การเผยแพร่ความรู้
 
 
การเยี่ยมชมหอพระไตรปิฎกนานาชาติ
 

การอัญเชิญพระไตรปิฎกฉบับไทยใหญ่
วันที่ 15 ตุลาคม 2552  คณะชาวไทยใหญ่ร่วมอัญเชิญพระไตรปิฎกฉบับไทยใหญ่  ต้นฉบับตัวเขียนพับสาอันเป็นฉบับเก่าแก่หายาก  และฉบับจัดพิมพ์ด้วยอักษรไทยใหญ่ซึ่งมีการจัดพิมพ์เพียงครั้งเดียวในโลก ประดิษฐาน ณ หอพระไตรปิฎกนานาชาติ

 
โครงการ Perspectives on Thailand : Education, Development and Globalization
เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๑ ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำคณะอาจารย์และนักศึกษาจาก Stanford University ประเทศสหรัฐอเมริกา ในโครงการ Perspectives on Thailand : Education, Development and Globalization จำนวน ๑๙ คน เข้าเยี่ยมชมหอพระไตรปิฎกนานาชาติ
 
 
โครงการ Perspectives on Thailand
เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำคณะอาจารย์และนักศึกษาจาก San Diego State University ประเทศสหรัฐอเมริกา ในโครงการ Perspectives on Thailand จำนวน ๑๔ คน เข้าเยี่ยมชมหอพระไตรปิฎกนานาชาติ และอบรมการทำสมาธิเบื้องต้น
 
โครงการนำร่องการพัฒนานักอักษรศาสตร์รุ่นใหม่
เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ โครงการนำร่องการพัฒนานักอักษรศาสตร์รุ่นใหม่ นำนักเรียนรุ่นที่ ๒ ของโครงการเข้าเยี่ยมชมหอพระไตรปิฎกนานาชาติ
 
 
อาจารย์และนักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๑ คณะอาจารย์และนักเรียน จำนวน ๕ คน จากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เข้าเยี่ยมชมหอพระไตรปิฎกนานาชาติ
 
ชมรมศาสนาและวัฒนธรรมไทย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๑ คณะนักเรียนจากชมรมศาสนาและวัฒนธรรมไทย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จำนวน ๑๐ คน เข้าศึกษาดูงานเกี่ยวกับพระไตรปิฎก และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
 
 
อาจารย์จากมหาวิทยาลัย Durham ประเทศอังกฤษ
เมื่อวันที่ ๑๒ ต.ค. ๒๕๕๐ เวลา ๑๖.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. อาจารย์จากมหาวิทยาลัย Durham ประเทศอังกฤษ จำนวน ๓ คน ได้แก่ Dr.Douglas Halliday (Dean of Graduate School, Academic staff of the Department of Physics) , Prof. Joy Palmer (Academic staff of the School of education) และ Prof.David E. Cooper (Academic staff of the Department of Philosophy) เข้าเยี่ยมชมหอพระไตรปิฎกนานาชาติและหารือแนวทางการจัดทำโครงการแลกเปลี่ยนพระพุทธศาสนาทางไกลไปจังหวัดน่าน
 
 
ศาสตราจารย์ อิฌิอิ โยะเนะโอะ
เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ศาสตราจารย์ อิฌิอิ โยะเนะโอะ ผู้ได้รับพระราชทานปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๙ เข้าเยี่ยมชมหอพระไตรปิฎกนานาชาติ
 
คณาจารย์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม
    เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๐ สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำคณาจารย์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม จำนวน ๔๐ คน เข้าเยี่ยมชมหอพระไตรปิฎกนานาชาติ
 
ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ
   เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๐ พล.อ.โสภณ เวคะวากยานนท์ ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมและ ดร.รุ่งเรือง ลิ้มชูปฏิภาณ์ ที่ปรึกษาสำนักงานพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ เข้าเยี่ยมชมหอพระไตรปิฎกนานาชาติ และปรึกษาเรื่องการพัฒนา E - Buddhism (สื่ออิเล็กทรอนิกส์พระพุทธศาสนา) กับประธานหอพระไตรปิฎกนานาชาติ
 
นายกพุทธสมาคมแห่งรัฐยูนนาน
   เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๙   เจ้าแสงเมือง เชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งสิบสองปันนา (เจ้าหม่อมคำลือ) นายกพุทธสมาคมแห่งรัฐยูนนาน รองนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศจีน และคณะ พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.วิริยา พึ่งทอง จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าเยี่ยมชมหอพระไตรปิฎกนานาชาติ
 
คณะแม่ชีจากวัดปทุมวนาราม
   เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๙ คณะแม่ชีจากวัดปทุมวนาราม เข้าเยี่ยมชมหอพระไตรปิฎกนานาชาติ
 
หัวหน้าภาควิชาจาก The University of Chicago และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์จาก University of California เยี่ยมชมหอพระไตรปิฎกนานาชาติ และขอสัมภาษณ์ อาจารย์แม่ชีวิมุตติยา เรื่อง "บทบาทแม่ชีในฐานะผู้นำการศึกษาพระไตรปิฎกและพระพุทธศาสนาในสถาบันอุดมศึกษาชั้นสูงของประเทศ"
   เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ศาสตราจารย์ Steven Collins หัวหน้าภาควิชา South Asian Languages and Civilizations, University of Chicago และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Justin T. McDaniel แห่งภาควิชา Religious Studies, University of California ได้เยี่ยมชมหอพระไตรปิฎกนานาชาติ และขอสัมภาษณ์ อาจารย์แม่ชีวิมุตติยา (รองศาสตราจารย์ ดร.สุภาพรรณ  ณ บางช้าง) ประธานหอพระไตรปิฎกนานาชาติ เรื่อง "บทบาทแม่ชีในฐานะผู้นำการศึกษาพระไตรปิฎกและพระพุทธศาสนาในสถาบันอุดมศึกษาชั้นสูงของประเทศ"
 
คณะสงฆ์จากมหาวิทยาลัยอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา
     
คณะผู้แทนจากอุปซาลา (Uppsala) ประเทศสวีเดน
     
คณะนักศึกษาโครงการ Perspectives on Thailand 2006 และอาจารย์จาก San Diego University
     
     
คณาจารย์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (มหาวิทยาลัยแห่งชาติ) ประเทศเวียดนาม
     
Assoc. Prof. Takeshi Kimura  Ph.D. จาก University of Tsukuba   Graduate School of Humanities and Social Sciences
 
     
     

 

 

หอพระไตรปิฎกนานาชาติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชั้น ๒ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ถนนอังรีดูนังต์ พญาไท กทม. ๑๐๓๓๐

โทรศัพท์ / โทรสาร   ๐ - ๒๒๑๘ - ๔๙๑๖
E-mail : inter_tipitaka@chula.ac.th

page hit counter