หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มีคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทย ซึ่งมีผลงานวิจัยจากหลากหลายแนวทาง ทั้งการศึกษาภาษาไทยเชิงประวัติ แบบลักษณ์ภาษา อรรถศาสตร์ วากยสัมพันธ์ ภาษากับสังคมและวัฒนธรรมไทย วัจนปฏิบัติศาสตร์ ปริจเฉทวิเคราะห์ วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ การศึกษาภาษาไทยในฐานะภาษาที่สอง ภาษาต่างประเทศที่สัมพันธ์กับภาษาไทย และภาษาไทยถิ่น ตัวอย่างงานวิจัยเช่น
การศึกษาภาษาไทยเชิงประวัติ
- พัฒนาการของคำเชื่อมในภาษาไทย
- กระบวนการเกิดคำใหม่ในภาษาไทย
การศึกษาภาษาไทยเชิงแบบลักษณ์ภาษา
- ภาษาไทยในมุมมองแบบลักษณ์ภาษา
- Comitatives and instrumentals in Thai: a diachronic typological perspective
อรรถศาสตร์และวากยสัมพันธ์
- อรรถลักษณ์ของกริยาหรือบริบทที่กำหนดการใช้คำ “ถูก” ในประโยคกรรม
- ไวยากรณ์หน่วยสร้าง
- Is there Wh-movement in Thai?
- Syntax and Semantic of Co-occurrence with Khaaw
ภาษากับสังคมและวัฒนธรรมไทย
- ความแหวกแนวและอารมณ์ขันของสมญานามนักการเมืองไทย
- ตำราพรหมชาติ: การศึกษาพัฒนาการด้านภาษา เนื้อหา บทบาทหน้าที่ และการสะท้อนสภาพสังคม
วัจนปฏิบัติศาสตร์
- การพูดเล่นและการหยอกล้อคู่สนทนา: ลักษณะเด่นของการสนทนาแบบเน้นภารกิจในภาษาไทย
- โฆษณาตัวเองอย่างไรให้น่าเชื่อถือ?: กลวิธีทางภาษาในการโฆษณาตัวเองของนักการเมืองไทยจากมุมมองวัจนปฏิบัติศาสตร์
- วัจนกรรมการขอโทษในปริจเฉทการแถลงข่าวอื้อฉาวของบุคคลในวงการบันเทิงไทย
- The wide use of mai-pen-rai ‘It’s not substantial’ in Thai interactions and its relationship to the Buddhist concept of Tri Laksana
ปริจเฉทวิเคราะห์และวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์
- วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย
- ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์และแนวทางการนำมาศึกษาภาษาไทย
- ตอบอย่างไรเมื่อประชาชนคนไทยเห็นว่ารัฐบาล “การ์ดตก”: กลวิธีการกู้ภาพลักษณ์ในปริจเฉทการแถลงข่าวของศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
- Do you know how to live a desirable life?: A critical discourse analysis of the “guidance for life” self-help books in Thai
การศึกษาภาษาไทยในฐานะภาษาที่สอง
- การศึกษาวัจนกรรมการแสดงความเห็นแย้งของผู้เรียนภาษาไทยชาวจีนตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์อันตรภาษา: กรณีศึกษานักศึกษาชาวจีนจากมณฑลยูนนานและกวางสี
- ภาษาไทย: การสอนในประเทศญี่ปุ่น
ภาษาต่างประเทศที่สัมพันธ์กับภาษาไทย
- ภาษาตระกูลมอญ-เขมร กับการศึกษาสถานนามในอีสานใต้
- คำไทย-คำเทศ
ภาษาไทยถิ่น
- คำบอกเวลาในภาษาไทยถิ่นกลาง
- คำเก่า-คำถิ่นในคำซ้อน
ผู้สนใจสามารถติดตาม “ผลงานวิชาการและผลงานวิจัย” ของคณาจารย์ และ “ผลงานวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา” เพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ “คลังความรู้” ของภาควิชาภาษาไทย https://www.arts.chula.ac.th/thai/thaiarchives/
ภาควิชาภาษาไทย อักษรฯ จุฬาฯ เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรต่อเนื่อง) ทั้งในสายภาษาไทย วรรณคดีไทย และคติชนวิทยา ปีการศึกษา 2566
รับสมัคร 1 กุมภาพันธ์ 2566 – 31 มีนาคม 2566 ทางเว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
https://www.grad.chula.ac.th
ดูรายละเอียดหลักสูตรได้ที่เว็บไซต์ภาควิชาภาษาไทย หัวข้อ “หลักสูตรบัณฑิตศึกษา”
https://www.arts.chula.ac.th/thai/