ขอแสดงความยินดีกับนิสิตคณะอักษรศาสตร์ ผู้ได้รับรางวัลเรียนดี ประจำปีการศึกษา 2566

ขอแสดงความยินดีกับ นายวิวรรธน์ ปุณหะกิจ นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะอักษรศาสตร์ ผู้ได้รับรางวัลเรียนดี ประจำปีการศึกษา 2566

ขอแสดงความยินดีกับ นิสิตคณะอักษรศาสตร์ ผู้ชนะการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 49 (นนทรีเกมส์ 2567)

ขอแสดงความยินดีกับ นิสิตคณะอักษรศาสตร์ 
ผู้ชนะการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 49 (นนทรีเกมส์ 2567) โดยมีรายชื่อดังนี้
1. นางสาวณิชาภา หิมารัตน์
ผู้ได้รับรางวัลเหรียญเงิน ในการแข่งขันกีฬาครอสเวิร์ด ประเภททีมหญิง
และรางวัลเหรียญทองแดง ในการแข่งขันกีฬาครอสเวิร์ด ประเภทบุคคลหญิง
2. นางสาวมัชฌิมา ขวัญใจ
ผู้ได้รับรางวัลเหรียญทอง ในการแข่งขันกีฬาหมากกระดาน (หมากล้อม) ประเภททีมหญิง
และรางวัลเหรียญทองแดง ในการแข่งขันกีฬาหมากกระดาน (หมากล้อม) ประเภทคู่ผสม
3. นางสาวรตาทิพ นามศรี
ผู้ได้รับรางวัลเหรียญเงิน ในการแข่งขันกีฬาเทควันโด ประเภทต่อสู้
4. นางสาวอินท์ชลิตา ทองขุนดำ
ผู้ได้รับรางวัลเหรียญเงิน ในการแข่งขันกีฬาครอสเวิร์ด ประเภททีมหญิง
5. นายณภัทร วัชรนุรธร
ผู้ได้รับรางวัลเหรียญทอง ในการแข่งขันกีฬาครอสเวิร์ด ประเภททีมชาย และประเภทคู่ผสม
และรางวัลเหรียญทองแดง ในการแข่งขันกีฬาครอสเวิร์ด ประเภทชายคู่ และประเภทชายเดี่ยว
6. นายณัฐกฤต ทิมศรี
ผู้ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง ในการแข่งขันกีฬาครอสเวิร์ด ประเภทชายคู่
7. นายธนภูมิ ตระกูลอินทร์
ผู้ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง ในการแข่งขันกีฬายูยิตสู ประเภทจับล็อก Newaza และประเภทจับล็อก รุ่นน้ำหนัก 69 กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 77 กิโลกรัม
8. นางสาววริศราห์ สัจจะพรเทพ
ผู้ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง ในการแข่งขันกีฬาหมากกระดาน (หมากรุกไทย) ประเภททีมหญิง

แบบกรอกข้อมูลนิสิตทำชื่อเสียงและทำคุณประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัย

ด้วยงานกิจการนิสิต กลุ่มภารกิจงานบริการการศึกษา มีความประสงค์ขอความอนุเคราะห์
ในการสำรวจโครงการหรือผลงานของนิสิตที่ได้รับรางวัลระดับชาติ/นานาชาติ
 
งานกิจการนิสิต ขอให้ท่านกรอกข้อมูลดังกล่าวลงในแบบฟอร์มได้ที่ 
หรือสแกนผ่าน QR Code ที่แนบมาพร้อมนี้ 
 
โดยให้ลงชื่อเข้าสู่ระบบด้วยอีเมลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้น เช่น 
664xxxxx22@student.chula.ac.th สำหรับนิสิต 
หรือ xxxxx@chula.ac.th สำหรับบุคลากร 
จึงจะสามารถเข้าไปกรอกข้อมูลได้
 
*ทั้งนี้ นิสิต/เจ้าหน้าที่ สามารถเข้าไปกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มได้ตลอด

ชมรมนาฏศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขอเสนอ “นาฏศิลป์ร่วมสมัย ชุด สยาม” และ “ละครนอก เรื่อง ไกรทอง ตอน พ้อบน”ระบำโบราณคดีร่วมสมัย และละครนอกสไตล์ชาวอักษรฯ

เนื่องด้วยมีการจัดกิจกรรม “CU Open House 2024” กิจกรรมเปิดบ้านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 20-21 มกราคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ชมรมนาฏศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดการแสดง “นาฏศิลป์ร่วมสมัย ชุด สยาม” ในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 10.30 น. และ “ละครนอก เรื่อง ไกรทอง ตอน พ้อบน” ในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 10.45 น. ณ เวทีกลาง ใต้โถง อาคารมหา-จักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกชมรมได้แสดงทักษะความสามารถด้านนาฏศิลป์ไทยที่ผ่านการเรียนและการฝึกซ้อมมาอย่างดี และเพื่อเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมไทยให้แก่นักเรียนและบุคคลทั่วไปที่มาร่วมงาน ให้ได้รับชมการแสดงสุดพิเศษในครั้งนี้ ฝึกซ้อมการแสดงโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์คมคาย กลิ่นภักดี และอาจารย์พัชรินทร์ จันทรัดทัต

 

          การแสดง “นาฏศิลป์ร่วมสมัย ชุด สยาม” เป็นการนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ที่พัฒนาต่อยอดจากการแสดงชุดระบำโบราณคดี 5 สมัย ประกอบด้วย ระบำทวารวดี ระบำศรีวิชัย ระบำลพบุรี ระบำเชียงแสน และระบำสุโขทัย ผู้แสดงรับบทเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวความรุ่งเรืองของไทยในแต่ละยุค ผ่านกระบวนท่ารำนาฏศิลป์ไทยที่สร้างสรรค์ให้เข้ากับบทเพลงสมัยใหม่ อีกทั้งการแสดงชุดนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงการเรียนการสอนเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และอารยธรรมไทยในคณะอักษรศาสตร์ด้วย แสดงโดย นางสาวกิรณา หยู่ทอง นางสาวขวัญปรียา อนุกูล นางสาวธีนิดา ทรัพยาสาร นางสาวพิชญาภา อ่วมบุญ และนางสาววริฏฐา พฤกษารักษ์

 

          การแสดง “ละครนอก เรื่อง ไกรทอง ตอน พ้อบน” เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธ-เลิศหล้านภาลัย เรียบเรียงบทโดย อาจารย์ปราณี สำราญวงศ์ บรรจุเพลงโดย นางท้วม ประสิทธิกุล ตอนที่เลือกมาแสดงนี้เป็นตอนที่ไกรทองหวนคิดถึงนางวิมาลา จึงลงไปพานางขึ้นอาศัยอยู่ด้วยกันบนบก สร้างความไม่พอใจให้นางตะเภาแก้วและนางตะเภาทองผู้เป็นภรรยา เกิดการทะเลาะตบตีจนนางวิมาลาโมโหกลายร่างเป็นจระเข้กลับลงไปยังถ้ำใต้น้ำดังเดิม เป็นตอนที่มีความสนุกจัดจ้านครบรสสมเป็นละครนอก มีทั้งความรัก ความหลง ความหึงหวง ความโกรธ และความเศร้า อยู่ในตอนเดียวกัน เหมาะแก่การนำมาแสดงเพื่อสร้างความบันเทิงแก่ผู้มาร่วมงาน อีกทั้งผู้ชมยังได้เรียนรู้เรื่องราวนิทานพื้นเมืองของจังหวัดพิจิตรผ่านบทละครนอกของรัชกาลที่ 2 ด้วย แสดงโดย นางสาวขวัญปรียา อนุกูล นางสาวจิตรลดา เทียนสวัสดิ์ นายฐิษะบรรณ บุญรัตน์ นายธิติ ตันพิสุทธิ, นางสาวเนตรนภา ฉายโอภาส นายวิสุทธิ์ ปัญญวรญาณ และนายอภินันท์ กองกันทะ

.

