เรื่อง การพัฒนางานวิจัยในด้านการปฏิสัมพันธ์: กรณีของการเมืองเรื่องวัฒนธรรมและการศึกษาผู้ย้ายถิ่น

Developing research in interactions: In the cases of cultural politics and migrant studies

Download บทสรุปในรูปแบบ pdf

การบรรยายครั้งนี้ ศาสตราจารย์ชิน ได้แบ่งปันประสบการณ์การทำวิจัยเชิงคุณภาพ โดยถ่ายถอดผ่านมุมมองเรื่องราวการพัฒนาเมืองภายใต้มิติที่แตกต่างกันของประวัติศาสตร์การเมืองและวัฒนธรรม รวมถึงประเด็นการดำรงรักษาอัตลักษณ์ของผู้ย้ายถิ่นในต่างแดน ตลอดจนข้อแนะนำในการตีพิมพ์ผลงานวิจัย และเทคนิคการเก็บข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์มนุษย์ในงานภาคสนาม โดยมีประเด็นสำคัญที่น่าสนใจ สามารถสรุปได้ดังนี้

1) การทำวิจัยและการตีพิมพ์ผลงาน ผู้วิจัยควรทำความเข้าใจในประเด็นต่าง ๆ ต่อไปนี้

การเข้าใจโครงสร้างของการเขียนงานแต่ละประเภท

ในส่วนนี้ศาสตราจารย์ชิน ได้ให้คำแนะนำเบื้องต้นในการเขียนบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ผลงาน ว่าผู้วิจัยควรทำความเข้าใจโครงสร้างและรูปแบบของบทความเบื้องต้นก่อนว่ามีลักษณะอย่างไร เช่น มีวัตุประสงค์ รูปแบบ และกลุ่มเป้าหมายอย่างไร ควรพิจารณาเลือกรูปแบบการเขียนบทความที่สอดคล้องกับลักษณะงานของตน

ที่มาของปัญหาวิจัย: ปฏิสัมพันธ์ก่อให้เกิดการพัฒนางานวิจัย

ศาสตราจารย์ชิน ชี้ให้เห็นว่างานวิจัยของเรานั้นอาจจะมาจากแหล่งต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง รวมถึงปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง เช่น ผู้อ่าน เพื่อน อาจารย์ที่ปรึกษา คนในครอบครัว ผู้ให้สัมภาษณ์ และอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ผู้วิจัยต้องเปิดใจยอมรับประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ หรือเสียงสะท้อนจากบุคคลเหล่านั้น จึงจะสามารถนำมาพัฒนาชิ้นงานต่อไป และทำให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายในงานวิจัยได้

กำหนดกลุ่มเป้าหมายและขั้นตอนการทำวิจัย

ในการทำวิจัย (โดยเฉพาะด้านภูมิศาสตร์มนุษย์) นั้น จำเป็นจะต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายที่เราจะสื่อสารให้ถึง ผู้วิจัยควรมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน และใช้งานวิจัยหรืองานเขียนเป็นเครื่องมือช่วยให้สารนั้นส่งไปยังกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจนและครบถ้วน โดยได้แนะนำขั้นตอนการทำวิจัยคร่าวๆ ดังนี้ คือ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ระบุปัญหาวิจัย และออกแบบการวิจัยให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายและวัตถุประสงค์

2) กรณีศึกษาการเมืองเรื่องวัฒนธรรม: เมืองควังจู (Gwangju) สาธารณรัฐเกาหลี (ใต้)

ศาสตราจารย์ชิน ระบุว่าประเด็นการทำวิจัยอาจมาจากปรากฏการณ์ในสังคม ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากเหตุการณ์ในอดีต โดยได้ยกตัวอย่างการทำวิจัยในเมืองควังจู (Gwangju) ซึ่งในอดีตเป็นพื้นที่แห่งการเรียกร้องประชาธิปไตย โดยมีเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สำคัญ คือ วันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ.1980 ที่มีการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยจนนำไปสู่การจลาจลนองเลือดและเป็นที่จดจำของคนทั่วทั้งประเทศ อย่างไรก็ตามเมื่อระยะเวลาผ่านไป เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาพื้นที่ในมิติต่าง ๆ ทำให้พื้นที่นี้มีทั้งความท้าทายและโอกาสในการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้แก่เมือง ตัวอย่างเช่น คนในท้องที่กังวลเกี่ยวกับการบิดเบือนประวัติศาสตร์ของวันที่ 18 พฤษภาคม แต่ในสายตาคนนอกมองว่าพื้นที่นี้เป็นเมืองแห่งการนองเลือด เป็นต้น จึงต้องการสร้างภาพลักษณ์ใหม่หรือภาพจำใหม่ให้แก่พื้นที่ อย่างไรก็ดี ในท้ายที่สุดเมืองได้รับการพัฒนาโดยใช้ความโดดเด่นทางด้านวัฒนธรรมมาเป็นกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนเมือง นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งท้องถิ่นในปี ค.ศ. 1995 เป็นต้นมา

