ตัวอย่างหัวข้อวิทยานิพนธ์ของดุษฎีบัณฑิตและมหาบัณฑิต (สายวรรณคดีไทย)

นิสิตมหาบัณฑิตและนิสิตดุษฎีบัณฑิตในหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาวิจัยวรรณคดีไทยในหัวข้ออันหลากหลาย ทั้งที่เป็น “วรรณคดีโบราณ”  “วรรณกรรมและกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่”  “วรรณคดีกับศิลปะและสื่อแขนงอื่นๆ”  และ “วรรณคดีท้องถิ่น – วรรณคดีกับคติชนวิทยา”  

ตัวอย่าง “หัวข้อวิทยานิพนธ์ของดุษฎีบัณฑิตและมหาบัณฑิตสายวรรณคดี” (ย้อนหลัง 10 ปี) 

วรรณคดีโบราณ 

  • ยวนพ่ายโคลงดั้น : ความสำคัญที่มีต่อการสร้างขนบและพัฒนาการของวรรณคดีประเภทยอพระเกียรติของไทย (2556)
  • สุภาษิตพระร่วงสมัยรัชกาลที่ 5 : การสร้างสรรค์จากสุภาษิตพระร่วงฉบับวัดพระเชตุพนฯ (2557)
  • วัฒนธรรมอาหารในวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (2561)
  • “เยอแนล”: ลักษณะเด่นและคุณค่าในฐานะประเภทวรรณคดี (2562)
  • นวลักษณ์ของนิราศในนิราศนครวัด (2564)


วรรณกรรมและกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่

  • การวิเคราะห์ตัวละครเอกในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ของคึกเดช กันตามระ (2555)
  • กวีนิพนธ์เกี่ยวกับความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้: กลวิธีทางวรรณศิลป์กับแนวคิดสันติภาพ (2557)
  • ปัญหาเยาวชนร่วมสมัยในวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ปี พ.ศ. 2558 – 2561 (2563)
  • วิถีชีวิตของชาวปกาเกอะญอในงานเขียนประเภทสารคดี: กลวิธีทางวรรณศิลป์กับการนาเสนอแนวคิดเรื่องชาติพันธุ์ กับสิ่งแวดล้อม (2564)
  • กวีนิพนธ์ของกวีหญิงไทยช่วง พ.ศ. 2530 – 2559: แนวคิดและความสัมพันธ์กับสังคม (2564) 


วรรณคดีกับศิลปะและสื่อแขนงอื่นๆ 

  • งานปูนปั้นรามเกียรติ์ ถนนราชดำเนิน จังหวัดเพชรบุรี: พลวัตของการนำเรื่องรามเกียรติ์มาใช้ในศิลปกรรมไทยร่วมสมัย (2558) 
  • การดัดแปลงเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่เป็นบทละครรำของกรมศิลปากร (2561)
  • ขนบและการสร้างสรรค์บทโขนเรื่องรามเกียรติ์ของเสรี หวังในธรรม (2563)


วรรณคดีท้องถิ่น – วรรณคดีกับคติชนวิทยา

  • ลักษณะเด่นและบทบาททางด้านสังคมของวรรณกรรมคำสอนภาตใต้ “ฉบับพิมพ์เล่มเล็ก” (2555)
  • คติความเชื่อเรื่องพระพุทธบาทสระบุรีและประเพณี “ไปพระบาท” ในการสร้างสรรค์วรรณคดีไทย (2556)
  • คติชนในนวนิยายของพงศกร (2558)
  • แดนอรัญ แสงทอง ในฐานะนักเล่านิทาน (2559)
  • บทแหล่เทศน์มหาชาติในสังคมไทยร่วมสมัย: บทบาทและความสำคัญในฐานะวรรณคดีประกอบพิธีกรรม (2562)


เข้าถึงคลังข้อมูลวิทยานิพนธ์ของนิสิตภาควิชาภาษาไทย อักษรฯ จุฬาฯ ได้ ที่นี่

ภาควิชาภาษาไทย อักษรฯ จุฬาฯ เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรต่อเนื่อง) ทั้งในสายภาษาไทย วรรณคดีไทย และคติชนวิทยา ปีการศึกษา 2566  

รับสมัคร 1 กุมภาพันธ์ 2566 – 31 มีนาคม 2566 ทางเว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
https://www.grad.chula.ac.th

ดูรายละเอียดหลักสูตรได้ที่เว็บไซต์ภาควิชาภาษาไทย หัวข้อ “หลักสูตรบัณฑิตศึกษา”
https://www.arts.chula.ac.th/thai/

Facebook
Twitter