Thai Dance Club of Faculty of Arts, Chulalongkorn, proudly presents

“Thai Contemporary Dance: Siam” and “Lakhon nok: Kraitong, Por Bon chapter”

Contemporary archaeological dance and Lakhon nok in the Faculty of Arts style

On the occasion of “CU Open House 2024” that was held on 20-21 January, 2024, Thai Dance Club of Faculty of Arts, Chulalongkorn University performed “Thai Contemporary Dance: Siam” on January 20, 2024 at 10.30 a.m. and “Lakhon nok: Krai Thong, Por Bon chapter” on January 21, 2024 at 10.45 a.m. at the hall center, under the Maha Chakri Sirindhorn Building, faculty of arts. These performances, that were intricately taught by Asst.Prof.Komkai Klinpakdee and Ajarn Pudcharin Juntaratat, open a chance for the members of the club to show their potential and share Thai art and culture to students and the public.

“Thai Contemporary Dance: Siam” is a creative dance that was eveloped from the performance from 5 periods of Thailand, consisting of the Dvaravati dance, the Srivijaya dance, the Lopburi dance, the Chiang Saen dance, and the Sukhothai dance. The actors play the role of conveyors of the stories of the prosperity of Thailand in each era. Performed by Ms. Kirana Yuthong, Ms. Khwanpreeya Anukul, Ms. Teenida Sappayasarn, Ms. Pichayapa Aoumboon and Ms Warittha Pruksarak.

“Lakhon nok: Kraitong, Por Bon chapter” is a royal show that written by His Majesty King Buddha-Lertlanaphalai. The script was composed by Acharn Pranee Samranwong, with music by Mrs. Tuam Prasitthikul. The chapter for this performance was when Kraithong went down underwater cave and brought Wimala, his lover, to live together on land. It’s an episode that’s full of fun and spice, worthy of a foreign drama. There’s love, lust, jealousy, anger, and sadness all in this one scene. Performed by Ms. Kwanpreeya Anukul, Ms. Chitralada Thiensawat, Mr. Tisaban Boonyarat, Mr. Thiti Tanpisut, Ms. Netnapa Chai-o-pas, Mr. Wisutt Panyaworayan and Mr. Aphinun Kongkanta

.

ติดตามชมรมนาฏศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทาง

Facebook: ชมรมนาฏศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Instagram: arts_rumthai

พิธีมอบทุนการศึกษา the 51st Toyota Scholarship

คุณโนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด พร้อมด้วย

คุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ และคุณสุรภูมิ อุดมวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่

ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบทุนการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 แก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ซึ่งเป็นการมอบทุนแก่นิสิตจุฬาฯ ต่อเนื่องปีที่ 51

โดยมีศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

ผู้ช่วยอธิการบดี ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ, รองศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ วรานุศุภากุล ผู้ช่วยอธิการบดี

พร้อมคณาจารย์ และคณะผู้บริหารระดับสูง ร่วมแสดงความยินดี เมื่อวันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4

โดยมีนิสิตคณะอักษรศาสตร์ ได้รับทุนการศึกษา จำนวน 2 ราย คือ
1. นางสาวพิมพ์ชนก บุญเนรมิตร นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
2. นางสาวพัชราวดี โพธา นิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

และนายพศวีร์ ฐานบัญชา นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น รับหน้าที่พิธีกรดำเนินพิธีการ

