History

นับเป็นเวลากว่า 60 ปีแล้วที่มีการเปิดสอนหลักสูตรภาษาญี่ปุ่นในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเริ่มต้นจากการสอนเป็นวิชาเลือกจนพัฒนาเป็นวิชาเอกในหลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิต นอกจากนี้ยังมีการเปิดหลักสูตรระดับมหาบัณฑิต สาขาภาษาและวรรณคดีญี่ปุ่น (ตั้งแต่พ.ศ. 2549 ปรับปรุงหลักสูตรเปลี่ยนชื่อเป็นสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น) เมื่อพ.ศ.2542 และเมื่อพ.ศ.2550 ได้เปิดหลักสูตรระดับมหาบัณฑิต เพิ่มขึ้นอีกหลักสูตรหนึ่งคือหลักสูตรสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาต่างประเทศ นอกจากหลักสูตรปริญญาบัณฑิตและมหาบัณฑิตที่สาขารับผิดชอบโดยตรงแล้ว เมื่อพ.ศ.2546 สาขายังร่วมกับสาขาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ เปิดสอนหลักสูตรระดับดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาวรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบอีกด้วย

นอกจากนี้ ในปีพ.ศ.2551 สาขาได้เริ่มจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาญี่ปุ่นบรรยายเป็นภาษาญี่ปุ่นและอังกฤษให้แก่นิสิตหลักสูตรปริญญาบัณฑิต นานาชาติของคณะอักษรศาสตร์ (BALAC) ควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นชั้นต้นให้กับหลักสูตรนานาชาติต่างคณะ

ระดับปริญญาบัณฑิต

สำหรับระดับปริญญาบัณฑิตได้มีการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรภาษาญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องให้เหมาะสมกับสภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามลำดับ ดังนี้

พ.ศ.สถานภาพของวิชาผู้เรียน
2485-2487เป็นวิชาเลือกเช่นเดียวกับวิชาภาษา ฝรั่งเศสและภาษาเยอรมันนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2488เป็นวิชาเลือกเช่นเดียวกับวิชาภาษา ฝรั่งเศสและภาษาเยอรมันนิสิตคณะอักษรศาสตร์ ชั้นปีที่ 1
2489-2508ไม่มีการเปิดสอนเนื่องจากผู้สอนต้องไป ประจำที่สถานทูตไทยในประเทศญี่ปุ่น
2509-2513เป็นวิชาเลือก 1 ใน 3 หมวดเช่นเดียวกับ วิชาภาษาไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส ฯลฯ (12วิชา)นิสิตคณะอักษรศาสตร์ ชั้นปีที่ 3-4
2514-2520เป็นวิชาเอก (16+32 หน่วยกิต) (มีนิสิตเอกภาษาญี่ปุ่นรุ่นแรกปี 2516)นิสิตคณะอักษรศาสตร์ ปีที่ 1 และ 2 เรียนเป็นภาษาต่างประเทศ นิสิตปีที่ 3 และ 4 เรียนเป็นวิชาเอก
2520-2527เป็นวิชาเอก (6+42 หน่วยกิต)นิสิตคณะอักษรศาสตร์ ปีที่ 1 เรียนเป็นภาษาต่างประเทศ นิสิตปีที่ 2-4 เรียนเป็นวิชาเอก
2527-2538เป็นวิชาเอก (52 หน่วยกิต)นิสิตคณะอักษรศาสตร์ ชั้นปีที่ 1-4
2538-2547เป็นวิชาเอก(Area of Concentration) (82 หน่วยกิต)นิสิตคณะอักษรศาสตร์ ชั้นปีที่ 1-4
2547-2551เป็นวิชาเอกเดี่ยว (71 หน่วยกิต) เป็นวิชาโท (20 หน่วยกิต)นิสิตคณะอักษรศาสตร์ ชั้นปีที่ 1-4 (เริ่มเรียนจากภาษาญี่ปุ่นชั้นกลาง) นิสิตวิชาโทเรียนแยกวิชาและเริ่มเรียนจากชั้นต้นได้
2551-2557เป็นวิชาเอกเดี่ยวหลักสูตรปกติและหลักสูตร เกียรตินิยม (72 หน่วยกิต) เป็นวิชาโท (20 หน่วยกิต)นิสิตคณะอักษรศาสตร์ ชั้นปีที่ 1-4 นิสิตวิชาโทเรียนแยกวิชา (เอกและโทเริ่มเรียนจากภาษาญี่ปุ่นชั้นกลาง)
2557-2560เป็นวิชาเอกเดี่ยวหลักสูตรปกติ เกียรตินิยม (72 หน่วยกิต) เป็นวิชาโท (21 หน่วยกิต)นิสิตคณะอักษรศาสตร์ ชั้นปีที่ 1-4 นิสิตวิชาโทเรียนแยกวิชา (เอกและโทเริ่มเรียนจากภาษาญี่ปุ่นชั้นกลาง)
2561-2565เป็นวิชาเอกเดี่ยว (66 หน่วยกิต) เป็นวิชาโท (18 หน่วยกิต)นิสิตคณะอักษรศาสตร์ ชั้นปีที่ 1-4 นิสิตวิชาโทเรียนแยกวิชา (เอกและโทเริ่มเรียนจากภาษาญี่ปุ่นชั้นกลาง)
2566-(แผน)เป็นวิชาเอกเดี่ยว (72 หน่วยกิต) วิชาเอก-โท (54 หน่วยกิต) เป็นวิชาโท (18 หน่วยกิต) รูปแบบการเรียนแบบโมดูลนิสิตคณะอักษรศาสตร์ ชั้นปีที่ 1-4 นิสิตวิชาโทเรียนแยกวิชา (เอกและโทเริ่มเรียนจากภาษาญี่ปุ่นชั้นกลาง)

