เนื่องด้วยมีการจัดกิจกรรม “CU Open House 2024” กิจกรรมเปิดบ้านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 20-21 มกราคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ชมรมนาฏศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดการแสดง “นาฏศิลป์ร่วมสมัย ชุด สยาม” ในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 10.30 น. และ “ละครนอก เรื่อง ไกรทอง ตอน พ้อบน” ในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 10.45 น. ณ เวทีกลาง ใต้โถง อาคารมหา-จักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกชมรมได้แสดงทักษะความสามารถด้านนาฏศิลป์ไทยที่ผ่านการเรียนและการฝึกซ้อมมาอย่างดี และเพื่อเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมไทยให้แก่นักเรียนและบุคคลทั่วไปที่มาร่วมงาน ให้ได้รับชมการแสดงสุดพิเศษในครั้งนี้ ฝึกซ้อมการแสดงโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์คมคาย กลิ่นภักดี และอาจารย์พัชรินทร์ จันทรัดทัต
การแสดง “นาฏศิลป์ร่วมสมัย ชุด สยาม” เป็นการนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ที่พัฒนาต่อยอดจากการแสดงชุดระบำโบราณคดี 5 สมัย ประกอบด้วย ระบำทวารวดี ระบำศรีวิชัย ระบำลพบุรี ระบำเชียงแสน และระบำสุโขทัย ผู้แสดงรับบทเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวความรุ่งเรืองของไทยในแต่ละยุค ผ่านกระบวนท่ารำนาฏศิลป์ไทยที่สร้างสรรค์ให้เข้ากับบทเพลงสมัยใหม่ อีกทั้งการแสดงชุดนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงการเรียนการสอนเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และอารยธรรมไทยในคณะอักษรศาสตร์ด้วย แสดงโดย นางสาวกิรณา หยู่ทอง นางสาวขวัญปรียา อนุกูล นางสาวธีนิดา ทรัพยาสาร นางสาวพิชญาภา อ่วมบุญ และนางสาววริฏฐา พฤกษารักษ์
การแสดง “ละครนอก เรื่อง ไกรทอง ตอน พ้อบน” เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธ-เลิศหล้านภาลัย เรียบเรียงบทโดย อาจารย์ปราณี สำราญวงศ์ บรรจุเพลงโดย นางท้วม ประสิทธิกุล ตอนที่เลือกมาแสดงนี้เป็นตอนที่ไกรทองหวนคิดถึงนางวิมาลา จึงลงไปพานางขึ้นอาศัยอยู่ด้วยกันบนบก สร้างความไม่พอใจให้นางตะเภาแก้วและนางตะเภาทองผู้เป็นภรรยา เกิดการทะเลาะตบตีจนนางวิมาลาโมโหกลายร่างเป็นจระเข้กลับลงไปยังถ้ำใต้น้ำดังเดิม เป็นตอนที่มีความสนุกจัดจ้านครบรสสมเป็นละครนอก มีทั้งความรัก ความหลง ความหึงหวง ความโกรธ และความเศร้า อยู่ในตอนเดียวกัน เหมาะแก่การนำมาแสดงเพื่อสร้างความบันเทิงแก่ผู้มาร่วมงาน อีกทั้งผู้ชมยังได้เรียนรู้เรื่องราวนิทานพื้นเมืองของจังหวัดพิจิตรผ่านบทละครนอกของรัชกาลที่ 2 ด้วย แสดงโดย นางสาวขวัญปรียา อนุกูล นางสาวจิตรลดา เทียนสวัสดิ์ นายฐิษะบรรณ บุญรัตน์ นายธิติ ตันพิสุทธิ, นางสาวเนตรนภา ฉายโอภาส นายวิสุทธิ์ ปัญญวรญาณ และนายอภินันท์ กองกันทะ
.
Thai Dance Club of Faculty of Arts, Chulalongkorn, proudly presents
“Thai Contemporary Dance: Siam” and “Lakhon nok: Kraitong, Por Bon chapter”
Contemporary archaeological dance and Lakhon nok in the Faculty of Arts style
On the occasion of “CU Open House 2024” that was held on 20-21 January, 2024, Thai Dance Club of Faculty of Arts, Chulalongkorn University performed “Thai Contemporary Dance: Siam” on January 20, 2024 at 10.30 a.m. and “Lakhon nok: Krai Thong, Por Bon chapter” on January 21, 2024 at 10.45 a.m. at the hall center, under the Maha Chakri Sirindhorn Building, faculty of arts. These performances, that were intricately taught by Asst.Prof.Komkai Klinpakdee and Ajarn Pudcharin Juntaratat, open a chance for the members of the club to show their potential and share Thai art and culture to students and the public.
“Thai Contemporary Dance: Siam” is a creative dance that was eveloped from the performance from 5 periods of Thailand, consisting of the Dvaravati dance, the Srivijaya dance, the Lopburi dance, the Chiang Saen dance, and the Sukhothai dance. The actors play the role of conveyors of the stories of the prosperity of Thailand in each era. Performed by Ms. Kirana Yuthong, Ms. Khwanpreeya Anukul, Ms. Teenida Sappayasarn, Ms. Pichayapa Aoumboon and Ms Warittha Pruksarak.
“Lakhon nok: Kraitong, Por Bon chapter” is a royal show that written by His Majesty King Buddha-Lertlanaphalai. The script was composed by Acharn Pranee Samranwong, with music by Mrs. Tuam Prasitthikul. The chapter for this performance was when Kraithong went down underwater cave and brought Wimala, his lover, to live together on land. It’s an episode that’s full of fun and spice, worthy of a foreign drama. There’s love, lust, jealousy, anger, and sadness all in this one scene. Performed by Ms. Kwanpreeya Anukul, Ms. Chitralada Thiensawat, Mr. Tisaban Boonyarat, Mr. Thiti Tanpisut, Ms. Netnapa Chai-o-pas, Mr. Wisutt Panyaworayan and Mr. Aphinun Kongkanta
.
ติดตามชมรมนาฏศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทาง
Facebook: ชมรมนาฏศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Instagram: arts_rumthai