เล่าเรื่อง – เรื่องเล่า

เล่าเรื่อง - เรื่องเล่า

ข้อเขียนของ ศ.กิตติคุณ ดร. ศิราพร ณ ถลาง เนื่องในโอกาสการเปิดตัวเว็บไซต์ https://www.arts.chula.ac.th/folklore/ ของ ศูนย์คติชนวิทยา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ลาตินอเมริกาเป็นภูมิภาคแห่งความหลากหลายทางชาติพันธุ์อันเป็นผลสืบเนื่องจากการปกครองในยุคอาณานิคม การยึดครองของจักรวรรดิยุโรปนำสู่การ “ปะทะ” ทางวัฒนธรรมของผู้คนจาก ๓ ทวีป คือ ผู้พิชิตชาวยุโรป ชนพื้นเมืองในอเมริกาและทาสจากอัฟริกา โดยสองกลุ่มหลังถูกเบียดขับให้กลายเป็น “ชนชายขอบ” ของสังคม คนเหล่านี้คือเจ้าของคลังข้อมูลคติชนอันทรงคุณค่า ทั้งตำนาน เรื่องเล่า และความเชื่อเหนือจริงที่ถ่ายทอดผ่านความทรงจำของลูกหลานรุ่นแล้วรุ่นเล่า…

ผมอ่านหนังสือ “ส่องชาติ ชีวิตศิลปินของ คุณครูส่องชาติ ชื่นศิริ” ที่ผู้เขียนคือ ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล ฝากมาให้แล้ว ประทับใจมาก รู้สึกได้ว่าความเคารพรักและผูกพันระหว่างครูกับศิษย์เป็นคุณค่าอันยิ่งใหญ่ อยู่เหนือกายสังขาร และอยู่เหนือกาลเวลา…

นักเรียนเขียนเรื่อง

คติชนวิทยากับประวัติศาสตร์เป็นสาขาความรู้ที่มีความคาบเกี่ยวเหลื่อมซ้อนกัน นักคติชนและนักประวัติศาสตร์ต่างก็สนใจวิถีชีวิตและพยานหลักฐานทางวัฒนธรรมของผู้คนในอดีตทั้งที่ถ่ายทอดทางมุขปาฐะ ลายลักษณ์อักษร หรือวัตถุรูปธรรม แม้นักวิชาการสองกลุ่มนี้จะไม่ใคร่มีปฏิสัมพันธ์กันเท่าใดนัก ทว่าแขนงวิชาดังกล่าวมีศักยภาพที่จะเกื้อกูลส่งเสริมกัน…