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
พ.ศ.สถานภาพของวิชา
2542-2548เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาและวรรณคดีญี่ปุ่น (สายวรรณคดี)
2544-2548เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาและวรรณคดีญี่ปุ่น (สายภาษา)
2549-2558เปลี่ยนชื่อเป็นหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น (สายวรรณคดีและสายภาษา)
2550-2560เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาต่างประเทศ (แผน ก และแผน ข)
2558-2562เปลี่ยนชื่อหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น เป็น หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวัฒนธรรมและวรรณคดีญี่ปุ่น
2563-ปัจจุบันเปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ (ภาษาญี่ปุ่น)

ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
พ.ศ.สถานภาพของวิชา
2546-2560เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาวรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ (โครงการร่วมกันระหว่างภาควิชาภาษาตะวันออก ภาษาตะวันตก ภาษาอังกฤษ และวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
2558-2565เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาวัฒนธรรมและวรรณคดีญี่ปุ่น
2566-ปัจจุบันเปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ (ภาษาญี่ปุ่น)

รายชื่ออาจารย์ชาวไทยประจำสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  1. อ.ม.ล. นีลนารา ทองใหญ่ (2511-2517)
  2. อ.จินตนา ประมุขชัย (2513-2517)
  3. ผศ.ปิยะจิต ทาแดง (สกุลเดิม จันทรางศุ) (2513-2547)
  4. อ.วิมล มูนจินดา (2514-2519)
  5. ผศ.ดร.กัลยาณี สีตสุวรรณ (2515-2550)
  6. รศ.มณฑา พิมพ์ทอง (2517-2555)
  7. รศ.ประเสริฐ จิตติวัฒนพงศ์ (2519-252? ย้ายไปสังกัดคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  8. ผศ.สุชาดา สัตยพงศ์ (2520-2553)
  9. ผศ.ดร.รัชนี ปิยะมาวดี (2520-2549)
  10. ศ.กิตติคุณ ดร.สิริมนพร สุริยะวงศ์ไพศาล (ชื่อเดิม เสาวลักษณ์) (2520-2559, ศาสตราภิชาน 2559-2561)
  11. อ.กาญจนา ประสพเนตร (2525-2540)
