ฟัง Ep.4 ของ PhilosChula Podcast ได้แล้วทาง #Spotify#ApplePodcast#YoutubeChanel

ฟัง Ep.4 ของ PhilosChula Podcast ได้แล้วทาง #Spotify#ApplePodcast#YoutubeChanel

  หนังสือ Knowledge in a Social World เขียนโดย Alvin Goldman นักปรัชญาคนสำคัญในสาขาญาณวิทยาสังคม (social epistemology) หนังสือเล่มนี้โกลด์แมนขยายขอบเขตของญาณวิทยาดั้งเดิมจากที่พิจารณาขอบเขตความรู้ของบุคคลเพียงคนเดียว มาเป็นความรู้ของกลุ่มคนหรือสังคม (เช่น คนไทยรู้ว่าประเทศไทยยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำ นักวิทยาศาสตร์รู้ว่าวัคซีนสามารถช่วยป้องกันการตายจากไวรัสโควิดได้) โกลด์แมนตั้งคำถามว่ากระบวนการทางสังคมในมิติต่างๆ เช่น ความเห็นของผู้คนในโลกอินเตอร์เน็ต ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ คำบอกเล่าจากผู้อื่น เป็นต้น จะสามารถเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้หรือไม่ และพื้นฐานของญาณวิทยาสังคมคืออะไร ในตอนที่ 4 นี้คุณกฤษฎาและอาจารย์ศิรประภาจะชวนทุกท่านมาทำความรู้จักญาณวิทยาสังคมและความสำคัญของหนังสือเล่มนี้ ฟัง PhilosChula Podcast ตอนที่ 4 ซีซั่นที่ 1 Big Books ในปรัชญาได้ทาง Spotify

ฟัง Ep.2 ของ PhilosChula Podcast ได้แล้วทาง #Spotify #ApplePodcast #YoutubeChanel

ฟัง Ep.2 ของ PhilosChula Podcast ได้แล้วทาง #Spotify #ApplePodcast #YoutubeChanel

 Beyond Aesthetics: Philosophical Essays หนังสือรวมบทความเขียนโดย Noël Carroll นักปรัชญาชาวอเมริกันที่ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของปรัชญาศิลปะร่วมสมัย หนังสือเล่มนี้เป็นการแสดงจุดยืนและข้อโต้แย้งของแครอลล์ต่อทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์กระแสหลักในปรัชญาศิลปะ เช่น ทฤษฎีที่ว่าความงามของ “ศิลปะ” อยู่ที่คุณสมบัติอย่างเป็นรูปแบบในตัวงานศิลปะเท่านั้น หรือทฤษฎีที่ว่าศีลธรรม เจตจำนงของศิลปิน และบริบททางประวัติศาสตร์ของงานศิลปะ ไม่เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณค่าทางสุนทรียะของงานศิลปะชิ้นนั้นๆ ในตอนที่ 2 นี้คุณกฤษฎาและอาจารย์ธิดาวดีจะชวนทุกท่านมาทำความรู้จักสุนทรียศาสตร์ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาหลักของวิชาปรัชญา และทำไมหนังสือเล่มนี้จึงน่าอ่านและน่าขบคิดตาม ฟัง PhilosChula Podcast ตอนที่ 2 ซีซั่นที่ 1 Big Books ในปรัชญาได้ทางSpotify https://open.spotify.com/show/7CNU3eonqZk4lcYdW08Y3kApple Podcasts https://podcasts.apple.com/…/philoschula…/id1694451088Youtube Chanel https://youtu.be/esuy4UUx1kM #PhilosChulaPodcast#podcast#BigBooks#WanderingBook#อักษรศาสตร์#จุฬา#Aesthetics#สุนทรียศาสตร์#ปรัชญาศิลปะ#PhilosophyOfArt#NoëlCarroll 

ฟังตอนแรกของ Philos Chula Podcast ได้แล้วทาง #Spotify #ApplePodcast #YoutubeChannel

ฟังตอนแรกของ Philos Chula Podcast ได้แล้วทาง #Spotify #ApplePodcast #YoutubeChannel

??Philosophical Investigations เป็นหนังสือเล่มสำคัญของวิทเกนสไตน์ (Ludwig Wittgenstein) ได้รับการ Vote สูงสุดจากนักปรัชญาร่วมสมัยว่าเป็นหนึ่งในหนังสือที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาปรัชญาและปรัชญาภาษา หนังสือเล่มนี้วิทเกนสไตน์เสนอแนวคิดที่แตกต่างและท้าทายให้ผู้อ่านเข้าใจภาษา การสื่อสาร และการสร้างความหมายที่ไม่เหมือนแนวคิดปรัชญาทั่วไป Ep.1 ซึ่งเป็นตอนแรกของโปรเจค Bigbook คุณกฤษฎาได้ชวนอาจารย์กนิษฐ์มาพูดคุยทำความรู้จักกับวิทเกนสไตน์และความสำคัญของหนังสือเล่มนี้ในวงการปรัชญา ?ฟัง Philos Chula Podcast ตอนแรก ซีซั่นที่ 1 Big Books ในปรัชญาได้ทาง Spotify https://spotifyanchor-web.app.link/e/27bJbKeaqBbApple Podcasts https://podcasts.apple.com/…/philoschula…/id1694451088Youtube Chanel https://youtu.be/TfF1M0XPINw#PhilosChulaPodcast#podcast#BigBooks#WanderingBook#อักษรศาสตร์#จุฬา#Wittgenstein#PhilosophicalInvestigaion  

