บทวิจารณ์รางวัลชนะเลิศ เรื่อง “ด้วยพระนามของพระเจ้า เรากำลัง ‘กัดกิน’ สิ่งใดในนามของพระองค์?”
ของ วริศ ดาราฉาย (ดวงใจวิจารณ์ 66)
“การวิจารณ์ ไม่ได้เป็นเพียงการอ่านหนังสือสักเล่มหนึ่ง แล้วแสดงความคิดเห็นด้วยการใช้เหตุผลอย่างเป็นระบบเท่านั้น หากเป็นการนำ ‘ตัวตน’ ของผู้วิจารณ์ เข้าไปพูดคุยและค้นหาบางสิ่งในโลกของตัวบทวรรณกรรม เช่นนั้นแล้ว งานวิจารณ์สักเรื่องหนึ่งจึงเป็นทั้งภาพสะท้อนความคิด ความรู้สึกของผู้วิจารณ์ และยังเป็น ‘โลก’ ที่หลอมรวมตัวตนของผู้วิจารณ์และตัวบทเข้าไว้
การวิจารณ์จึงเป็นเรื่องน่าสนใจ น่าค้นหา ลุ่มลึก
และสะท้อน ‘ตัวตน’ ของเราต่อ ‘โลก’ ไปได้พร้อม ๆ กัน”
— วริศ ดาราฉาย นิสิตระดับปริญญาตรี ภาควิชาภาษาไทย —
ผู้เขียนบทวิจารณ์เรื่อง
ด้วยพระนามของพระเจ้า เรากำลัง “กัดกิน” สิ่งใดในนามของพระองค์? :
ว่าด้วย “ศาสนา” และ “ผู้คน” ในรวมบทกวีนิพนธ์ “กัดกินฉันอีกสักคำสิ”ของ สันติพล ยวงใย
รางวัลชนะเลิศ
การประกวดบทวิจารณ์วรรณกรรมและสื่อร่วมสมัยดีเด่น “ดวงใจวิจารณ์” ปี 2566
จัดโดย สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กองทุนศรีบูรพา
และ เพจ “ดวงใจวิจารณ์”
(อ่านต่อที่นี่)
บทวิจารณ์รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 เรื่อง “บทบาทเมีย-แม่-เทพเจ้า ของ “ตุ๊กตายางเจ้าแม่” ในศาลตะเคียนใต้ร่มโพธิ์” ของอัศวุธ อุปติ (ดวงใจวิจารณ์ 66)
“บทวิจารณ์เรื่อง ‘บทบาทเมีย-แม่-เทพเจ้า ของ ‘ตุ๊กตายางเจ้าแม่’ ในศาลตะเคียนใต้ร่มโพธิ์’
เป็นบทวิจารณ์ที่มิได้พยายามไล่ตามนักเขียนให้ทัน ผมเพียงทำหน้าที่ผู้กองเฮสติงค์สมัยยังเป็นมือใหม่
ผู้เสาะหาหลุมรอยมาให้ผู้อ่านท่านต่อ ๆ ไปได้ลองทำหน้าที่เป็นแอร์กูล ปัวโรต์
ในนวนิยายสืบสวนเลื่องชื่อของอกาธา คริสตี”
— อัศวุธ อุปติ นิสิตระดับปริญญาตรี ภาควิชาภาษาไทย —
ผู้เขียนบทวิจารณ์เรื่อง
บทบาทเมีย-แม่-เทพเจ้า ของ “ตุ๊กตายางเจ้าแม่” ในศาลตะเคียนใต้ร่มโพธิ์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2
การประกวดบทวิจารณ์วรรณกรรมและสื่อร่วมสมัยดีเด่น “ดวงใจวิจารณ์” ปี 2566
จัดโดย สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กองทุนศรีบูรพา
และ เพจ “ดวงใจวิจารณ์”
(อ่านต่อที่นี่)
บทวิจารณ์ผ่านการคัดสรร เรื่อง “กรุ่นกลิ่นชา การเดินทาง และการเติบโต ใน ต้นไม้/ใบหญ้า/น้ำชา/แสงแดด” ของ เทวบุตร เทพนรินทร์ (ดวงใจวิจารณ์ 66)
“ในแง่หนึ่งบทวิจารณ์ก็เปรียบได้กับผลงานชีวประวัติขนาดย่อมที่ผู้วิจารณ์ประพันธ์กลับถึงผู้เขียน
ผ่านการพิจารณ์อย่างลึกซึ้งยิ่งยวดเพื่อพบพานและสนทนากับตัวตนอันแฝงเร้นอยู่เบื้องหลังตัวบทวรรณกรรม โดยหมายจะชี้ชวนให้ผู้อ่านเล็งเห็นซึ่งภูมิชีวิตและจิตภาพของผู้เขียน
ที่ได้กลั่นกรอง ผูกโยง ร้อยเรียง และอำพรางเอาไว้”
— เทวบุตร เทพนรินทร์ นิสิตระดับปริญญาตรี ภาควิชาภาษาไทย —
ผู้เขียนบทวิจารณ์เรื่อง
กรุ่นกลิ่นชา การเดินทาง และการเติบโต ใน ต้นไม้/ใบหญ้า/น้ำชา/แสงแดด
ผลงาน “ผ่านการคัดสรร” (รอบแรก)
การประกวดบทวิจารณ์วรรณกรรมและสื่อร่วมสมัยดีเด่น “ดวงใจวิจารณ์” ปี 2566
จัดโดย สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กองทุนศรีบูรพา
และ เพจ “ดวงใจวิจารณ์”
(อ่านต่อที่นี่)