การพัฒนาเมืองที่ย้อนแย้งบนมุมมองรากฐานทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่ต่างกัน

จากการที่รัฐบาลมุ่งพัฒนาเมืองนี้ โดยอาศัยกลยุทธ์ทางวัฒนธรรม นำไปสู่ความเห็นที่แตกต่างกันทางสังคมทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย อีกทั้งการก่อสร้างหรือจัดแสดงศิลปะทางวัฒนธรรมที่ไม่สอดคล้องกับพื้นที่ ทำให้ศาสตราจารย์ชินสนใจศึกษาเมืองนี้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองบนรากฐานทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์การเมือง ตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นนักศึกษาปริญญาโท ในแง่ของการพัฒนาเมืองสามารถแบ่งยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านวัฒนธรรมสร้างสรรค์ของเมืองออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ คือ

ปี ค.ศ.1995-ปัจจุบัน: เทศกาลศิลปะแห่งควังจู (Gwangju Biennale)

ปี ค.ศ.2004-2031: ศูนย์กลางทางวัฒนธรรมแห่งเอเชีย

ปี ค.ศ.2014-ปัจจุบัน: เมืองแห่งสื่อศิลปะสร้างสรรค์

การต่อต้านเทศกาลศิลปะแห่งควังจู (Anti-Biennale)

การพัฒนาแต่ละช่วง มีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย อาทิเช่น ชาวเมืองควังจู เห็นว่าโครงการเทศกาลศิลปะแห่งควังจู ที่ได้รับการสนับสนุนจากคนโดยส่วนใหญ่ของประเทศทั้งในด้านการเงินและนโยบายทางการเมือง ไม่ได้สะท้อนถึงตัวตนของชาวเมือง ซึ่งกลุ่มต่อต้านนี้ต้องการผลักดันให้ผู้คนตระหนักถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ วันที่ 18 พฤษภาคม 1980 จึงเปิดนิทรรศการต่อต้านเทศกาลศิลปะแห่งควังจู (Anti-Biennale) ในบริเวณสุสาน Mangwol-dong ที่ซึ่งเหยื่อในเหตุการณ์นองเลือดได้ถูกฝังไว้ โดยการจัดแสดงนี้ได้ผสมผสานงานศิลปะและสุสานที่เป็นภาพสะท้อนของการเรียกร้องประชาธิปไตยของคนในพื้นที่ ซึ่งได้รับความนิยมในการเข้าชมอย่างมาก ซึ่งในหนังสือเรื่อง The Cultural Politics of Urban Development in South Korea: Art, Memory and Urban Boosterism in Gwangju ศาสตราจารย์ชิน ได้หยิบยกบทสัมภาษณ์ของชาวเมืองที่สะท้อนให้เห็นว่า พวกเขาผิดหวังมากกับแนวทางการพัฒนาเมืองของภาครัฐที่ละทิ้งประวัติศาสตร์การต่อสู้และเรียกร้องของท้องถิ่น

ประเด็นขัดแย้งอื่น ๆ

ศาสตราจารย์ชิน ได้ศึกษาพื้นที่นี้เป็นระยะเวลากว่า 20 ปี ผ่านการศึกษาเชิงประจักษ์ การมีส่วนร่วมในกิจกรรม การสังเกต และสัมภาษณ์ผู้คนที่เกี่ยวข้องในระดับต่าง ๆ ทั้งชุมชน ผู้ปกครอง สื่อมวลชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านความทรงจำของเหตุการณ์วันที่ 18 พฤษภาคม 1980  จากการเรียนรู้เรื่องราวการพัฒนาของเมืองนี้ ทำให้เห็นว่าการพัฒนาพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งจำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้คนจากทุกฝ่าย ทำความเข้าใจ และเคารพพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ รากเหง้า วัฒนธรรม และคุณค่าของสำนึกทางความคิดของพื้นที่นั้น ๆ มิเช่นนั้นอาจจะนำมาสู่ความขัดแย้งตามมาในภายหลัง เช่นในเมืองควังจูนี้ อาทิ ความขัดแย้งในการสร้างศูนย์วัฒนธรรมเอเชียภายในเมืองที่ทำให้เกิดการรื้อถอนสถานที่ประวัติศาสตร์ Byeolgwan (พื้นที่เหตุการณ์จลาจล 18 พฤษภาคม) สร้างความไม่พอใจให้แก่คนในพื้นที่ จนในที่สุดจึงต้องมีการเลื่อนการรื้อถอนและเจรจาทำความเข้าใจกับภาคประชาชน โดยคำนึงถึงมิติทางความรู้สึก ประวัติศาสตร์ และสำนึกของรากเหง้าของเหตุการณ์สำคัญครั้งนั้นร่วมด้วย จนในที่สุดแนวทางการปรับปรุงรื้อถอนจึงออกมาในลักษณะการคงโครงสร้างเสาและคานของอาคารเดิมไว้และเว้นพื้นที่เปิดให้สามารถเดินทะลุผ่านได้