  12. อ.บัณฑิต ลิมเพชรากุล (2538-2539)
  13. อ.วิสุทธิกัญญา ต่อศรีเจริญ (2538-2540)
  14. ผศ.ดร.วรวุฒิ จิราสมบัติ (2540-2565)
  15. รศ.ดร.เดือนเต็ม กฤษดาธานนท์ (สกุลเดิม สายหอม) (2541-ปัจจุบัน)
  16. รศ.ดร.กนกวรรณ เลาหบูรณะกิจ คะตะกิริ (2542-2545, 2549-ปัจจุบัน)
  17. รศ.ดร.ชมนาด ศีติสาร (2542-ปัจจุบัน)
  18. อ.ดร.ลัดดา แก้วฤทธิเดช (2543-2547)
  19. อ.ดร.รังสิมา บุญสินสุข (2544-2545)
  20. ผศ.ดร.ชวาลิน เศวตนันทน์ (2546-2550)
  21. ศ.ดร.อรรถยา สุวรรณระดา (2547-ปัจจุบัน)
  22. ผศ.ดร.น้ำทิพย์ เมธเศรษฐ (2548-ปัจจุบัน)
  23. ผศ.ดร.อัษฎายุทธ ชูศรี (2551-ปัจจุบัน)
  24. อ.ดร.อาทยา อาโอคิ (2554-2555)
  25. อ.ดร.มัทนา จาตุรแสงไพโรจน์ (2555-ปัจจุบัน)
  26. ผศ.ดร.ยุพวรรณ โสภิตวุฒิวงศ์ (2556-ปัจจุบัน)
  27. ผศ.ดร.สรัญญา ชูโชติแก้ว (2561-ปัจจุบัน)
  28. ผศ.ดร.สลิลรัตน์ กวีจารุมงคล (2562-ปัจจุบัน)

รายชื่ออาจารย์ชาวญี่ปุ่นประจำสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สมัยคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากรัฐบาลญี่ปุ่น (ไม่ได้สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)(2509-2515)

  1. ศ.ตาเกยิโร โทมีต้า (冨田竹二郎)
  2. ศ.ฮิเดะโอะ นิฌิโอะกะ (西岡ひでお)
  3. อ.โซคิชิ คิมุระ (木村宗吉)

สมัยคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2515-2529)

  1. ศ.โอะซะมุ มะท์ซุยะมะ (松山納)
    อ.มะกิโอะ คะท์ซุระ (桂満希郎)
    อ.มิกิโอะ โมะริ (森幹男)
  2. ศ.เคนจิโร อิชิกะวะ (市川健二郎)
    อ.โทะฌิฮะรุ โยะฌิกะวะ (吉川利治)
    อ.ยะซุอะกิ ซะกะโมะโตะ (坂本恭章)
  3. ศ.ยะซุฌิ ยะซุบะ (安場保吉)
    อ.ทะกะฌิ คะวะโมะโตะ (かわもとたかし)
    อ.ยะซุฮิโกะ บะบะ (馬場やすひこ)
  4. อ.ยูจิโร อิวะกิ (2513-2520)
  5. ศ.เคนซุเกะ ทะมะอิ (玉井乾介) (2519-2522)
    อ.ทะเกะดะ
  6. ศ.ยะซุโอะ คุระโมะจิ (倉持保男) (2523-2525)
    อ.คิโนะฌิตะ
  7. ศ.คะโอะรุ ทะกะซะกะ (高坂薫) (2524-2525)
    อ.ฮินะโกะ ซะกะโมะโตะ
  8. อ.อะกะงิ (ไม่ปรากฏข้อมูลชัดเจน)
  9. อ.อะดะจิ (ไม่ปรากฏข้อมูลชัดเจน)
  10. อ.ยะซุโกะ โดะอุระ (堂裏泰子) (2527-2529) (อาจารย์พิเศษจาก JF), (2529-2530) (อาจารย์จุฬาฯ)

