หลักสูตรปริญญาโท
 
ภาควิชาศิลปการละคร 
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หลักสูตร อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปการละคร

ปริญญา 
อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต

ปรัชญาของหลักสูตร
        หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการปลูกฝังและเสริมสร้างความตระหนักด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนรสนิยมอันดีด้านศิลปการละครอันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่าเพื่อเป็นแบบอย่างและมาตรฐานของศิลปการละครของสังคมไทย  นอกจากนี้เนื้อหาของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนได้ให้ความสำคัญกับการนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในเชิงปฏิบัติ  ซึ่งจะทำให้ผู้ศึกษามีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับศิลปการละคร อันจะเป็นปัจจัยส่งเสรริมและสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ด้านศิลปการละครให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้นำในการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ทางด้านศิลปการละคร
2. เพื่อผลิตบัณฑิตผู้มีความสามารถในการวิเคราะห์วิจารณ์ อันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานและองค์ความรู้ใหม่ต่อไป
3. เพื่อผลิตบัณฑิตผู้มีความรู้ความสามารถที่จะสร้างสรรค์ผลงานในสาขาวิชาศิลปการละคร

จุดเด่นของหลักสูตร
        เป็นหลักสูตรสาขาวิชาศิลปการละครในระดับปริญญาโท หลักสูตรแรกในประเทศไทย 
เป็นหลักสูตรที่จะบูรณาการองค์ความรู้เข้ากับงานสร้างสรรค์ด้านศิลปการละคร และสาขาต่าง ๆ 
ที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติของผู้สมัคร
1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปการละคร หรือเทียบเท่า
2. คุณสมบัติอื่น ๆ ที่จะประกาศให้ทราบเป็นปี ๆ ไป หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิสมัครสอบได้

โครงสร้างของหลักสูตร 
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต

แผน ก.

จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน        36  หน่วยกิต
แบ่งเป็น จำนวนหน่วยกิตรายวิชาบังคับ  12  หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเลือก  12 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์  12 หน่วยกิต

แผน ข.

จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน  36 หน่วยกิต
แบ่งเป็น จำนวนหน่วยกิตรายวิชาบังคับ  12 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเลือก  18 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาการศึกษาด้วยตนเอง  6 หน่วยกิต


รายวิชาต่าง ๆ

รายวิชาบังคับ

ระเบียบวิธีวิจัยทางศิลปะการละคร 
(Research Methodology in Dramatic Arts)
3 หน่วยกิต 
ความหมายของการวิจัย เทคนิคและวิธีดำเนินการวิจัยทางศิลปะการละคร
Meaning of research ; research methods and techniques in dramatic arts.

การศึกษาวรรณกรรมการละคร 
(Studies in Dramatic Literature)
3 หน่วยกิต 
การศึกษาเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์บทละครที่คัดสรรในแง่โครงสร้างและองค์ประกอบของละคร 
ความเป็นมา ประเภท และสไตล์การนำเสนอ
Analytical and critical studies of selected plays : their dramatic structure and elements, historical background, genres and styles.

ทฤษฎีและการวิจารณ์ละคร 
(Dramatic Theory and Theatre Criticism)
3 หน่วยกิต 
ทฤษฎีการละครที่สำคัญ การวิเคราะห์ทฤษฎีการละครและการประยุกต์ใช้ในการวิจารณ์การละคร
Significant dramatic theories : analysis of dramatic theories and application in theatre criticism.

บทบาทของศิลปะการละครในสังคม 
(Roles of Dramatic Arts in Society)
3 หน่วยกิต 
บทบาทสำคัญของศิลปะการละครในบริบททางสังคม การเมืองและวัฒนธรรมสมัยต่างๆ 
Significant roles of dramatic arts in social, political, and cultural contexts of different periods.

สารนิพนธ์ (Special Research)
6 หน่วยกิต


รายวิชาเลือก 

สัมมนาการละครร่วมสมัย (Seminar in Contemporary Theatre)
3 หน่วยกิต
การศึกษาเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์ด้านการละครร่วมสมัยตามหัวข้อที่คัดสรร 
An analytical and critical study on selected topics in contemporary theatre.

สัมมนาการละครในการศึกษา (Seminar in Educational Theatre)
3 หน่วยกิต 
การศึกษาเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์ด้านการละครในการศึกษาตามหัวข้อที่คัดสรร 
An analytical and critical study on selected topics in educational theatre. 

