การแสดงชมรมนาฏศิลป์ในวันเปิดโลกกิจกรรมอักษรฯ 2568

เนื่องในวันเปิดโลกกิจกรรมอักษรฯ 2568 (Arts Open House 2025) เมื่อวันที่ 6-7 เมษายน พ.ศ. 2568 ที่ผ่านมา ชมรมนาฏศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดการแสดง “ฟ้อนลาวคำหอม”  และ “ละครนอก เรื่อง สุวรรณหงส์ ตอน ชมถ้ำ” ณ เวทีกลาง ใต้โถงอาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์คมคาย กลิ่นภักดี และอาจารย์ ดร.ณรงค์ฤทธิ์ เชาว์กรรม เป็นผู้ฝึกซ้อมในครั้งนี้

การแสดง “ฟ้อนลาวคำหอม” เป็นการแสดงทางนาฏศิลป์ประกอบบทเพลงลาวคำหอม มีที่มาจากเพลงที่แต่งร้องอวดกันในการเล่นสักวา ทำนองและคำร้องฉบับปัจจุบันประพันธ์โดย พระประสานดุริยะศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เนื้อหาเป็นนัยอุทธาหรณ์สอนความรักถึงการมุ่งหมายปองต่อหญิงสาวที่อยู่สูงเหนือเกินกว่าจะเอื้อมถึงได้ สอดแทรกผ่านสัญลักษณ์ต่าง ๆ ภายในบทเพลง มีทำนองเพลงอันไพเราะชวนฝันเข้ากับการสื่อสารเรื่องราวความรักเป็นอย่างดียิ่ง ถ่ายทอดคู่ไปกับท่วงท่าการรำอันอ่อยช้อยงดงามเข้ากันระหว่างผู้แสดงชายหญิง

 แสดงโดย นางสาวณิชาพัชร์ บุญรอด, นางสาวนิชาภา ปิณฑะสิริ, นายวิสุทธิ์ ปัญญวรญาณ และนายอภินันท์ กองกันทะ

การแสดง “ละครนอก เรื่อง สุวรรณหงส์ ตอน ชมถ้ำ” เป็นบทพระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ตอนที่เลือกมาแสดงนี้เป็นหนึ่งในตอนที่ได้รับความนิยมของละครนอก เรื่อง สุวรรณหงส์ เนื้อเรื่องในตอนดังกล่าวเล่าถึงเมื่อพระสุวรรณหงส์ได้เกิดความสงสัยต่อพราหมณ์ผู้ชุบชีวิต (นางเกศสุริยงปลอมตัว) เพราะเขาช่างดูละม้ายคล้ายนางเกศสุริยงที่ได้พลัดพรากจากกัน พระองค์จึงคิดอุบายพาไปชมถ้ำเพชรพลอยเพื่อจับพิรุธ เป็นตอนที่นำเสนอความสวยงามตระการตาประหนึ่งยกถ้ำเพชรพลอยมาไว้กลางเวที บวกกับลีลาการเข้าพระเข้านางของพระสุวรรณหงส์และนางเกศสุริยง อีกทั้งยังมีพราหมณ์โตคอยเติมเต็มความสนุกสนานให้กับการแสดง 

แสดงโดย นายคณรัตน์ หอมทิพย์ รับบท พระสุวรรณหงส์, นางสาวขวัญปรียา อนุกูล รับบท พราหมณ์เล็ก (เกศสุริยง) และนายฐิษะบรรณ บุญรัตน์ รับบท พราหมณ์โต (กุมภณฑ์) ร่วมด้วยมณีนพรัตน์ทั้งเก้า ได้แก่ นางสาวจิตรลดา เทียนสวัสดิ์, นางสาวณิชาพัชร์ บุญรอด, นางสาวนิชาภา ปิณฑะสิริ, นางสาวเบญญาภา พลายด้วง, นางสาวปานวาด สมบูรณ์, นางสาวพทันยา กันณรงค์, นางสาวพิชญาภา อ่วมบุญ, นางสาววริฏฐา  พฤกษารักษ์ และนางสาวอมรลดา กสินาชีวะ

 On  Arts Open House 2025 held during 6-7th April 2025, Thai Traditional Dance Club of Faculty of Arts, Chulalongkorn University performed “Fon Lao Kham Hom” and “Lakhon Nok Suwannahong: Chom Tham” at Maha Chakri Sirindhorn Building, Faculty of Arts. These performances, supervised by Asst.Prof.Komkai Klinpakdee and Ajarn Dr.Narongrit Chaokam, provided members of the club with opportunity to show their potential and present Thai art and culture to participants of the event.

 

“Fon Lao Kham Hom” is a Thai traditional dance synchronized with a song named Lao Kham Hom, which originated from a ballad sung to showcase the ability of a performer during Sakkawa, a Thai traditional recreation activity. The current melody and lyrics of Lao Kham Hom were composed by Phraprasanduriyasup (Plaek Prasansup). The theme of this song implies a cautionary tale about a man aiming to pursue a woman of a higher social status, represented through metaphors about nature. The dream-like melody suits their love story perfectly, working its magic alongside with the delicate choreography of male and female performers. The dance was performed by Mr. Aphinun Kongkanta, Mr. Wisutt Panyaworayan Ms. Nichapa Pindasiri, and Ms. Nichapatch Boonrod.

“Lakhon Nok Suwannahong: Chom Tham” is a play by His Royal Highness Prince Tinkorn (Bhuvanetra Narindarariddhi). The story of this chapter begins when Phra Suwannahong becomes suspicious of Little Brahmin and decides to take the two Brahmins (Big Brahmin and Little Brahmin) to visit a cave full of gemstones in order to prove whether Little Brahmin is his beloved in disguise or not. The performance radiates glamour as if the venue were indeed adorned with gemstones. The pas de deux between the two protagonists, together with Kumphon (Big Bramin), fulfills the stage with vivacity. The cast includes Mr. Kanarat Homthip—Phra Suwannahong, Ms. Kwanpreeya Anukul—Little Brahmin (Ketsuriyong), Mr. Tisaban Boonyarat—Big Brahmin (Kumphon), along with the nine perfomers of the Navaratna: Ms. Amonrada Kasinacheva, Ms. Benyapa Plaiduang, Ms. Chitralada Thiensawat, Ms. Nichapa Pindasiri, Ms. Nichapatch Boonrod, Ms. Panwad Somboon, Ms. Patanya Kannarong, Ms. Pichayapa Aoumboon and Ms. Warittha Pruksarak.

 

ติดตามผลงานของชมรมเพิ่มเติมได้ที่

Facebook: ชมรมนาฏศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Instagram: arts_rumthai

YouTube Channel: Arts Rumthai