ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีแก่นิสิตชั้นปีที่ 4 ทุกคนที่ได้รับรางวัลจากการนำเสนอผลงานทางวิชาการ รวมทั้งสิ้น 8 รางวัล จาก 8 ผลงาน ดังนี้

นิสิตภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในการประชุมวิชาการ TSG ครั้งที่ 15 ณ.มหาวิทยาลัยพะเยา

รางวัลการนำเสนอแบบบรรยาย (Oral Presentation)

1. รางวัลระดับ ‘ยอดเยี่ยมกลุ่มภูมิศาสตร์เทคนิค หัวข้อ “การศึกษาปรากฏการณ์เกาะความร้อน (UHI) ในระหว่างการล็อกดาวน์โควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลด้วยภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-8” โดย นางสาวปิยามาตร จิโสะ และ นางสาวอิสริญลดา ตัน โดยมี รศ.ดร.ศิริวิไล ธีระโรจนารัตน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

2. รางวัลระดับ ‘ดีเยี่ยมกลุ่มภูมิศาสตร์มนุษย์ หัวข้อ “รูปแบบวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของแรงงานข้ามชาติจากเมียนมาที่ทำงาน ภาคบริการร้านอาหารก่อนและภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 พื้นที่ศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่” โดย นางสาวณัฐณิชา วีระเชวงกุล และ นางสาวศุภิษรา วาทิศานนท์ โดยมี อ.ดร.พุทธพร อารีประชากุล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

3. รางวัลระดับ ‘ดีกลุ่มภูมิศาสตร์มนุษย์ หัวข้อ “ปัจจัยที่มีผลต่อลักษณะของผู้บริโภคอาหารในแต่ละช่วงเวลา ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล” โดย นางสาวสมิตานัน ควรศิริ และ นางสาวกุลขนิษฐ์ ธนภัทรศิริโชต โดยมี อ.ดร.อารีรัตน์ แพทย์นุเคราะห์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

4. รางวัลระดับ ‘ดี’ กลุ่มภูมิศาสตร์กายภาพ หัวข้อ “การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมด้วยวิธีอัตราส่วนความถี่ และวิธีการถดถอยโลจิสติกส์: อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์” โดย นางสาวชัญญา บุญญาวรกุล และ นายศิระ บุญโตสิตระกูล โดยมี อ.ดร.ชนิตา ดวงยิหวา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

5. รางวัลระดับ ‘ดี’ กลุ่มภูมิศาสตร์กายภาพ หัวข้อ “การติดตามและประเมินสภาวะภัยแล้งของภาคตะวันออกระหว่างปี 2551-2565” โดย นางสาวณัฐนันท์ เปรมปรี และ นายพันธกร ชาญชวลิต โดยมี อ.ดร.เอกกมล วรรณเมธี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

รางวัลการนำเสนอแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation)

1. รางวัลระดับ ‘ยอดเยี่ยมกลุ่มภูมิศาสตร์มนุษย์ หัวข้อ “ทัศนคติของคน Gen Y ต่อการสืบทอดอาชีพเกษตรกรรม” โดย นางสาวจันทรัตน์ พิมพ์ชัย และ นางสาววรพิชชา สงเคราะห์ โดยมี ผศ.ดร.ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

2. รางวัลระดับ ‘ยอดเยี่ยมกลุ่มภูมิศาสตร์มนุษย์ หัวข้อ “อนุสาวรีย์ในมหานครแห่งการเปลี่ยนแปลง: การศึกษาการรับรู้เชิงพื้นที่ของ ผู้คนต่อพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ สวนลุมพินี ในมิติด้านคุณค่า การใช้ประโยชน์ และบริบทโดยรอบที่เปลี่ยนไป” โดย นายสรวิชญ์ ธรรมรติวงศ์ และ นายหฤษฎ์ ทะวะบุตร โดยมี อ.ดร.เพชรพิไล ลัธธนันท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

3. รางวัลระดับ ‘ดีเยี่ยมกลุ่มภูมิศาสตร์มนุษย์ หัวข้อ “การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการท่องเที่ยวในสวนสัตว์นครราชสีมาและสวนสัตว์ขอนแก่นก่อนและหลังการระบาดโคโรนาไวรัส” โดย นางสาวโชติพิชญ์ไตรรัตน์โกศล และ นางสาวอรรณา สุนทรอภิชาต โดยมี รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

slot gacor online slot gacor slot thailand slot demo slot gacor online medancorners.com slot eropa majalah online slot thailand slot kamboja slot mahjong slot thailand