โครงการ 5 สายธารแห่งความดี “เราทำดีด้วยหัวใจ” 2567

เมื่อวันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ กรรมการกิจการนิสิต และนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เป็นตัวแทนประชาคมอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ไปมอบเงินและสิ่งของบริจาค พร้อมทั้งเยี่ยมชมการดำเนินงานของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี จ. ปทุมธานี และให้กำลังใจทั้งเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการของสถานสงเคราะห์ รวมกับผู้แทนจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และคณะเศรษฐศาสตร์ อันเป็นกิจกรรมในโครงการห้าสายธสรแห่งความดี เราทำดีด้วยหัวใจ ของสำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
.
สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรีเป็นสถานที่ ๆ ให้ความช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งหญิงตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป ทั้งเรื่องปัจจัยสี่ อาหาร ที่พัก เครื่องใช้ที่จำเป็น การรักษาพยาบาลโดยเจ้าหน้าที่พยาบาล แพทย์ทางจิตเวชและผิวหนัง จัดทำทะเบียนประวัติ ติดต่อญาติ ให้คำปรึกษาแนะนำแก้ไขปัญหา ฟื้นฟูสภาพจิตใจ จัดทำกิจกรรมบำบัดผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น งานหัตถกรรม ตัดเย็บ เสริมสวย และการเกษตรเพื่อให้ผู้สูงอายุมีกำลังใจและสามารถช่วยเหลือบุคคลอื่นได้ด้วย จำนวนผู้ที่อยู่ในความดูแลมีจำนวนทั้งสิ้น 438 คนต่อความดูแลของเจ้าหน้าที่ 38 คน
.
โดยมียอดเงินบริจาครวมทั้งสิ้น 91,910 บาท 
และสิ่งของบริจาค คือ 
1. น้ำยาปรับผ้านุ่มและน้ำยาซักผ้า 6 กล่อง

2. น้ำยาปรับผ้านุ่ม 2 แพ็ค และผ้าอ้อมผู้ใหญ่ 1 แพ็ค 
3. ข้าวสาร ถุงละ 5 กิโลกรัม จำนวน 2 ถุง 
4. น้ำยาปรับผ้านุ่มจำนวน 5 ลัง 
5. ชุดตรวจ ATK 500 ชุด 

ทั้งหมดนี้ ได้รับการสนับสนุนจากประชาคมอักษรศาสตร์และประชาชนทั่วไป 

งานกิจการนิสิต คณะอักษรศาสตร์ ขอขอบพระคุณผู้บริจาคทุกท่านมา ณ ที่นี้

ขอขอบพระคุณรูปภาพจากเพจ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี

ประกาศรับสมัครทุนอุดหนุนการศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2-4 ประจำปีการศึกษา 2567 คณะอักษรศาสตร์

งานกิจการนิสิต คณะอักษรศาสตร์ เปิดรับสมัครทุนอุดหนุนการศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2-4 ประจำปีการศึกษา 2567 นิสิตที่มีความประสงค์สมัครทุนการศึกษาดังกล่าว สามารถสมัครได้ ผ่านการแสกน QR Code ที่ปรากฏในภาพสื่อประชาสัมพันธ์นี้ สมัครได้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม 2567 

หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ e-mail : artschula.scholarship@gmail.com 



ค่ายอาสาพัฒนาชุมชน ยกระดับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2566 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 19 – 24 ธันวาคม 2566 นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ร่วมกับ โรงเรียนบ้านตาดภูวง ต.คำบ่อ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร 

จัดโครงงาน “ค่ายอาสาพัฒนาชุมชน ยกระดับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”

Community Development Volunteer Camp, raising Education for Sustainable Development (ESD) 

ในปัจจุบันภาษาอังกฤษมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อทุกคนในสังคม เพราะภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางหนึ่งที่สากลโลกใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระหว่างกันโดยก้าวข้ามขีดจำกัดทางภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ทุกคนในสังคมจึงควรใช้ภาษาอังกฤษได้ในระดับขั้นพื้นฐานเป็นอย่างน้อย การจะทำให้ผู้เรียนเห็นถึงความสำคัญและเกิดความสนใจในการเรียนรู้ของภาษาอังกฤษ ผู้เรียนควรรู้สึกสนุกสนานและสงสัยใคร่รู้ ค่ายสอนที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสม

นอกจากนี้ พื้นที่บริเวณโรงเรียนบ้านตาดภูวง ต.คำบ่อ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร ที่จะไปทำการเรียนการสอนนั้นยังมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับจิตร ภูมิศักดิ์ นิสิตคณะอักษรศาสตร์ ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นกลุ่มคอมมิวนิสต์และถูกลอบสังหารที่บ้านหนองกุง ต.คำบ่อ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร อันนำไปสู่การเคลื่อนไหวในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ
ในเวลาต่อมา เนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่มีความผูกพันกับจิตร ภูมิศักดิ์ ในฐานะสหายนักปราชญ์ เพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาของนักเรียนในพื้นที่เสมือนการส่งเสริมความเป็นนักปราชญ์นี้ 

การนี้คณะอักษรศาสตร์และคณะกรรมการนิสิตอักษรศาสตร์ (ก.อศ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นความสำคัญของการศึกษาและการรำลึกถึงบุคคลดังกล่าว จึงจัดโครงงานนี้เพื่อส่งเสริมการศึกษาของนักเรียนภายในพื้นที่ด้วยความรู้และประสบการณ์ของนิสิตอักษรศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นการรำลึกถึงจิตร ภูมิศักดิ์ ผู้สร้างคุณูปการทางการศึกษาให้แก่ผู้คนเป็นวงกว้าง โดยมุ่งหวังให้การพัฒนาการศึกษาในครั้งนี้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติด้วยเช่นกัน

งานชมอักษรฯ ประจำปีการศึกษา 2566

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน 2566 งานกิจการนิสิต กลุ่มภารกิจงานบริการการศึกษา โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดังกมล  ณ ป้อมเพชร รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต ได้จัดงาน “ชมอักษรฯ” (งานพบผู้ปกครองนิสิตใหม่) ประจำปีการศึกษา  2566 ขึ้น ในเวลา 8.30 – 12.00 น. ณ ห้อง  301 – 302  ชั้น 3 อาคารมหาจักรีสิรินธร  คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับคณะอักษรศาสตร์และแนะแนวทางการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยของนิสิตใหม่ทุกคน รวมทั้งแนะนำหลักสูตรแต่ละสาขาวิชาให้ผู้ปกครองนิสิตใหม่ได้รับทราบถึงรายละเอียดของสาขาที่นิสิตในปกครองของตนศึกษา พร้อมชี้แจงกฎระเบียบและวินัยของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงสวัสดิการต่างๆ ที่นิสิตได้รับและได้มีการแนะนำหน่วยงานต่างๆ ภายในคณะฯ ภายในมหาวิทยาลัย ให้ผู้ปกครองและนิสิตใหม่ทราบ การจัดงานชมอักษรในปีการศึกษานี้ ได้รับการตอบรับและความสนใจจากผู้ปกครองเป็นอย่างมาก

โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ เป็นประธานในการเปิดโครงการ พร้อมกล่าวต้อนรับและกล่าวแสดงความยินดีกับผู้ปกครองนิสิตใหม่ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาในปีการศึกษา 2566 ทั้งนี้ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิรประภา ชวนะญาน, แนะนำหลักสูตรการเรียนการสอนในแต่ละสาขาวิชา และให้ข้อมูลแนวทางในการประกอบอาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดังกมล  ณ ป้อมเพชร รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต ได้ขึ้นกล่าวแนะนำสิทธิประโยชน์ สวัสดิการนิสิต รางวัล การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย ระเบียบวินัยนิสิตและการลงโทษนิสิตที่ผู้ปกครองควรทราบ และแนะนำคณะกรรมการนิสิตอักษรศาสตร์ (ก.อศ.) ปีการศึกษา 2566 ให้ผู้ปกครองทราบถึงแนวทางการจัดกิจกรรมในปีการศึกษา 2566

