นิสิตมหาบัณฑิตและนิสิตดุษฎีบัณฑิตในหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาวิจัยคติชนในหัวข้ออันหลากหลาย ทั้งการศึกษานิทานและเรื่องเล่าร่วมสมัย การแสดง ตำนานและพิธีกรรม คติชนสมัยใหม่ คติชนสร้างสรรค์ และคติชนประยุกต์
ตัวอย่าง “หัวข้อวิทยานิพนธ์ของดุษฎีบัณฑิตและมหาบัณฑิตสายคติชน” (ย้อนหลังในช่วง 10 ปี)
การศึกษานิทานและเรื่องเล่าร่วมสมัย
- เรื่องเล่าแนว “รักโศก” และกลวิธีการให้คำปรึกษาในพื้นที่สื่อสาธารณะ: กรณีศึกษารายการวิทยุ “คลับฟรายเดย์” (2557)
- ลักษณะเด่นของนวนิยายไทยที่มีตัวละครเป็นครุฑและนาค (2557)
- คติชนในนวนิยายของพงศกร (2558)
- แดนอรัญ แสงทอง ในฐานะนักเล่านิทาน (2559)
- นิทานเรื่องศรีธนญชัยในสื่อสิ่งพิมพ์ไทยร่วมสมัย (2560)
การแสดง
- คณะคำนาย: การสร้างภาพลักษณ์และการปรับประยุกต์เรื่องรามเกียรติ์ในการแสดงหุ่นละครเล็ก (2558)
- วัฒนธรรมโนรา: การดำรงอยู่และการสืบทอดในบริบทของบ้านปลายระไม อำเภอเปิ้นดัง รัฐเคดาห์ (ไทรบุรี) ประเทศมาเลเซีย (2558)
- โขนสดคณะประยุทธ ดาวใต้: การสืบทอดและการสร้างสรรค์เรื่องรามเกียรติ์ในสังคมไทยร่วมสมัย (2559)
ตำนานและพิธีกรรม
- บทบาทและการสืบทอดคาถาและพิธีกรรมของหมอพื้นบ้านในการรักษาโรคที่บ้านหนองขาว จังหวัดกาญจนบุรี (2556)
- ภูมิปัญญาล้านนาในการประยุกต์คัมภีร์และพิธีกรรม “สืบ ส่ง ถอน” ที่เกี่ยวกับภัยพิบัติในปัจจุบัน (2557)
- พระอุปคุต: การสืบทอดและการผลิตซ้ำความเชื่อ ตำนาน และพิธีกรรมในสังคมไทยปัจจุบัน (2557)
- ตำนานไท้ส่วยเอี๊ยะ 60 องค์และพิธีแก้ปีชงในศาสนสถานจีนในสังคมไทยร่วมสมัย (2558)
- จามเทวีบูชา: การผลิตซ้ำตำนานและการสร้างพิธีบวงสรวงในสังคมไทยร่วมสมัย (2559)
- วรรณกรรมและพิธีกรรมบอกตัวตนคนพลัดถิ่นของชาวไทลื้อเมืองยอง หมู่บ้านร่มโพธิ์ทอง ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย (2559)
- การสืบทอดและบทบาทของคติชนที่เกี่ยวกับ “พระพุทธรูปไม้ติ้ว” ในอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม และอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี (2559)
- ลัทธิพิธีบูชาพระพรหมในสังคมไทยร่วมสมัย: พลวัตของตำนาน ความเชื่อ และพิธีกรรม (2560)
- บทบาททางสังคมของความเชื่อเรื่องผีมอญในตำบลเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร (2565)
- อัตลักษณ์ความเป็นมอญกับประเพณีพิธีกรรมของชาวมอญที่บ้านวังกะ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี (2565)
คติชนสมัยใหม่ คติชนสร้างสรรค์ และคติชนประยุกต์
- พิธีสวดนพเคราะห์: พลวัตของพิธีกรรมประดิษฐ์ในสังคมไทยปัจจุบัน (2557)
- ย่านไชน่าทาวน์เยาวราช: พื้นที่การนำเสนออัตลักษณ์เชิงซ้อนของวัฒนธรรมความเป็นจีนในสังคมไทยร่วมสมัย (2558)
- ประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ จังหวัดสุรินทร์: การประกอบสร้างประเพณีประดิษฐ์และบทบาท (2559)
- “คติชนสร้างสรรค์” จากความเชื่อเรื่องครูหมอโนราที่ตำบลท่าแค จังหวัดพัทลุง (2559)
- ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งในฐานะ “ประเพณีสร้างสรรค์” ในสังคมไทยร่วมสมัย (2559)
- วัตถุมงคลทางดนตรีไทยในสังคมไทยร่วมสมัย: การสร้าง ความหมาย และบทบาท (2559)
- พลวัตของคติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารจังหวัดนครศรีธรรมราช ในสังคมไทยร่วมสมัย (2562)
- คติชนกับการสร้างอัตลักษณ์ทหาร: กรณีศึกษาสถาบันการศึกษาและการฝึกทางทหาร กองทัพอากาศไทย (2562)
- เทศกาลสงกรานต์-วันไหลในภาคตะวันออกของไทย: พลวัตและบทบาทของคติชนในบริบทสังคมไทยร่วมสมัย (2564)
- คติชนสร้างสรรค์จากความเชื่อเรื่องพญานาคในภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย (2564)
เข้าถึงคลังข้อมูลวิทยานิพนธ์ของนิสิตภาควิชาภาษาไทย อักษรฯ จุฬาฯ ได้ ที่นี่
ภาควิชาภาษาไทย อักษรฯ จุฬาฯ เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรต่อเนื่อง) ทั้งในสายภาษาไทย วรรณคดีไทย และคติชนวิทยา ปีการศึกษา 2566 ดูรายละเอียดได้ที่นี่
รับสมัคร 1 กุมภาพันธ์ 2566 – 31 มีนาคม 2566 ทางเว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
https://www.grad.chula.ac.th
ดูรายละเอียดหลักสูตรได้ที่เว็บไซต์ภาควิชาภาษาไทย หัวข้อ “หลักสูตรบัณฑิตศึกษา”
https://www.arts.chula.ac.th/thai/