สัมมนาการละครยุโรปและอเมริกัน (Seminar in European and American Theatre)
3 หน่วยกิต 
การศึกษาเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์ด้านการละครยุโรปและอเมริกันตามหัวข้อที่คัดสรร
An analytical and critical study on selected topics in European and American theatre. 

สัมมนาการละครเอเชีย (Seminar in Asian Theatre)
3 หน่วยกิต 
การศึกษาเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์ด้านการละครเอเชียตามหัวข้อที่คัดสรร
An analytical and critical study on selected topics in Asian theatre.

สัมมนาสุนทรียศาสตร์การละคร (Seminar in Theatre Aesthetics)
3 หน่วยกิต 
การศึกษาเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์ด้านสุนทรียศาสตร์การละครตามหัวข้อที่คัดสรร
An analytical and critical study on selected topics in theatre aesthetics.

สัมมนาการเขียนบท (Seminar in Script Writing )
3 หน่วยกิต 
การศึกษาเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์ด้านการเขียนบทตามหัวข้อที่คัดสรร
An analytical and critical study on selected topics in script writing.

สัมมนาการแสดง (Seminar in Acting)
3 หน่วยกิต 
การศึกษาเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์ด้านการแสดงตามหัวข้อที่คัดสรร
An analytical and critical study on selected topics in acting.

สัมมนาการกำกับการแสดง (Seminar in Directing)
3 หน่วยกิต 
การศึกษาเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์ด้านการกำกับการแสดงตามหัวข้อที่คัดสรร
An analytical and critical study on selected topics in directing.

สัมมนาการออกแบบสำหรับละคร (Seminar in Theatre Design)
3 หน่วยกิต
การศึกษาเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์ด้านการออกแบบสำหรับละครตามหัวข้อที่คัดสรร
An analytical and critical study on selected topics in theatre design. 

สัมมนาการละครไทย (Seminar in Thai Theatre)
3 หน่วยกิต 
การศึกษาเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์ด้านการละครไทยตามหัวข้อที่คัดสรร 
An analytical and critical study on selected topics in Thai theatre.

รายวิชาบังคับร่วมที่ไม่นับหน่วยกิตรวมในหลักสูตร 
และประเมินผลเป็น S/U 4 หน่วยกิต 

งานละครภาคปฏิบัติ 1 (Theatre Practice I )
2 หน่วยกิต 
การฝึกปฏิบัติงานละครหรืองานที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่จัดโดยภาควิชาหรือหน่วยงานอื่นๆ ตามที่ได้            รับมอบหมาย
Assigned practical training in theatre production or related work produced by the department or other organizations.

งานละครภาคปฏิบัติ 2 (Theatre Practice II )
2 หน่วยกิต
การฝึกปฏิบัติงานละครหรืองานที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่จัดโดยภาควิชาหรือหน่วยงานอื่นๆ ตามที่ได
้รับมอบหมาย
Assigned practical training in theatre production or related work produced by the department or other organizations
 

+++ การรับสมัครเข้าศึกษา หลักสูตรปริญญาโท ปีการศึกษา 2557 +++ ***ขยายเวลาการรับสมัคร**

กำหนดการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศิลปการละคร
ปีการศึกษา 2557

 

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

1.  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปการละครหรือเทียบเท่า
2.  มีพื้นความรู้ด้านศิลปการละครที่พอเพียงและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
3.  คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศ ซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบเป็นปี ๆ ไป หรือ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารคณะอักษรศาสตร์ พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้

 

1.การรับและยื่นใบสมัคร

ติดต่อด้วยตนเองที่ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ ชั้น 8 อาคารบรมราชกุมารี

โทร. 02-218-4802, 02-218-4804

ระหว่างวันที่ 19 พฤษภาคม – 4 กรกฎาคม 2557 (ในวันเวลาราชการ)

เวลา 8.00 -12.00 น. และ 13.00 -16.00 น

*** ค่าสมัคร  1,000  บาท

 

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ           

วันที่ 4  กรกฎาคม  2557  ณ ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ ชั้น  8    อาคารบรมราชกุมารี หรือที่  www.arts.chula.ac.th

 

