คำถามที่พบบ่อย
Slider

Answer: สามารถติดตามได้จากประกาศที่ส่งให้ทางภาควิชา หรือบอร์ดกระจกงานบัณฑิตศึกษาข้างห้องงานบริการการศึกษา อาคารมหาวชิราวุธ

Answer: ภาควิชา/สาขาวิชา/หลักสูตร จะเป็นผู้ดำเนินการโดยที่ไม่ต้องส่งเรื่องขอแต่งตั้งคณะกรรมการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์มาที่หน่วยบัณฑิตศึกษา ห้องงานบริการการศึกษา

Answer:

  • แบบ บ.18 ก และแบบ บ.19 ก. ตัวจริง(ที่มีลายเซ็นฉบับจริง) จำนวน 1 ชุด
  • แบบ บ.18 ข และแบบ บ.19 ข. ตัวจริง(ที่มีลายเซ็นนิสิตฉบับจริง) จำนวน 1 ชุด และ สำเนาเฉพาะ แบบ บ.18 ข. และ บ.19 ข.จำนวน 10 ชุด

Answer: ให้อาจารย์ที่ปรึกษาหลักลงนามในแบบเสนอขออนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์ แบบ บ. 18 ก. และ แบบ บ 19 ก. เพียงท่านเดียว

Answer: เมื่อโครงร่างวิทยานิพนธ์ผ่านที่ประชุมคณะกรรมการกำกับฯแล้ว งานบัณฑิตศึกษาจะส่งเฉพาะโครงร่างวิทยานิพนธ์แบบ ข. ให้ภาควิชา/สาขาวิชา โดยในตัวโครงร่างนั้นจะมีการให้อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และหัวหน้าภาควิชาลงนามเพื่อเป็นการรับทราบในการแก้ไขตามมติที่ประชุม และในกรณีที่ต้องมีการแก้ไขให้ปฏิบัติดังนี้

 – กรณีที่มีมติให้เสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์ใหม่อีกครั้ง ให้ดำเนินการแก้ไขและนำส่งโครงร่างเฉพาะแบบ บ.18 ข. หรือแบบ บ. 19 ข. เท่านั้น ซึ่งจะเป็นฉบับที่มีลายเซ็นจริง 1 ชุด และสำเนาจำนวน 10 ชุด

  • กรณีที่มีมติอนุมัติเมื่อนิสิตได้แก้ไขตามมติที่ประชุม ให้นิสิตแก้ไขเฉพาะ แบบ ข. จำนวน 1 ชุด ที่มีลายเซ็นฉบับจริงโดยไม่ต้องสำเนา และนำมาส่งที่หน่วยบัณฑิตศึกษา ห้องงานบริการการศึกษา
  • กรณีที่โครงร่างวิทยานิพนธ์อนุมัติโดยไม่มีการแก้ไข นิสิตไม่ต้องดำเนินการส่งแบบ บ. 18 ข. และ แบบ บ.19 ข. อีก

Answer: นิสิตหลักสูตรต่อเนื่องระดับดุษฎีบัณฑิต สามารถเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์ภาคการศึกษาใดก็ได้ แต่ต้องได้รับการอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนการขอสอบวิทยานิพนธ์

Answer: เสนอภายใน 4 ภาคการศึกษา หรือไม่เกิน 2 ปี นับจากภาคการศึกาษาที่เข้าศึกษา

Answer: ถ้าแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ไปแล้วก่อนที่อาจารย์ที่ปรึกษาจะเกษียณอายุราชการ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์สามารถเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของนิสิตได้จนกว่านิสิตจะจบการศึกษา โดยไม่ต้องเปลี่ยนใหม่

Answer: ไม่ต้องเปลี่ยนอาจารย์ที่ปรึกษาใหม่ (เพื่อให้เป็นไปตามประกาศ คณะอักษรศาสตร์ เรื่องการลาเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ พ.ศ. 2562)

Answer: 

Answer: ให้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ตามข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่าด้วย การศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561

Answer: ไม่ได้ เนื่องจากเกณฑ์ข้อบังคับของจุฬาฯ นิสิตปริญญาเอกจะต้องเผยแพร่ลงวารสารเท่านั้น และจะต้องยู่ในฐาน TCI หรือ SCOPUS อย่างใดอย่างหนึ่ง

Answer: ให้หลักสูตรดำเนินการจัดทำบันทึกข้อความขอรับรองวารสารพร้อมชี้แจงเหตุผลทางวิชาการให้คณะกรรมการบริหารหลักสูตรมีมติรับรองวารสารนั้น ๆ มาที่หน่วยบัณฑิตศึกษา ห้องงานบริการการศึกษา เพื่อนำเรื่องเสนอคณะกรรมการบริหารคณะ และคณะจะเสนอบัณฑิตวิทยาลัยพิจารณาว่าวารสารดังกล่าวเป็นไปตามประกาศจุฬาฯ เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการฯ

พ.ศ. 2557 ข้อ 7 สามารถใช้สำหรับเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นเงื่อนไขในการสำเร็จการศึกษาได้

Answer: สามารถส่งวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์โดยไม่ต้องลงใน ithesis ได้ เนื่องจากระบบ ithesis ยังไม่รองรับภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ บัณฑิตวิทยาลัยจึงอนุโลมให้เฉพาะนิสิตที่ทำวิทยานิพนธ์ที่มีภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษปนอยู่ส่งวิทยานิพนธ์โดยไม่ต้องลงใน ithesis แต่ทั้งนี้จะต้องดำเนินการทำ turnitin เพื่อนำผลให้แก่บัณฑิตวิทยาลัยด้วย

Answer: ให้อาจารย์ที่ปรึกษาทำบันทึกชี้แจง ถึงคณบดีคณะอักษรศาสตร์ ผ่านประธานหลักสูตรฯ และหัวหน้าภาควิชา และส่งที่หน่วยบัณฑิตศึกษา ห้องงานบริการการศึกษา

Answer: นิสิตต้องดำเนินการดังนี้

(1) ทำจดหมายชี้แจงพร้อมเหตุผลทางวิชาการให้อาจารย์ที่ปรึกษาพิจารณา และแนบแบบเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์ แบบ บ18 กข หรือแบบ บ 19 กข. ใหม่มาพร้อมกับบันทึก

 (2)  อาจารย์ที่ปรึกษาเสนอเรื่องถึงคณบดีคณะอักษรศาสตร์ ผ่านประธานหลักสูตรฯและหัวหน้าภาควิชา โดยระบุครั้งที่และวันที่ประกาศได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารคณะฯ พร้อมชี้แจงเหตุผลทางวิชาการถึงกรณีที่ต้องการเปลี่ยน

 (3)  นำมาส่งที่หน่วยบัณฑิตศึกษา ห้องงานบริการการศึกษา

Answer: สามารถจัดสอบผ่านเครือข่ายระบบสารสนเทศ หรืออาจมีการประเมินวิทยานิพนธ์เป็นลายลักษณ์อักษร โดยต้องชี้แจงเหตุผลและแจ้งผลการประเมินต่อประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ล่วงหน้าก่อนเวลาสอบวิทยานิพนธ์

Answer: ถ้าเป็นภาคการศึกษาสุดท้ายของการศึกษาที่จะจบไม่ควรได้รับผลการประเมิน U แต่ถ้าไม่ใช่ภาคการศึกษาสุดท้ายที่จะจบไม่มีผลอะไร แต่ไม่ควรได้รับสัญลักษณ์ U 2 ครั้งติดกัน