3) ผู้ย้ายถิ่นชาวเกาหลีเหนือและการคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ในต่างแดน

ในประเด็นสุดท้ายนี้ ศาสตราจารย์ชินได้หยิบยกตัวอย่างประสบการณ์ในการทำวิจัยเกี่ยวกับผู้ย้ายถิ่นชาวเกาหลีเหนือในประเทศอังกฤษ โดยศึกษาในมิติและวิธีการต่าง ๆ เป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ในประเด็นเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ การย้ายถิ่น และวิธีการคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของตนในต่างแดน โดยใช้วิธีการศึกษาแบบมีส่วนร่วม เช่น ร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือเข้าร่วมกลุ่ม ประกอบกับการสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

เหตุผลการย้ายถิ่น

ชาวเกาหลีเหนือในต่างแดนพยามสร้างชุมชนทางพื้นที่และวัฒนธรรมของตนเพื่อไม่ให้ถูกกลืนโดยวัฒนธรรมใกล้เคียง เช่น การตั้งสมาคมชาวเกาหลีเหนือ และการสร้างองค์กรทางวัฒนธรรมของตนเอง แสดงให้เห็นว่าชาวเกาหลีเหนือพลัดถิ่นมิได้ชิงชังในความเป็นเกาหลีเหนือ หากแต่การย้ายถิ่นเป็นเรื่องของระบอบการปกครองเป็นสำคัญ เมื่อเขาเหล่านี้มีโอกาสได้ตั้งถิ่นฐานในดินแดนใหม่ วัฒนธรรมและจิตสำนึกความเป็นชาติของพวกเขาก็ยังคงอยู่และไม่ได้เลือนหายไป ซึ่งแสดงออกผ่านกิจกรรมและบริเวณที่อาศัย เพื่อมิให้ถูกมองรวมว่าเป็นเพียงชาวเอเชียแบบเหมารวม ดังตัวอย่างในบทสัมภาษณ์ตอนหนึ่งที่ศาสตราจารย์ชินหยิบยกมาแสดงให้เห็นถึงทัศนะของชาวเกาหลีเหลือในต่างแดนที่ว่า “ฉันหนีออกจากเกาหลีเหนือเพราะฉันไม่ชอบระบอบการปกครองของเกาหลี ไม่ได้หมายความว่าฉันไม่ได้รักประเทศเกาหลีเหนือ” หรือ “เพียงแค่เห็นธงชาติเกาหลีเหนือก็ทำให้ฉันร้องไห้ด้วยความรักและคิดถึงประเทศของฉัน”

วิธีการคงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น

ชาวเกาหลีเหนือต้องการคงอัตลักษณ์ของตนไว้ให้แตกต่างจากชาวเกาหลีใต้ และผู้อพยพเชื้อสายเกาหลี-จีน โดยไม่ต้องการให้บุตรหลานของตนโดนกลืนด้วยวัฒนธรรมเหล่านั้น จึงไม่ส่งบุตรหลานไปเรียนในโรงเรียนสอนภาษาเกาหลีใต้ร่วมกับเด็กชาวเกาหลีใต้อื่น ๆ แต่จะรวมกลุ่มสอนบุตรหลานกันเอง และรวมกลุ่มการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทางวัฒนธรรมร่วมกัน


สรุปเรียบเรียงโดย คมสัน ศรีบุญเรือง, ไกรวุฒิ  ชูวิลัย, นริณี กือเย็น, อารีรัตน์​ แพทย์นุเคราะห์


slot gacor online slot gacor slot thailand slot demo slot gacor online medancorners.com slot eropa majalah online slot thailand slot kamboja slot mahjong slot thailand