้งการปักเม็ดอะลูมิเนียมลงไปที่เสื้อ หรือ  การแขวนสร้อยที่สายเป็นพวงๆ เวลาเดินเกิดเสียงโลหะกระทบกัน  ผ้าที่โพกหัวก็ตกแต่งมาก หยังหรือตะกร้าใส่ของที่อยู่ข้างหลัง ก็ใช้ไหมหรม  ทำเป็นดอกติดสีฉูดฉาดเป็นอันมาก  และเลยกลายประโยชน์จากใช้สอยใส่ของเป็นเครื่องประดับอีกชิ้นหนึ่ง  หญิง  ไทยาเกล้าผมหรือตั้งเกล้าแล้วเอาผ้าชิ้นเล็กเป็นลายเหมือนเตี่ยวปลายปักทั้ง  2 ชาย เรียกว่า โหเนี้ยว วางลงบนผมที่เกล้าไว้ ให้ปลายห้อยออกมา  แล้วเอาผ้าผืนหนึ่งพับทบให้กว้างประมาณ 5 นิ้ว  โดยมากเป็นผ้าสีมีลายเป็นทางยาว เรียกว่า วางทับลงบนผ้าโหเนี้ยว  ให้ปลายผ้าจรดที่หน้าผาก และผ้าทอดผ่านกระหม่อม  ไปทางหลังแล้วเอาผ้าสีดำอีกชิ้นหนึ่ง เรียกว่า มาพันรอบ  ที่เกล้าโดยมีผ้าโหเนี้ยวและผ้าเผี้ยว แลบออกข้างๆหู และตรงหน้าผาก  หลังจากนั้นเอาผ้าโพกที่เรียกว่าซึ่งข้างหนึ่งปักและมีพู่เรียกว่า  มาพันรอบๆ เกล้าและเหน็บให้ชายที่เป็นพู่โผล่ออกมา  ส่วนผ้าเผี้ยวนั้นทับพับขึ้นมาให้ชายหลังห้อยอยู่สัก 5 นิ้ว  และขึ้นไปเหน็บชายไว้กับฝ้ายวึ้งโห  เมื่อเสร็จแล้วผ้าโพกหัวของไทยาจะมีแลบชาย 2 ข้างหู แลบที่หน้าผาก  และห้อยข้างหลัง สรุปได้ว่าการโพกหัวของไทยามีผ้าอย่างน้อย 4 ชิ้น หญิง  ไทยาอาจใส่ตุ้มหู ซึ่งมีลักษณะใหญ่เป็นวงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว  ตุ้มหูนี้ปลายข้างหนึ่งเป็นปุ่ม อีกข้างหนึ่งงอโค้ง  เวลาใส่เอาข้างที่ไม่มีปุ่มสอดเข้าไปในรูหู ปุ่มอีกข้างจะถ่วงน้ำหนัก  ทำให้ห่วงไม่หลุดจากรูหู ตุ้มหูนี้เรียกว่า แหวนหู หรือออกเสียงว่า  เหวียนหู เสื้อของหญิงไทยา เป็น 2 ตัว ตัวในเรียกว่า เป็นเสื้อแขนกุด  คอแหลมป้ายไปข้างขวา ตรงคอปักกระดุมเงิน (อะลูมิเนียม) เป็นแถวประมาณ 3-4  แถว เสื้อนี้ผ่าข้างๆ ทางขวาติดกระดุมเม็ดใหญ่ 2-3 เม็ด  ปลายเสื้อซึ่งเป็นเสื้อตัวแคบพอดีตัว ก็ปัดเม็ดกระดุมเงิน เป็นเชิง  (เชิงนี้ถ้าเป็นหญิงสาวยังไม่มีลูกใช้ไหมปัก  แต่มีลูกแล้วปักกระดุมเงินได้)  เหนือเชิงปักเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากด้วยกระดุมเงินเป็นแถวๆ  เสื้อตัวนอกเป็นเสื้อแขนยาว แขนลีบ ปลายแขนปะผ้าเป็นขีดๆ ตัวเสื้อสั้น ๆ  จึงทำให้เห็นเสื้อตัวใน เสื้อตัวนี้เรียกว่า เสื้อหลวง หรือออกเสียงว่า  เสื้อตัวนี้ที่คอก็ประดับเหมือนกัน ผ้านุ่งในชุดของไทยา อาจมี 3 ผืน  แต่ต้องมี 2 ผืนอย่างน้อย ผืนในสุดเป็นซิ่นลาย หรือออกเสียงว่า เป็นผ้าทอ  ชายผ้าเป็นเชิงเป็นทางตามขวาง  ถ้ามีสตางค์ก็นุ่งซิ่นอีกตัวทับซิ่นตัวนี้เรียกว่า ซิ่นแพร  หรือออกเสียงว่า เสิ่นเพ๊ ซิ่นตัวนี้มีผ้าแพรประดับเป็นเชิง และมีปักบ้าง  สวยมาก มักทำเป็น 2 ชิ้น ซิ่นตัวนี้ถ้าไม่มีสตางค์ ก็ไม่ใส่ ต่อไป สวม  ซิ่น เรียกว่า ซิ่นตัวนี้สวมให้สูงกว่าเชิง  และเวลาสวมดึงข้างขวาขึ้นมาเหน็บ เพราะฉะนั้น  หญิงไทยาจึงนุ่งผ้าถุงที่มีลักษณะถกชายขึ้นมาข้างหนึ่ง  ที่เอวคาดผ้าดำตรึงไว้แล้วจึงเอาผ้าคาดเอวที่สวยเรียกว่า หัวผ้าไว  ซึ่งติดกับผ้าห้อยหน้า หรือเรียกว่า ผ้าไว  คาดทับถ้าอากาศหนาวก็จะพันแข้งด้วย ผ้าเก้า หรือออกเสียงว่า  ซึ่งถ้าเป็นของหญิงสาวก็จะปัดประดับมากมายในการประดับชุดแต่งกายนี้  หญิงไทยาประดับอย่างมาก นอกจากตุ้มหูและกำไรมือหรือที่เรียกว่าเหวียน  เขายังมีสร้อยซึ่งปลายเป็นพู่  ห้อยจากกระดุมเสื้อตัวในอ้อมไปหลังมาพาดที่ไหล่ขวา และเรียกสิ่งนี้ว่า  หมากหล้าวหาง  นอกจากนี้ทางด้านซ้ายของเสื้อตัวในตรงเชิงเสื้อที่ติดกระดุมยังอาห้อยสร้อย  เป็นพวกเรียกว่า ซึ่งประกอบด้วยไม้จิ้มฟัน  ไม้แคะหูและที่ใส่หินปูนสำหรับหมาก ข้างหลังก็อาจมีผ้าผืนเล็กๆ เรียกว่า  ห้อยอยู่อีก หญิงไทยายังอาจคาด หรือกุบมีลักษณะเป็นแผ่นกลมๆ  คล้ายจานเรดาร์ สานด้วยใบลานไว้ข้างหน้าอีกด้วย

ข้อห้ามในการแต่งกาย เวลาไปงานศพต้องใส่สีขาวไม่ประดับ และต้องลดซิ่นมึ่น ลงไปให้ชายตรงจดเชิงชองซิ่นลาย  หญิงยังไม่มีลูก เสื้อตัวในห้ามติดกระดุมเงินตุ่มเล็กๆ ที่เชิงเสื้อ เวลาไปทำนาไม่นุ่งซิ่นแพร

ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

Privacy Policy
© Faculty of Arts – All Rights Reserved 2020