การเลื่อนกำหนดการงานเสวนา “Modest digital humanities as a default constraint on philosophical interpretation” โดย Prof. Mark Alfano

เนื่องจาก Prof. Mark Alfano ติดปัญหาการเดินทางมาประเทศไทย จึงทำให้ไม่สามารถมาบรรยายที่ภาควิชาปรัชญาในหัวข้อดังกล่าวได้ ภาควิชาปรัชญาขออนุญาตแจ้งเลื่อนการบรรยายของ Prof. Mark Alfano ออกไปอย่างไม่มีกำหนดนะคะ และหากมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเสวนาในหัวข้อดังกล่าวอย่างไรจะนำมาแจ้งให้ทราบอีกครั้งค่ะ

งานเสวนาในหัวข้อ “Modest digital humanities as a default constraint on philosophical interpretation” โดย Prof. Mark Alfano

งานเสวนาในหัวข้อ “Modest digital humanities as a default constraint on philosophical interpretation” โดย Prof. Mark Alfano

ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Center for Science, Technology, and Society) และโครงการวิจัยวิถีดิจิทัลในมนุษยศาสตร์สู่การพัฒนาทุนมนุษย์อย่างยั่งยืน (Digital approaches in humanities towards sustainable human capital development) ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงานเสวนาในหัวข้อ “How to build and use custom dictionaries for timeseries and semantic network analysis” โดย Prof. Mark Alfano

งานเสวนาปรัชญา International Arts Talk ครั้งที่ 19 ในหัวข้อ “Philosophy, the Humanities, and the Social Sciences” โดย Prof. Daniel Little

งานเสวนาปรัชญา International Arts Talk ครั้งที่ 19 ในหัวข้อ “Philosophy, the Humanities, and the Social Sciences” โดย Prof. Daniel Little

ภาควิชาปรัชญา ร่วมกับคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงานเสวนาปรัชญา International Arts Talk ครั้งที่ 19 ในหัวข้อ “Philosophy, the Humanities, and the Social Sciences” โดย Prof. Daniel Little จากมหาวิทยาลัย University of Michigan-Dearborn ดำเนินรายการโดย อาจารย์ ดร. ทิพพาพันธุ์ เชื้อสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันพุธที่ 21 มิถุนายน 2566 เวลา 14.00-17.00 ณ

[ประชาสัมพันธ์] การประชุมเครือข่ายปรัชญาสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 1

[ประชาสัมพันธ์] การประชุมเครือข่ายปรัชญาสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 1

  ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานหรือเสนอบทความในงานประชุมวิชาการ “เครือข่ายปรัชญาสังคมศาสตร์ไทย ครั้งที่ 1” ระหว่างวันที่ 22-24 มิถุนายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) เปิดรับบทความถึงวันที่ 30 เมษายน 2566 สำหรับผู้ที่สนใจส่งบทความในภาษาไทย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ การประชุมเครือข่ายปรัชญาสังคมศาสตร์

งานแสดงมุทิตาจิตแด่ศาสตราจารย์ ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์

ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะจัดงานแสดงมุทิตาจิตแด่ศาสตราจารย์ ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ เนื่องในวาระเกษียณอายุราชการ ในวันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2565 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้อง 707 อาคารบรมราชกุมารี โดยในงานนี้อาจารย์จะแสดงปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “อนาคตของปรัชญาในสังคมไทย” ขอเรียนเชิญศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และทุกท่านที่สะดวกเข้าร่วมงานในวันและเวลาดังกล่าว

การบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “Evil and the Problem of Impermanence in Medieval Japanese Philosophy” โดย Yujin Nagasawa

ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมฟังการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “Evil and the Problem of Impermanence in Medieval Japanese Philosophy” โดย Yujin Nagasawa (H. G. Wood Professor of the Philosophy of Religion and Co-Director of the Birmingham Centre for Philosophy of Religion at the University

โครงการบรรยายพิเศษปรัชญาสู่สาธารณะครั้งที่ 4 หัวข้อ “ความเจ็บป่วยและเงื่อนไขแห่งกรรมตามทัศนะปรัชญาพุทธเถรวาท” โดย อาจารย์ ดร. ใกล้รุ่ง อิโซ

โครงการบรรยายพิเศษปรัชญาสู่สาธารณะครั้งที่ 4 หัวข้อ “ความเจ็บป่วยและเงื่อนไขแห่งกรรมตามทัศนะปรัชญาพุทธเถรวาท” โดย อาจารย์ ดร. ใกล้รุ่ง อิโซ

ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการบรรยายพิเศษปรัชญาสู่สาธารณะครั้งที่ 4 หัวข้อ “ความเจ็บป่วยและเงื่อนไขแห่งกรรมตามทัศนะปรัชญาพุทธเถรวาท” โดย อาจารย์ ดร. ใกล้รุ่ง อิโซ (ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ดำเนินรายการโดย อาจารย์ ดร. เฉลิมวุฒิ วิจิตร (สาขาวิชาสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนามนุษย์ คณะศิลปศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์) ในวันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม 2564 เวลา 19.00-21.00 น. ทาง Zoom Application และ Facebook Live เพจ Department

https://ppid.fis.unp.ac.id/