การประชุมรายงานความก้าวหน้า
Meeting on the Progress with the Research

การประชุมรายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1

โครงการ "ภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยง" ได้จัดการประชุมรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานครั้งที่ 1 (ปีที่ 1) ระหว่างวันที่ 2-4 กรกฎาคม 2553 ณ ห้วยป่าปกรีสอร์ท ต.บ้านไร่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 27 คน

The Karen Linguistics Project organized the first report on the progress of its work (during its first year of operations) from July 2nd to 4th, 2010 at the Huai Pa Pok Resort in Tambon Ban Rai, Amphoe Ban Rai, Uthai Thani. There were 27 participants.

ศ.ดร.วิชัย บุญแสง ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เปิดการประชุม Professor Dr. Vichai Boonsaeng, Academic Director of The Thailand Research Fund (TRF), giving the opening speech
บรรยากาศในห้องประชุม The atmosphere in the conference room
ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) หัวหน้าโครงการและผู้วิจัยหลัก แนะนำคณะผู้วิจัยและภาพรวมของโครงการ รวมทั้งเสนอรายงานผลการวิจัย 2 เรื่อง Professor Dr. Theraphan Luangthongkum of Chulalongkorn University, Chairman of the Project and a major researcher, introducing the research team and an overall picture of the project as well as presenting two research projects
อ.ดร.วิชาติ บูรณะประเสริฐสุข (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) เสนอความก้าวหน้าในการจัดทำหนังสือประกอบภาพ "เรื่องเล่าจากชายแดนไทย-พม่า: ประการไฟทางปัญญาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน" Dr. Wichat Buranaprasertsuk of Kasetsart University, reporting on the progress of his coloured, illustrated book, Stories from the Thai-Burmese Border Area: Intellectual Sparks for Sustainable Development
อ.ดร.ศิริวิไล ธีระโรจนารัตน์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) เสนอผลงานเรื่อง "บทบาทของภูมิศาสตร์ในการศึกษาภาษากะเหรี่ยง" Dr. Sirivilai Teerarojanarat of Chulalongkorn University, giving a presentation on "The Role of Geography in Karen Studies"
ผศ.ดร.ผณินทรา ธีรานนท์ (มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง) เสนอความก้าวหน้าของโครงการย่อย "สระธรรมดาและสระนาสิกในภาษากะเหรี่ยงโป: นัยสำคัญต่อทฤษฎีวิวัฒนาการของวรรณยุกต์" Assistant Professor Dr. Phanintra Teeranon of Mae Fah Luang University, presenting her sub-project on "Oral and Nasal Vowels in Pwo Karen: Implications for Tonogenesis Theory"
ฟรองซัวส์ ลองเชลลา (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) เสนอความก้าวหน้าของโครงการย่อย "หน่วยคำเติมหน้า ʔàʔ- (TB *ʔa-) ในภาษากะเหรี่ยงโปบ้านดงดำ" François Langella of Chulalongkorn University, presenting his sub-project on "On the Prefix ʔàʔ- (TB *ʔa) in Dong Dam Pwo Karen"
อ.ดร.ชมนาด อินทจามรรักษ์ (มหาวิทยาลัยนเรศวร) เสนอความก้าวหน้าของโครงการย่อย "การแปรและการเปลี่ยนแปลงของสระและวรรณยุกต์ในภาษากะเหรี่ยงโปแพร่บ้านค้างใจ: การศึกษาทางกลสัทศาสตร์" Dr. Chommanad Intajamornrak of Naresuan University, reporting on the progress of her sub-project, "Variation and Change of Phrae Pwo Karen Vowels and Tones Spoken in Ban Khang Chai: An Acoustic Study"
ศ.ดร.สมทรง บุรุษพัฒน์ และ รศ.ดร.สุจริตลักษณ์ ดีผดุง จากสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติเป็นผู้ทรงคุณวุฒิช่วยติชมผลงาน Professor Dr.Somsonge Burusphat and Associate Professor Dr. Sujaritlak Deepadung of the Research Institute for Languages and Cultures of Asia, Mahidol University, serving as commentators for the presentations
ศ.ดร.วิชัย บุญแสง (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย) ให้ข้อเสนอแนะ Professor Dr. Vichai Boonsaeng of The Thailand Research Fund giving suggestions
อ.ดร.พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) เสนอความก้าวหน้าของโครงการย่อย "ความเข้มกับกลุ่มเสียง ร ในภาษากะเหรี่ยงสะกอ) Dr. Pittayawat Pittayaporn of Chulalongkorn University, presenting the progress of his sub-project, "Intensity of R Sounds: The Class of Rhotics in Sgaw Karen"
