ตัวอย่างหัวข้อวิทยานิพนธ์ของดุษฎีบัณฑิตและมหาบัณฑิต (สายภาษาไทย)

นิสิตมหาบัณฑิตและนิสิตดุษฎีบัณฑิตในหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ศึกษาวิจัยภาษาไทยในหัวข้ออันหลากหลาย ทั้งการศึกษาภาษาไทยเชิงประวัติ ภาษากับสังคมและวัฒนธรรมไทย วัจนปฏิบัติศาสตร์ ปริจเฉทวิเคราะห์ วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ การศึกษาภาษาไทยในฐานะภาษาที่สอง ภาษาต่างประเทศที่สัมพันธ์กับภาษาไทย  และภาษาไทยถิ่น 

ตัวอย่าง “หัวข้อวิทยานิพนธ์ของดุษฎีบัณฑิตและมหาบัณฑิตสายภาษา” (ย้อนหลังในช่วง 10 ปี)

การศึกษาภาษาไทยเชิงประวัติ

  • การกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำสรรพนามบุรุษที่ 1 ในภาษาไทยสมัยรัตนโกสินทร์ (2556)
  • การศึกษาเปรียบเทียบคำอ้างถึงพระสงฆ์ในสมัยสุโขทัยกับปัจจุบัน (2560)
  • พัฒนาการของคำระบุเฉพาะในภาษาไทย (2560)
  • พัฒนาการของคำว่า “บน” ในภาษาไทย: การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน (2561)
  • การกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำว่า “ใน” ในภาษาไทย (2563)


ภาษากับสังคมและวัฒนธรรมไทย

  • เรื่องเล่าแนว “รักโศก” และกลวิธีการให้คำปรึกษาในพื้นที่สื่อสาธารณะ : กรณีศึกษารายการวิทยุ “คลับฟรายเดย์” (2557)
  • พระนามเจ้านายสมัยรัตนโกสินทร์ : การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมไทย (2558)
  • คำคมร่วมสมัยในสื่อสังคมออนไลน์ : การวิเคราะห์กลวิธีทางภาษา แนวคิดและองค์ประกอบของการสื่อสาร (2563)
  • มโนอุปลักษณ์เพศชาย เพศหญิง และเพศทางเลือกในวาทกรรมสาธารณะ :กรณีศึกษาบทละครโทรทัศน์และเพลงไทยสากล (2563)


วัจนปฏิบัติศาสตร์

  • กลวิธีความไม่สุภาพในรายการเรียลลิตี้โชว์ภาษาไทย (2556)
  • กลวิธีการตอบถ้อยคำนัยผกผันในภาษาไทย: กรณีศึกษาคู่สนทนาที่มีสถานภาพเท่ากัน (2560)
  • วัจนกรรมการขู่ในภาษาไทยกับปัจจัยเพศ: กรณีศึกษาคู่สนทนาที่มีสถานภาพเท่ากัน (2562)
  • การทำให้ความอ่อนลงในภาษาไทย: กรณีศึกษาปริจเฉท 4 ชนิด (2564)
  • การครอบครองการสนทนาในภาษาไทยกับปัจจัยสถานภาพทางสังคม: กรณีศึกษาฐานข้อมูลชุดมิสเตอร์โอ (2564)


ปริจเฉทวิเคราะห์

  • การศึกษาปริจเฉทการสนทนาระหว่างจิตแพทย์และผู้ป่วยนอกในการตรวจรักษาโรคทางจิตเวชเบื้องต้น (2560)
  • ปริจเฉทการพูดของมัคนายกในวัดพระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม: การศึกษาตามแนวชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร (2561)
  • เรื่องเล่าความทรงจำเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิในประเทศไทย: การศึกษาปริจเฉทเรื่องเล่าและอารมณ์ขัน (2563)


วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์

  • ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมการพยากรณ์ดวงชะตา : การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ (2556)
  • ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมโฆษณาสถาบันกวดวิชา (2557)
  • ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับภาพตัวแทนของชาวโรฮิงญาในสื่อออนไลน์ภาษาไทย: การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (2560)
  • ภาพตัวแทนผู้สูงอายุไทยที่สื่อผ่านกลวิธีทางภาษาในวาทกรรมสื่อสาธารณะ (2562)
  • ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมแนะนำวิธีการเลี้ยงลูกโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: การศึกษาแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (2563) 


การศึกษาภาษาไทยในฐานะภาษาที่สอง

  • การปฏิสัมพันธ์ของชาวเกาหลีที่ใช้ภาษาไทยและชาวไทยในปริบทธุรกิจ : การศึกษาตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์อันตรภาษาและวัจนปฏิบัติศาสตร์ระหว่างวัฒนธรรม (2560)
  • การศึกษาวัจนกรรมการแสดงความเห็นแย้งของผู้เรียนภาษาไทยชาวจีนตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์อันตรภาษา: กรณีศึกษานักศึกษาชาวจีนจากมณฑลยูนนานและกวางสี (2562)
  • การปฏิสัมพันธ์ของชาวอินโดนีเซียที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองกับชาวไทย: การศึกษาตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์อันตรภาษาและวัจนปฏิบัติศาสตร์ระหว่างวัฒนธรรม (2564)


ภาษาต่างประเทศที่สัมพันธ์กับภาษาไทย 

  • คำยืมภาษาตระกูลมอญ-เขมรในภาษาไทยถิ่นเหนือ (2559)
  • การศึกษาเปรียบเทียบราชาศัพท์ในภาษาไทยและภาษาเขมรจากมุมมองข้ามสมัย (2559)
  • การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบทางวากยสัมพันธ์และความหมายของคำว่า /tɨv/ ‘ไป’ และ /mɔɔk/ ‘มา’ ในภาษาเขมรกับสำนวนแปลภาษาไทย (2562)


ภาษาไทยถิ่น

  • คำเชื่อมในภาษาไทยถิ่นใต้: การศึกษาเชิงประวัติ (2562)
  • ความหมายของ แม่ ในคำประสมภาษาไทยถิ่นใต้ (2563)


เข้าถึงคลังข้อมูลวิทยานิพนธ์ของนิสิตภาควิชาภาษาไทย อักษรฯ จุฬาฯ ได้ ที่นี่

ภาควิชาภาษาไทย อักษรฯ จุฬาฯ เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรต่อเนื่อง) ทั้งในสายภาษาไทย วรรณคดีไทย และคติชนวิทยา ปีการศึกษา 2566  

รับสมัคร 1 กุมภาพันธ์ 2566 – 31 มีนาคม 2566 ทางเว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
https://www.grad.chula.ac.th

ดูรายละเอียดหลักสูตรได้ที่เว็บไซต์ภาควิชาภาษาไทย หัวข้อ “หลักสูตรบัณฑิตศึกษา”
https://www.arts.chula.ac.th/thai/

Facebook
Twitter