มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) โดยมีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานมูลนิธิ และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดยภาควิชาภาษาศาสตร์ ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย (ภอท.) ครั้งที่ 3 เพื่อคัดเลือกนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 20 ในเดือนกรกฎาคม 2566
การแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย (ภอท.) ครั้งที่ 5 จะมีขึ้นในวันที่ 19 มกราคม 2568 เวลา 13.00-15.00 น. มูลนิธิ สอวน. จะคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันประมาณ 30 คน เข้าร่วมการอบรมความรู้และทักษะเชิงวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์ โดยนักเรียนที่ได้รับคัดเลือกจะต้องเข้าอบรมฯ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาการอบรมทั้งหมด 24 ชั่วโมง จึงจะมีสิทธิ์เป็นผู้แทนประเทศไทยในการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 7 หลังจากนั้น มูลนิธิ สอวน. จะคัดเลือกผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดในการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 7 จำนวน 6 คน โดยลำดับที่ 1-4 เป็นผู้แทนประเทศไทยในการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 22 และลำดับที่ 5 และ 6 เป็นผู้แทนสำรอง ทั้งนี้ ผู้แทนสำรองที่เข้าอบรมเข้มครบตามจำนวนชั่วโมงที่กำหนด จะมีสิทธิ์กลับมาแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 8 ต่อไป
ดูประกาศการการรับสมัครนักเรียนเพื่อคัดเลือกผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขัน
ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 22 ของสอวน. ได้ทางเว็บไซต์ สอวน.
คุณสมบัติผู้สมัคร
ผู้สมัครเข้าร่วมการแข่งขันต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- ต้องกำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในสถานศึกษาในประเทศไทย หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าจากสถานศึกษาในประเทศไทยในปีการศึกษา 2567 และยังไม่เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
- ต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่ 30 เดือนมิถุนายน ปีที่แข่งขัน
- ต้องมีหนังสือรับรองสถานภาพการเป็นนักเรียนจากสถานศึกษา (ปพ.7) ในกรณีจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว สามารถขอใบรับรองจากเขตเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแทนได้ (ยังไม่ต้องส่งเอกสารในการสมัครผ่าน Google Forms)
**(หลังสอบ ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนสูงสุดต้องส่งเอกสารให้ครบถ้วนตามที่ศูนย์สอบกำหนดจึงจะได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมการอบรมความรู้และทักษะเชิงวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์ และเข้าร่วมการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 7)**
ขั้นตอนการสมัครเข้าแข่งขัน
- นักเรียนผู้สนใจสมัครชำระค่าสมัครสอบ 100 บาทต่อคน โดยฝากหรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ
ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 - เมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้ว กรอกใบสมัครผ่าน google form
(https://forms.gle/gbWgJNAQcQNPAwnW7) ผู้สมัครต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน และแนบหลักฐานการชำระเงิน กรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ ให้บันทึกภาพหน้าจอที่ทำรายการสำเร็จแล้วเป็นหลักฐาน โดยให้เห็นเลขที่บัญชีที่โอนเข้า ยอดเงินที่โอนเข้า และวันเวลาที่ทำรายการให้ชัดเจน หากผู้สมัครส่งข้อมูลการสมัครมามากกว่าหนึ่งครั้ง จะใช้ข้อมูลที่ส่งมาครั้งล่าสุดเท่านั้น
กำหนดการ
13 พฤศจิกายน – 13 ธันวาคม 2567 |
รับสมัครผู้เข้าแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5 ทางเว็บไซต์ ภอท. http://www.arts.chula.ac.th/ling/lot/ |
26 ธันวาคม 2567 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบทางเว็บไซต์ มูลนิธิ สอวน. https://www.posn.or.th/ |
19 มกราคม 2568 (13.00 – 15.00 น.) |
แข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5 สถานที่สอบตามที่ผู้สมัครเลือกไว้ในใบสมัคร |
5 มีนาคม 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการสอบและมีสิทธิ์เข้าร่วมการอบรมความรู้และทักษะเชิงวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์ทางเว็บไซต์ มูลนิธิ สอวน. https://www.posn.or.th/ |
เมษายน 2568 |
แข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 7 ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
พฤษภาคม 2568 |
ประกาศรายชื่อผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 22 ทางเว็บไซต์ มูลนิธิ สอวน. https://www.posn.or.th/ |
การติดต่อ
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางอีเมล ling.olympiad.thailand@gmail.com