ห้วยป่าปกรีสอร์ท ต.บ้านไร่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี สถานที่จัดประชุม Huai Pa Pok Resort in Tambon Ban Rai, Amphoe Ban Rai, Uthai Thani, the location for the presentations
เส้นทางขึ้นเขาไปบ้านกะเหรี่ยงโป (โผล่ง, โผล่ว, โผล้ง) An uphill road to Ban Phlaung (the Pwo Karen)
เดินทางไปทัศนศึกษาที่บ้านเจ้าวัดยางแดง บ้านอีทราย และบ้านอีมาด ต.บ้านไร่ อ.บ้านไร่ On an educational tour to the house of the Spiritual Leader of Wat Yang Daeng in Ban I Sai and Ban I Mat, Tambon Ban Rai, Amphoe Ban Rai,
แม้แต่ริมทางก็มีสิ่งน่าสนใจให้หยุดศึกษาเป็นระยะ ๆ Stopping along the way to look at things of interest
ถ้าจะไปดูของดีที่บ้านโผล่งต้องลุยขี้ดินแฉะ ๆ แบบแถวเรียงหนึ่ง Walking in single file along a muddy path in the hope of seeing things of interest in Ban Phlaung (the Pwo Karen)
"นั่น...อะไรหรือครับ น่าสนใจจัง" นักวิทยาศาสตร์ (ศ.ดร.วิชัย บุญแสง) ตื่นเต้นกับเรื่องของนักมนุษยศาสตร์ "What is that? ... It looks interesting," exclaims Professor Dr Vichai Boonsaeng, a scientist getting excited by humanities research.
จะไปดูสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่บ้านอีทราย ไปทางไหนดีละนี่ พากันงงหลังจากลงรถตู้ Wondering how to get to Ban I Sai; all puzzled after getting off the van
ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับความเชื่อและประเพณีพิธีกรรมจากท่านเจ้าวัด Learning about the beliefs and rituals of the Karen from the Spiritual Leader
ท่านเจ้าวัดพาพวกเรามาชมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่บ้านอีทราย The Karen Spiritual Leader taking us on a tour of the Karen's sacred shrine in Ban I Sai
พวกเราถ่ายภาพกับท่านเจ้าวัด ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของคนโผล่งที่บ้านอีทราย Taking a photo with the Karen Spiritual Leader at the shrine of the Phlaung (the Pwo) in Ban I Sai
สาธิตวิธีย้อมเส้นด้ายด้วยสีธรรมชาติจากเปลือกไม้นานาชนิดเพื่อเอาไปทำผ้าฝ้ายทอมืออันเลื่องชื่อที่บ้านอีมาด ที่ตั้งของศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ 73 จังหวัดอุทัยธานี Demonstration of how to dye yarn/thread from natural dyes for hand-woven cloth in Ban I Mat, the location of the Social Development Center, Unit 73 Uthai Thani
ตื่นตาตื่นใจกับการทอผ้าฝ้ายพื้นเมืองด้วยกี่เอว Watching attentively how to weave cloth with a waist loom
ชี้ชวนชมให้ช่วยกันอุดหนุนสินค้าผ้าฝ้ายกะเหรี่ยงทอมือและย้อมสีธรรมชาติ Advertising Karen products made of hand-woven and naturally dyed cloth
เตรียมตัวจะไปไหนและทำอะไรกัน? Getting ready to go somewhere to do something!
ตั้งแถวแล้วเดินตามผู้นำ เดี๋ยวก็รู้เอง Getting in a line and following the leader; we shall know where to go in a minute!
เดินรอบต้นไม้ใหญ่ ขั้นตอนหนึ่งของพิธีสืบชะตา Walking clockwise around a large tree—the first step in the Life Longevity ritual
ผู้ร่วมพิธีพิงไม้ไว้ที่โคนไม้ใหญ่ Participants placing bamboo poles at the foot trunk of the large tree
ลำไม้ไผ่ที่ผู้เข้าร่วมพิธีสืบชะตานำมาวางพาดที่โคนไม้ใหญ่รวมกับกระบอกไม้ไผ่ใส่น้ำ หลังเดินรอบต้นไม้ใหญ่ 3 รอบ Bamboo poles and bamboo water containers being placed at the foot trunk of the large three after three circuits the tree
พิธีกรรมขั้นตอนสุดท้าย คือ ปักธูปหลังไหว้ที่โคนไม้ใหญ่หลังจากที่ทุกคนอธิษฐานแล้ว The ritual being rounded off by the participants, after making a wish, placing incense sticks in the ground at the foot of the tree
ช่วยแต่งตัวให้เด็ก ๆ ก่อนแสดงรำตง (รำอวยพร) และร้องเพลง Helping the young ones to get dressed before their performance of the Tong dance(Blessing Dance)and singing
การแสดงรำตง เด็กรำ ผู้ใหญ่เล่นดนตรีให้จังหวะ The Tong dance, the children dancing and the adults playing musical instruments to provide the rhythm
ผู้มาทัศนศึกษาและคนโผล่ง บ้านอีมาด ถ่ายภาพร่วมกันก่อนอำลาอาลัยด้วยมิตรไมตรี The research team and the Phlaung locals in Ban I Mat taking pictures together before saying goodbye in good spirit