สมัยอาจารย์สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2530-ปัจจุบัน)

  1. อ.ทาเคชิ คิตะมูระ (北村武士) (2530-2534) (อาจารย์พิเศษจาก JF)
  2. อ.ชูโกะ ทานากะ (田中周子) (2534-2548, 2548-2550) (อาจารย์จุฬาฯ)
  3. อ.เคสุเกะ โองาตะ (尾形佳助) (2534-2535) (อาจารย์พิเศษจาก JF)
  4. อ.โจจิ อิเคะสึ (池津丈司)(2535-2538) (อาจารย์พิเศษจาก JF)
  5. อ.โยชิดะ คะสึฮิโกะ (吉田一彦)(2538-2541) (อาจารย์พิเศษจาก JF)
  6. อ.มิชิโกะ อิมะอิ (今井己知子) (2548-2554, 2555-2559) (อาจารย์พิเศษทุนโตโยต้า)
  7. อ.ดร.อะท์ซุฌิ โมะริ (森篤嗣) (2548-2549)
  8. ผศ. (พิเศษ) คิโยะมิ อิเกะตะนิ (池谷清美) (2549-2562)
  9. อ.อะซะโกะ ฮะยะฌิ (林麻子) (2549-2550) (อาจารย์พิเศษทุนโตโยต้า)
  10. อ.ดร.ฮิเดะกิ ฮิระมะท์ซุ (平松) (2550-2551) (อาจารย์พิเศษทุนโตโยต้า)
  11. อ.ดร.ฌิเงะกิ อิวะอิ (2550-2555) (อาจารย์พิเศษทุนโตโยต้า)
  12. อ.ดร.เอะอิจิ นะกะยะมะ (中山英治) (2550-2552) (อาจารย์พิเศษทุนโตโยต้า)
  13. อ.ดร.เรโกะ อิชิบาชิ (石橋玲子) (2550-2554) (อาจารย์พิเศษทุนโตโยต้า)
  14. อ.ดร.ทะกะเอะ ฮะงิวะระ (萩原孝恵) (2552-2557) (อาจารย์พิเศษทุนโตโยต้า)
  15. อ.นะท์ซุกิ มะท์ซุอิ (松井夏津紀) (2554-2559)
  16. อ.ดร.ริวเอ็น ฮิระมัตสึ (平松隆円)(2556-2557) (อาจารย์พิเศษทุนโตโยต้า)
  17. อ.ดร.ทะกะฌิ มะซุโนะ (増野高司)(2558-2560) (อาจารย์พิเศษทุนโตโยต้า)
  18. อ.เมงุมิ คนโด (近藤めぐみ) (2559-2562)
  19. อ.ยะซุโกะ นะกะอิ (中井靖子) (2559-2561) (อาจารย์พิเศษทุนโตโยต้า)
  20. อ.อิกุมิ มะท์ซุอิ (松井育美) (2559-2560) (อาจารย์พิเศษทุนโตโยต้า)
  21. อ.ยะสุโกะ เซ็นซุอิ (泉水康子) (2562-2562) (อาจารย์พิเศษทุนโตโยต้า)
  22. อ.คะสุมิ ซะอิโต(齋藤和美) (2562-2563)
  23. อ.ดร.ยูโกะ มิโยะฌิ(三好裕子) (2563-2565)
  24. อ.ฮิเดะฮิโร โคบายาชิ(小林英弘) (2563-ปัจจุบัน)
  25. อ.อะยะเมะ วะตะนะเบะ(渡邉あやめ) (2565-ปัจจุบัน)