พร้อมกันนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกิจ พู่พวง ผู้ช่วยคณบดีคณะอักษรศาสตร์, อาจารย์ ดร.พิมพ์พจน์ สีลาเขต ในฐานะกรรมการคณะกรรมการกิจการนิสิตคณะอักษรศาสตร์  ได้ให้เกียรติเข้าร่วมงานชมอักษรครั้งนี้ด้วย

การขอเอกสารสำคัญทางการศึกษา

กรณีติดต่อขอเอกสารที่สำนักงานการทะเบียน
อาคารจามจุรี 6 (สนท.) ตั้งแต่เวลา 8:00 – 16:00 น. วันทำการ1. กรอกคำร้องขอใบรับรอง จท42 https://web.reg.chula.ac.th/form/jt42.pdf หรือจท42/1 https://web.reg.chula.ac.th/form/jt42-1.pdf แล้วกดคิวหมายเลข 4
– หากต้องการให้จัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ ให้กรอกคำร้อง จท42/2 ด้วย https://web.reg.chula.ac.th/form/jt42-2.pdf2. เจ้าหน้าที่งานเอกสารฯ จะตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล เลขประจำตัวนิสิต เลขประจำตัวประชาชน/เลขพาสปอร์ต และสถานภาพนิสิต
– กรณีขอ CR30 ให้แนบสำเนาพาสปอร์ต/สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนด้วย3. ผู้รับบริการชำระค่าธรรมเนียมเอกสาร และค่าบริการจัดส่งทางไปรษณีย์ (ถ้ามี)4. กรณีรับเอกสารด้วยตนเอง ผู้รับบริการสามารถรอรับเอกสารได้ภายใน 30 นาที โดยต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนนิสิต/บัตรประจำตัวประชาชน/พาสปอร์ตฉบับจริง เพื่อรับเอกสารที่เคาน์เตอร์หมายเลข 1 หรือมารับในวัน-เวลาอื่นที่สะดวก โดยไม่เกิน 60 วันนับจากวันที่ขอเอกสาร หากไม่ติดต่อรับภายใน 60 วัน สำนักงานการทะเบียนจะยกเลิกคำร้องและเอกสารดังกล่าว* กรณีมีแบบฟอร์มอื่นเพิ่มเติมให้สำนักงานการทะเบียนกรอกข้อมูล ลงนามรับรอง และปิดผนึกซอง เจ้าหน้าที่จะนัดหมายวันรับหรือวันจัดส่งเอกสารอีกครั้ง
* กรณีเป็นนิสิตเลขประจำตัว 7 หลัก จะได้รับเอกสารภายใน 2 วันทำการ*กรณีที่รีบใช้เอกสารฯ (เฉพาะ จท23,24,25,26 CR23,24,25,26) แนะนำให้ติดต่อขอและรอรับเอกสารได้ภายใน 30 นาที ที่สำนักงานการทะเบียน วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 8:00-16:00 น. กรณีขอเอกสารฯ ทางเว็บไซต์1. บันทึกคำร้องออกเอกสารสำคัญฯที่ https://www5.reg.chula.ac.th/…/requ…/RequestDocEntry.jsp
– บันทึกเลขประจำตัวนิสิต และ เลขประจำตัวประชาชน
– บันทึกรหัสตัวอักษร 4 ตัว ที่ปรากฏบนหน้าจอ และกด New เพื่อเข้าสู่ระบบหน้าจอบันทึกคำร้อง
– บันทึกข้อมูล เลือกประเภทเอกสารที่ต้องการ กด Save และตรวจสอบรายการ
– กด Print เพื่อยืนยันคำขอ หน้าจอจะแจ้งรายการเอกสารและจำนวนเงินที่ต้องชำระ2. เมื่อนิสิตทำรายการและได้คำร้องแล้ว ระบบจะสร้าง QR Code และ Barcode สำหรับใช้ชำระเงินผ่าน Mobile Banking3. กรณีที่นิสิตเลือกติดต่อขอรับเอกสารด้วยตัวเอง สามารถติดต่อขอรับเอกสารได้ หลังจากสำนักงานการทะเบียนได้รับการชำระเงินแล้ว 1 วันทำการ หากไม่ติดต่อขอรับเอกสารภายใน 60 วัน นับจากวันที่ออกให้ คำร้องและเอกสารดังกล่าวจะถูกยกเลิก4. กรณีที่นิสิตเลือกให้ส่งเอกสารทางไปรษณีย์ สำนักงานการทะเบียนจะจัดส่งเอกสารที่ขอไว้ให้หลังจากได้รับการชำระเงินแล้ว 1 วันทำการ ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.reg.chula.ac.th/…/academicdocu…/instruction/

รับสมัครทุนอุดหนุนการศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย ประจำปีการศึกษา 2566

งานกิจการนิสิต คณะอักษรศาสตร์ เปิดรับสมัครทุนอุดหนุนการศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย ประจำปีการศึกษา 2566 นิสิตที่มีความประสงค์สมัครทุนการศึกษาดังกล่าว สามารถสมัครได้ ผ่านการแสกน QR Code ที่ปรากฏในภาพสื่อประชาสัมพันธ์นี้ สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566

เอกสารการสมัคร

  1. คำรับรองฐานะความเป็นอยู่ครอบครัว พร้อมแนบสำเนาบัตรข้าราชการของผู้รับรอง
  2. ใบรายงานผลการศึกษาจนถึงภาคการศึกษาล่าสุด
  3. หนังสือรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษา
  4. รูปถ่ายสภาพบ้านและทรัพย์สินของครอบครัวผู้สมัครทุน
  5. สำเนาทะเบียนบ้านของนิสิตและผู้ปกครอง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
  6. สำเนาบัตรประชาชนของนิสิต พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
  7. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ปกครอง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
  8. หนังสือรับรองเงินเดือนของ บิดา มารดา ฯ (กรณีมีรายได้ประจำ)
  9. เอกสารอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา เช่น เอกสารหลักฐานการเป็นหนี้สินของครอบครัวหรือผู้ปกครอง, เอกสารการรักษาพยาบาล ใบรับรองแพทย์ ของคนในครอบครัว, ใบมรณะบัตร กรณี บิดา-มารดา เสียชีวิต

*นิสิตต้องลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง ในเอกสารสำเนาทุกฉบับ

หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ e-mail : artschula.scholarship@gmail.com

สำนักงานวิทยทรัพยากร เปิดให้บริการช่วง 24/7 ในการสอบกลางภาค ประจำปีการศึกษา 1/2566

สำนักงานวิทยทรัพยากร เปิดให้บริการช่วง 24/7 การสอบกลางภาค ประจำปีการศึกษา 1/2566
เริ่ม 11 – 28 กันยายน 2566
 
  • หอสมุดกลาง
  • ชั้น 1 – 2: เปิดตลอด 24 ชั่วโมง
  • ชั้น 4 – 5: 08.00 – 24.00 น. (เสาร์ – อาทิตย์ เปิด 09.00 น.)
  • ชั้น 3 & 6: 08.00 – 19.00 น. (เสาร์ – อาทิตย์ 09.00 – 18.00 น.)*ชั้น 6 ปิดวันอาทิตย์
  • อาคารจามจุรี 9
  • ชั้น 1 เปิดตลอด 24 ชั่วโมง เปิดพื้นที่นั่งอ่านที่ชั้น 4-6 ถึงเที่ยงคืน
  • CUX @ จามจุรี 10
  • จันทร์ – อาทิตย์: 12.00 – 20.00 น.
 
ปล. ขอความร่วมมือนิสิตทุกท่านไม่สำรองที่นั่งนะคะ ขอบคุณค่ะ
Back to Top