ข้อแนะนำในการตีพิมพ์ผลงานในระดับนานาชาติ

ข้อแนะนำในการตีพิมพ์ผลงานในระดับนานาชาติ
(สรุปจากการบรรยายอาศรมวิจัย เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2563 โดย รศ.ดร.พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์)

  1. ทำไมจึงควรมุ่งตีพิมพ์วิจัยในระดับนานาชาติ
  • ผ่านการคัดกรองที่เข้มงวดกว่า ได้รับ feedback จากผู้เชี่ยวชาญจริงๆ
  • มี distribution กว้างกว่า > impact สูงกว่า
  • มีโอกาสได้รับการอ้างอิงมากขึ้น และได้รับการติดต่อสร้างเครือข่ายวิจัย
  • ประเด็นวิจัยเรื่องไทยๆ ก็สามารถตีพิมพ์ในระดับนานาชาติได้ แต่ต้อง frame ให้มีความเกี่ยวข้องกับวงกว้าง
  • ความภูมิใจส่วนตัว ใช้ในการเรียนการสอน
  1. ถ้าไม่นับเรื่องต้องทำต้นฉบับเป็นภาษาต่างประเทศแล้วการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติยากกว่าและใช้เวลามากกว่าวารสารในประเทศไหม
  • การวิจารณ์อาจตรงไปตรงมา ไม่ต้องถนอมน้ำใจ และข้อแนะนำให้ปรับแก้อาจมีมากกว่า
  • ระยะเวลานั้นแล้วแต่วารสาร วารสารที่มีระบบจัดการที่ดีใช้เวลาเพียง 1 วันในการแจ้งปฏิเสธการตีพิมพ์ และส่งผลพิจารณากลับใน
    1-2 เดือน
  1. เราจะเลือกที่ตีพิมพ์อย่างไรดี
  • วารสารใน Scopus ไม่ได้ดีทั้งหมด ต้องเลือกให้ตรงกับคำถามวิจัย และเลือกจาก impact (คนในวงการนิยมอ้างงานในวารสารอะไร)
  • ตีพิมพ์ในหนังสือก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
  • การตรวจสอบข้อมูลวารสารใน Scimago (www.scimagojr.com) เลือกสาขา => ดู ranking => ดู citation stats)
  1. อาจารย์มีผลงานในฐาน Scopus ถึง 11 ชิ้นใน 5 ปี เฉลี่ยปีละ 2 ชิ้น อาจารย์มีวิธีอะไรที่ทำให้ผลิตผลงานได้อย่างต่อเนื่อง
  • สร้าง Collaboration ประโยชน์ของ collaboration คือ สามารถทำวิจัยที่ท้าทายขึ้นได้
  • สร้างเครือข่าย เครือข่ายจะนำไปสู่การตีพิมพ์ และการพัฒนาหน่วยงาน พัฒนานิสิต (ควรไปประชุมวิชาการนานาชาติ)
  • การตีพิมพ์กับนิสิตเป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย แต่อาจารย์ต้องมีส่วนร่วมจริงๆ มากกว่าการให้คำปรึกษา (เช่น ให้ทุน ช่วยเขียน ช่วยวิเคราะห์)
  1. ทำอย่างไรให้ผลงานของเราได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์
  • เลือกวารสารที่เหมาะกับงานของเรา
  • หาจุดเด่นของงานและนำเสนอจุดเด่นนั้นให้ดึงดูดความสนใจผู้อ่าน
  1. สรุปเคล็ดลับความสำเร็จในการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ
    • เลือกประเด็นวิจัยที่เราสนใจจริงและเป็นประเด็นที่ท้าทายและมี implication ต่อวงวิชาการในวงกว้าง
    • ร่วมมือกับนักวิจัยในสถาบันหรือต่างสถาบัน โดยเฉพาะต่างสาขา
    • แบ่งเวลา แบ่งงาน- ขอทุน

Be strategic: เช่น นำหัวข้อวิจัยเข้าไปทำสอนในชั้นเรียนเพื่อให้นิสิตสนใจ/ทำโครงการที่สามารถตีพิมพ์ได้มากกว่า 1 บทความ/
หา post-doc

สาระน่ารู้