ประวัติศูนย์คติชนวิทยา

          ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้ง “ศูนย์คติชนวิทยา” ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางคติชนวิทยา (Folklore) ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ครอบคลุมการศึกษาเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน เพลงพื้นบ้าน การละเล่น การแสดงพื้นบ้าน ศิลปะพื้นบ้าน ความเชื่อ พิธีกรรม และประเพณีพื้นบ้าน อันมีระเบียบวิธีและทฤษฎีเป็นของตนเอง เพื่อแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ ตลอดจนจัดกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับข้อมูลทางคติชนอันจะทำให้เข้าใจวิถีชีวิตชาวบ้านในสังคมวัฒนธรรม ซึ่งจะเป็นการเสริมเติมเต็มองค์ความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

          เมื่อจัดตั้งศูนย์คติชนวิทยาแล้ว ในปีเดียวกันได้มีการจัดประชุมวิชาการระดับชาติเรื่อง “มองคติชน เห็นชาวบ้าน” การประชุมวิชาการในครั้งนั้นมีนักคติชนวิทยาจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศไทยมาร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดเครือข่ายทางวิชาการและมีการจัดทำ “ทำเนียบนักคติชนวิทยาไทย” ขึ้นเป็นครั้งแรก

          ต่อมา ศูนย์คติชนวิทยาร่วมมือกับภาควิชาภาษาไทย และโครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ในการผลิตตำราทางคติชนวิทยาใน “ชุดคติชนวิทยา” เพื่อใช้ในการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรีปริญญาโท และปริญญาเอก ตลอดจนการพิมพ์เผยแพร่วิทยานิพนธ์ของนิสิตในระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้ประยุกต์แนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ ทางคติชนวิทยาในการวิเคราะห์ข้อมูลคติชนซึ่งก็มีหนังสือในชุดนี้ต่อเนื่องเรื่อยมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒ จนถึงปัจจุบัน

          กรรมการบริหารศูนย์คติชนวิทยาประกอบด้วยคณาจารย์ในคณะอักษรศาสตร์จากหลายภาควิชาเพื่อขยายให้ศูนย์คติชนวิทยามีความเป็น “คติชนนานาชาติ” มากยิ่งขึ้น และได้มีการจัดประชุม “คติชนเสวนา” มาอย่างต่อเนื่องเพื่อนำเสนอข้อมูลวิจัยใหม่ๆ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับคติชนวิทยาและคติชนในสังคมต่าง ๆ ให้แก่ผู้สนใจทั่วไป โดยตระหนักดีว่า มีกลุ่มชนและวิถีวัฒนธรรมใหม่ ๆ ที่น่าสนใจศึกษาเพิ่มมากขึ้น

          ปัจจุบัน เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัล ศูนย์คติชนวิทยาก็ยังคงมีพันธกิจสำคัญในการศึกษาวิจัยและเผยแพร่ความรู้ในหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการผ่านสื่อสมัยใหม่ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางคติชนวิทยาสืบต่อไป

 

ผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์คติชนวิทยา ได้แก่

          ๑. ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ศิราพร ณ ถลาง (พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๕๐)

          ๒. ศาสตราจารย์กิตติคุณ สุกัญญา สุจฉายา (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๗)

          ๓. รองศาสตราจารย์ ดร.ชมนาด ศีติสาร (พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๖๒)

          ๔. รองศาสตราจารย์ ดร.ปรมินท์ จารุวร (พ.ศ. ๒๕๖๒- ปัจจุบัน)

 

วัตถุประสงค์ของศูนย์คติชนวิทยา

          ๑. เป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้าวิจัยข้อมูลคติชนทุกประเภท เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่จะทำให้เข้าใจระบบความคิด ความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนในสังคมต่าง ๆ

          ๒. เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความรู้และเผยแพร่ผลงานค้นคว้าวิจัยทางคติชนวิทยาของนักคติชนวิทยาในประเทศและต่างประเทศ

          ๓. เป็นศูนย์ประสานงานในการจัดอบรม การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาและกิจกรรมทางวิชาการอื่น ๆ ที่ใช้ระเบียบวิธีหรือที่เกี่ยวกับคติชนวิทยา

          ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้ง “ศูนย์คติชนวิทยา” ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางคติชนวิทยา (Folklore) ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ครอบคลุมการศึกษาเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน เพลงพื้นบ้าน การละเล่น การแสดงพื้นบ้าน ศิลปะพื้นบ้าน ความเชื่อ พิธีกรรม และประเพณีพื้นบ้าน อันมีระเบียบวิธีและทฤษฎีเป็นของตนเอง เพื่อแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ ตลอดจนจัดกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับข้อมูลทางคติชนอันจะทำให้เข้าใจวิถีชีวิตชาวบ้านในสังคมวัฒนธรรม ซึ่งจะเป็นการเสริมเติมเต็มองค์ความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

          เมื่อจัดตั้งศูนย์คติชนวิทยาแล้ว ในปีเดียวกันได้มีการจัดประชุมวิชาการระดับชาติเรื่อง “มองคติชน เห็นชาวบ้าน” การประชุมวิชาการในครั้งนั้นมีนักคติชนวิทยาจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศไทยมาร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดเครือข่ายทางวิชาการและมีการจัดทำ “ทำเนียบนักคติชนวิทยาไทย” ขึ้นเป็นครั้งแรก

          ต่อมา ศูนย์คติชนวิทยาร่วมมือกับภาควิชาภาษาไทย และโครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ในการผลิตตำราทางคติชนวิทยาใน “ชุดคติชนวิทยา” เพื่อใช้ในการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรีปริญญาโท และปริญญาเอก ตลอดจนการพิมพ์เผยแพร่วิทยานิพนธ์ของนิสิตในระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้ประยุกต์แนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ ทางคติชนวิทยาในการวิเคราะห์ข้อมูลคติชนซึ่งก็มีหนังสือในชุดนี้ต่อเนื่องเรื่อยมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒ จนถึงปัจจุบัน

          กรรมการบริหารศูนย์คติชนวิทยาประกอบด้วยคณาจารย์ในคณะอักษรศาสตร์จากหลายภาควิชาเพื่อขยายให้ศูนย์คติชนวิทยามีความเป็น “คติชนนานาชาติ” มากยิ่งขึ้น และได้มีการจัดประชุม “คติชนเสวนา” มาอย่างต่อเนื่องเพื่อนำเสนอข้อมูลวิจัยใหม่ๆ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับคติชนวิทยาและคติชนในสังคมต่าง ๆ ให้แก่ผู้สนใจทั่วไป โดยตระหนักดีว่า มีกลุ่มชนและวิถีวัฒนธรรมใหม่ ๆ ที่น่าสนใจศึกษาเพิ่มมากขึ้น

          ปัจจุบัน เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัล ศูนย์คติชนวิทยาก็ยังคงมีพันธกิจสำคัญในการศึกษาวิจัยและเผยแพร่ความรู้ในหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการผ่านสื่อสมัยใหม่ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางคติชนวิทยาสืบต่อไป

 

ผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์คติชนวิทยา

ได้แก่

          ๑. ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ศิราพร ณ ถลาง (พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๕๐)

          ๒. ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๗)

          ๓. รองศาสตราจารย์ ดร.ชมนาด ศีติสาร (พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๖๒)

          ๔. รองศาสตราจารย์ ดร.ปรมินท์ จารุวร (พ.ศ. ๒๕๖๒- ปัจจุบัน)

วัตถุประสงค์ของศูนย์คติชนวิทยา

          ๑. เป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้าวิจัยข้อมูลคติชนทุกประเภท เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่จะทำให้เข้าใจระบบความคิด ความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนในสังคมต่าง ๆ

          ๒. เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความรู้และเผยแพร่ผลงานค้นคว้าวิจัยทางคติชนวิทยาของนักคติชนวิทยาในประเทศและต่างประเทศ

          ๓. เป็นศูนย์ประสานงานในการจัดอบรม การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาและกิจกรรมทางวิชาการอื่น ๆ ที่ใช้ระเบียบวิธีหรือที่เกี่ยวกับคติชนวิทยา