2.หลักฐานประกอบการสมัคร

    1.   สำเนาใบรับรองคะแนนรายวิชาในระดับปริญญาตรี (transcript)
    2.   สำเนาแสดงวุฒิการศึกษาสูงสุด (ใบปริญญา)
    3.   สำเนาทะเบียนบ้าน
    4.   สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ
    5.   สำเนาใบทะเบียนสมรส/ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (เฉพาะในกรณีที่ชื่อ –สกุล ในเอกสารการสมัครไม่ตรงกัน)
    6.   สำเนาผลสอบ CU – TEP (ผลสอบเดิมที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี นำเอกสารจริงมาแสดง)
    7.   หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)
    8.   หนังสือรับรองของอาจารย์จากสถาบันศึกษาเดิม (recommendation letter)
    9.   ประวัติประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวกับการละคร/การแสดงพร้อมตัวอย่างผลงาน (เช่น เทปบันทึกภาพ ภาพถ่าย ฯลฯ) 

หลักฐานและเอกสารเพิ่มเติม (แนบพร้อมใบสมัคร)

หนังสือแสดงความจำนงเข้าศึกษา (Statement of Purpose) ในลักษณะเรียงความ ความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ เอ 4 โดยใช้คำถามนี้เป็นแนวทางในการเขียนเรียงความ และให้นำมาส่งในวันสอบข้อเขียน  
“จุดมุ่งหมายและความสนใจของท่านในการศึกษาหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิตสาขาศิลปการละคร
สังเขปวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ในหัวข้อที่ท่านสนใจ เมื่อจบการศึกษาแล้วท่านคิดว่าจะนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากหลักสูตรนี้ไปใช้ในการประกอบอาชีพของท่านอย่างไร”

3.กำหนดวัน-เวลาและวิชาที่สอบ

วิชาที่สอบ

วันและเวลาที่ทำการทดสอบ

สถานที่สอบ

-  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศิลปะการละคร
- ความสามารถในการใช้ภาษาไทย 
(การอ่านและการเขียน)

10 กรกฎาคม  2557 (09.00-12.00 น.)
10 กรกฎาคม  2557 (13.00-15.00 น.)

อาคารบรมราชกุมารี
ห้อง 401

- สอบสัมภาษณ์
- นำเสนอผลงานด้านการกำกับการแสดง,
การเขียนบท, การออกแบบ
- ทดสอบความสามารถ & ทักษะด้านการแสดง

18 กรกฎาคม 2557  (09.00-16.00 น.)

อาคารบรมราชกุมารี
ห้อง 705

 

4.การทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ (CU-TEP)

ของศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ลงทะเบียนสมัครสอบและหาข้อมูลวัน-เวลา สถานที่สอบทาง internet  ที่โฮมเพจของศูนย์ทดสอบทางวิชาการฯ
http://www.atc.chula.ac.th
ผู้มีสิทธิเข้าสอบต้องส่งผลการทดสอบ CU-TEP มาแสดงเป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาคัดเลือก ภายในวันสอบสัมภาษณ์

 

5.การประกาศรายชื่อผู้ผ่านการสอบคัดเลือก

ประกาศวันที่  21 กรกฏาคม  2557 ที่ www.arts.chula.ac.th

 รายงานตัวเข้าศึกษา (ยืนยันสิทธิ์)  วันที่  24 กรกฎาคม  2557
(ส่งใบตอบรับรายงานตัวทางโทรสารหมายเลข 0-2218-4803  ตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น.)


 

***ดาวน์โหลดใบสมัครเข้าศึกษาหลักสูตรปริญญาโท ปีการศึกษา2557 ได้ที่

http://www.4shared.com/file/3QVzCBWUce/-57.html

 

     หากผู้สมัครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร ติดต่อได้ที่ คุณศิริพร พรลักษณะเจริญ ระหว่างเวลา    09.00 – 15.00 น.  โทร.  0-2218-4802, 0-2218-4804 หรือทาง E-mail: chuladrama@gmail.com

เวลาทำการสอน                              วันธรรมดา  และวันเสาร์
จำนวนนิสิตที่คาดว่าจะรับ            20 คน

รายละเอียดค่าใช้จ่าย


1.

ค่าใบสมัคร

1,000

บาท

2.

ค่าธรรมเนียม

                              -

บาท

3.

ค่าเล่าเรียนภาคการศึกษาละ

23,000

บาท

4.

ค่าธรรมเนียมการศึกษา ภาคการศึกษาละ

38,000

บาท