นับแต่ได้จัดตั้งสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ เป็นต้นมา สถาบันได้จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง อาทิ
 ก. จัดงานฉลองเทศกาลทางวัฒนธรรมจีน เช่น เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2550 สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ ได้จัดงานชุมนุมสังสรรค์ เรียนรู้ภาษาจีนกลาง ฉลองเทศกาลไหว้พระจันทร์ มีอาจารย์และนิสิตทั้งชาวไทยและจีนเข้าร่วมงานประมาณ 50 คน |
|
ข. จัดโครงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจีน วันที่ 20-24 ตุลาคม 2550 สถาบันฯ ได้จัดโครงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในหัวข้อ รู้จักปักกิ่งด้วยภาษาจีน ให้แก่คณาจารย์และนิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อาจารย์และนิสิตผู้ร่วมโครงการในครั้งนี้ส่วนใหญ่เดินทางไปประเทศจีนเป็นครั้งแรก กล่าวว่า การได้เห็นกำแพงเมืองจีนด้วยตาตนเอง ได้สัมผัสพัฒนาการอันยิ่งใหญ่ของจีนด้วยตนเอง ทำให้ตระหนักถึงความอลังการแห่งวัฒนธรรมจีน |
|
ค. จัดการประกวดสุนทรพจน์ภาษาจีน เช่น วันที่ 4 ธันวาคม 2550 สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ จัดการประกวดกล่าวสุนทรพจน์ภาษาจีนเพื่อ เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา นิสิตที่เข้าร่วมการประกวดประมาณ 50 คน |
|
ง. จัดปาฐกถาทางวิชาการ เช่น เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2550 สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ ร่วมกับหอพระไตรปิฎกนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดปาฐกถาเรื่อง วิถีสมานฉันท์ทางศาสนาของชาวจีน ๑ , ๒๐๐ ล้าน ศาสตราจารย์ฟู่ เจิงโหย่วเป็นวิทยากร อาจารย์ นิสิตและผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมฟังประมาณ 40 กว่าคน ผู้เข้าร่วมงานต่างหวังว่าสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯจะสามารถจัดปาฐกถาทางวิชาการเช่นนี้อีกในอนาคต |
|
จ. เข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการ เช่น เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2550 อาจารย์ ดร. สุรีย์ ชุณหเรืองเดช กรรมการบริหารสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ และศาสตราจารย์ฟู่ เจิงโหย่ว ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ ฝ่ายจีน ได้เข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง การเรียนการสอนภาษาจีนในระดับชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนจีน ซึ่งศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดในวันที่ 19 ตุลาคม 2550 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เชิญศาสตราจารย์ฟู่ เจิงโหย่ว ไปบรรยายเรื่อง การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมจีนกับค่านิยมของคนจีน ในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง ความเชื่อและการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน |
|